ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นงเยาว์ ชัยเสรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
บรรทัด 85: บรรทัด 85:
[[หมวดหมู่:บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญจักรพรรดิมาลา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:45, 29 พฤศจิกายน 2562

นงเยาว์ ชัยเสรี
ไฟล์:คุณหญิงนงเยาว์.jpg
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ก่อนหน้าฉัตรชัย เอียสกุล
ถัดไปนาวาโท เดชา สุขารมณ์ ร.น.
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531
ก่อนหน้าศ.ประภาศน์ อวยชัย
ถัดไปศ.ดร.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2478
ศาสนาพุทธ

ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี อดีตกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย

ประวัติ

นงเยาว์ ชัยเสรี เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2478 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์ (เกียรตินิยมดีมาก) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เริ่มรับราชการในตำแหน่ง เศรษฐกรโท สังกัดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต่อมาได้โอนมาสังกัดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ในตำแหน่งอาจารย์ และได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งฝ่ายบริหารหลายตำแหน่ง อาทิ หัวหน้าภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์ฯ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นจึงลาออกเพื่อรับตำแหน่ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. 2543

อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัย 2 ครั้ง ในช่วงต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และต่อเนื่องจากศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย ในปี พ.ศ. 2525 ต่อจากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว นับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งในขณะที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดตั้งคณะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ตลอดจนยังเป็นผู้ที่ริเริ่มการขยายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติอีกด้วย[2]

งานการเมือง

นงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540[3]

สถานที่อันเนื่องจากนาม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (จำนวน ๑๐ ราย)ราชกิจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษที่ 43 ง วันี่ 8 พฤษภาคม 2543
  2. ศ.คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ได้รับเข็มเกียรติยศประจำปี 2543ข่าวประชาสัมพันธ์ มธ. 29 มีนาคม 2543
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่อราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชชั้นสายสะพาย ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘)


ก่อนหน้า นงเยาว์ ชัยเสรี ถัดไป
ศาสตราจารย์ ประภาศน์ อวยชัย
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2531)
ศาสตราจารย์ ดร.เกริกเกียรติ พิพัฒนเสรีธรรม