ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้าราชการส่วนท้องถิ่น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
1.2) รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2) รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


1.3) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด
1.3) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด


==== ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ ====
==== ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ ====
2.1) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับสํานัก
2.1) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับสำนัก


2.2) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับกอง
2.2) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับกอง
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
2.3) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับส่วน/ฝ่าย
2.3) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับส่วน/ฝ่าย


2.4) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด
2.4) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด


==== ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ====
==== ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ====
3.1) ตําแหน่งที่จําเป็นต้องใช้ผู้สําเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด
3.1) ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด


==== ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ====
==== ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ====
4.1) ตําแหน่งที่ไม่ใช่ตําแหน่งประเภทบริหาร ตําแหน่งประเภทอํานวยการ และตําแหน่งประเภทวิชาการ ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกําหนด
4.1) ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด


== การแบ่งระดับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ==
== การแบ่งระดับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:49, 5 ธันวาคม 2562

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงิน เดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงิน อุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการ โดยการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ณ ปัจจุบัน จะดำเนินการโดย คณะกรรมการกลางสอบแข่งขันพนักงานส่วนท้องถิ่น (กสถ.) ซึ่งการสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) และภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ารับราชการ

ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานเทศบาล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 และประกาศคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเบื้องต้นสำหรับพนักงานส่วนตำบล ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2544 ดังต่อไปนี้

  • มีสัญญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง
  • ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล และคณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบลกำหนด
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามมาตรฐานทั่วไป หรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี จนเป็นที่รังเกียจของสังคม
  • ไม่เป็นกรรมการพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำ ความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามมาตรฐานทั่วไปหรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก พราะกระทำผิดวินัยตามมาตรฐานทั่วไปหรือหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น หรือตามกฎหมายอื่น
  • ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

ประเภทตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

ตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่น ได้แก่

1.1) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.2) รองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.3) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ได้แก่

2.1) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับสำนัก

2.2) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับกอง

2.3) หัวหน้าหน่วยงาน ระดับส่วน/ฝ่าย

2.4) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่

3.1) ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่

4.1) ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด

การแบ่งระดับข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ไฟล์:อินทรธนูข้าราชการส่วนท้องถิ่น.jpg
อินทรธนูข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ตำแหน่งของข้าราชการส่วนท้องถิ่น ให้มีระดับดังต่อไปนี้

ประเภทบริหารท้องถิ่น มี 3 ระดับ

1.1) ระดับต้น

1.2) ระดับกลาง

1.3) ระดับสูง

ประเภทอำนวยการท้องถิ่น มี 3 ระดับ

2.1) ระดับต้น

2.2) ระดับกลาง

2.3) ระดับสูง

ประเภทวิชาการ มี 4 ระดับ

3.1) ระดับปฏิบัติการ

3.2) ระดับชำนาญการ

3.3) ระดับชำนาญการพิเศษ

3.4) ระดับเชี่ยวชาญ

ประเภททั่วไป มี 3 ระดับ

4.1) ระดับปฏิบัติงาน

4.2) ระดับชำนาญงาน

4.3) ระดับอาวุโส

อัตราเงินเดือน

อัตราเงินเดือน

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงิน อุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการ สำหรับคุณวุฒิที่ ก.จ. , ก.ท. , ก.อบต. หรือ กพ. รับรองเพื่อการบรรจุและแต่งตั้ง เช่น

  • ปริญญาเอก บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 21,400 บาท
  • ปริญญาโท บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 17,570 บาท
  • ปริญญาตรี บรรจุแต่งตั้งในประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือน 15,060 บาท (ปริญญาตรี 5 ปี อัตราเงินเดือน 15,840 บาท)
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 11,510 บาท
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 10,880 บาท
  • ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) บรรจุแต่งตั้งในประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือน 9,440 บาท

บัญชีอัตราเงินเดือน

บัญชีอัตราเงินเดือนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (บัญชี 5)

ประเภททั่วไป

  • ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 8,750 - 25,020 บาท
  • ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน อัตราเงินเดือนระหว่าง 13,470 - 40,900 บาท
  • ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส อัตราเงินเดือนระหว่าง 18,010 - 54,090 บาท

ประเภทวิชาการ

  • ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 9,740 - 30,020 บาท
  • ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,050 - 49,480 บาท
  • ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ อัตราเงินเดือนระหว่าง 21,550 - 66,490 บาท
  • ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ อัตราเงินเดือนระหว่าง 24,400 - 77,380 บาท

อำนวยการท้องถิ่น

  • ประเภทอำนวยการท้องถิ่น ระดับต้น อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,430 - 50,170 บาท
  • ประเภทอำนวยการท้องถิ่น ระดับกลาง อัตราเงินเดือนระหว่าง 22,140 - 67,560 บาท
  • ประเภทอำนวยการท้องถิ่น ระดับสูง อัตราเงินเดือนระหว่าง 25,080 - 78,020 บาท

บริหารท้องถิ่น

  • ประเภทบริหารท้องถิ่น ระดับต้น อัตราเงินเดือนระหว่าง 15,850 - 51,140 บาท
  • ประเภทบริหารท้องถิ่น ระดับกลาง อัตราเงินเดือนระหว่าง 22,700 - 68,640 บาท
  • ประเภทบริหารท้องถิ่น ระดับสูง อัตราเงินเดือนระหว่าง 25,770 - 80,450 บาท

สิทธิและสวัสดิการข้าราชการส่วนท้องถิ่น

  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าการศึกษาบุตร
  • ค่าทำขวัญ
  • เงินรางวัล (โบนัส)
  • การลา
  • ค่าเช่าบ้าน
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
  • บำเหน็จบำนาญ
  • การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง