ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุปราคา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Solar_eclipse_1999_4.jpg|thumb|300px|อุปราคาที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 2542|right]]
[[ไฟล์:Solar_eclipse_1999_4.jpg|thumb|300px|อุปราคาที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 2542|right]]
<br />
'''อุปราคา''' คือ ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เกิดขึ้นเมื่อ[[วัตถุท้องฟ้า]]หนึ่ง เช่น [[ดาวเคราะห์]]หรือ[[ดาวบริวาร]]มาอยู่ระหว่างต้นกำเนิดแสง (เช่น [[ดวงอาทิตย์]]) กับอีกวัตถุหนึ่ง


*
== อุปราคาบนโลก ==
อุปราคาที่สังเกตได้จากโลกไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะ[[ระนาบการโคจร]]ของโลกรอบ[[ดวงอาทิตย์]]กับระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกไมได้เป็นระนาบเดียวกัน แต่เป็นระนาบที่ตัดกันโดยจะเกิดขึ้นเมื่อโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่บนระนาบเดียวกันเท่านั้น
<br><br>อุปราคาที่มองเห็นได้ชัดเจนจาก[[โลก]] ได้แก่:
* '''[[จันทรุปราคา]]''' - โลกเข้าบัง[[ดวงอาทิตย์]]เมื่อมองดูจาก[[ดวงจันทร์]] หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปใน[[เงา]]มืดของโลก มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในคืนวัน[[เดือนเพ็ญ]]
* '''[[สุริยุปราคา]]''' - ดวงจันทร์เข้า[[การบัง|บัง]]ดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดวงจันทร์ทอดเงาตกลงบนผิวโลก มีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในวัน[[เดือนดับ]]
=== ประเภทของอุปราคา ===
* กระจู๋อุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อผู้สังเกตอยู่ภายใต้[[เงามืด]]ของดวงจันทร์ ทำให้แสงที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปทั้งหมด
* อุปราคาบางส่วน
** สำหรับสุริยุปราคา เกิดขึ้นเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปบางส่วน โดยผู้สังเกตจะอยู่ภายใต้[[เงามัว]]ของดวงจันทร์
** สำหรับจันทรุปราคา เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ถูกบังบางส่วนโดยเงาของโลก จะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยว
* อุปราคาวงแหวน ในสุริยุปราคา เกิดเหมือนสุริยุปราคาเต็มดวง แต่เห็นเป็นวงแหวน
* อุปราคาแบบผสม ในสุริยุปราคา เหตุการณ์ที่ผู้สังเกตสามารถสังเกตได้จะเห็นเป็นขั้นตอน โดยขั้นแรกจะเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน จากนั้นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง จากนั้นก็จะเห็นเป็นแบบวงแหวนอีกครั้ง


<br />
=== เฟสของสุริยุปราคาเต็มดวง ===
ลำดับขั้นตอนในการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงโดยมองจากผู้สังเกตบนโลก
[[ไฟล์:Film eclipse soleil 1999.jpg|thumb|650px|เฟสของสุริยุปราคาเต็มดวง|center]]
* สัมผัสที่ 1 ด้านตะวันออกของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสกับด้านตะวันตกของดวงอาทิตย์ ท้องฟ้าเริ่มเปลี่ยนสี อากาศเริ่มเย็น ลักษณะธรรมชาติเวลานั้นจะเหมือนเวลาเย็น เมื่อมองดวงอาทิตย์ผ่านแผ่นกรองแสง จะเห็นว่าดวงอาทิตย์ถูกบดบังไปบางส่วนแล้ว
* สัมผัสที่ 2 ดวงจันทร์เริ่มบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ไปเกือบหมด เหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะสังเกตได้จากความขรุขระของผิวของดวงจันทร์ จะเห็นแสงสว่างลอดออกมาจากผิวขรุขระนั้น เรียกว่า [[ปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์]] และ [[ปรากฏการณ์แหวนเพชร]] ดวงดาวสว่างๆ เริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อดวงอาทิตย์ถูกบดบังทั้งหมด จะสามารถสังกตเห็น[[ชั้นบรรยากาศ]][[โคโรนา]] ของดวงอาทิตย์ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ในเวลาปกติ นอกจากนี้อาจเห็นพวยแก๊สที่พุ่งออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้น[[โครโมสเฟียร์]] แสงเหล่านี้จะหมดไปเมื่อเข้าสู่สัมผัสที่ 3
* สัมผัสที่ 3 ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนออกไปจากดวงอาทิตย์เกิดปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ และ ปรากฏการณ์แหวนเพชร ดวงอาทิตย์ที่เคยถูกบดบังก็จะสว่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนเข้าสู่สัมผัสสุดท้าย
* สัมผัสสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกไปจากดวงอาทิตย์ทั้งดวง เป็นการสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวงอย่างสมบูรณ์
[[ไฟล์:Eclipse_lune.jpg|thumb|250px|ภาพการเกิดจันทรุปราคา|right]]
=== เฟสของจันทรุปราคา ===
ลำดับขั้นตอนในการเกิดจันทรุปราคาโดยมองจากผู้สังเกตบนโลก
* สัมผัสที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าสู่เงามืดของโลก
* สัมผัสที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้าสู่เงามืดของโลกทั้งดวง ก่อนที่จะเข้าสู่เงามืดเต็มดวง จะเห็นแสงสว่างของดวงจันทร์น้อยมาก แต่ในขณะที่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลกอย่างเต็มดวงแล้ว จะเห็นดวงจันทร์มีสีค่อนข้างแดงเนื่องจาก[[การหักเหของแสง]]
* สัมผัสที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์กำลังเริ่มเคลื่อนออกจากเงามืดของโลก
* สัมผัสสุดท้าย เมื่อดวงจันทร์โคจรพ้นเงามืดของโลก สิ้นสุดจันทรุปราคาโดยสมบูรณ์
=== ความเชื่อ ===
ก่อนหน้าที่จะมีการศึกษาการเกิดอุปราคาในวิชาดาราศาสตร์ ได้มีตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเกิดอุปราคาในหลาย ๆ ลักษณะ เช่น ในตำนานของชาวฮินดูนั้น เล่ากันว่า จันทรุปราคาเกิดจาก[[ราหู]]อมจันทร์ และในวรรณคดีเรื่อง[[ไตรภูมิพระร่วง]]ก็มีการกล่าวถึงราหูอมจันทร์เช่นกัน

== อุปราคาบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ==
อุปราคาไม่สามารถเกิดขึ้นบน[[ดาวพุธ]]และ[[ดาวศุกร์]]ได้เลย เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ไม่มีดวงจันทร์บริวารของตน

ส่วนอุปราคาบน[[ดาวอังคาร]]นั้นสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะอุปราคาแบบบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากดวงจันทร์ของดาวอังคารไม่ใหญ่พอที่จะบดบังดวงอาทิตย์ทั้งดวงได้

บน[[ดาวพฤหัส]]สามารถเกิดอุปราคาได้บ่อยครั้งมาก โดยมักเกิดจากดวงจันทร์ดวงใหญ่ 4 ดวง คือ ไอโอ ยูโรปา แกนิมีตและคัลลิสโต ซึ่งสามารถสังเกตได้จากเงาของดวงจันทร์บนดาวพฤหัส

[[ดาวพลูโต]]ก็เป็นอีกดวงหนึ่งที่เกิดอุปราคาได้บ่อย เนื่องจากมีดวงจันทร์ที่ขนาดใหญ่พอๆ กับตัวมันเอง


{{คอมมอนส์-หมวดหมู่}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:00, 26 พฤศจิกายน 2562

อุปราคาที่ประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี 2542