ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พลังพล คงเสรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Athikhun.suw (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 41: บรรทัด 41:


{{เกิดปี|2513}}
{{เกิดปี|2513}}
{{โครงชีวประวัติ}}


[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์]]
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์]]
บรรทัด 52: บรรทัด 51:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.]]
{{โครงชีวประวัติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:20, 11 ธันวาคม 2562

รศ.ดร. พลังพล คงเสรี

รองศาสตราจารย์ พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (1 ธันวาคม 2562-)[1] จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ทางด้านเคมีและ Protein X-ray Crystallography สนใจศึกษากลไกการทำงานของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ออกแบบตัวตรวจวัดทางเคมีที่มีความจำเพาะสูง นำไปสู่การพัฒนาชุดทดสอบต่างๆ และมีการนำไปใช้จริง สมรสกับ ดร.ประชุมพร (ทุนกุล) คงเสรี มีบุตรชาย 2 คน

ประวัติการศึกษา

รศ.ดร.พลังพล คงเสรี จบการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2528 โดยมีผลการเรียนดีเยี่ยมตลอดการศึกษา [ต้องการอ้างอิง]จากนั้นสอบได้รับทุนจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จึงย้ายไปเรียนต่อระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยซึ่งเป็น 1 ใน 6 ศูนย์โครงการ พสวท. ในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง]} ระหว่างการศึกษาระดับมัธยม ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนร่วมแข่งขันทางวิชาการและได้รับรางวัลชนะเลิศมากมาย {{อ้างอิง}เช่น การตอบปัญหาเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ การตอบปัญหาทางนิเทศศาสตร์ ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การตอบปัญหาวิชาการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การตอบปัญหาทางพุทธศาสนา และการแข่งขันภาษาไทยเกี่ยวกับคำผวนเป็นต้น นอกจากนี้ ได้เข้าร่วมแข่งขันการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการทางโทรทัศน์อีกหลายรายการ เช่น รายการไอคิว-180 รายการเยาวชนคนเก่ง เป็นต้น

รศ.ดร.พลังพล ศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างการศึกษา ได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาฟันดาบไทย[ต้องการอ้างอิง] และได้เหรียญรางวัลทั้งในประเภททีมและประเภทบุคคล [ต้องการอ้างอิง] ในปีสุดท้ายได้ทำงานวิจัยระดับปริญญาตรี เรื่อง "การใช้แอนทราซีนในการสังเคราะห์ทางเคมี" ในห้องทดลองของ ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529[ต้องการอ้างอิง] ดร.พลังพลได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล [ต้องการอ้างอิง]และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ทางเคมีอินทรีย์ จาก มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้การให้คำปรึกษาจากศาสตราจารย์ Jon Clardy[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการศึกษาโครงสร้างสามมิติด้วยเทคนิค x-ray crystallography ด้วยรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน [ต้องการอ้างอิง]และศึกษาการทำงานของโปรตีนหลายชนิด[ต้องการอ้างอิง]เช่น CDC42 (โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง) FKBP12 (เกี่ยวกับกลไกลดภูมิคุ้มกัน) chorismate mutase (เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา Claisen rearrangement ในเชื้อแบคทีเรีย) prephenate dehydratase และ cyclohexadienyl dehydratase ซึ่งเป็นเอนไซม์ในการสังเคราะห์กรดอะมิโน เป็นต้น

ประวัติการทำงาน

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการเลื่อนตำแหน่งวิชาการเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2546 ตามลำดับ [ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำหน่วยวิจัยเพื่อความเลิศโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ในช่วงแรกของการทำงานในประเทศไทย ดร.พลังพล และทีมงาน จัดตั้งห้องปฏิบัติรังสีเอกซ์เพื่อศึกษาโครงสร้างสามมิติของผลึก โดยประยุกต์ใช้กับการศึกษาโครงสร้างทางเคมี และชีวโมเลกุล เช่น การศึกษาโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ dihydrofolate reductase ในเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax เป้าหมายของยารักษาโรคในกลุ่ม antifolate นำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนของกลไกการดื้อยา ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการออกแบบยารักษาโรคมาลาเรียที่ดีขึ้น กลไกการทำงานของเอนไซม์ phenylglycine aminotransferase ศึกษาโมเลกุลของฮีโมโกลบินลูกผสมที่เกี่ยวข้องกับโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่สำคัญ การพัฒนายาโดยใช้เทคนิค crystal engineering เป็นต้น ในระยะต่อมา ดร.พลังพล ประยุกต์ใช้เทคนิคทาง chemical ligation ด้วย click chemistry ร่วมกับการใช้ magnetic nanoparticles และเทคนิคทางด้าน proteomics ในการศึกษาหาโมเลกุลเป้าหมายของยารักษาโรค เพื่อตอบคำถามวิจัยหลักคือ "โมเลกุลเป้าหมายของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหรือยารักษาโรคคืออะไร-what และจะอธิบายถึงกลไกการทำงานในระดับโมเลกุลได้อย่างไร-how" นำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในระดับเซลล์ ตัวอย่างเช่น กลไกการทำงานของยาอาร์ทีมิซินิน ซึ่งพบว่ามีโมเลกุลเป้าหมายหลายชนิดและนำไปสู่การทำลายเชื้อมาลาเรียอย่างรวดเร็ว การศึกษากลไกการเกิด apoptosis ของเซลล์ของ gambogic acid พบว่า heat-shock protein ชนิดหนึ่งเป็นโมเลกุลเป้าหมาย การศึกษา rotenone หรือจากโล่ติ๊นที่แสดงฤทธิ์ฆ่าแมลงและมีผลต่อเซลล์ประสาท โดยพบโมเลกุลเป้าหมายที่นำไปสู่การตายของเซลล์ประสาท

การออกแบบ chemical probes ต่างๆ นำไปสู่การศึกษาสารปริมาณน้อยในเซลล์ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮดราซีน และโลหะหนักต่างๆ อีกหลายชนิด องค์ความรู้ใหม่เหล่านี้ได้รับการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงหลายชนิด ในรูปของชุดทดสอบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของอาหารและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ด้านการบริหาร ดร.พลังพล ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวาระตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีวิสัยทัศน์มุ่งหมายให้ "วิทยาศาสตร์เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม"[2] โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภาคเอกชน เพื่อสร้างประโยชน์กับประเทศและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์อย่างยั่งยืน

ผลงานวิจัย

กลุ่มวิจัยของ รศ.ดร.พลังพล ในปัจจุบัน ณ ภาควิชาเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ (CPET) และศูนย์พัฒนาชุดทดสอบขั้นสูง (ADDC) ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการทำงานในระดับโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ โดยใช้เทคนิคทางเคมีสมัยใหม่ที่หลากหลายรวมถึง X-ray crystallography เช่น

  1. กลไกการทำงานของสารที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ที่เกี่ยวข้องกับ Parkinson's disease เป็นต้น
  2. ตัวตรวจวัดทางเคมีของสารปริมาณน้อย และการติดตามการทำงานของเอนไซม์ เช่น อัลดีไฮด์ น้ำตาล และ tyrosinase เป็นต้น
  3. เอนไซม์ย่อยพลาสติกเพื่อนำไปสู่ circular และ green economy
  4. การพัฒนาชุดทดสอบประสิทธิภาพสูง เพื่อนำไปใช้จริง และมีการดำเนินการอย่างยั่งยืนในเชิงพาณิชย์ (science-based innovation-driven enterprise)

เกียรติคุณและรางวัล

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมีอินทรีย์ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2546[3] จากการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน dihydrofolate reductase ในเชื้อมาลาเรีย และเอนไซม์ aminotransferase ด้วยเทคนิค x-ray diffraction และจากการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อราในต้นไม้

ด้านการประดิษฐ์และนวัตกรรม ดร.พลังพล ได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากการพัฒนาชุดทดสอบหลายชนิด และมีการนำไปใช้ประโยชน์จริง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมสื่อจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ด้านการเรียน การสอน ดร.พลังพล ได้รับการยกย่องให้เป็น "อาจารย์ตัวอย่าง" ระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย จากสภาคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ และจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ

ดร.พลังพล ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวาระตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562-30 พฤศจิกายน 2566

อ้างอิง

  1. "คณะผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". Faculty of Science. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  2. "สารจากคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". Faculty of Science. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  3. "รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ – กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล". สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.