ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Golf-ben10 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
พีรวงค์ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่เดิมเปิดเรียนอยู่ระหว่างวัดพระบาทกับวัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันวัดทั้งสองได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน มีชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) ชื่อในสมัยนั้นคือ "'''โรงเรียนเทพวงศ์'''" ตามชื่อเจ้าผู้ครองนครแพร่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นประมาณก่อน พ.ศ. 2444 (ก่อตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) ซึ่งนามโรงเรียนนี้ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) หลังจากเกิดกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พ.ศ. 2445 โรงเรียนเทพวงศ์ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีชื่อว่า "'''โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่'''" รับนักเรียนได้ประมาณ 200 คน
โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่เดิมเปิดเรียนอยู่ระหว่างวัดพระบาทกับวัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันวัดทั้งสองได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน มีชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) ชื่อในสมัยนั้นคือ "'''โรงเรียนเทพวงศ์'''" ตามชื่อเจ้าผู้ครองนครแพร่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นประมาณก่อน พ.ศ. 2444 (ก่อตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) ซึ่งนามโรงเรียนนี้ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) หลังจากเกิดกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พ.ศ. 2445 โรงเรียนเทพวงศ์ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีชื่อว่า "'''โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่'''" รับนักเรียนได้ประมาณ 200 คน


ต่อมาในสมัยของพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่ ณ บริเวณตรงข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (คือสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) พระยาบุรีรัตน์ กรมการที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ได้มอบไม้สักทอง 100 ท่อน โดยอาศัยแรงงานนักโทษกับช่างไม้พื้นเมืองก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นเมื่อสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนเสร็จในปี 2455 จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนามตามใบบอกที่ 213 เลขที่รับ 169 ลงวันที่ 6/5/56 (วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456) ว่า "'''โรงเรียนพิริยาลัย'''" ซึ่งคงอาศัยเค้านามเต็มจาก "เจ้าพิริยเทพวงษ์" เจ้าผู้ครองนครแพร่
ต่อมาในสมัยของพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่ ณ บริเวณตรงข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (คือสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) [[พระยาบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)|เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา)]] กรมการที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ได้มอบไม้สักทอง 100 ท่อน โดยอาศัยแรงงานนักโทษกับช่างไม้พื้นเมืองก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นเมื่อสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนเสร็จในปี 2455 จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนามตามใบบอกที่ 213 เลขที่รับ 169 ลงวันที่ 6/5/56 (วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456) ว่า "'''โรงเรียนพิริยาลัย'''" ซึ่งคงอาศัยเค้านามเต็มจาก "[[เจ้าพิริยเทพวงษ์]]" เจ้าผู้ครองนครแพร่


วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2456 โรงเรียนพิริยาลัยเริ่มเปิดสอน ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ มีพิธีเปิดโรงเรียนวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้พร้อมกับมหาชนชาวเมืองแพร่บ่ายหน้าสู่กรุงเทพมหานครถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วกระตุกผ้าคลุมจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประดิษฐานอยู่ที่หน้ามุขอาคารไม้ออก สมมุติว่าโดยเปิดพระราชานุสาวรีย์ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่กระตุกผ้าคลุมป้ายโรงเรียนออกตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนพิริยาลัย” และมีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้” ต่อมาเมื่อวัน 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4) ได้เสด็จมายังโรงเรียนพิริยาลัย เพื่อประทานธงนามโรงเรียน 13 คัน แล้ว และทรงประน้ำพระพุทธมนต์แก่นักเรียน พร้อมประทานพระโอวาท ต่อมาเมืองแพร่ได้รับการยกฐานะเป็น "มณฑลมหาราษฎร์" ในปี พ.ศ. 2458 โรงเรียนพิริยาลัยจังได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลไปด้วย ชื่อว่า "'''โรงเรียนประจำมณฑลมหาราษฎร์พิริยาลัย'''" จนเมื่อ พ.ศ. 2469 มณฑลได้ถูกยุบเป็นจังหวัด โรงเรียนพิริยาลัยจึงกลับมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดตามเดิม มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "'''โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย'''"
วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2456 โรงเรียนพิริยาลัยเริ่มเปิดสอน ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ มีพิธีเปิดโรงเรียนวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้พร้อมกับมหาชนชาวเมืองแพร่บ่ายหน้าสู่กรุงเทพมหานครถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วกระตุกผ้าคลุมจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประดิษฐานอยู่ที่หน้ามุขอาคารไม้ออก สมมุติว่าโดยเปิดพระราชานุสาวรีย์ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่กระตุกผ้าคลุมป้ายโรงเรียนออกตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนพิริยาลัย” และมีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้” ต่อมาเมื่อวัน 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4) ได้เสด็จมายังโรงเรียนพิริยาลัย เพื่อประทานธงนามโรงเรียน 13 คัน แล้ว และทรงประน้ำพระพุทธมนต์แก่นักเรียน พร้อมประทานพระโอวาท ต่อมาเมืองแพร่ได้รับการยกฐานะเป็น "มณฑลมหาราษฎร์" ในปี พ.ศ. 2458 โรงเรียนพิริยาลัยจังได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลไปด้วย ชื่อว่า "'''โรงเรียนประจำมณฑลมหาราษฎร์พิริยาลัย'''" จนเมื่อ พ.ศ. 2469 มณฑลได้ถูกยุบเป็นจังหวัด โรงเรียนพิริยาลัยจึงกลับมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดตามเดิม มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "'''โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย'''"


ในปี พ.ศ. 2477 ทางราชการทหารได้อนุเคราะห์ไม้อาคารที่ทำงาน และบ้านพักจากตำบลเด่นชัยให้แก่โรงเรียน รวมกับเงินที่ได้รับเงินบริจาคสมทบอีกส่วนหนึ่งจากประชาชนชาวเมืองแพร่ นายคำรพ นุชนิยม ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นด้วย ได้ซื้อที่นาติดถนน เพชรรัตน์ (ถนนยันตรกิจโกศล) เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ่แล้วสร้างอาคารไม้สองชั้น จำนวน 10 ห้องเรียนขึ้น (อาคารผึ้ง ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว) ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 (ไชยลังกา) และอาคาร 3 (นิกรกิตติการ) ขณะนี้
ในปี พ.ศ. 2477 ทางราชการทหารได้อนุเคราะห์ไม้อาคารที่ทำงาน และบ้านพักจากตำบลเด่นชัยให้แก่โรงเรียน รวมกับเงินที่ได้รับเงินบริจาคสมทบอีกส่วนหนึ่งจากประชาชนชาวเมืองแพร่ นายคำรพ นุชนิยม ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นด้วย ได้ซื้อที่นาติดถนน เพชรรัตน์ (ถนนยันตรกิจโกศล) เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ่แล้วสร้างอาคารไม้สองชั้น จำนวน 10 ห้องเรียนขึ้น (อาคารผึ้ง ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว) ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 (ไชยลังกา) และอาคาร 3 (นิกรกิตติการ) ขณะนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:34, 4 ธันวาคม 2562

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่
Phiriyalai School Phrae
ที่ตั้ง
151 ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ร. (P.R.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญวิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
(คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร)

สถาปนาพ.ศ. 2444
ผู้ก่อตั้งเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
หน่วยงานกำกับกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส54012001
ผู้อำนวยการนายเลิศชาย รัตนะ
จำนวนนักเรียน3,672 คน
สี███ ขาว
███ แดง
เพลงมาร์ชพิริยาลัย
เว็บไซต์www.piriyalai.ac.th
ต้นไม้ประจำโรงเรียน - ชมพูพันธุ์ทิพย์

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ แต่เดิมชื่อว่าโรงเรียนเทพวงศ์ ตั้งอยู่ระหว่างวัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง (ในสมัยนั้น) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2444 ต่อมาย้ายไปตั้งหน้าจวนผู้วาราชการจังหวัด (ปัจจุบันคือโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) และผู้ว่าราชการในสมัยนั้นคือพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) เห็นว่าพื้นที่เดิมคับแคบจึงจัดซื้อที่ทุ่งนาติดถนนเพชรรัตน์ (ปัจจุบันถนนยันตรกิจโกศล) เพื่อก่อสร้างโรงเรียน

สถาบันแห่งนี้ได้ฝึกฝนอบรมเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถเป็นคนดีที่ทำประโยชน์แก่สังคม ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน จนเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป จึงทำให้ผู้ปกครองไว้วางใจและนิยมส่งบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้สนองนโยบายด้านการศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พยายามเร่งรัดพัฒนาเยาวชนในโรงเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ

ประวัติ

โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่เดิมเปิดเรียนอยู่ระหว่างวัดพระบาทกับวัดมิ่งเมือง (ปัจจุบันวัดทั้งสองได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน มีชื่อว่า วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร) ชื่อในสมัยนั้นคือ "โรงเรียนเทพวงศ์" ตามชื่อเจ้าผู้ครองนครแพร่ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนขึ้นประมาณก่อน พ.ศ. 2444 (ก่อตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) ซึ่งนามโรงเรียนนี้ได้รับโปรดเกล้าฯพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443) หลังจากเกิดกบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พ.ศ. 2445 โรงเรียนเทพวงศ์ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีชื่อว่า "โรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่" รับนักเรียนได้ประมาณ 200 คน

ต่อมาในสมัยของพระยานิกรกิตติการ (กั๊ก ศรีเพ็ญ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่ใหม่ ณ บริเวณตรงข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (คือสถานที่ตั้งโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่) เจ้าบุรีรัตน์ (น้อยหนู มหายศปัญญา) กรมการที่ปรึกษาโรงเรียนตัวอย่างเมืองแพร่ ได้มอบไม้สักทอง 100 ท่อน โดยอาศัยแรงงานนักโทษกับช่างไม้พื้นเมืองก่อสร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นเมื่อสร้างอาคารไม้สักและโรงเรียนเสร็จในปี 2455 จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และได้รับพระราชทานนามตามใบบอกที่ 213 เลขที่รับ 169 ลงวันที่ 6/5/56 (วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2456) ว่า "โรงเรียนพิริยาลัย" ซึ่งคงอาศัยเค้านามเต็มจาก "เจ้าพิริยเทพวงษ์" เจ้าผู้ครองนครแพร่

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2456 โรงเรียนพิริยาลัยเริ่มเปิดสอน ในฐานะโรงเรียนประจำจังหวัดแพร่ มีพิธีเปิดโรงเรียนวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้พร้อมกับมหาชนชาวเมืองแพร่บ่ายหน้าสู่กรุงเทพมหานครถวายบังคมแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ แล้วกระตุกผ้าคลุมจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้รับอนุญาตให้ประดิษฐานอยู่ที่หน้ามุขอาคารไม้ออก สมมุติว่าโดยเปิดพระราชานุสาวรีย์ แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่กระตุกผ้าคลุมป้ายโรงเรียนออกตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนพิริยาลัย” และมีข้อความว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภ์แก่โรงเรียนนี้” ต่อมาเมื่อวัน 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 (พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4) ได้เสด็จมายังโรงเรียนพิริยาลัย เพื่อประทานธงนามโรงเรียน 13 คัน แล้ว และทรงประน้ำพระพุทธมนต์แก่นักเรียน พร้อมประทานพระโอวาท ต่อมาเมืองแพร่ได้รับการยกฐานะเป็น "มณฑลมหาราษฎร์" ในปี พ.ศ. 2458 โรงเรียนพิริยาลัยจังได้เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประจำมณฑลไปด้วย ชื่อว่า "โรงเรียนประจำมณฑลมหาราษฎร์พิริยาลัย" จนเมื่อ พ.ศ. 2469 มณฑลได้ถูกยุบเป็นจังหวัด โรงเรียนพิริยาลัยจึงกลับมาเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดตามเดิม มีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า "โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย"

ในปี พ.ศ. 2477 ทางราชการทหารได้อนุเคราะห์ไม้อาคารที่ทำงาน และบ้านพักจากตำบลเด่นชัยให้แก่โรงเรียน รวมกับเงินที่ได้รับเงินบริจาคสมทบอีกส่วนหนึ่งจากประชาชนชาวเมืองแพร่ นายคำรพ นุชนิยม ศึกษาธิการจังหวัดแพร่ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้นด้วย ได้ซื้อที่นาติดถนน เพชรรัตน์ (ถนนยันตรกิจโกศล) เป็นที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ่แล้วสร้างอาคารไม้สองชั้น จำนวน 10 ห้องเรียนขึ้น (อาคารผึ้ง ปัจจุบันได้รื้อถอนไปแล้ว) ณ บริเวณที่ตั้งอาคาร 2 (ไชยลังกา) และอาคาร 3 (นิกรกิตติการ) ขณะนี้

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2478 โรงเรียนประจำจังหวัดแพร่พิริยาลัย ได้ย้ายมาเปิดสอนในสถานที่แห่งใหม่ เป็นต้นมา มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 และในปีนั้นได้เปิดสอบชั้นพาณิชยการปีที่ 5 ด้วย ต่อมาได้ขยายถึงพาณิชยการปีที่ 8 (เป็นโรงเรียนแห่งแรกในภาคเหนือตอนบนที่เปิดสอนชั้นพาณิชยการ)


  • พ.ศ. 2481 ยุบชันมัธยมพาณิชยการและประถมศึกษา มาเป็นสอนชั้น
  • พ.ศ. 2500 เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2503-2505 ยุบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 คงเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 หรือ ม.ศ. 1 (มัธยมศึกษาปีที่4) ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือ ม.ศ. 5 (มัธยมศึกษาปีที่ 8)
  • พ.ศ. 2511 โรงเรียนได้รับพิจารณาให้อยู่ในโครงการโรงเรียนมันธยมศึกษาในชนบท (คมช.)
  • พ.ศ. 2517 โรงเรียนได้รับพิจารณาให้เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาโรงเรียนส่วนภูมิภาค กลุ่มที่ 2 (คมภ.)
  • พ.ศ. 2523 นายเกรียงศักดิ์ ธนอัศวนนท์ นายทินกร เล้าตระกูล และนายวิชญ์ สิริโรจน์พร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภททีม ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2523
  • พ.ศ. 2530 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 4 (อาคารเฉลิมพระชนม์ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ)

สถาบันแห่งนี้ได้ฝึกฝนอบรมเยาวชนให้มีความรู้ความสามารถเป็นคนดีที่ทำประโยชน์แก่สังคม ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียน จนเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป จึงทำให้ผู้ปกครองไว้วางใจและนิยมส่งบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ได้สนองนโยบายด้านการศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พยายามเร่งรัดพัฒนาเยาวชนในโรงเรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ จึงมีคติดพจน์ของโรงเรียนไว้ว่า "คุณธรรมเด่น เน้นการศึกษา อนามัยสมบูรณ์ เทิดทูญสถาบัน สัมพันธ์ชุมชน เพิ่มผลสิ่งแวดล้อม"

  • พ.ศ. 2540 นายอักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2540 ได้รับเหรียญทองแดง
  • พ.ศ. 2541 นายอักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ประจำปี 2541 ได้รับเหรียญทองแดง
  • พ.ศ. 2545 นายเทียนชัย เอกคุณ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2545
  • พ.ศ. 2545 นายเทียนชัย เอกคุณ นายกลวัชร ไพบูลย์ศิลป นายจิรายุทร์ พุทธรักษา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภททีม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2545
  • พ.ศ. 2547 นายจิรายุทร์ พุทธรักษา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2547
  • พ.ศ. 2547 นักเรียนโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภททีม ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2547
  • พ.ศ. 2548 นักเรียนโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภททีม ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2548
  • พ.ศ. 2548 เด็กชายธีรสิทธิ์ อิสสรานนท์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IAO) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2549 นักเรียนโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2548 จำนวน 1 คน
  • พ.ศ. 2551 นักเรียนโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2550 จำนวน 2 คน
  • พ.ศ. 2556 นายอนันตโชค ดวงสาโรจน์ ศูนย์ สอวน.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสอบชิงทุนการศึกษา ODOS ศึกษา ณ Imperial College London วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการแพทย์ดิอิมพีเรียล ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. 2556 นายวรัญญู  ปัญญาวชิโรภาส สอบได้ลำดับที่ 1 ของประเทศไทย ประจำปี 2556 ได้รับโล่โครงการเยาวชนอีซีอี.แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย และ นายธนศักดิ์ กองโกย ระดับชั้นม.5 สอบได้ลำดับที่ 1 ของประเทศไทย องค์การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม UCE (Universal and Cultural Exchange) ศึกษาภาษาอังกฤษ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ และ นางสาวเกศรินทร์ เทียนน้ำเงิน ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันภาษาจีนระดับโลก  สะพานภาษาจีน ครั้งที่ 1 จัดโดยสถาบันขงจื้อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัลที่ 1 เหรียญทอง ระดับนานาชาติ จากการเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ Global Finals of Global Natural History Day 2014 ณ เมืองฉงชิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ. 2557 นายโชตะ ฟูจิตะ นักเรียนชั้นม.6/1 ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2556
  • พ.ศ. 2559 นายพีรวิชญ์ อินทร์ปรา และ นายปิยะพัทธ์ ภิญโญ นักเรียนชั้นม.3 ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2558
  • พ.ศ. 2559 นายนิติสรณ์ เป็นบุญ สอบได้อันดับที่ 1 วิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์2 , สอบได้อันดับที่ 2 วิชาคณิตศาสตร์2 และนายเตชิต สุขวัฒนานนท์ สอบได้อันดับที่ 2 วิชาสังคมศึกษา  ผลสอบ Pre โควตา มช. ประจำปี 2559  จากผู้เข้าสอบ 16,625 คน
  • พ.ศ. 2560 นายนิบุณ วัฒนญาณนนท์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเหนือ การสอบแข่งขันสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2559
  • พ.ศ. 2560 นายจิรพัฒน์ สมบัติ นายพฤทธิเมธ สนธิพันธ์ศักดิ์ นายพัทธดนย์ คำน้อย และนายภูรวิช ปัญญาวชิโรภาส นักเรียนชั้นม.3 ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนนเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2559
  • พ.ศ. 2560 นายธนภัทร ชินสว่างวัฒนกุล นักเรียนชั้นม.6/2 ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2559
  • พ.ศ. 2560 เด็กชายตุลธร ศรีดอนชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สอบได้ที่ 1 ระดับชั้นม.2 จาก 2,728 คนทั่วภาคเหนือ และสอบได้ที่ 16 จาก 25,102 คนทั่วประเทศ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ การแข่งขันโครงการประเมินความเป็นเลิศคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ TEDET (สสวท.)
  • พ.ศ. 2560 นางสาวกนกรัตน์ ปวงคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้รับโล่เกียรติยศ รางวัลชนะเลิศ การประกวดความเรียง"พ่อ...ผู้เป็นพระอรหันต์ในบ้าน" จากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2561 เด็กชายศุภฤกษ์ คงประพันธ์ เด็กชายชิณเสฎฐ์ ภัสรานุกูล และเด็กชายสรัณภัทร ยาใจ นักเรียนชั้นม.3 ได้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 100 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ ในการสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2560
  • พ.ศ. 2561 เด็กชายธนวันต์ ชัชฎานรเสฎฐ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 และได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ 2018 ณ เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา โดยได้รับรางวัลคะแนนรวมภาคปฏิบัติการสูงสุด และรางวัลคะแนนรวมสูงสุดในกลุ่ม ศูนย์ สอวน.ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ. 2561 นายธนวันต์ ชัชฎานรเสฏฐ์ ตัวแทนจากโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ได้รับรางวัลเหรียญทอง โดยมีผลคะแนนรวมสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของโลก Absolute winner ในการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ XXlll International Astronomy Olympiad (IAO 2018)และทีมผู้แทนประเทศไทยได้รับรางวัลคะแนนรวมสูงสุด ณ เมืองโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

  • เครื่องหมายประจำโรงเรียน เป็นรูปรวงผึ้งติดกับกิ่งไม้ซึ่งมีใบไม้ 3 ใบ ต่อล่างของรวงผึ้ง มีพุทธศาสนสุภาษิตว่า "วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ" หมายถึง คนล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
    • รวงผึ้ง หมายถึง ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพวกเราชาวพิริยาลัย ต่างก็มีความขยันขันแข็ง ร่วมมือร่วมใจกันทำงาน
    • ใบไม้ 3 ใบ หมายถึง ท่าทาง - วางตัว - หัวใจ กล่าวคือ ลูกพิริยาลัยทุกคน จะต้องเป็นบุคคลที่มีท่าทางองอาจ สง่างาม บ่งบอกถึงคุณลักษณะของผู้ดี วางตัวถูกกาลเทศะ รู้จักสิ่งใดควรหรือไม่ควร และทุ่มเทหัวใจหรือชีวิตจิตใจให้แก่การเรียนการงาน ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีความบริสุทธิ์ใจซึ่งกันและกัน
  • สีประจำโรงเรียน คือ สีขาว - แดง
    • สีขาว หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์
    • สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ องอาจ อดทน
  • 3 สรณะทางใจ
    • พระพุทธพิริยะมหามงคลบพิตร
    • อนุสาวรีย์เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์
    • ศาลเจ้าพ่อไชยลังกา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายเต่า พ.ศ. 2450 - 2451
2 นายโชติ พ.ศ. 2451 - 2454
3 ขุนวรวุฒิพิเศษ (ยศ) พ.ศ. 2454 - 2456
4 ขุนสรรพิทย์พิเศษ (สวาสดิ์ พิลาเนีย) พ.ศ. 2456 - 2459
5 ขุนดรุณวิทย์วรเศรษฐ(ยง ศิลปคุปต์) พ.ศ. 2459 - 2462
6 ขุนกิตติวาท (ผล สิงหผลิน) พ.ศ. 2462 - 2467
7 ขุนจรรยาวิฑูร (วิฑูร ทิวทอง) พ.ศ. 2467 - 2470
8 นายเล็ก น้ำทิพย์ พ.ศ. 2470 - 2472
9 ร.อ.ต.ขุน มีนะนันท์ พ.ศ. 2472 - 2472
10 นายคำรพ นุชนิยม พ.ศ. 2473 - 2478
11 นายลือ ไชยประวัติ พ.ศ. 2478 - 2492
12 นายส่ง ไชยสิทธิ์ พ.ศ. 2492 - 2498
13 นายพรหมมินทร์ แสนศิริ พ.ศ. 2498 - 2506
14 นายสุด สุวรรณาคินทร์ พ.ศ. 2506 - 2509
15 นายศรีสมมาตร ไชยเนตร พ.ศ. 2509 - 2523
16 นายวิทูร ญาณสมเด็จ พ.ศ. 2523 - 2527
17 นายขจร หาญจิต พ.ศ. 2527 - 2534 , พ.ศ. 2536 - 2537
18 นายทองอินทร์ ไชยนวรัตน์ พ.ศ. 2535 - 2536 , พ.ศ. 2537 - 2542
19 นายเนาวรัตน์ คณะนัย พ.ศ. 2542 - 2544
20 นายมานพ ดีมี พ.ศ. 2544 - 2546
21 นายพิทักษ์ บุณยเวทย์ พ.ศ. 2547 - 2551
22 นายสรพลรัตน์ กุมภิรัตน์ พ.ศ. 2551 - 2552
23 นายพงศ์พันธุ์ เป็งวงศ์ พ.ศ. 2552 - 2555
24 นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย พ.ศ. 2555 - 2558
25 นายเลิศชาย รัตนะ พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน

รายชื่ออาคารในโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่

  • อาคาร 1 - อาคารพิริยะ อาคารอำนวยการ
    • ชั้นที่หนึ่งฝ่ายบริหารงานงบประมาณและธุรการ ห้องผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหารทั่วไปและส่งเสริมสวัสดิภาพและสวัสดิการ ฝ่ายบริหารวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มสธ
    • ชั้นที่สองกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ฝ่ายแนะแนว
    • ชั้นที่สามห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  • อาคาร 2 - อาคารไชยลังกา เป็นอาคารเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่หนึ่งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ม.ต้น
    • ชั้นที่สองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่สาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
  • อาคาร 3 - อาคารนิกรกิตติการ อาคารวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่หนึ่งห้องเรียน ห้องปฏิบัติการชีววิทยา ห้องเรียนทั่วไป
    • ชั้นที่สองห้องเรียน ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป ห้องพักครู
    • ชั้นที่สามห้องเรียน ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • อาคาร 4 - อาคารเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    • ชั้นที่หนึ่ง ฝ่ายบริหารงานบุคคลและส่งเสริมคุณภาพนักเรียน ห้องพยาบาล ห้องโสตทัศนศึกษา 1
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  • อาคาร 5 - อาคารฉลองราชย์ 60 ปีพิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องโสตทัศนศึกษา 2
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 1
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 1
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนจริยธรรม
  • อาคาร 6 - อาคารทิพยศิลป์
    • ชั้นที่หนึ่ง ฝ่ายกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา
    • ชั้นที่สอง ห้องเรียนธุรกิจศึกษา ห้องนาฏศิลป์
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียนดนตรีศึกษา ห้องเรียนเขียนแบบ
    • ชั้นที่สี่ ห้องปฏิบัติการงานช่าง
  • อาคาร 7 - อาคารเฉลิมราชย์พิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องจัดและออกอากาศรายการวิทยุโรงเรียน 107.25 FM ห้อง Resource Center ห้องสมุด ห้องสมุดออนไลน์
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2
    • ชั้นที่สาม ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2
    • ชั้นที่สี่ ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 2
  • อาคาร 8 - อาคารเกษตร ห้องเรียนเกษตร คหกรรม
  • อาคาร 9 - อาคารภูมิพิริยานุสรณ์
    • ชั้นที่หนึ่ง ห้องปกครอง
    • ชั้นที่สอง กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
    • ชั้นที่สาม กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส) ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
    • ชั้นที่สี่ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น) ห้องเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 5
  • หอประชุมผึ้งหลวง สร้างขึ้นเมื่อปี 2538
  • อาคารผึ้งเงิน ธนาคารโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน
  • อาคารผึ้งทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา
  • อาคารเจ้าหลวง ห้องประชาสัมพันธ์ ศูนย์อาเซียนศึกษา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

  • ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี พ.ศ. 2531, อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
  • พลเอก สายหยุด เกิดผล อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • ศาสตราจารย์นิคม จันทรวิทุร นักรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของแรงงานและคนยากจนด้อยโอกาส และนักวิชาการด้านแรงงาน อดีตอธิบดีกรมแรงงาน
  • พลโท ยงยุทธ พิมสาร
  • คุณยุทธชัย อุตมา เลขาธิการคุรุสภา
  • คุณฉัตรชัย รัตนโอภาส
  • ดร.เกียงศักดิ์ สุวรรณธราดล อาจารย์ประจำคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , ที่ปรึกษาองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
  • คุณยุวรัตน์ กมลเวชช์ อธิบดีกรมแรงงาน , คณะกรรมการการเลือกตั้ง , ประธานคณะกรรมการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20
  • ดร.พจน์ ปัญญาทิพย์ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ , อดีตผู้อำนวยการกองแผนงานกรมชลประทาน
  • ดร.ชวาล ชวณิชย์ เอกอัครราชทูต (ผู้ร่วมการเจรจาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปี พ.ศ. 2518)
  • ดร.พยุงศักดิ์ จันทรสุรินทร์ อดีตอธิบดีกรมอาชีวศึกษ , เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • พ.ต.ท.นายแพทย์ภาสกร รักษ์กุล อดีตนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ
  • พลเอก ถวัลย์ แสวงพรรค์ รองผู้บัญชาการทหารบก
  • คุณสิทธิพร รัตนโนภาส อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • พลเอก ดำรง สิกขะมณฑล สมุหราชองครักษ์คนที่ 14 ของประเทศไทย
  • พลโท จำเนียร พงศ์ไพโรจน์ ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคมกอล์ฟอาวุโสแห่งประเทศไทย
  • คุณรักษ์ศักดิ์ วัฒนพานิช ผู้บุกเบิกและพัฒนาวงการโทรทัศน์ไทย อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • นายแพทย์ นิยม วิวรรธนดิฐกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
  • คุณสมา สวยสด นักร้องยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ปี 2535
  • ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ หรือมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
  • ดร.สุวัตร สิทธิหล่อ อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • คุณมโนพัส หัวเมืองแก้ว อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  • คุณอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมพัฒนาชุมชน และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่
  • คุณวิทยา เจตะภัย หรือ ถนอม สามโทน นักร้องและนักแสดง
  • คุณณัฐชา เสนาบุตร โอปอล์ AF9
  • จ.ส.อ.พงศธร พอจิต ผู้ขับร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทย และเพลงเพราะเธอคือ...ประเทศไทย ของ คสช.
  • คุณกษิดิศ สำเนียง หรือ จีน กษิดิศ นักร้อง
  • พ.ต.ท.นายแพทย์อังกูร อนุวงศ์ ผู้ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านช่องคลอดแบบไร้สายแห่งแรกในอาเซียน และผู้ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องแบบไร้แผลแห่งแรก
  • ศาสตราจารย์เกียรติยศ ดร.วัชระ กสิณฤกษ์ อดีตรองอธิการบดีสาขาวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , บุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นับเป็นศาสตราจารย์เกียรติยศคนแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นายแพทย์วิชญ์ สิโรจน์พร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฝาง ได้รับรางวัลข้าราชการและแพทย์ดีเด่น
  • คุณปรีชา บำบัด อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
  • คุณกิตติดิษฐ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ ผู้ประกาศข่าวเนชั่นทีวี
  • นายแพทย์อธิปัตย์ มะโนยานะ ผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบล ณ เมืองลินเดา ประเทศเยอรมนี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้าย
  • คุณศนุกรานต์ ถิ่นจอม นักฟุตบอล
  • นายแพทย์นพรัตน์ รัตนวราห หนึ่งในหมอศัลยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทย เจ้าของคลินิกศัลยกรรมตกแต่งนพรัตน์ อดีตศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสมิติเวช 2 สาขาในกรุงเทพฯ
  • ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดองค์การสหประชาชาติ
  • รองศาสตราจารย์นายแพทย์สยาม ทองประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นายแพทย์สมิทธ์ ทองประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลแพร่
  • อ.ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร เหรียญทองแดง คอมพิวเตอร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ปี 2540 และ ปี 2541 ผู้แทนประเทศไทยในนามโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ (ปริญญาตรี 2 ใบ ด้านคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโทและปริญญาเอก Carnegie Mellon University สหรัฐอเมริกา) อาจารย์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประธานกลุ่มเมืองอัจฉริยะ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์ เป๊กทอง อาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ.ดร.ตรัย เป๊กทอง อาจารย์สำนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • คุณกฤษณ์ ศรีวะรมณ์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ก่อตั้งบริษัท มาสเตอร์พีซไลฟ์วิชั่น ปัจจุบันขยายฐานไปยังประเทศเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม
  • คุณทินกร ภูวศักดิวงศ์ พิธีกรและผู้ประกาศข่าวช่อง ONE
  • ดร.นายแพทย์จักรพงศ์ รู้ปิติวิริยะ อาจารย์โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราฃพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สอบได้ที่ 1 ประเทศไทย เอ็นทรานซ์ ปี 2547 ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงศึกษาต่อปริญญาโท-ปริญญาเอก คณะแพทยาศาสตร์ ณ สหรัฐอเมริกา
  • อ.ดร.วัฒนชัย จำปาทอง อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถาบันวิทยสิริเมธีจบปริญญาเอก Massachusetts Institute of Technology (MIT) สหรัฐอเมริกา
  • เรืออากาศเอกพายัพ ศิรินาม อาจารย์และผู้ช่วยวิจัย (ปริญญาโท-ปริญญาเอก เกรดเฉลี่ย 4.00 University of Texas Arlington และ Rochester Institute of Technology)
  • นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ธนอัศวนนท์
  • คุณธีรสิทธิ์ อิสสรานนท์ ผู้แทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (IAO) ปี 2548 และเจ้าของเหรียญรางวัล ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษา ณ University of Illinois at Urbana-Champaign
  • นายแพทย์จิรายุทร์ พุทธรักษา
  • นายแพทย์อมรพันธุ์ สมร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวังชิ้น
  • นายแพทย์กฤษฎา ฐานะวุฒิกุล แพทย์โรงพยาบาลวังชิ้น
  • คุณเทียนชัย เอกคุณ
  • นายแพทย์กลวัชร ไพบูลย์ศิลป
  • คุณภูเบศ จิตจริง นักศึกษารางวัลพระราชทาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์
  • นายแพทย์ธนากร แก้วสุทัย
  • นายแพทย์อรรณพ ดอกไม้
  • นายแพทย์ณัฎฐธนิน เศรษฐวนิชย์ อาจารย์แพทย์โรงพยาบาลแพร่ นายกสโมสรโรตารีแพร่ ปี 2560-2561
  • นายแพทย์นราวิชญ์ คณะนัย
  • คุณปธานนท์ ตรีเทพชาญชัย เจ้าของธุรกิจหุ้น
  • นายแพทย์อภิชาติ ท่าชาติ (แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล) อาจารย์ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์
  • อาจารย์ทรงทรรศน์ จินาพงศ์ ผู้ช่วยอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • นายแพทย์จักพันธุ์ ธรรมเมธากาญจน์ แพทย์ลายมือสวยที่เป็นข่าว โรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่
  • นายแพทย์วิทวัส ตั้งวิจิตรสกุล แพทย์โรงพยาบาลลำพูน
  • คุณพศุฒม์ ดวงจันทร์ สมาชิกวงดนตรีนานาชาติ Asian Youth Orchestra (AYO)
  • ดร.ภัทรศัย ตั้งวิจิตรสกุล The University of Akron
  • ดร.รัฐชัย ปิ่นชัยพัฒน์
  • นายแพทย์ณัฐพล วรรคตอน แพทย์โรงพยาบาลแพร่
  • กัปตันวีระพันธุ์ มีวรรณสุขกุล นักบินที่ 1 BANGKOK AIRWAYS
  • นายแพทย์พิเชฐ บุญมาสืบ
  • คุณพัฒนพงศ์ สุทธภักติ นิสิตดีเด่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2557
  • ทันตแพทย์วัชร เยาวรัตน์ (คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • นายแพทย์สุรสิทธิ์ สิทธิหล่อ แพทย์ประจำคณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คุณปวิชญา ศรีใจวงศ์ วิศวกรฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • นายแพทย์ไอซ์ สุวรรณชัย (คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • อาจารย์ ดร.อติชาติ เกตตะพันธุ์ อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้เข้ารับพระราชทานรางวัล "ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2560" เป็น 1 ใน 2 ท่านที่ได้รับรางวัล ในการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ เจียศิริพงษ์กุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อาจารย์ทันตแพทย์ครองพล ชื่นบาน อาจารย์ประจำสำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อาจารย์ทันตแพทย์หญิงสุทธดา เนตรทิพย์ อาจารย์คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เกียรตินิยมอันดับ 1)
  • คุณนนทพัทธ์ วานเวียง ผู้มุ่งมั่นสู่ปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์เร็ววันนี้ ผลการเรียนปี 1 ปริญญาโท 4.00 " และปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อาจารย์เจษฎา อานิล อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศาสตราจารย์ ดร.สำเริง จักษ์ใจ เกียรตินิยม ปริญญาเอก Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น อาจารย์ภาควิชาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำพล วงศ์จำรัส หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นายแพทย์โอษิษฐ์ บำบัด แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด (แพทยศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • แพทย์หญิงชิดกานต์ ศศิภัทรกุล จักษุแพทย์
  • ผศ.ดร.อัฐสิษฐ์ ทับทิมแท้ อาจารย์ประจำโครงการจัดตั้งภาควิชาฟิสิกส์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (ได้รับรางวัลเกียรติบัตรและเงินทุนช่วยเหลือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ครั้งที่ 21  พ.ศ. 2557/รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ทำชื่อเสียงและคุณประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 21 ประจำปี พ.ศ. 2557 ในงานเกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง รุ่นที่ 14/บุคลากรดีเด่น ประจำปี 2558-2560 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ประเภทนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน/นักวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบ 36, 37 และ 39 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน)

อ้างอิง

  • หนังสือรายงานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ปี 2549

แหล่งข้อมูลอื่น