ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
| caption2 = หม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา
| caption2 = หม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา
}}
}}
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นต้นราชสกุล "จุฑาธุช" อภิเษกกับ[[หม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล|หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ชุมพล]] พระธิดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]] เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งก่อนจะอภิเษกพระองค์ทรงมีหม่อมอยู่ก่อนแล้วสองท่านคือ [[ลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา|หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา]] (สกุลเดิม: ศิริสัมพันธ์) ธิดา[[พระนมอิน ศิริสัมพันธ์]] กับ[[ระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา|หม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา]] (สกุลเดิม: ไกยานนท์) นางละครจากคณะละคร[[วังสวนกุหลาบ]]<ref>{{cite web |url=http://phrachudadhuj.com/chudadhuj2.htm|title=สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย|author=|date=|work= |publisher=พิพิธภัณฑ์จุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref>
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นต้นราชสกุล "จุฑาธุช" อภิเษกกับ[[หม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล]] พระธิดาใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์]] เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งก่อนจะอภิเษกพระองค์ทรงมีหม่อมอยู่ก่อนแล้วสองท่านคือหม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) ธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ กับหม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกยานนท์) นางละครจากคณะละคร[[วังสวนกุหลาบ]]<ref>{{cite web |url=http://phrachudadhuj.com/chudadhuj2.htm|title=สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย|author=|date=|work= |publisher=พิพิธภัณฑ์จุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref>


ส่วนพระโอรสและพระธิดามีอย่างละพระองค์ ประสูติแต่หม่อมทั้งสองท่านหาได้ประสูติแต่หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร ผู้เป็นชายาเลย พระบุตรทั้งสองพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น ''หม่อมเจ้า'' เมื่อแรกประสูติ แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น ''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า'' ในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา ประสูติแต่หม่อมลออ ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ประสูติแต่หม่อมระวี<ref>{{อ้างหนังสือ
ส่วนพระโอรสและพระธิดามีอย่างละพระองค์ ประสูติแต่หม่อมทั้งสองท่านหาได้ประสูติแต่หม่อมเจ้าบุญจิราธร ผู้เป็นชายาเลย พระบุตรทั้งสองพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น ''หม่อมเจ้า'' เมื่อแรกประสูติ แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น ''พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า'' ในรัชกาลของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา ประสูติแต่หม่อมลออ ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ประสูติแต่หม่อมระวี<ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง = กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์
| ผู้แต่ง = กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์
| ชื่อหนังสือ = สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง
| ชื่อหนังสือ = สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง
บรรทัด 52: บรรทัด 52:
}}
}}
</ref>
</ref>
# '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา]]''' (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับ[[หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร]] มีธิดาสองคนคือ [[หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร|หม่อมราชวงศ์หญิงสุนิดา กิติยากร]] และ[[หม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร|หม่อมราชวงศ์หญิงเสาวนิต กิติยากร]]
# '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา]]''' (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับ[[หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร]] มีธิดาสองคนคือ หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร และหม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
# '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช]]''' (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับแพมาลา สมี, [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]], [[เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่]] และ[[ศรีไศล สุชาตวุฒิ]] มีบุตรและธิดาจากการสมรสครั้งแรกคือ [[หม่อมราชวงศ์ดิลกวรานนท์ จุฑาธุช]] และ[[หม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช|หม่อมราชวงศ์หญิงดารา จุฑาธุช]]
# '''[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช]]''' (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับแพมาลา สมี, [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]], [[เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่]] และ[[ศรีไศล สุชาตวุฒิ]] มีบุตรและธิดาจากการสมรสครั้งแรกคือ [[หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช]] และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช


ด้วยความที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีหม่อมมารดาเป็นนางละครมาก่อนจึงทำให้[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชจากการสืบราชบัลลังก์ ด้วยทรงมองว่ามีมารดาเป็นสตรีที่ไร้สกุลรุนชาติ ดังปรากฏในพระบรมราชโองการตอนหนึ่ง ความว่า "…ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์…"<ref>{{cite web |url=http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-the-death-of-king-ananda/|title=ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต|author=สุพจน์ ด่านตระกูล|date=|work= |publisher=ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref> ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชผู้เป็นทายาทในสายเสาวภาจึงมิได้สืบราชสมบัติ เช่นเดียวกับ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]] ที่มีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว<ref>{{cite web |url=http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8|title=ปรีดี พนมยงค์ กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต|author=สุพจน์ ด่านตระกูล|date=|work= |publisher=สถาบันปรีดี พนมยงค์|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref>
ด้วยความที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีหม่อมมารดาเป็นนางละครมาก่อนจึงทำให้[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชจากการสืบราชบัลลังก์ ด้วยทรงมองว่ามีมารดาเป็นสตรีที่ไร้สกุลรุนชาติ ดังปรากฏในพระบรมราชโองการตอนหนึ่ง ความว่า "…ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์…"<ref>{{cite web |url=http://www.pridi-phoonsuk.org/pridi-and-the-death-of-king-ananda/|title=ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต|author=สุพจน์ ด่านตระกูล|date=|work= |publisher=ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref> ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชผู้เป็นทายาทในสายเสาวภาจึงมิได้สืบราชสมบัติ เช่นเดียวกับ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]] ที่มีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว<ref>{{cite web |url=http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=12&s_id=5&d_id=8|title=ปรีดี พนมยงค์ กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต|author=สุพจน์ ด่านตระกูล|date=|work= |publisher=สถาบันปรีดี พนมยงค์|accessdate=13 พฤษภาคม 2557}}</ref>


== พระเกียรติยศ ==
== พระเกียรติยศ ==

=== พระอิสริยยศ ===
=== พระอิสริยยศ ===

* '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร''' (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
* '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร''' (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
* '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย'''<ref name=":0" /> (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
* '''สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย'''<ref name=":0" /> (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
บรรทัด 66: บรรทัด 64:


'''''ภายหลังการสิ้นพระชนม์'''''
'''''ภายหลังการสิ้นพระชนม์'''''

* '''สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย''' (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
* '''สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย''' (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
* '''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย''' (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – ปัจจุบัน)
* '''สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย''' (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)


=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ===
=== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:27, 24 พฤศจิกายน 2562

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
ไฟล์:เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก.jpg
ผู้อำนวยการโรงเรียนเพาะช่าง
ประสูติ5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435
พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง
สิ้นพระชนม์8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 (31 ปี)
พระราชวังปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าบุญจิราธร จุฑาธุช
หม่อม
หม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา
หม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา
พระบุตรพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ศาสตราจารย์[1] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเสด็จกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์โปรดงานทางด้านศิลปะ ดนตรี และการละคร โดยทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคพระวักกะพิการ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริรวมพระชนมายุได้ 31 พรรษา

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย พระราชโอรสองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 8 ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 ณ พระตำหนักมรกฎสุทธิ์ เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามเขตพระราชฐานว่า "พระจุฑาธุชราชฐาน" ตามพระนาม "สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก" ซึ่งประสูติ ณ ที่แห่งนั้น [2] เมื่อทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "ทูลกระหม่อมติ๋ว" พระองค์มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร

วันที่ 18 มกราคม ร.ศ. 123 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2448) ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[3]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชยทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธและเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาใน Magdalene College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กลับมารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4] ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฐฏประศาสนศาสตร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อ พ.ศ. 2461

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก มีพระทัยใฝ่งานศิลปะ โปรดการทรงแกรนด์เปียโน ฮาร์พ และไวโอลิน โปรดศิลปะการละคร ได้ทรงพระนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินบริเวณที่เป็นพระราชวังปทุมวันเดิม แก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย ทรงสร้างวังเพชรบูรณ์เป็นที่ประทับ ซึ่งต่อมาถูกทุบทิ้งสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เมื่อ พ.ศ. 2525 ปัจจุบันคือ เซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนพระตำหนักเดิมถูกย้ายมาอยู่ที่ซอยอัคนี (ซอยงามวงศ์วาน ๒)ชื่อว่า ตำหนักประถม อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี [1]

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระวรกายไม่แข็งแรง ประชวรพระโรคพระวักกะ (ไต) พิการเรื้อรัง กอปรกับเกิดเป็นพระโรคบิดและพระหทัยอ่อนล้า แพทย์ได้ถวายพระโอสถประคับประคองอย่างเต็มที่ พระอาการทรงบ้างทรุดบ้างและพระอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ สิ้นพระชนม์ ณ วังปทุมวัน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 สิริพระชนมายุได้ 31 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระศพมาประดิษฐานบนแว่นฟ้า ๓ ชั้น ประกอบพระโกศทองน้อยตำหนักปารุสกวัน[5]และมีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[6]

ครอบครัว

หม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เป็นต้นราชสกุล "จุฑาธุช" อภิเษกกับหม่อมเจ้าบุญจิราธร ชุมพล พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2465 ซึ่งก่อนจะอภิเษกพระองค์ทรงมีหม่อมอยู่ก่อนแล้วสองท่านคือหม่อมลออ จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริสัมพันธ์) ธิดาพระนมอิน ศิริสัมพันธ์ กับหม่อมระวี จุฑาธุช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกยานนท์) นางละครจากคณะละครวังสวนกุหลาบ[7]

ส่วนพระโอรสและพระธิดามีอย่างละพระองค์ ประสูติแต่หม่อมทั้งสองท่านหาได้ประสูติแต่หม่อมเจ้าบุญจิราธร ผู้เป็นชายาเลย พระบุตรทั้งสองพระองค์จึงมีฐานันดรศักดิ์เป็น หม่อมเจ้า เมื่อแรกประสูติ แต่ต่อมาได้รับการเฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2470 ทั้งนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสุทธสิริโสภา ประสูติแต่หม่อมลออ ส่วนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช ประสูติแต่หม่อมระวี[8]

  1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา (16 ธันวาคม พ.ศ. 2464 — 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร มีธิดาสองคนคือ หม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร และหม่อมราชวงศ์เสาวนิต กิติยากร
  2. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช (19 สิงหาคม พ.ศ. 2465 — 15 กันยายน พ.ศ. 2533) เสกสมรสกับแพมาลา สมี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ และศรีไศล สุชาตวุฒิ มีบุตรและธิดาจากการสมรสครั้งแรกคือ หม่อมราชวงศ์ดิลก จุฑาธุช และหม่อมราชวงศ์ดารา จุฑาธุช

ด้วยความที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช มีหม่อมมารดาเป็นนางละครมาก่อนจึงทำให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้ามพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชจากการสืบราชบัลลังก์ ด้วยทรงมองว่ามีมารดาเป็นสตรีที่ไร้สกุลรุนชาติ ดังปรากฏในพระบรมราชโองการตอนหนึ่ง ความว่า "…ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัช ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์…"[9] ด้วยเหตุนี้พระองค์เจ้าวรานนท์ธวัชผู้เป็นทายาทในสายเสาวภาจึงมิได้สืบราชสมบัติ เช่นเดียวกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ที่มีหม่อมมารดาเป็นนางต่างด้าว[10]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายนุตมศักดิ์ อดุลยลักษณวิลาส มหามกุฎราชพงศานุพัทธ วิวัฒนผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2435 – 18 มกราคม พ.ศ. 2448)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก สยามาธิปกปรมินทรจุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดิศัยยศอุภัยชาติพิสุทธิ์ ไทวปายณุตตมศักดิ์ วิบูลยลักษณวิลาศ มหามกุฎราชพงษานุพัทธ์ วิวรรฒผลพรพิสิษฐ มหิศรราชกุมาร กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย[3] (18 มกราคม พ.ศ. 2448 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์

  • สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไฟล์:COA of Chudhadhuj.jpg
ตราราชสกุลจุฑาธุช

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[5]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 102. ISBN 978-974-417-594-6
  2. พระประวัติเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
  3. 3.0 3.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 (44): 801–802. 29 มกราคม ร.ศ. 123. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย เสด็จเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เล่ม ๓๕, ตอน ๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๑, หน้า ๑๔๘๐
  5. 5.0 5.1 "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง). 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. การพระเมรุท้องสนามหลวง (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 4000–4011. 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
  7. "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย". พิพิธภัณฑ์จุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชัง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  9. สุพจน์ ด่านตระกูล. "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต". ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. สุพจน์ ด่านตระกูล. "ปรีดี พนมยงค์ กับสถาบันกษัตริย์และกรณีสวรรคต". สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘, ตอน๐ ง, ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๔๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗, ตอน๐ ง, ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๓๐๙๔

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น