ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มโหสถชาดก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
''' มโหสถชาดก''' เป็น[[ชาดก]]เรื่องที่ 5 จาก[[ทศชาติชาดก]] โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็น[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ในที่สุด
''' มโหสถชาดก''' เป็น[[ชาดก]]เรื่องที่ 5 จาก[[ทศชาติชาดก]] โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็น[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ในที่สุด


ในพระราชนิพนธ์เรื่อง [[ไกลบ้าน]] อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้มีการกล่าวถึงเรื่องมโหสถและพระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้ในพระราชหัตถเลขาลงวันที่ 18 มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก 126 ตรงกับปี พ.ศ. 2450 คราวเสด็จประพาสจาก เยอรมนี มายัง ฝรั่งเศส ความตอนหนึ่งว่า {{คำพูด|กำลังเดินจากรถกินเข้ามารถที่นั่ง ผเอินเข้าถ้ำต้องเดินคลำกันเสียงอม เหมือนท้าวจุลนีในเรื่องมโหสถ}}
ในพระราชนิพนธ์เรื่อง [[ไกลบ้าน]] อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้มีการกล่าวถึงเรื่องมโหสถและพระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ตรงกับปี พ.ศ. 2450 อันเป็นคืนที่ 84 คราวเสด็จประพาสจาก เยอรมนี มายัง ฝรั่งเศส ความตอนหนึ่งว่า {{คำพูด|กำลังเดินจากรถกินเข้ามารถที่นั่ง ผเอินเข้าถ้ำต้องเดินคลำกันเสียงอม เหมือนท้าวจุลนีในเรื่องมโหสถ}} <ref> [https://vajirayana.org/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%92%E0%B9%94 พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔] </ref>


== เรื่อง ==
== เรื่อง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:17, 12 ธันวาคม 2562

มโหสถชาดก เป็นชาดกเรื่องที่ 5 จากทศชาติชาดก โดยกล่าวถึงพระโคตมโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมีอันเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าในที่สุด

ในพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน อันเป็นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการกล่าวถึงเรื่องมโหสถและพระเจ้าจุลนีพรหมทัตไว้ในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔ ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๖ ตรงกับปี พ.ศ. 2450 อันเป็นคืนที่ 84 คราวเสด็จประพาสจาก เยอรมนี มายัง ฝรั่งเศส ความตอนหนึ่งว่า

กำลังเดินจากรถกินเข้ามารถที่นั่ง ผเอินเข้าถ้ำต้องเดินคลำกันเสียงอม เหมือนท้าวจุลนีในเรื่องมโหสถ

[1]

เรื่อง

ในอดีตกาลมีพระราชานามว่า พระเจ้าวิเทหราช ซึ่งปกครองกรุงมิถิลาทรงมีบัณฑิตคู่พระทัยอยู่ 4 คนคือ เสณกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และเทวินทะ ในคืนหนึ่งพระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินประหลาดจึงโปรดให้ เสณกะ หัวหน้าบัณฑิตทำนายพระสุบิน ก็ทรงทราบว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 ที่มีสติปัญญาล่วงเลยบัณฑิตทั้ง 4 ถือกำเนิดในมิถิลา

ขณะเดียวกันใน หมู่บ้านปาจีนยวมัชฌคาม พระโพธิสัตว์ได้ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนา ภรรยาของสิริวัฒกเศรษฐี เมื่อผ่านไป 10 เดือนนางสุมนาก็ให้กำเนิดบุตรชายที่ได้ถือแท่งยาออกมา ทันทีที่คลอดเสร็จสิริวัฒกเศรษฐีก็ได้นำแท่งยาไปฝนกับหินบดยาแล้วนำมาทาที่หน้าผาก ปรากฏว่าอาการปวดหัวของท่านเศรษฐีก็หายเป็นปลิดทิ้ง ท่านเศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรชายว่า มโหสถกุมาร แปลว่า กุมารผู้มียาอันมีอานุภาพมาก

7 ปีผ่านไปพระเจ้าวิเทหราชทรงรำลึกได้ว่าเมื่อ 7 ปีก่อนทรงพระสุบินว่าจะมีบัณฑิตคนที่ 5 มาเกิดในยุคของพระองค์จึงโปรดให้มหาอำมาตย์ออกไปสังเกตการณ์ในทิศทั้ง 4 ของมิถิลาซึ่งในที่สุดก็มีมหาอำมาตย์ท่านหนึ่งมาถึงหมู่บ้านที่มโหสถกุมารอาศัยอยู่ก็ได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของมโหสถจึงกลับไปทูลรายงานว่าพบบัณฑิตคนที่ 5 แล้วพระเจ้าวิเทหราชดีพระทัยหมายจะเรียกมโหสถเข้ามาเป็นบัณฑิตในราชสำนัก แต่ทรงถูกเสณกะบัณฑิตยับยั้งไว้โดยอ้างว่าต้องการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมาร

ในการพิสูจน์ปัญญาของมโหสถกุมารว่าเหมาะสมจะเป็นบัณฑิตคนที่ 5 หรือไม่นั้นมีปัญหาทดสอบเชาวน์ปัญญาของมโหสถกุมารถึง 19 ข้อแต่มโหสถกุมารก็สามารถวิสัชนาปัญหาได้หมด พระเจ้าวิเทหราชจึงรับมโหสถเป็นพระราชโอรสบุญธรรม พร้อมทั้งสถาปนาให้เป็นมหาบัณฑิต ซึ่งชื่อเสียงของมโหสถบัณฑิตก็ไปเข้าพระกรรณของ พระเจ้าจุลนีพรหมทัต ราชาแห่งกรุงพาราณสีที่หมายจะตีกรุงมิถิลา แต่ก็ถูกมโหสถบัณฑิตยับยั้งไว้ได้สำเร็จ จนพระเจ้าจุลนีพรหมทัตต้องขอร้องให้มโหสถมารับราชการที่ราชสำนักของพระองค์แต่มโหสถบัณฑิตได้ปฏิเสธไป แต่ได้ให้สัญญากับพระเจ้าจุลนีพรหมทัตว่าถ้าพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตเมื่อไหร่จะไปรับใช้ทันที

หลังจากพระเจ้าวิเทหราชสวรรคตมโหสถได้ไปรับใช้พระเจ้าจุลนีพรหมทัตตามสัญญาตราบจนสิ้นอายุขัย

บุคคลที่กลับมาเกิดในสมัยพุทธกาล

  1. พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๒๔