ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พงศ์เวช เวชชาชีวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:49, 29 พฤศจิกายน 2562

พงศ์เวช เวชชาชีวะ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 (57 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2554-2550)
ประชาธิปัตย์ (2550-ปัจจุบัน)
คู่สมรสวิสสุตา เวชชาชีวะ

นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ

พงศ์เวช เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับนางไพเราะ เวชชาชีวะ[1] สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยบูรพา[2] ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางวิสสุตา เวชชาชีวะ

การทำงาน

พงศ์เวช เวชชาชีวะ เริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 จึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี ในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 จึงย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย

ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาในคดีแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี และห้ามเขาดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลาห้าปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2556[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง