ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
== ความเป็นมา ==
== ความเป็นมา ==


=== การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน พ.ศ. 2482 ===
=== การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 6 ===
เมื่อปี พ.ศ. 2456 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงพระราชนิพนธ์บทความเรื่อง The Romanisation of Siamese Words ลงในวารสารสยามสมาคม (Journal of the Siam Society) ของ[[สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์]]<ref>[http://www.siamese-heritage.org/jsspdf/1911/JSS_009_4b_KingVajiravudh_RomanisationOfSiameseWords.pdf The Romanisation of Siamese Words by His Majesty the King]</ref> โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้



=== การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน พ.ศ. 2482 ===


* การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการถอดอักษรไทยเป็นโรมัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2482<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/3718.PDF ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มีนาคม 2482 เล่ม 56 หน้า 3718]</ref>
* การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการถอดอักษรไทยเป็นโรมัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2482<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/3718.PDF ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มีนาคม 2482 เล่ม 56 หน้า 3718]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:22, 30 พฤศจิกายน 2562

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นหลักการถอดตัวอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน ทั้งนี้ ในปัจจุบัน การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้ในสำหรับหนังสือและสิ่งพิมพ์ของรัฐบาล และป้ายชื่อถนนต่าง ๆ ในประเทศไทย รูปแบบใหม่ประกาศใช้เมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2542

ความเป็นมา

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 6

เมื่อปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทความเรื่อง The Romanisation of Siamese Words ลงในวารสารสยามสมาคม (Journal of the Siam Society) ของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์[1] โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน พ.ศ. 2482

  • การถอดอักษรไทยเป็นโรมัน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการถอดอักษรไทยเป็นโรมัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2482[2]

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเขียนชื่อไทยเป็นอักษรโรมัน โดยมีเนื้อความว่า

โดยเหตุที่ข้าราชการหรือพ่อค้าไทยที่มีความจำเปนต้องติดต่อกับชาวต่างประเทส อาดต้องเขียนชื่อและนามสกุลของตนด้วยอักสรโรมันเพื่อประโยชน์แก่การติดต่อเช่นนั้น ปรากดว่าบางคนได้บิดผันวิธีเขียนไห้ผู้อ่านรู้สึกว่าไม่ไช่คนไทย การกะทำเช่นนั้นไม่เหมาะสมแก่การรักสาวัธนธัมของชาติ

คนะรัถมนตรีจึงลงมติเปนเอกฉันท์ ไห้ประกาสว่า การไช้อักสรโรมันเขียนชื่อและนามสกุลนั้น จะต้องเขียนไห้อ่านได้สำเนียงตรงกับนามสกุลไนภาสาไทยเสมอ จะไปบิดผันหรือตัดทอนเปลี่ยนแก้ไห้กลายเปนชื่อต่างชาติโดยไม่ตรงกับสำเนียงไทยไม่ได้เปนอันขาด

ประกาส นะ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๔๘๕

จอมพล ป. พิบูลสงคราม[3]

— ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อไทยเปนอักสรโรมัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการเขียนชื่อบุคคลเป็นอักษรโรมัน โดยมีเนื้อความว่า

ตามประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 6 มีนาคม 2482 ซึ่งประกาสไว้ว่า ในการเขียนชื่อต่าง ๆ เปนอักสรโรมัน ไห้ไช้ตามแบบทั่วไป ที่ราชบันดิดตยสถานประกาสไว้ไนวันเดียวกันนั้น เว้นแต่ชื่อบุคคลซึ่งได้เขียนไว้เปนหย่างอื่น ถ้าจะเปลี่ยนการเขียนชื่อเปนอักสรโรมันไม่ได้สดวก ก็ไห้คงเขียนตามเดิมได้นั้น

บัดนี้ ได้มีประกาสสำนักนายกรัถมนตรี ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2485 ความว่า การไช้อักสรโรมันเขียนชื่อและนามสกุล จะต้องเขียนไห้อ่านได้สำเนียงตรงกับนามสกุลไนภาสาไทยเสมอ ซึ่งเปนวิธีถอนอักสรตามแบบทั่วไปของราชบันดิดตยสถานแล้ว

คนะรัถมนตรีจึงได้ลงมติเปนเอกฉันท์ไห้ประกาสว่า การเขียนชื่อบุคคลเปนอักสรโรมัน ไห้ไช้วิธีถอดอักสรตามแบบทั่วไปซึ่งราชบันดิดตยสถานได้ประกาสไว้เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2482 ทุกกรนีไป

ประกาส นะ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2485

จอมพล ป. พิบูลสงคราม[4]

— ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อบุคคลเปนอักสรโรมัน

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน พ.ศ. 2542

  • การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง พ.ศ. 2542

ตารางเทียบตัวอักษร

พยัญชนะ   สระ
อักษรไทย อักษรโรมัน
พยัญชนะต้น พยัญชนะสะกด
k k
kh k
kh k
kh k
kh k
kh k
ng ng
ch t
ch t
ch t
s t
ch t
y n
d t
t t
th t
d หรือ th t
th t
n n
d t
t t
th t
th t
th t
n n
b p
p p
ph p
f p
ph p
f p
ph p
m m
y -
r n
rue, ri, roe -
ฤๅ rue -
l n
lue -
ฦๅ lue -
w -
s t
s t
s t
h -
l n
h -
    
อักษรไทย อักษรโรมัน
–ะ, –ั, รร (มีตัวอักษรอื่นตาม), –า a
รร (ไม่มีตัวอักษรตาม) an
–ำ am
–ิ, –ี i
–ึ, –ื ue
–ุ, –ู u
เ–ะ, เ–็, เ– e
แ–ะ, แ– ae
โ–ะ, –, โ–, เ–าะ, –อ o
เ–อะ, เ–ิ, เ–อ oe
เ–ียะ, เ–ีย ia
เ–ือะ, เ–ือ uea
–ัวะ, –ัว, –ว– ua
ใ–, ไ–, –ัย, ไ–ย, –าย ai
เ–า, –าว ao
–ุย ui
โ–ย, –อย oi
เ–ย oei
เ–ือย ueai
–วย uai
–ิว io
เ–็ว, เ–ว eo
แ–็ว, แ–ว aeo
เ–ียว iao

การวิพากษ์วิจารณ์

การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน มีจุดประสงค์เขียนไว้ในประกาศว่า เพื่อให้อ่านคำไทยในตัวอักษรโรมันได้ใกล้เคียงกับคำเดิม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์ว่ายังไม่ดีเพียงพอสำหรับชาวต่างชาติในการอ่านภาษาไทย[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจาก

  • ไม่มีสัญลักษณ์หรือระบบแทนเสียงวรรณยุกต์
  • สระสั้นและสระยาว ใช้ตัวอักษรเดียวกัน เช่น อะ และ อา ใช้ ตัวอักษร a
  • เสียง /pʰ/ (ผ, พ, ภ) แทนด้วยตัวอักษร ph ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /f/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ
  • เสียงสระ "โอะ โอ" กับ "เอาะ ออ" ใช้ตัวอักษร o เหมือนกัน เช่น คำว่า "พล" และ "พร" เขียนเหมือนกันเป็น phon, คำว่า "ชล", "โชน", "ช่อน" และ "ชอน" เขียนเหมือนกันเป็น chon
  • เสียง /tʰ/ (ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ) แทนด้วยตัวอักษร th ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /θ/ หรือ /ð/ เหมือนคำในภาษาอังกฤษ
  • เสียง /tɕ/ (จ) แทนด้วยตัวอักษร ch ทำให้อ่านผิดว่าเป็น /tɕʰ/ เช่น คำว่า "จล" และ "ชล" เขียนเหมือนกันเป็น chon

นอกจากนี้ ถึงแม้ระบบของราชบัณฑิตยสถานจะที่ใช้ในเอกสารราชการเกือบทั้งหมด แต่ก็มีการเขียนคำทับศัพท์ในรูปแบบอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เพี้ยนไปจากเสียงภาษาไทย และเลี่ยงความหมายที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษและภาษาอื่น เช่นคำว่า "ธง" หรือ "ทอง" เมื่อทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตทั้งสองคำจะสะกดได้คำว่า "thong" ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง ธอง (กางเกงชั้นในประเภทหนึ่ง) จึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "tong" แทน

อ้างอิง

  • ต้นฉบับประกาศของราชบัณฑิตยสถาน
  • "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (ภาษาThai). 116 (37 ง): 11. 1999-05-11.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • thai2english.com ถอดอักษรไทยออนไลน์ ตามการอ่านเสียง, ตามหลักราชบัณฑิตฯ, ตามสัทอักษรสากล ฯลฯ
  • โปรแกรมถอดอักษรไทยสำหรับวินโดวส์ โดย ผศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล
  1. The Romanisation of Siamese Words by His Majesty the King
  2. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 มีนาคม 2482 เล่ม 56 หน้า 3718
  3. "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อไทยเปนอักสรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 ตุลาคม ๒๔๘๕. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ประกาสสำนักนายกรัถมนตรี เรื่องการเขียนชื่อบุคคลเปนอักสรโรมัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤศจิกายน ๒๔๘๕. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)