ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติแม่วาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจำแนกได้เป็น 4 ชนิดคือ [[ป่าเบญจพรรณ]] พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง [[ป่าเต็งรัง]] พบที่ระดับความสูง 400-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล [[ป่าสนเขา]] พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 900-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และ[[ป่าดิบเขา]] พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป<ref>[http://www.topchiangmai.com/national-park/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87/ อุทยานแห่งชาติแม่วาง]</ref>
สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจำแนกได้เป็น 4 ชนิดคือ [[ป่าเบญจพรรณ]] พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง [[ป่าเต็งรัง]] พบที่ระดับความสูง 400-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล [[ป่าสนเขา]] พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 900-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และ[[ป่าดิบเขา]] พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป<ref>[http://www.topchiangmai.com/national-park/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87/ อุทยานแห่งชาติแม่วาง]</ref>


สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ เก้ง หมูป่า เสือปลา ลิงวอก ชะนีมือขาว ชะมดเช็ด หมาไม้ เม่นหางพวง ลิ่นชวา กระต่ายป่า กระรอกท้องแดง ค้างคาวดอย เหยี่ยวรุ้ง นกกระทาทุ่ง ไก่ป่า ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกคุ่มอกลาย นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ นกเค้าโมง นกแอ่นตาล นกขุนแผนหัวแดง นกแก๊ก นกโพระดก นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดทอง นกแซงแซวหางปลา นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า เต่าปูลู เต่าเหลือง กิ้งก่าบินปีกแดง แย้ ตะกวด งูเหลือม งูสามเหลี่ยม งูจงอาง อึ่งลาย กบห้วย ปาดบ้าน และคางคกบ้าน เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ [[เก้ง]] [[หมูป่า]] [[เสือปลา]] [[ลิงวอก]] [[ชะนีมือขาว]] [[ชะมดเช็ด]] [[หมาไม้]] [[เม่นหางพวง]] ลิ่นชวา [[กระต่ายป่า]] [[กระรอกสวน]] หรือ กระรอกท้องแด ค้างคาวดอย [[เหยี่ยวรุ้ง]] นกกระทาทุ่ง [[ไก่ป่า]] ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกคุ่มอกลาย นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ [[นกเค้าโมง]] หรือ นกเค้าแมว นกแอ่นตาล นกขุนแผนหัวแดง [[นกแก๊ก]] หรือ นกแกง นกโพระดก [[นกหัวขวานด่างแคระ]] นกปรอดทอง [[นกแซงแซวหางปลา]] นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า [[เต่าปูลู]] [[เต่าเหลือง]] กิ้งก่าบินปีกแดง [[แย้]] [[ตะกวด]] [[งูเหลือม]] [[งูสามเหลี่ยม]] [[งูจงอาง]] อึ่งลาย [[กบลำห้วย]] หรือ กบห้วย [[ปาดบ้าน]] และ[[คางคกบ้าน]] เป็นต้น


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:36, 20 พฤศจิกายน 2562

อุทยานแห่งชาติแม่วาง
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแม่วาง
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแม่วาง
ที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่วาง
ที่ตั้งจังหวัดเชียงใหม่, ประเทศไทย
เมืองใกล้สุดจังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่119.6256 km2 (46.1877 sq mi)
จัดตั้ง20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
หน่วยราชการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพืชพันธุ์
ผาช่อ อุทยานแห่งชาติแม่วาง

อุทยานแห่งชาติแม่วาง เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศไทย ลำดับที่ 112 ได้รับการการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552[1] ครอบคลุมพื้นที่ป่าจอมทอง ป่าแม่ขาน และป่าแม่วาง อยู่ในเขตท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลยางคราม ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ ตำบลบ้านหลวง ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง และตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 74,766 ไร่ หรือ 119.6256 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติแม่วาง เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนของทิวเขาถนนธงชัย ที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 400-1,909 เมตร อุทยานแห่งชาติแม่วางเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ 3 สายคือ น้ำแม่แจ่ม น้ำแม่วาง น้ำแม่ตื่น ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำปิง[2]

ลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วางได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามา อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25องศาเซลเซียส ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ดังนี้

  • ฤดูร้อนช่วงระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝนช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนพฤศจิกายน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-1,100 มิลลิเมตรต่อปี
  • ฤดูหนาวช่วงระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติจำแนกได้เป็น 4 ชนิดคือ ป่าเบญจพรรณ พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ป่าเต็งรัง พบที่ระดับความสูง 400-900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ป่าสนเขา พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงระหว่าง 900-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล และป่าดิบเขา พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป[3]

สัตว์ป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ได้แก่ เก้ง หมูป่า เสือปลา ลิงวอก ชะนีมือขาว ชะมดเช็ด หมาไม้ เม่นหางพวง ลิ่นชวา กระต่ายป่า กระรอกสวน หรือ กระรอกท้องแด ค้างคาวดอย เหยี่ยวรุ้ง นกกระทาทุ่ง ไก่ป่า ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกคุ่มอกลาย นกเขาเขียว นกบั้งรอกใหญ่ นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว นกแอ่นตาล นกขุนแผนหัวแดง นกแก๊ก หรือ นกแกง นกโพระดก นกหัวขวานด่างแคระ นกปรอดทอง นกแซงแซวหางปลา นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้า เต่าปูลู เต่าเหลือง กิ้งก่าบินปีกแดง แย้ ตะกวด งูเหลือม งูสามเหลี่ยม งูจงอาง อึ่งลาย กบลำห้วย หรือ กบห้วย ปาดบ้าน และคางคกบ้าน เป็นต้น

อ้างอิง