ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
บอต: แทนที่หมวดหมู่ สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม. ด้วย ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากโรงเรียนทวีธาภิเศก]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.2]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:41, 29 พฤศจิกายน 2562

จอมพลอากาศ
เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
ไฟล์:เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร.png
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2500 – 14 เมษายน พ.ศ. 2503 (ถึงแก่กรรม)
ก่อนหน้าจอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
ถัดไปพลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2457
เสียชีวิต14 เมษายน พ.ศ. 2503 (46 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพรรณี วัฒนางกูร (เสียชีวิต)

จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร (15 สิงหาคม พ.ศ. 2457 [1] - 14 เมษายน พ.ศ. 2503 [2]) อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[3]

ประวัติ

จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ศึกษาวิชาการบินจากกองโรงเรียนการบินที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2477 จบโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2489 และไปศึกษาต่อวิชาเสนาธิการที่ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2493

ในช่วงสงครามอินโดจีน เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2484 ขณะนั้นท่านมียศเป็นเรืออากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นหัวหน้าหมู่บินลาดตระเวน 3 ลำ บริเวณบ้านยาง ถึงบ้านกูบ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี ท่านขับเครื่องบินขับไล่แบบที่ 9 (ฮอร์ค 2) ต่อสู้กับเครื่องบินทิ้งระเบิด และเครื่องบินขับไล่ของฝรั่งเศส เครื่องบินฝรั่งเศสถูกยิงตก 3 ลำ [4]

จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503 [2] ขณะมียศเป็น พลอากาศเอก[5] หลังการประชุมกองทัพอากาศภาคพื้นแปซิฟิก ที่ไทเป ไต้หวัน เครื่องบินดักลาส C-54 Skymaster ที่เป็นพาหนะ เกิดอุบัติเหตุชนภูเขาเสียชีวิตทั้งลำ [6][7] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจอมพลอากาศในวันเดียวกัน[8]

การเมือง

เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2500 ในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม[9] ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประวัติจากกองทัพอากาศไทย
  2. 2.0 2.1 ที่ระลึกวันครบรอบการถึงแก่อนิจกรรม
  3. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  4. พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  6. สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย
  7. ข้อมูลจาก plaincrashinfo ระบุว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503 และเป็นเครื่องบินดักลาส DC-4 (เป็นเครื่องบินพลเรือนที่พัฒนามาเป็นเครื่องบินทหาร C-54 Skymaster)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  9. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  10. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร (พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร) เล่ม 74 ตอน 69ก วันที่ 20 สิงหาคม 2500
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  12. แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 75 ตอน 109ง วันที่ 23 ธันวาคม 2501

ดูเพิ่ม