ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แม่น้ำมูล"

พิกัด: 15°19′14″N 105°30′29″E / 15.320556°N 105.508056°E / 15.320556; 105.508056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Parkpaiboo (คุย | ส่วนร่วม)
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Munriver.JPG|240px|thumb|right|แม่น้ำมูลใน[[ฤดูแล้ง]]ที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]]]]
[[ไฟล์:Mun River - Sisaket.jpg|300px|thumb|right|แม่น้ำมูลบริเวณ[[เขื่อนราษีไศล]]ที่[[จังหวัดศรีสะเกษ]]]]


'''แม่น้ำมูล''' เป็น[[แม่น้ำ]]ใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]ของ[[ประเทศไทย]] ความยาว 640 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม.<ref>[http://www.thaiwatergrid.com/waternortheast.php ทรัพยากรน้ำในภาคอีสาน]จาก กรมทรัพยากรน้ำ</ref> ปัจจุบัน ชื่อของแม่น้ำสายนี้ สะกด "มูล" แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้คำสะกด "มูน" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น หมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษสั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน<ref>http://www.ecovillager.org/e-learning/sem1.htm</ref> แต่ทางราชการได้กำหนดภาษาราชการตามเสียงเรียก โดยสะกด "มูล" ด้วย ล
'''แม่น้ำมูล''' เป็น[[แม่น้ำ]]ใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]ของ[[ประเทศไทย]] ความยาว 640 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม.<ref>[http://www.thaiwatergrid.com/waternortheast.php ทรัพยากรน้ำในภาคอีสาน]จาก กรมทรัพยากรน้ำ</ref> ปัจจุบัน ชื่อของแม่น้ำสายนี้ สะกด "มูล" แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้คำสะกด "มูน" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น หมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษสั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน<ref>http://www.ecovillager.org/e-learning/sem1.htm</ref> แต่ทางราชการได้กำหนดภาษาราชการตามเสียงเรียก โดยสะกด "มูล" ด้วย ล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:38, 22 ธันวาคม 2562

แม่น้ำมูลบริเวณเขื่อนราษีไศลที่จังหวัดศรีสะเกษ

แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความยาว 640 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม.[1] ปัจจุบัน ชื่อของแม่น้ำสายนี้ สะกด "มูล" แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในท้องถิ่นใช้คำสะกด "มูน" ซึ่งเป็นภาษาถิ่น หมายถึง สิ่งมีค่าน่าหวงแหน เป็นมรดกของบรรพบุรุษสั่งสมเก็บไว้ให้ลูกหลาน[2] แต่ทางราชการได้กำหนดภาษาราชการตามเสียงเรียก โดยสะกด "มูล" ด้วย ล

เส้นทางแม่น้ำ

แม่น้ำมูล มีต้นกำเนิดจากทิวเขาสันกำแพง บริเวณเขื่อนมูลบน อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโนนสูง อำเภอพิมาย อำเภอชุมพวง (จังหวัดนครราชสีมา), อำเภอพุทไธสง อำเภอคูเมือง อำเภอสตึก (จังหวัดบุรีรัมย์), อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี (จังหวัดสุรินทร์), อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทราย (จังหวัดร้อยเอ็ด), อำเภอราษีไศล อำเภอบึงบูรณ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ (จังหวัดศรีสะเกษ) บรรจบกับกับแม่น้ำชีบริเวณบ้านขอนไม้ยูง ตำบลห้วยขะยูง อำเภอวารินชำราบ (จังหวัดอุบลราชธานี) แล้วไหลผ่านอำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอสว่างวีรวงศ์ อำเภอดอนมดแดง อำเภอตาลสุม อำเภอพิบูลมังสาหาร และไหลลงแม่น้ำโขงที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวทั้งหมดประมาณ 640 กิโลเมตร ลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำเชียงไกร ลำปลายมาศ ลำสะแทด ลำโดมใหญ่ ลำโดมน้อย ลำน้ำเสียว ลำเซบาย ลำเซบก ลำมูลน้อย และห้วยตุงลุงเป็นต้น ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

สองฝั่งเป็นที่ราบน้ำท่วมถึงลุ่มน้ำมูลมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 69,701 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 13.6 ของพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งประเทศครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ปริมาณน้ำไหลลงสู่แม่น้ำโขงเฉลี่ยประมาณ 26,655 ล้าน ลูกบาศก์เมตรปี [3]

เขื่อนที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำมูล

ลำน้ำสาขา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

15°19′14″N 105°30′29″E / 15.320556°N 105.508056°E / 15.320556; 105.508056