ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติรามคำแหง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มข้อมูล พื้นที่และการเดินทาง
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:


==ลักษณะภูมิอากาศ==
==ลักษณะภูมิอากาศ==
บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส
บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็นฤดูได้ดังนี้
*ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน
*ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี
*ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม


==ทรัพยากรป่าไม้==
==ทรัพยากรป่าไม้==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 20 พฤศจิกายน 2562

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
ที่ตั้งจ.สุโขทัย ประเทศไทย
พื้นที่213,125 ไร่ (341 ตร.กม.)[1]
จัดตั้ง27 ตุลาคม 2523
ผู้เยี่ยมชม17,712[2] (2551)
หน่วยราชการสำนักอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติรามคำแหง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย

ข้อมูลทั่วไป อุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตกสายรุ้ง อุทยานแห่งชาติรามคำแหงมีเนื้อที่ประมาณ 213,125 ไร่ หรือ 341 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอใน จ.สุโขทัย คือ อ.คีรีมาศ อ.เมือง และ อ.บ้านด่านลานหอย ตั้งอยู่ห่างจากตัวจังหวัดสุโขทัยประมาณ 30 กม.[3]

กรมป่าไม้ได้ประกาศให้ป่าเขาหลวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2512 หลังจากนั้นกรมป่าไม้มีหนังสือที่ กส 0706/2978 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2517 เรื่อง การเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ให้จังหวัดทุกจังหวัดประสานงานกับป่าไม้เขตดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ในท้องที่แต่ละเขตว่าบริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจจังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือที่ สท 0009/1370 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2517 ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายังกรมป่าไม้ เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2518 ให้นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า ป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติรามคำแหง” ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่อของอุทยานแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาหลวงในท้องที่ตำบลบ้านด่าน ตำบลลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย และตำบลนาเชิงคีรี ตำบลศรีคีรีมาศ ตำบลน้ำพุ อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 165 ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 18 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งสูงขึ้นไปจากที่ราบคล้ายจอมปลวก ซึ่งแยกตัวจากเทือกเขาอื่นโดยเด่นชัด มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรและสุโขทัย มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ “เขาหลวง” ประกอบด้วยเขานารายณ์ สูง 1,160 เมตร เขาพระเจดีย์ สูง 1,185 เมตร เขาภูคาและเขาพระแม่ย่า สูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม ประกอบด้วย คลองตาเจ็ก คลองเสาหอ คลองวังเงิน คลองเนินคลี คลองด้วงงาม คลองลานทอง คลองมะซาง และคลองเพชรหึง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

บริเวณอุทยานแห่งชาติรามคำแหง จัดอยู่ในภูมิอากาศแบบฝนตกชุกสลับแห้งแล้งในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27.6 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็นฤดูได้ดังนี้

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม มีอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนประมาณ 31 องศาเซลเซียส แต่อากาศเย็นในตอนกลางคืน
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณฝนมากในช่วงเดือนสิงหาคม - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,323 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - ดือนกุมภาพันธ์ มีอากาศหนาวเย็นสบาย โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวงอุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนมกราคม

ทรัพยากรป่าไม้

พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติรามคำแหงปกคลุมไปด้วยป่าเต็งรัง รองลงมาคือ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ

  • ป่าเต็งรัง: พบตั้งแต่พื้นที่ระดับต่ำขึ้นไป ตามไหล่เขาและสันเขาที่แห้งแล้ง พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 140-900 เมตร ซึ่งมีดินตื้นและอุดมสมบูรณ์ต่ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง เหมือดหลวง มะเกิ้ม ตาลเหลือง แข้งกวาง รักขน สารภีป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ ขางครั่ง นมแมว ย่านลิเภา เป้ง ปรง เป็นต้น
  • ป่าเบญจพรรณ: ที่พบส่วนใหญ่จะอยู่ตามร่องห้วยและหุบเขาที่ชื้นปานกลาง แต่แห้งแล้งมากในช่วงฤดูแล้ง โดยพบตามร่องห้วยในบริเวณที่มีป่าเต็งรังอยู่ตามไหล่เขาและสันเขา ตามพื้นที่รอยต่อกับป่าดิบแล้งที่มีสภาพความชุ่มชื้นน้อยลง และพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-800 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เปล้าหลวง ตีนนก เครือออน อุโลก ตะแบกเปลือกบาง แดง ตะคร้อ ปอยาบ แคทรายงิ้วป่า เค็ด ไผ่ไร่ ไผ่ซางนวล ฯลฯ พืชพื้นล่างที่พบมากได้แก่ หวายขม กระทือ มะแฮะนก และเขิงแข้งม้า เป็นต้น
  • ป่าดิบแล้ง: พบตามหุบเขาที่ชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี จากพื้นล่างขึ้นไปตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 150-900 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางแดง ปอสลักพาด คำไก่ มะไฟ เลือดควายใบใหญ่ เสลาดำ ดีหมี จิก ไผ่หก ไผ่ไร่ ไผ่เฮียะ ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม หวายโป่ง หวายนิ้ว เขิงช้าง และว่านนกคุ้ม เป็นต้น สำหรับพื้นที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตรขึ้นไปเป็น
  • ป่าดิบเขา: ซึ่งกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามยอดเขา และพบทุ่งโล่งที่มีหญ้าปกคลุมสลับกันอยู่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตองลาด จำปีป่า มันปลา สอยดาว ไคร้ขน หมี่ปัง อบเชย ตองหอม ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ คนางใบหยก เขิงแข้งม้า ก๋ง เป็นต้น

ทรัพยากรสัตว์ป่า

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหงประกอบด้วย

จุดเด่นที่น่าสนใจ

  • เขาหลวง: เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุดอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย รูปพรรณสัณฐานคล้ายสตรีนอนสยายผมที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอดเวลา บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงามประกอบไปด้วยยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ บริเวณผานารายณ์เป็นจุดที่สามารถไปยืนชมทิวทัศน์กว้างไกลของทุ่งหญ้าและผืนป่าดงดิบตามริมห้วยชุ่มชื้น และยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าและตกในยามเย็น จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติมีเส้นทางเดินเท้าสู่ยอดเขาหลวงระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร โดยเป็นเส้นทางดิ่งชันขึ้นที่สูงตลอด ผู้ที่ต้องการพิชิตยอดเขาหลวงจึงต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม ระหว่างทางจะพบกับสิ่งที่น่าสนใจเป็นระยะ ๆ ช่วงแรกผ่านไปตามป่าดงดิบแน่นทึบ เมื่อถึงต้นประดู่ใหญ่ที่ยืนต้นตระหง่านอยู่ริมทาง สภาพทางจะเริ่มชันขึ้น ๆ ราวกับหน้าผา รวมระยะทาง 3 กิโลเมตร ระหว่างทางมีจุดให้พักชมทิวทัศน์ จนไปถึงจุดพักที่เรียกว่า น้ำดิบผามะหาด ซึ่งมีธารน้ำซับให้แวะพักล้างหน้าล้างตา จากนั้นทางจะลาดขึ้น จนกระทั่งถึงยอดเขาหลวง
  • ทุ่งหญ้าธรรมชาติ: บนยอดเขาจะเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม ไทรขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงามเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน อยู่ระหว่างทางขึ้นยอดเขาหลวง
  • สมุนไพรและว่าน: ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีว่านและสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกลดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย เสน่ห์สาวหลง หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง เลือดค้างคาว รางจืด กระวาน กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ
  • น้ำตกสายรุ้ง: เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงชันและสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์มาเป็นลำธารคลองไผ่นาไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร มีทั้งหมด 4 ชั้น น้ำตกชั้นบนสุดเป็นชั้นสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินเท้าทวนสายน้ำตกขึ้นไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร น้ำตกสายรุ้งมีน้ำตกเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น การเดินทางจากอำเภอคีรีมาศ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีทางแยกเข้าสู่บ้านใหม่เจริญผล เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ถึงน้ำตก
  • อ่างเก็บน้ำคลองข้างใน: เป็นแหล่งชมทัศนียภาพของทิวเขา วิถีชีวิตของผู้มีอาชีพหาปลา และในฤดูหนาวจะมีนกเป็ดน้ำเข้ามาอยู่ในอ่างเก็บน้ำเป็นจำนวนมาก เป็นจุดแวะพักก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง ประมาณ 12 กิโลเมตร
  • น้ำตกลำเกลียว: เป็นน้ำตกขนาดกลางที่มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใส โอบล้อมไปด้วยสภาพธรรมชาติที่สวยงามของป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งที่แทรกตัวอยู่เป็นระยะๆ มีโขดหินขนาดใหญ่จำนวนมาก มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย และให้ความเป็นส่วนตัว การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกที่บ้านนาสระลอยเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อถึงที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติชั่วคราว (น้ำตกลำเกลียว) ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตกชั้นที่สูงสุด ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 20 กิโลเมตร
  • น้ำตกหินราง: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กมีลักษณะเป็นร่องหินที่มีน้ำไหลลงมาเป็นทางมีน้ำไหลเป็นบางฤดู
  • ถ้ำนารายณ์: ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขาหลวง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นที่ประดิษฐานของเทวรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งสลักจากหินทรายโบราณที่มีพุทธลักษณะคล้ายรูปพระนารายณ์ จึงทำให้ชาวบ้านเรียกขานเป็นชื่อถ้ำ ปัจจุบันได้ย้ายไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหง
  • ถ้ำพระแม่ย่า: ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระแม่ย่า ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยสุโขทัย อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวสุโขทัย ลักษณะคล้ายเพิงหินขนาดใหญ่ และด้านหลังเป็นถ้ำตื้น การเดินทางใช้ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1319 เมื่อถึงสี่แยกบ้านขุนนาวัง เลี้ยวซ้ายผ่านเขากุดยายชีเข้าไปอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ รค.3 (ถ้ำพระแม่ย่า) ไปก็จะถึงถ้ำพระแม่ย่า
  • ลานพม่าลับหอก: ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นลานหินทรายขนาดใหญ่ในลำน้ำ ซึ่งเดิมเป็นจุดพักทัพ และลับอาวุธของทหารพม่า ขณะที่เดินทางมารบกับไทยในสมัยสุโขทัย
  • พระร่วงวิ่งว่าว: ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ มีตำนานเล่าขานว่า เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ที่พระร่วงมาเล่นว่าว เคยมีประเพณีสักการบูชาสืบทอดกันมาแต่โบราณ ซึ่งเกิดขึ้นจากความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร
  • เส้นทางศึกษาธรมชาติ: อุทยานแห่งชาติรามคำแหงได้จัดทำเส้นทางเดินป่าเพื่อศึกษาความหลากหลายของธรรมชาติไว้ 2 เส้นทาง ได้แก่

1.เส้นทางศึกษาธรมชาติ สายที่ 1: อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติรามคำแหง 300 เมตร จุดเริ่มต้นอยู่ใกล้กับพื้นที่กางเต็นท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการศึกษาสภาพธรรมชาติของป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลานสมุนไพรโบราณ ป่าเต็งรัง ลำน้ำ สภาพป่าธรรมชาติที่มีการทดแทนตลอดเวลา และน้ำตกหินราง

2. เส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 2: เป็นเส้นทางที่เหมาะกับกิจกรรมเดินทางไกลในการศึกษาความหลากหลายทางธรรมชาติ และชมสวนสมุนไพรโบราณ จุดเริ่มต้นเดียวกับเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สายที่ 1 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติ สู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 49
  2. สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
  3. https://www.follovv.me/trip/125/