ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอภาส อรุณินท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา ด้วย ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]]
[[หมวดหมู่:คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:03, 1 ธันวาคม 2562

นายโอภาส อรุณินท์
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2542 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546
ถัดไปพล.ต.อ. วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 เมษายน พ.ศ. 2477
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสยิ่งกมล อรุณินท์

โอภาส อรุณินท์ (เกิด 9 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่กรุงเทพมหานคร) [1] อดีตอัยการสูงสุด อดีตประธานคณะกรรมการอัยการ อดีตประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีชื่อเสียงมากในช่วงที่พิจารณาบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง โดยเฉพาะกรณีที่ ป.ป.ช. ขอให้วินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 กรณีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ

นายโอภาสเป็นบุตรของนายเอี่ยม (อดีตข้าราชการตุลาการบำนาญ) และนางผ่อง อรุณินท์ สมรสกับทันตแพทย์หญิงยิ่งกมล อรุณินท์ (วัฒนสินธุ์) มีบุตร 2 คน [2],[3]คือ อริยา อรุณินท์ และนาย ภาส์กร อรุณินท์ (ถึงแก่กรรม)[4]

การศึกษา

เนื่องจากชีวิตในวัยเด็กได้ย้ายตามบิดาที่เป็นผู้พิพากษา ไปประจำในต่างจังหวัด ทำให้ต้องย้ายสถานที่ศึกษาไปตามจังหวัดต่างๆ นั้นด้วย เริ่มชีวิตในวัยเด็ก มีภูมิลำเนาที่กรุงเทพฯ เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประสาทศิลป์ จังหวัดชลบุรี, โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี, แล้วกลับมาพำนักที่กรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยศึกษาที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ต่อด้วยประโยคเตรียมอุดมศึกษาแผนกอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบนิติศาสตรบัณฑิต (รุ่น 3) ขณะที่ทำงานเป็นเสมียนศาลอาญา ต่อมาสอบได้เนติบัณฑิต (สมัยที่ 7) จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[5]

ประวัติการทำงาน

เริ่มงานครั้งแรกเป็นเสมียนศาลอาญา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2496 ต่อมาโอนรับราชการกรมอัยการ (ปัจจุบันคือ สำนักงานอัยการสูงสุด) ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ เริ่มตั้งแต่เป็นอัยการผู้ช่วยกองคดี เมื่อปี พ.ศ. 2502 ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยประจำศาล จังหวัดแม่สอด พ.ศ. 2503, จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2505, จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2511 จากนั้นเข้าประจำกรมอัยการ ในตำแหน่งอัยการประจำกองที่ปรึกษา พ.ศ. 2514 อัยการประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2517 เลื่อนเป็นอัยการพิเศษประจำกรม กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2520 หัวหน้าพนักงานอัยการ กองที่ปรึกษา พ.ศ. 2524 ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา พ.ศ. 2525 อัยการพิเศษฝ่ายฎีกา พ.ศ. 2527 อัยการพิเศษฝ่ายคดีธนบุรี พ.ศ. 2529 อัยการพิเศษฝ่ายปรึกษา 1 ม.ค. 2530 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองอัยการสูงสุดฝ่ายบริหาร ปลาย พ.ศ. 2530 (ระหว่างนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย,และเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา) และอัยการสูงสุดเมื่อ 1 ต.ค. 2536 และเกษียณอายุ เมื่อ 30 ก.ย. 2537[6],[7]

หลังเกษียณอายุได้เข้าเป็นกรรมการร่างกฎหมายกฤษฎีกา และเป็นหนึ่งในประธานฯ/กรรมการ ป.ป.ป.ในสมัยรัฐบาล "บรรหาร" (22 ส.ค. 2538)[8],[9] ตุลาการรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิ โดยสภาแต่งตั้ง (พ.ศ. 2539) จนลาออกจากประธาน ป.ป.ป. (23 มี.ค. 2542) เพื่อดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของ ป.ป.ช. [10],[11] ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (1 เม.ย. 2542 - ครบวาระ 24 ต.ค. 2546) มีผลงานหลายผลงาน โดยเฉพาะการร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ และผลงานที่สำคัญของกรรมการในชุดแรกนี้ [12], คือ

  • จากนั้นว่างเว้นจากภารกิจ จนได้รับการเลือกตั้งจากอัยการตั้งแต่ขั้น 2 ขึ้นไป 1,867 เสียงจากผู้มีสิทธิ 2,784 คน [17],[18] ขึ้นเป็นประธานกรรมการ กอ. (คณะกรรมการอัยการ) วาระเดือน ตุลาคม 2550 - ตุลาคม 2553

ผลงานด้านอื่น ๆ

ผลงานด้านอื่น ๆ ตลอดชีวิตราชการ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการร่างกฎหมาย ตรวจสอบสัญญาของรัฐ นอกจากนี้นายโอภาสยังเป็นกรรมการของรัฐดังต่อไปนี้

  • กรรมการดำเนินงานโครงการก่อสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า (ใหม่)
  • กรรมการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษ กระทรวงมหาดไทย
  • กรรมการพิจารเนรเทศ พ.ศ. 2522
  • อนุกรรมการฝ่ายสืบสวนสอบสวน ป.ป.ป. พ.ศ. 2524
  • อนุกรรมการฝ่ายมาตรการป้องกันและวางแผนสำนักงาน ป.ป.ป.
  • กรรมการเนติบัณฑิตยสภาและกรรมการอำนวยการสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2527
  • กรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒ พ.ศ. 2528
  • กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุที่ปรึกษากฎหมายกรมวิเทศสหการ
  • กรรมการบริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530
  • กรรมการบริหารบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด พ.ศ. 2531 และผู้ชำระบัญชี บริษัทเดินอากาศไทย จำกัด
  • วิทยากรในการฝึกอบรมผู้พิพากษาหลักสูตร "ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 2532" พ.ศ. 2532
  • กรรมการพัฒนากำลังคน กระทรวงมหาดไทย
  • กรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด
  • กรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • คณะกรรมการกฤษฎีกา
  • ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง (พ.ศ. 2536-2537)
  • เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา [19]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. คอลัมน์คนตามข่าว "โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ปปช." นสพ.มติชน 3 เมษายน 2542
  2. คอลัมน์คนตามข่าว "โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ปปช." นสพ.มติชน 3 เมษายน 2542
  3. "รองอัยการสูงสุด" โอภาส อรุณินท์ นสพ.เดลินิวส์ 15 สค.2536
  4. คอลัมน์ขอเป็นข่าวหน่อย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 31มีนาคม 2544
  5. คอลัมน์คนตามข่าว "โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ ปปช." นสพ.มติชน 3 เมษายน 2542
  6. หัวข้อข่าว "3รอง คู่คี่ชิงดำอัยการสูงสุด" นสพ.มติชน 4 สค.2536
  7. "รองอัยการสูงสุด" โอภาส อรุณินท์ นสพ.เดลินิวส์ 15 สค.2536
  8. คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ โดยทีมข่าวการเมือง "โอภาส อรุณินท์ ประธาน ปปป. ยุครัฐธรรมนูญใหม่ ที่ไม่ใช่เสือกระดาษ" เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่6ฉบับที่ 284 วันที่ 14-20 พย.2540
  9. คอลัมน์ในประเทศ โดยกองบรรณาธิการ -ปปป.ยุครัฐธรรมนูญใหม่ "ติดเขี้ยว" หรือ "เสือกระดาษ" ฐานสัปดาห์วิจารณ์ 6-12 ธค.2540
  10. นสพ.มติชน 14 กค.2541
  11. นสพ.มติชน 27 มีค.2542
  12. คอลัมน์ในประเทศ โดยกองบรรณาธิการ -ปปป.ยุครัฐธรรมนูญใหม่ "ติดเขี้ยว" หรือ "เสือกระดาษ" ฐานสัปดาห์วิจารณ์ 6-12 ธค.2540
  13. คอลัมน์การเมือง ประชาชาติ 29เมษายน-2พฤษภาคม 2542 "เจาะใจ โอภาส อรุณินท์ ผมไม่ตัดสินตามกระแส"
  14. หัวข้อข่าว โอภาส อรุณินท์ ประธาน ปปช. แง้มผลงานชิ้นล่า กับระเบิดเวลา 2 ลูกใหญ่ นสพ.มติชน31 พค.42
  15. หัวข้อข่าว ปปช.ลุยโอนหุ้นฟันทักษิณผิดหมือนเสธ." นสพ.ไทยรัฐ 27 กย.2543
  16. บทความ "ปปช.ชี้ขาดก่อนปีใหม่ เชือด/ไม่เชือด ทักษิณ" ประชาชาติ 21-24 ธันวาคม 2543
  17. ผู้จัดการออนไลน์ 4 ธันวาคม 2550 โอภาส อรุณินท์ ผงาดขึ้นแท่นประธาน ก.อ.คนใหม่
  18. คอลัมน์คนตามข่าว หนังสือพิมพ์มติชน 7 ธันวาคม 2550
  19. "รองอัยการสูงสุด" โอภาส อรุณินท์ นสพ.เดลินิวส์ 15 สค.2536
  20. "รองอัยการสูงสุด" โอภาส อรุณินท์ นสพ.เดลินิวส์ 15 สค.2536