ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุมาเจียว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Book Bachelor (คุย | ส่วนร่วม)
แปลจากภาษาอังกฤษ
Book Bachelor (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


==== กบฏ Shouchun ครั้งที่ 3 ====
==== กบฏ Shouchun ครั้งที่ 3 ====
ในปีถัด ๆ มา สุมาเจียวจัดการรวบอำนาจมากขึ้น ทำให้ฮ่องเต้มีอำนาจน้อยลง และมีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ถูกมองว่าเป็นการเตรียมตัวที่จะล้มราชบัลลังก์ ในปี 256 สุมาเจียวบอกให้ฮ่องเต้ให้สิทธิ์แก่เขาในการใส่ imperial robes, crowns, and boots ในปี 257 สุมาเจียวส่งกาอุ้นไปหยั่งความคิดของจูกัดเอี๋ยน ซึ่งกาอุ้นถูกจูกัดเอี๋ยนตำหนิอย่างรุนแรง สุมาเจียวจึงตัดสินใจเรียกจูกัดเอี๋ยนเข้าเมืองหลวง โดยอ้างว่าเป็นการเลื่อนยศให้ จูกัดเอี๋ยนปฏิเสธและก่อกบฏโดยขอให้ง่อก๊กเข้าช่วยเหลือ สุมาเจียวเดินทางไปล้อม Shouchun อย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็ยึดเมืองได้ในปี 258 หลังปิดโอกาสไม่ให้ง่อก๊กส่งคนมาช่วย จูกัดเอี๋ยนและครอบครัว รวมไปถึงทหาร ถูกประหาร แต่สุมาเจียวไม่ทำอะไรประชาชนและกองกำลังเสริมของง่อก๊ก การกระทำนี้เองทำให้ตระกูลสุมาเป็นที่นิยมมากขึ้น ในปี 258 สุมาเจียวสั่งให้ฮ่องเต้มอบสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งให้แก่เขา และเขาก็ปฏิเสธต่อสาธารณะถึงเก้าครั้ง
{{main|Incident at the Gaoping Tombs}}ในปีถัด ๆ มา สุมาเจียวจัดการรวบอำนาจมากขึ้น ทำให้ฮ่องเต้มีอำนาจน้อยลง และมีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ถูกมองว่าเป็นการเตรียมตัวที่จะล้มราชบัลลังก์ ในปี 256 สุมาเจียวบอกให้ฮ่องเต้ให้สิทธิ์แก่เขาในการใส่ imperial robes, crowns, and boots ในปี 257 สุมาเจียวส่งกาอุ้นไปหยั่งความคิดของจูกัดเอี๋ยน ซึ่งกาอุ้นถูกจูกัดเอี๋ยนตำหนิอย่างรุนแรง สุมาเจียวจึงตัดสินใจเรียกจูกัดเอี๋ยนเข้าเมืองหลวง โดยอ้างว่าเป็นการเลื่อนยศให้ จูกัดเอี๋ยนปฏิเสธและก่อกบฏโดยขอให้ง่อก๊กเข้าช่วยเหลือ สุมาเจียวเดินทางไปล้อม Shouchun อย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็ยึดเมืองได้ในปี 258 หลังปิดโอกาสไม่ให้ง่อก๊กส่งคนมาช่วย จูกัดเอี๋ยนและครอบครัว รวมไปถึงทหาร ถูกประหาร แต่สุมาเจียวไม่ทำอะไรประชาชนและกองกำลังเสริมของง่อก๊ก การกระทำนี้เองทำให้ตระกูลสุมาเป็นที่นิยมมากขึ้น ในปี 258 สุมาเจียวสั่งให้ฮ่องเต้มอบสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งให้แก่เขา และเขาก็ปฏิเสธต่อสาธารณะถึงเก้าครั้ง


==== การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจมอ และการควบคุมอำนาจวุยก๊กอย่างเบ็ดเสร็จ ====
==== การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจมอ และการควบคุมอำนาจวุยก๊กอย่างเบ็ดเสร็จ ====

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:23, 2 มกราคม 2563

สุมาเจียว
ภาพวาดสุมาเจียว(ทางขวา) สมัยราชวงศ์ชิง
เสนาธิการและขุนพลแห่งวุยก๊ก
เกิดพ.ศ. 754
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 807 (อายุ 53 ปี)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม司馬昭
อักษรจีนตัวย่อ司马昭
ชื่อรองจื่อส้าง

สุมาเจียว หรือซือหม่าเจา (ค.ศ. 211 – 6 ก.ย. ค.ศ. 265) ชื่อรอง จื่อส้าง เป็นนายพลทหาร นักการเมือง และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กในยุคสามก๊ก

ในปี 263 สุมาเจียวตัดสินใจบุกจ๊กก๊กที่อ่อนแอลง ทำให้พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้ หลังจากเสร็จศึก สุมาเจียวขึ้นเป็นจิ้นก๋งและรับสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ (nine bestowments) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการจะแย่งชิงบัลลังก์ ถึงกระนั้นสุมาเจียวก็ไม่ได้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยขึ้นเป็นจิ้นอ๋องในปี 264 และเสียชีวิตในปี 265 บุตรชายของเขา สุมาเอี๋ยน ได้ทำการล้มราชวงศ์วุย สถาปนาราชวงศ์จิ้นและตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ในปี 266 และอวยยศย้อนหลังให้สุมาเจียว ผู้เป็นบิดา ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ (Emperor Wen of Jin)

มีสำนวนจีนที่เกี่ยวข้องกับสุมาเจียวกล่าวว่า “ความคิดสุมาเจียว ชาวบ้านยังรู้เลย” (司馬昭之心, 路人皆知) ซึ่งแปลว่าความคิดที่ซ่อนไว้ของบางคน (ในกรณีนี้คือล้มล้างราชบัลลังก์) เป็นที่รู้กันดีจนเหมือนไม่ได้ซ่อนไว้ ประโยคนี้มาจากพระเจ้าโจมอ จักรพรรดิองค์ที่ 4 ของวุยก๊ก ผู้ที่พยายามนำอำนาจในราชสำนักกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ

ชีวิตช่วงแรก

สุมาเจียวเกิดในปี 211 เป็นลูกชายคนที่สองของสุมาอี้และจางชุนหัว ในปลายปี 238 หลังจากสุมาอี้เอาชนะกองซุนเอี๋ยน สุมาเจียวได้รับยศ Marquess of Xincheng ประมาณปี 240 เขาได้รับยศ General of the Gentlemen of the Agriculture Colonies (典農中郎將) ประมาณปี 241 เขาถูกแต่งตั้งเป็น Cavalier Attendant-in-Ordinary (散騎常侍) ในเดือนมีนาคมปี 244 โจซองนำทัพบุกจ๊กก๊กและพ่ายแพ้ สุมาเจียวที่เข้าร่วมรบสามารถตีกลับกองทัพจ๊กก๊กที่บุกค่ายตอนกลางคืนได้ จึงถูกแต่งตั้งเป็น Consultant Gentleman และดำรงยศนี้อยู่ห้าปี (ซึ่งโจซองและพวกน่าจะเป็นคนแต่งตั้งยศให้ เพื่อที่สุมาเจียวจะได้ไม่มีความก้าวหน้าด้านการเมือง)

หน้าที่การงานจนถึงปี 255

อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง (Incident at Gaoping Tombs)

มีความไม่ชัดเจนว่าสุมาเจียวมีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหารของสุมาอี้ในปี 249 หรือไม่ โดย Book of Jin กล่าวว่า สุมาเจียวไม่ทราบถึงแผนจนกระทั่งนาทีสุดท้าย ซึ่งนักประวัติศาสตร์หลายคนไม่เห็นด้วย และเชื่อว่าสุมาเจียวมีส่วนร่วมในการวางแผน ถีงกระนั้น สุมาอี้ทำการรัฐประหารสำเร็จและกลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในวุยก๊ก สุมาเจียวได้รับเพิ่ม 1,000 households ในปี 251 หลังจากสุมาอี้ปราบกบฏอองเหลง สุมาเจียวซึ่งเป็นผู้รองบัญชาการได้รับเพิ่ม 300 households และยศ Marquis สำหรับสุมาฮิว ลูกชายของสุมาเจียว หลังจากนั้น สุมาเจียวมีส่วนร่วมในการตีกลับทัพจ๊กก๊กที่นำโดยเกียงอุย

ศึก Dongxing

ในปี 253 สุมาเจียวนำทัพมาเผชิญหน้าง่อก๊ก ขุนพลของวุยก๊กซึ่งประมาทถูกทัพง่อที่นำโดยเตงฮองและลีกีตีแตกพ่าย ทำให้ทัพวุยต้องถอยร่นไป หลังจากความพ่ายแพ้ สุมาเจียวถามจอมพล Wang Yi เป็นการส่วนตัวว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบในความล้มเหลวของศึก Wang Yi ตอบว่า “ความรับผิดชอบอยู่กับผู้บัญชาการทหาร” สุมาเจียวโต้ว่า “อยากให้ข้ารับผิดชอบเหรอ?” และสั่งประหาร Wang Yi สุมาสูได้รับ memorial จากข้าราชการโดยต้องการให้ลดยศอองซอง บู๊ขิวเขียม โฮจุ๋น และคนอื่น ๆ ที่พ่ายแพ้ในการทำศึก อย่างไรก็ตาม สุมาสูกล่าวว่า “เป็นเพราะข้าไม่ฟังกงซิว [จูกัดเอี๋ยน] เราจึงเผชิญกับชะตากรรมนี้ ข้าควรถูกตำหนิ นายพลจะเป็นฝ่ายผิดได้อย่างไร?” สุมาสูจึงเลื่อนยศให้นายพลที่เข้าร่วมศึก แต่ลดยศสุมาเจียว

รับช่วงต่อจากสุมาสู

ในปี 254 ขณะที่สุมาเจียวอยู่ในเมืองหลวง ที่ปรึกษาของพระเจ้าโจฮองแนะนำให้พระเจ้าโจฮองโจมตีสุมาเจียวและฆ่าเขาเพื่อยึดกำลังมาสู้กับสุมาสู พระเจ้าโจฮองไม่ได้ทรงทำตาม ต่อมาสุมาสูถึงแผนการนั้น พระเจ้าโจฮองจึงถูกถอดออกจากราชบัลลังก์และเชิญโจมอมาเป็นฮ่องเต้ หลังจากนั้นในปี 255 สุมาสูปราบกบฏบู๊ขิวเขียมและบุนขิม

อย่างไรก็ตาม สุมาสูมีอาการเจ็บป่วยที่ตาอย่างรุนแรงจากการปราบกบฏ และเสียชีวิตในอีกไม่ถึงเดือนถัดมา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ในขณะนั้น สุมาเจียวอยู่ในเมืองฮูโต๋กับสุมาสู พระเจ้าโจมอพยายามยึดอำนาจกลับคืนมา โดยมีพระบรมราชโองการให้สุมาเจียวอยู่ในฮูโต๋ต่อและให้โกหยิว ที่ปรึกษาของสุมาเจียว เดินทางกลับมาลกเอี๋ยงพร้อมกับทัพหลัก อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังคำแนะนำของโกหยิวและจงโฮย สุมาเจียวขัดพระบรมราชโองการโดยเดินทางกลับมาลกเอี๋ยง และยังคงมีอำนาจเหมือนเดิม

ในฐานะผู้กุมอำนาจวุยก๊ก

การรวมอำนาจ

กบฏ Shouchun ครั้งที่ 3

ในปีถัด ๆ มา สุมาเจียวจัดการรวบอำนาจมากขึ้น ทำให้ฮ่องเต้มีอำนาจน้อยลง และมีเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ถูกมองว่าเป็นการเตรียมตัวที่จะล้มราชบัลลังก์ ในปี 256 สุมาเจียวบอกให้ฮ่องเต้ให้สิทธิ์แก่เขาในการใส่ imperial robes, crowns, and boots ในปี 257 สุมาเจียวส่งกาอุ้นไปหยั่งความคิดของจูกัดเอี๋ยน ซึ่งกาอุ้นถูกจูกัดเอี๋ยนตำหนิอย่างรุนแรง สุมาเจียวจึงตัดสินใจเรียกจูกัดเอี๋ยนเข้าเมืองหลวง โดยอ้างว่าเป็นการเลื่อนยศให้ จูกัดเอี๋ยนปฏิเสธและก่อกบฏโดยขอให้ง่อก๊กเข้าช่วยเหลือ สุมาเจียวเดินทางไปล้อม Shouchun อย่างรวดเร็ว ในที่สุดก็ยึดเมืองได้ในปี 258 หลังปิดโอกาสไม่ให้ง่อก๊กส่งคนมาช่วย จูกัดเอี๋ยนและครอบครัว รวมไปถึงทหาร ถูกประหาร แต่สุมาเจียวไม่ทำอะไรประชาชนและกองกำลังเสริมของง่อก๊ก การกระทำนี้เองทำให้ตระกูลสุมาเป็นที่นิยมมากขึ้น ในปี 258 สุมาเจียวสั่งให้ฮ่องเต้มอบสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งให้แก่เขา และเขาก็ปฏิเสธต่อสาธารณะถึงเก้าครั้ง

การสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจมอ และการควบคุมอำนาจวุยก๊กอย่างเบ็ดเสร็จ

ในปี 260 สุมาเจียวสั่งให้ฮ่องเต้มอบสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งให้แก่เขาอีกครั้ง และเขาก็ปฏิเสธอีกครั้ง ทำให้พระเจ้าโจมอพิโรธ พระเจ้าโจมอทรงนำทัพพร้อมกับบอก Wang Shen, Wang Jing และ Wang Ye ว่า พระองค์รู้ว่ามีโอกาสสำเร็จน้อยมาก แต่ก็จะจัดการสุมาเจียว พระเจ้าโจมอบุกไปยังบ้านสุมาเจียว สุมาเตี้ยม น้องชายของสุมาเจียว พยายามขัดขวาง แต่ก็ถอยทัพหลังคนของพระเจ้าโจมอตะโกนเสียงดัง กาอุ้นมาถึงและเข้าขัดขวาง พระเจ้าโจมอทรงต่อสู้ด้วยพระองค์เอง คนของกาอุ้นก็ไม่กล้าทำร้ายพระองค์และถอยทัพไปด้วย Cheng Ji (成濟) นายทหารของกาอุ้น ถามกาอุ้นว่าให้ทำอะไร กาอุ้นตอบว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้อำนาจยังอยู่ในมือตระกูลสุมาโดยไม่ต้องสนใจผลที่ตามมา กาอุ้นจึงฆ่าพระเจ้าโจมอด้วยหอก เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้สุมาเจียวเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจมอ สาธารณชนต้องการให้ประหารกาอุ้น แต่สิ่งที่สุมาเจียวทำคือสั่งให้อัครมเหสีของพระเจ้าโจยอยลดยศโจมอย้อนหลังให้เป็นสามัญชนและสั่งให้ฝังศพในฐานะนั้น เขาสั่งประหาร Wang Jing และครอบครัว วันต่อมา หลังจากสุมาหูผู้เป็นลุงร้องขอ สุมาเจียวจึงบอกให้ให้อัครมเหสีของพระเจ้าโจยอยสั่งว่าโจมอถูกลดยศย้อนหลังไปเป็นดยุค แต่ฝังศพในฐานะ Imperial Prince สุมาเจียวเรียกตัวโจฮวนซึ่งเป็นหลานของโจโฉเข้ามารับตำแหน่งฮ่องเต้ ไม่กี่วันต่อมา สุมาเจียวสั่งประหาร Cheng Ji (成濟) และพี่ชาย/น้องชายด้วยเหตุผลกบฏโดยไว้ชีวิตกาอุ้น โจฮวนเข้ามาในลกเอี๋ยงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนและรับตำแหน่งฮ่องเต้ สองวันถัดมา สุมาเจียวสั่งให้พระเจ้าโจฮวนมอบสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งให้แก่เขา ซึ่งเขาก็ปฏิเสธ และปฏิเสธอีกครั้งในเดือนตุลาคม

ปราบจ๊กก๊ก

ในปี 262 สุมาเจียวรำคาญกับการบุกของเกียงอุย เขาจึงคิดจะส่งคนไปลอบสังหารเกียงอุย แต่ Xun Xu ที่ปรึกษาของเขาไม่เห็นด้วย จงโฮยเชื่อว่ากองทัพของเกียงอุยเหนื่อยล้าและตอนนี้เป็นเวลาเหมาะสมในการกำราบจ๊กก๊กอย่างราบคาบ สุมาเจียวแต่งตั้งให้จงโฮย จูกัดสู และเตงงายดูแลกองทัพ (ถึงแม้ว่าในช่วงแรกเตงงายจะไม่เห็นด้วยกับการบุกจ๊กก๊ก) และพวกเขาออกรบในฤดูใบไม้ร่วงปี 263

จงโฮย จูกัดสู และเตงงาย เผชิญหน้ากับจ๊กก๊กเพียงเล็กน้อย แผนของจ๊กก๊กคือล่อให้ฝ่ายวุยเข้ามาแล้วค่อยล้อมตี แต่แผนนี้ส่งผลตรงกันข้าม เพราะกองทัพวุยเคลื่อนพลได้เร็วกว่าที่คิดไว้ โดยข้ามจากเมืองชายแดนฝ่ายจ๊กไปยัง Yang’an Pass ที่สำคัญและยึดเอาไว้ได้ เกียงอุยสามารถต้านทัพไม่ให้ทัพวุยเคลื่อนพลได้ จนกระทั่งเตงงายนำทัพผ่านภูเขาลงมาบน Jiangyou เอาชนะจูกัดเจี๋ยม และเคลื่อนพลตรงไปยังเฉิงตู เมืองหลวงของจ๊กก๊ก พระเจ้าเล่าเสี้ยนทรงตกพระทัยกับความเร็วของทัพเตงงายและทรงเชื่อว่าเกียงอุยจะกลับมาป้องกันเมืองหลวงไม่ทัน จึงตัดสินใจยอมแพ้ ในวันที่ 9 ธันวาคม เนื่องด้วยความสำเร็จในการบุกจ๊กก๊ก ในที่สุดสุมาเจียวก็ตัดสินใจยอมรับสิ่งของพระราชทานเก้าระดับ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และยศจิ้นก๋งจากพระเจ้าโจฮวน

กบฏจงโฮย

หลังจากปราบจ๊กก๊ก เตงงายส่งจดหมายซึ่งแสดงความจองหองของเขาไปให้สุมาเจียว ทำให้สุมาเจียวเกิดความระแวง จงโฮย ผู้มีแผนที่จะก่อกบฏเอง ส่งจดหมายไปหาสุมาเจียว ทำให้สุมาเจียวสั่งให้จงโฮยจับกุมเตงงาย ในขณะเดียวกันสุมาเจียวก็ไม่ไว้ใจจงโฮย จึงนำทัพไปที่เตียงอัน จงโฮยได้จับเตงงายไว้ และนำทัพของเตงงายมารวมกับทัพตัวเอง และก่อกบฏในปี 264 โดยมีเกียงอุยเป็นที่ปรึกษา แต่จงโฮยและเตงงายก็ถูกทหารของตัวเองฆ่า สุมาเจียวนิรโทษกรรมให้ทุกคนในจ๊กก๊ก

เสียชีวิต

หลังจากปราบกบฏจงโฮยสำเร็จ สุมาเจียวขึ้นเป็นจิ้นอ๋องเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 264 ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายก่อนที่จะแย่งชิงราชบัลลังก์ เขาเตรียมที่จะแก้ไขกฎหมายและระบบราชการให้อาณาจักรของเขาเป็นอย่างที่ต้องการ เช่น ระบบศักดินาห้าอันดับของราชวงศ์โจว (ซึ่งเลิกใช้ไปในสมัยราชวงศ์ฉิน) และเขายังต้องการที่จะอวยยศย้อนหลังให้สุมาอี้ผู้เป็นบิดาเป็น King Xuan of Jin และสุมาสูผู้เป็นพี่ชายเป็น King Jing of Jin สุมาเจียวสงบศึกกับง่อก๊กเพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาเมื่อเขาจะขึ้นเป็นจักรพรรดิ

ต่อมา สุมาเจียวต้องการจะแต่งตั้งทายาท เขาพิจารณาสุมาฮิว ลูกชายคนรองลงมาที่มีความสามารถ ที่ถูกสุมาสูผู้เป็นพี่ชายรับเป็นบุตรบุญธรรมเพราะสุมาสูไม่มีบุตรชาย เนื่องจากสุมาสูประสบความสำเร็จในการได้มาและรักษาอำนาจของตระกูลสุมา สุมาเจียวจึงอยากให้การสืบอำนาจกลับไปอยู่ที่ลูกชายของสุมาสู อย่างไรก็ตาม ที่ปรึกษาส่วนใหญ่แนะนำให้เป็นสุมาเอี๋ยน ลูกชายคนโต ท้ายที่สุดสุมาเจียวก็แต่งตั้งสุมาเอี๋ยนเป็นทายาท

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 265 สุมาเจียวเสียชีวิตก่อนที่เขาจะได้เป็นจักรพรรดิ ถึงกระนั้น เขาก็ถูกฝังในฐานะจักรพรรดิเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 265 สี่เดือนถัดมา สุมาเอี๋ยน หลังจากรับตำแหน่งจิ้นอ๋องต่อจากสุมาเจียวผู้เป็นบิดา สั่งให้พระเจ้าโจฮวนสละราชบัลลังก์ อาจเป็นการสิ้นสุดของราชวงศ์วุย และสถาปนาราชวงศ์จิ้น สุมาเอี๋ยนอวยยศให้สุมาเจียวย้อนหลังขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ (Emperor Wen of Jin)

ครอบครัว