ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหรียญจักรพรรดิมาลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
*[[กว้าง รอบคอบ]]
*[[กว้าง รอบคอบ]]
*[[กิตติ สีหนนทน์]]
*[[กิตติ สีหนนทน์]]
*เกศินี สุทธิ
*[[เกษม วัฒนชัย]]
*[[เกษม วัฒนชัย]]
*[[แก้วขวัญ วัชโรทัย]]
*[[แก้วขวัญ วัชโรทัย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:00, 20 พฤศจิกายน 2562

เหรียญจักรพรรดิมาลา
อักษรย่อร.จ.พ.
ประเภทเหรียญบำเหน็จในราชการ
วันสถาปนาพ.ศ. 2436
ประเทศไทย ประเทศไทย
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับพระมหากษัตริย์, สมเด็จพระบรมราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ข้าราชการพลเรือน
มอบเพื่อสำหรับบุคคลที่มีคุณงามความดี ข้าราชการพลเรือนที่รับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปี
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเหรียญจักรมาลา
รองมาเหรียญศารทูลมาลา

เหรียญจักรพรรดิมาลา ใช้อักษรย่อว่า ร.จ.พ. เป็นเหรียญสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการสำหรับข้าราชการพลเรือน[1] สถาปนาขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปีมะเส็ง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) เนื่องในการพระราชพิธีรัชดาภิเษก สมโภชสิริราชสมบัติครบ 25 ปี[2]

ลักษณะของเหรียญ

ลักษณะเป็นเหรียญเงินรูปกลม มีชนิดเดียว

  • ด้านหน้า มีรูปพระครุฑพ่าห์ อยู่ในวงจักร
  • ด้านหลัง มีรูปช้างอยู่ในวงจักร จารึกอักษรโดยรอบว่า "บำเหน็จแห่งความยั่งยืน และมั่นคงในราชการ"
  • เบื้องบนเหรียญ มีเครื่องหมายพระมหาวชิราวุธห้อยกับแพรแถบ กว้าง 3 เซนติเมตร สีแดงขอบสีเหลืองกับสีเขียว ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานสตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

การพระราชทาน และการส่งคืน/การเรียกคืน

  • สำหรับพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี การนับเวลาราชการ ให้นับโดยคำนวณเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกัน แต่ถ้าผู้นั้นเข้ารับราชการก่อนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ให้นับตั้งแต่อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์
  • ทหารหรือตำรวจ ที่รับราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี หากยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะรับพระราชทานเหรียญจักรมาลาก็ให้ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาแทน
  • พระราชทานให้เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ให้ทายาทโดยธรรมเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึกได้ แต่ไม่สิทธิ์ประดับ
  • ผู้ซึ่งได้รับพระราชทานเหรียญนี้จะได้รับพระราชทานประกาศนียบัตรฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกรด้วย
  • ถ้าผู้ได้รับพระราชทาน หรือทายาทโดยธรรม ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนดสามสิบวัน จะต้องใช้ราคาของเหรียญแก่ทางราชการตามราคาของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น

ผู้ที่ได้รับพระราชทาน

แพรแถบ

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2552 เล่มที่ 126 ตอนที่ 62
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม ๑๒ ตอน ๔๙ หน้า ๔๘๐