ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นวลพรรณ ล่ำซำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| death_date =
| death_date =
| death_place =
| death_place =
| spouse = [[วัชระ พรรณเชษฐ์]] <small>(หย่า)</small><br>ณรัชต์ เศวตนันทน์ <small>(2557-ปัจจุบัน)</small>
| spouse = [[วัชระ พรรณเชษฐ์]] <small>(หย่า)</small><br> พ.ต.อ.[[ณรัชต์ เศวตนันทน์]] <small>(2557-ปัจจุบัน)</small>
| religion = [[พุทธ]]
| religion = [[พุทธ]]
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]
| party = [[พรรคประชาธิปัตย์|ประชาธิปัตย์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:22, 12 ธันวาคม 2562

นวลพรรณ ล่ำซำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสวัชระ พรรณเชษฐ์ (หย่า)
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ (2557-ปัจจุบัน)

นวลพรรณ ล่ำซำ กรรมการในคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[1] กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐลิทัวเนีย[2] อดีตที่ปรึกษาประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3] เป็นอดีตผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อภิรักษ์ โกษะโยธิน) และกรรมการผู้จัดการบริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) รวมถึงเป็นผู้จัดการฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย[4]

นอกจากเป็นผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจประกันภัยของตระกูล นวลพรรณยังเปิดกิจการของตัวเอง นำเข้าสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมหลายแบรนด์ ผ่านทางบริษัท วรรณมานี จำกัด และบริษัท ซังออนอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด เริ่มจากแบรนด์แรก คือ แอร์เมส (Hermes) จนมีมากมายหลายแบรนด์ในปัจจุบัน เช่น เอ็มโพริโอ อาร์มานี (Emporio Armani), ทอดส์ (Tod's), Rodo, โคลเอ้ (Chole), Christofle และบลูมารีน (Blumarine)

นอกจากนี้เมื่อปี พ.ศ. 2546 นวลพรรณยังร่วมหุ้นกับเพื่อน นำเข้าผลิตภัณฑ์เวชสำอาง "Skin Ceuticals" โดยมี หุ้นส่วนคือ เมทินี กิ่งโพยม, อนุวัฒน์ นิวาตวงศ์ และน.พ.จักรินทร์ ทัฬหชาติโยธิน เปิดบริษัทชื่อ "Foure C" ที่สุขุมวิท 24

ปลายปี พ.ศ. 2549 นวลพรรณย่างก้าวเข้าสู่วงการเมืองในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งโพธิพงษ์ ล่ำซำ ผู้เป็นบิดา เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค

ประวัติ

นวลพรรณ ล่ำซำ เกิดวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2509 มีชื่อเล่นว่า "แป้ง" เป็นบุตรีของโพธิพงษ์ ล่ำซำ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กับยุพา ล่ำซำ เจ้าของเมืองไทยประกันภัย มีน้องสาวและน้องชายอย่างละหนึ่งคน คือ วรรณพร พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี แลนด์สเคป จำกัด และสาระ ล่ำซำ ผู้บริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต พวกเธอนับเป็นทายาทตระกูลล่ำซำรุ่นที่ 5 และมีศักดิ์เป็นหลานอาของบัณฑูร ล่ำซำ ผู้บริหารธนาคารกสิกรไทย

นวลพรรณสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และ โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ปริญญาตรี สาขาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2532

นวลพรรณ สมรสครั้งแรกกับดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัทสิทธิผลเซลส์ และ บริษัทเยอรมันออโต้ มีบุตรสาวด้วยกันคือ นวลวรรณ พรรณเชษฐ์ (น้องปราง) แต่หย่ากันเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 จึงมีระยะหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "นวลพรรณ พรรณเชษฐ์" แม้จะแยกทางกันในชีวิตสมรสแล้ว แต่ทั้งคู่ก็ยังอยู่บ้านในชายคาเดียวกันบนถนนรามคำแหง และร่วมหุ้นกันในบริษัท วรรณมานี จำกัด และบริษัท ซังออนอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด ภายหลังนวลพรรณสมรสครั้งที่สองกับพันตำรวจเอก ดร. ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557 [5][6][7]ต่อมาวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พันตำรวจเอก ดร. ณรัชต์ เศวตนันทน์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์

ประวัติการทำงาน

นวลพรรณ ล่ำซำ
  • ฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท ลินตาส จำกัด (ประเทศไทย)
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)
  • 2545 กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (พ.ศ. 2545-2547)
  • 2548 ขึ้นดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
  • ปัจจุบัน
    • กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
    • กรรมการผู้จัดการ บริษัท วรรณมานี จำกัด นำเข้าสินค้าแบรนด์ Emporio Armani, JP Tod's, Rodo, Christofle และ Blumarine
    • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซังออนอเร่ (กรุงเทพ) จำกัด นำเข้าสินค้าแบรนด์ แอร์เมส (Hermes)

ประวัติทางการเมือง

นวลพรรณ ล่ำซำ สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2549 ในตำแหน่ง "ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์" หลังถูกทาบทามจากสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ให้เดินตามรอย โพธิพงษ์ ล่ำซำ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยงานแรกที่นวลพรรณรับผิดชอบคือ งานฉลองครบรอบ 60 ปี พรรคประชาธิปัตย์

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 นวลพรรณรับตำแหน่งที่ปรึกษาผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (อภิรักษ์ โกษะโยธิน) เพิ่มอีกตำแหน่ง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2559 ดำรงตำแหน่งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

การดำรงตำแหน่งอื่น

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลผู้จัดการทีมดีเด่น ในงานวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2557 [12]
  • ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ ประเภททั่วไป ประจำปีการศึกษา2558 จากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/135/1.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/029/8.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/046/5.PDF
  4. 4.0 4.1 สุดโปรดของ ‘นวลพรรณ ล่ำซำ’
  5. "สละโสด". ไทยรัฐ. 20 มกราคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ไฮโซ 'แป้ง' จัดวิวาห์เงียบ!". ไทยรัฐ. 20 มกราคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "สุดเซอร์ไพรส์ม่ายสาวไฮโซแป้ง-นวลพรรณ ย่องเงียบสละโสดรอบสอง". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 20 มกราคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. นวลพรรณ ล่ำซำเอ็มดี เมืองไทยประกันภัย "การอ่าน ทำให้รู้ทัน เข้าใจอนาคต"
  9. "มาดามแป้ง" ลาแข้งสาว ติง ส.บอล ไม่ให้ความสำคัญ
  10. บอลหญิงเฮลั่น!มาดามแป้งประกาศทำทีมต่อ
  11. มาดามแป้งนั่งประธานท่าเรือ5ปี
  12. ข่าวสด. ปีที่ 24 ฉบับที่ 8,795. วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557. ISSN 1686-8218. หน้า 11
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553

แหล่งข้อมูลอื่น