ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจักรคำขจรศักดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
พงษ์ศักดิิ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
** [[หม่อมราชวงศ์แก้วแกมทอง ทองใหญ่]]
** [[หม่อมราชวงศ์แก้วแกมทอง ทองใหญ่]]
** หม่อมราชวงศ์ผ่องสุวรรณ (ทองใหญ่) บิลเมส
** หม่อมราชวงศ์ผ่องสุวรรณ (ทองใหญ่) บิลเมส
*เจ้ายอดเรือน ไม่มีราชโอรส ธิดา
=== เจ้ายอดเรือน ณ ลำพูน ===
ไม่มีราชโอรส ธิดา


== พระกรณียกิจ ==
== พระกรณียกิจ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:34, 25 พฤศจิกายน 2562

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์
เจ้าผู้ครองนครลำพูน
ครองราชย์พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2486
รัชสมัย32 ปี
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าอินทยงยศโชติ
ประสูติ19 พฤษภาคม พ.ศ. 2417
พิราลัย5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 (68 ปี)
พระมเหสีแม่เจ้าขานแก้วจักรคำขจรศักดิ์ราชเทวี
พระบุตร· เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน
· เจ้าวรรณรา ณ ลำพูน
· เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
· เจ้ารัทธาธร ณ ลำพูน
· เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน
· เจ้าสุริยา ณ ลำพูน
· เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน
· เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน
ราชวงศ์ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ทิพย์จักราธิวงศ์)
พระบิดาเจ้าอินทยงยศโชติ
พระมารดาแม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี (อิศรเสนา)

พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

พระประวัติ

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยจักรคำ ณ ลำพูน ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2417 เป็นราชโอรสในเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 กับแม่เจ้าหม่อมราชวงศ์รถแก้วราชเทวี (อิศรเสนา) และเป็นราชนัดดา (หลานปู่) ในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าปิมปา มีราชภคินีและราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 2 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้

  1. เจ้าหญิงมุกดา ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าราชภาคินัย น้อยเมืองไทย ณ ลำพูน, เจ้าราชภาคินัยนครลำพูน" (ราชภคินี)
  2. เจ้าหญิงหล้า ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าน้อยจิตตะ ณ ลำพูน" ภายหลังเป็น ชายา "เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ น้อยพุทธวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำพูน" (ราชขนิษฐา)

เจ้าน้อยจักรคำได้ดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าบุรีรัตน เมื่อเจ้าอินทยงยศโชติถึงแก่พิราลัย จึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รั้งนครลำพูนสืบต่อมา จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้านครลำพูน มีราชทินนามว่า เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ อรรคสัตยาทิคุณ หริภุญไชยรัษฎาธิวาส ประชาราษฎร์บริบาล ธาตุเจติยสถานบูชากร ลำพูนนครเชษฐกุลวงษ์ จำนงภักดีนราธิปก เอกัจโยนกชนาธิบดี[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินนโยบายยกเลิกตำแหน่งเจ้าหลวง หากเจ้าหลวงเมืองใดว่างลงจะไม่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นอีก แต่ก็ยังให้ความสำคัญในการสืบราชสกุล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง เจ้านายฝ่ายเหนือ ก็ยังคงดำรงสถานะความเป็น "เจ้า" โดยกำเนิดต่อไป

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2486 รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 32 ปี สิริชันษาได้ 69 ปี

ราชโอรส ราชธิดา

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 8 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำพูน มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

แม่เจ้าขานแก้ว จักรคำขจรศักดิ์

ใน แม่เจ้าขานแก้ว จักรคำขจรศักดิ์ (มีราชโอรส 2 ราชธิดา 2)

แม่เจ้าแขกแก้ว จักรคำขจรศักดิ์

ใน แม่เจ้าแขกแก้วจักรคำขจรศักดิ์ - พระขนิษฐาใน "แม่เจ้าขานแก้วจักรคำขจรศักดิ์ราชเทวี" (มีราชโอรส 1)

  • ฯพณฯ เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน - อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย สมรสกับ "หม่อมเทวี (วัฒนะทัสสี) ณ ลำพูน" (มีธิดา 1 บุตร1)
    • เจ้าวรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช
    • เจ้าวีรทัศน์ ณ ลำพูน
  • เจ้ารัชเดช ณ ลำพูน

แม่เจ้าส่วนบุญ จักรคำขจรศักดิ์

ใน แม่เจ้าส่วนบุญ จักรคำขจรศักดิ์ - เจ้านายสกุล "ณ เชียงใหม่" (มีราชโอรส 1)

หม่อมแว่นแก้ว

ใน หม่อมแว่นแก้ว (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าสุริยา ณ ลำพูน (มีบุตร 2 ธิดา 3)
    • เจ้าวัชรี ณ ลำพูน
    • เจ้าพิสมัยมาลี ณ ลำพูน
    • เจ้านพมณีศรี ณ ลำพูน
    • เจ้าสุธี ณ ลำพูน
    • เจ้าสุมาลี (ณ ลำพูน) วงศ์ปราชญ์

หม่อมคำแยง

ใน หม่อมคำแยง (มีราชธิดา 1)

เจ้ายอดเรือน ณ ลำพูน

ไม่มีราชโอรส ธิดา

พระกรณียกิจ

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงอิสริยยศเป็น "เจ้าบุรีรัตน์" ได้ดำเนินการสร้างถนนสายตะวันออกจากประตูท่าขาม ไปยังกิ่งอำเภอแม่ทา และถนนสายจากตัวเมืองลำพูนไปจนถึงฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำพูน ก็ได้สร้างสาธารณกุศลแก่ประชาชนชาวลำพูนมากมาย อาทิ

  • การบูรณะวัดกู่สิงห์ทอง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2324 และตั้งชื่อวัดนี้ว่า "วัดจักรคำภิมุข"
  • สร้างกุฏิให้วัดพระธาตุหริภุญชัย
  • มอบที่ดินสำหรับสร้างที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข บ้านพักสัสดีจังหวัดลำพูน และโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์
  • มอบคุ้มหลวงเดิมให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นศาลากลางจังหวัดลำพูน
  • ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับนักเรียนชายประจำจังหวัด คือ โรงเรียนจักรคำคณาทร

สนามบินลำพูน

เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญของการอากาศยาน จึงได้ดำริให้จัดทำสนามบินประจำจังหวัดขึ้น ในพื้นที่อำเภอปากบ่อง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ 156 ไร่ 1 งาน โดยเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อที่ดินเป็นเงินจำนวน 1,176 บาท[2] เมื่อปี พ.ศ. 2466

นามสกุล ณ ลำพูน

ณ ลำพูน เป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 866 โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[3]

สกุล ณ ลำพูน เป็นนามสกุลที่พระราชทานแก่ผู้สืบเชื้อสายเจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 โดยพระราชทานแก่เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 10

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์, เล่ม 28, ตอน 0 ง, 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130, หน้า 1811
  2. คำแถลงการณ์ของกรมเสนาธิการทหารบก เรื่อง สนามบินจังหวัดลำพูน
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๙๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๙๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓, ตอน๐ ง, ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๓๙๙๔

แหล่งข้อมูลอื่น

  • เจ้าวรเทวี (ณ ลำพูน) ชลวณิช ที่ระลึกในการบูรณะกู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครลำพูน ชายา และเจ้านายสกุล ณ ลำพูน ณ เชียงใหม่ ณ สุสานหลวงลำพูน. (ครั้งที่1) :บ.อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จก. (มหาชน), 15 เมษายน 2549
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]
ก่อนหน้า เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถัดไป
เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2486)
เจ้าพงศ์ธาดา ณ ลำพูน
(ผู้สืบตระกูลเจ้าผู้ครองนครลำพูน)