ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น"

พิกัด: 16°27′59.86″N 102°47′01.18″E / 16.4666278°N 102.7836611°E / 16.4666278; 102.7836611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
Taewonder (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 94: บรรทัด 94:


== แผนการก่อสร้างและปรับปรุง สนามบินขอนแก่น ==
== แผนการก่อสร้างและปรับปรุง สนามบินขอนแก่น ==
ผลจากความแออัด จากการมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2,200 ล้านบาท ซึ่งรูปแบบใหม่จะเป็นอาคาร 3 อาคาร <ref>[https://www.matichon.co.th/news/654810 ทุ่ม 2.2 พันล้าน ขยายสนามบินขอนแก่น ยกระดับสู่สนามบินนานาชาติ รองรับผู้โดยสาร 2.5 ล้านคนต่อปี]</ref>
ผลจากความแออัด จากการมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2,200 ล้านบาท


แยกเป็น อาคารจอดรถ 7 ชั้น, อาคารสำนักงานและพิธีการบิน ซึ่งจะเป็นอาคารตรงกลางความสูง 3 ชั้น และอาคารผู้โดยสารต่างประเทศ รวมทั้งที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยานประจำ จ.ขอนแก่น
แยกเป็น การก่อสร้างอาคารจอดรถหลังใหม่ 7 ชั้น และปรับปรุงอาคารจอดรถหลังเดิมให้สามารถรองรับรถยนต์ได้มากกว่า 1,200 คัน อาคารสำนักงานและพิธีการบิน ซึ่งจะเป็นอาคารกลางความสูง 3 ชั้น และอาคารผู้โดยสารต่างประเทศ รวมทั้งที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยานประจำ จ.ขอนแก่น


โดยอาคารหลักที่ใช้ปฏิบัติการการบิน เป็นอาคารเดิมแต่จะปรัปรุง และขยายขนาดตัวอาคารเก่าออกไป โดยมีบันไดเลื่อนในปัจจุบันเป็นจุดกึ่งกลางของอาคารผู้โดยสารใหม่ การเวนคืนพื้นที่ซึ่งเป็นอาคารบ้านพักของเจ้าหน้าที่โดยรอบออกไปทั้งหมด ทั้งนี้อาคารทั้ง 3 ชั้นแยกเป็น
โดยอาคารหลักที่ใช้ปฏิบัติการการบิน เป็นอาคารเดิมแต่จะปรัปรุง และขยายขนาดตัวอาคารเก่าออกไป เป็น 45,500 ตารางเมตร โดยมีบันไดเลื่อนในปัจจุบันเป็นจุดกึ่งกลางของอาคารผู้โดยสารใหม่ การเวนคืนพื้นที่ซึ่งเป็นอาคารบ้านพักของเจ้าหน้าที่โดยรอบออกไปทั้งหมด ทั้งนี้อาคารทั้ง 3 ชั้นแยกเป็น


ชั้นที่ 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า
ชั้นที่ 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า
[[ไฟล์:KKC (31782719676).jpg|thumb|สะพานเทียบเครื่องบิน (Jet bridge) ของสนามบิน]]
[[ไฟล์:KKC (31782719676).jpg|thumb|สะพานเทียบเครื่องบิน (Jet bridge) ของสนามบิน]]


ชั้นที่ 2 อาคารผู้โดยสารขาออก เคาน์เตอร์เช็คอิน 24 จุด รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ที่พักผู้โดยสารหลังจากตรวจบัตรโดยสารแล้ว นอกจากนี้ยังมีทำการของศุลากรและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจท้องที่แยกออกเป็นสัดส่วน [[ไฟล์:สนามบินขอนแก่น เฟส2.jpg|alt= ภาพโมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2|thumb|ภาพโมเดลท่าอากาศยานขอนแก่นเฟส2]]
ชั้นที่ 2 อาคารผู้โดยสารขาออก เคาน์เตอร์เช็คอิน 25 จุด รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ที่พักผู้โดยสารหลังจากตรวจบัตรโดยสารแล้ว นอกจากนี้ยังมีทำการของศุลากรและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจท้องที่ [[ไฟล์:สนามบินขอนแก่น เฟส2.jpg|alt= ภาพโมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2|thumb|ภาพโมเดลท่าอากาศยานขอนแก่นเฟส2]]
ขั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน
ขั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน


อาคารผู้โดยสารใหม่นี้จะสามารถรองรับให้บริการผู้โดยสารได้มากกว่า 5.5 ล้านคนต่อปี โดยจะแล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ Airbus A330 , Boeing 777 รวมไปถึงเครื่องบินขนาดกลาง อย่าง Airbus A320 และ Boeing 737 สำหรับการบินต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานขอนแก่น กลายเป็นสนามบินขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>[http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2016/06/27/entry-1 โชว์โมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2]</ref>
อาคารผู้โดยสารใหม่นี้จะสามารถรองรับให้บริการผู้โดยสารได้มากกว่า 5.5 ล้านคนต่อปี โดยจะแล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ Airbus A330 , Boeing 777 รวมไปถึงเครื่องบินขนาดกลาง อย่าง Airbus A320 และ Boeing 737 สำหรับการบินต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานขอนแก่น มี'''[[สะพานเทียบเครื่องบิน]]''' (Jet bridge) ถึง 4 สะพาน กลายเป็นสนามบินขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>[http://oknation.nationtv.tv/blog/akom/2016/06/27/entry-1 โชว์โมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2]</ref>




นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยานยังได้ขอรับงบประมาณปี 2563 ในการขยายลานจอดอากาศยาน และแท็กซี่เวย์ ([[TAXIWAY]]) เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานได้เพิ่มขึ้นจาก 5 ลำ เป็น 11 ลำ ในเวลาเดียวกัน<ref>https://www.prachachat.net/property/news-297271</ref>
นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยานยังได้ขอรับงบประมาณปี 2563 ในการขยายลานจอดอากาศยาน และแท็กซี่เวย์ ([[TAXIWAY]]) เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานเพิ่มขึ้นจาก 5 ลำ เป็น 11 ลำ ในเวลาเดียวกัน<ref>https://www.prachachat.net/property/news-297271</ref>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:49, 19 พฤศจิกายน 2562

ท่าอากาศยานขอนแก่น
  • IATA: KKC
  • ICAO: VTUK
    KKCตั้งอยู่ในประเทศไทย
    KKC
    KKC
    Location of airport in Thailand
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร/สาธารณะ
เจ้าของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
สถานที่ตั้งตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ฐานการบินไทยแอร์เอเชีย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล204 เมตร / 670 ฟุต
พิกัด16°27′59.86″N 102°47′01.18″E / 16.4666278°N 102.7836611°E / 16.4666278; 102.7836611
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
03/21 3,050 10,007 ยางมะตอย
สถิติ (2561)
ผู้โดยสาร1,830,012
เที่ยวบิน16,339
แหล่งข้อมูล: อ้างอิง

ท่าอากาศยานขอนแก่น หรือ สนามบินขอนแก่น (อังกฤษ: Khon Kaen Airport) สนามบินตั้งอยู่ในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร มีพื้นที่ 1,113 ไร่ อาคารผู้โดยสารรองรับได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง หรือ 2.4 ล้านคนต่อปี[1] อาคารที่ทำการห่างจากทางหลวงแผ่นดินสาย 12 (ขอนแก่น – เลย) 2 กิโลเมตร วัดทางตรงจากกรุงเทพฯ มาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 200 นอตติคอลไมล์ (ประมาณ 364 กิโลเมตร)[2] อยู่ในความดูแลของกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3] ปัจจุบันสายการบินไทยแอร์เอเชียได้เลือกท่าอากาศยานขอนแก่นเป็นฮับการบินของภาคอีสาน[4] และทางท่าอากาศยานขอนแก่นได้เร่งขยายสนามบิน ทั้งอาคารผู้โดยสาร รันเวย์ และส่วนต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นสนามบินนานาชาติ (International Airport)[5]

ประวัติความเป็นมา [6]

ท่าอากาศยานขอนแก่น เดิมเป็นท่าอากาศยานเล็กๆ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่นอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 450 กิโลเมตร มีขนาดทางวิ่งเป็นดินลูกรัง ขนาด30 x 1,300 เมตร ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารเครื่องช่วยการเดินอากาศ การให้สัญญาณเครื่องบินขึ้น – ลง โดยใช้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสนามบินและธงเขียวแดงให้สัญญาณ เมื่อเห็นว่าปลอดภัยนักบินก็จะนำเครื่องบินลง

รัฐบาลในสมัย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความเจริญทัดเทียมกับภาคอื่นๆของประเทศโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางของภาค และให้เป็นศูนย์กลางพัฒนาที่ตั้งอยู่ระหว่างกลางของภาค สามารถเดินทางไปจังหวัดต่างๆได้สะดวกโดยทางรถยนต์และรถไฟในบางจังหวัด แต่ยังขาดการเดินทางโดยทางเครื่องบินซึ่งธุรกิจต่างๆต้องการความรวดเร็ว ความคล่องตัว การเดินทางโดยเครื่องบินจึงมีความจำเป็นและเห็นสมควรให้เปิดการบินพาณิชย์ขึ้น โดยการให้มีการพัฒนาสนามบินขอนแก่นที่เดิมแต่ไม่เหมาะสมที่จะขยายปรับปรุง อีกทั้งอยู่ในเขตชุมชนจะทำให้ขยายตัวเมืองไม่ได้ ประกอบกับส่วนราชการต่างๆของจังหวัดก็มีมากขึ้น ไม่มีที่ปลูกที่ทำการจึงได้ให้จังหวัดขอนแก่นจัดหาที่ดินแห่งใหม่เพื่อทำการก่อสร้างสนามบินใหม่ทดแทนสนามบินเดิม.โดยมีข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหม(โดยกองทัพอากาศ) ในที่สุดก็เลือกได้ที่ดินซึ่งเป็นที่สาธารณะ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 8 กิโลเมตร และเป็นที่เหมาะสมที่จะสร้างสนามบินได้

ในปี พ.ศ. 2505 สำนักงานการบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้เป็นส่วนราชการที่รับผิดชอบในการก่อสร้างสนามบินขอนแก่นขึ้นใหม่ โดยเริ่มปลูกสร้างคือ อาคารที่ทำการและที่พักผู้โดยสารชั่วคราว(ลักษณะเป็นเรือนไม้) โรงเก็บเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้า โรงจอดรถยนต์ ทางวิ่งเครื่องบินมีขนาด 30 x 1,000 เมตร ลานจอดขนาด 60 x 90 เมตร พื้นที่ลาดยางแอสฟัลต์

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2506 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเครื่องบิน DAGOTA (D.C.3) บรรจุผู้โดยสาร 28 ที่นั่ง ทำการบินเส้นทางกรุงเทพฯ –ขอนแก่น – อุดร – นครพนม – อุบลราชธานี – กรุงเทพฯ เพื่อดำเนินกิจการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ ซึ่งเป็นเส้นทางทำการบินมายังจังหวัดขอนแก่นเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ท่าอากาศยานขอนแก่นได้ประกาศเป็นสนามบินอนุญาตตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2506 และต่อมาประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2534

รายชื่อสายการบิน

สายการบิน IATA Code จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
การบินไทยสมายล์ WE กรุงเทพ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ DD กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย FD กรุงเทพ-ดอนเมือง เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต อู่ตะเภา ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ SL กรุงเทพ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

สายการบินที่เคยทำการบิน

สายการบินเช่าเหมาลำ

สภาพปัจจุบันของท่าอากาศยานขอนแก่น [9]

  • พื้นที่ 1,113 ไร่
  • อาคารที่พักผู้โดยสาร เป็นอาคารสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 16,252 ตารางเมตร
    การบินไทย เข้าหลุมจอด
  • อาคารที่พักผู้โดยสาร = 1,000 คน/ชั่วโมง
  • ขนาดทางวิ่ง 45 x 3,050 เมตร
  • ลานจอดอาคารหลังใหม่ 143 x 300 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น B747-400 จำนวน 1 ลำ และ AIRBUS A300-600 จำนวน 2 ลำ
  • ลานจอดอาคารหลังเก่า 80 x 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบิน B737-400 จำนวน 2 ลำ
  • ความจุของลานจอด (The capacity of apron) : 5 ลำในเวลาเดียวกัน
  • อาคารจอดรถยนต์ 5 ชั้น จำนวน 1 หลัง จอดรถยนต์ได้ 700 คัน

ปัจจุบันท่าอากาศยานขอนแก่น มีจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการ ทั้งขาเข้าและขาออก รวมกว่า 3,500 คนต่อวัน หรือ 1.8 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินขีดความสามารถของตัวอาคารหลังเดิมซึ่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. 2546

โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน จากการให้บริการของสายการบินพาณิชย์ 4 สายการบิน ประกอบด้วย ไทยสมายล์, ไทยแอร์เอเชีย, นกแอร์ และไทยไลอ้อนแอร์ รวมถึงเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ

โดยมีเที่ยวบินให้บริการโดยเฉลี่ย 40 เที่ยวบินต่อวัน เฉลี่ยการทำการบินขึ้นลงทุก 45 นาที โดยมีจดหมายปลายทาง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา

แผนการก่อสร้างและปรับปรุง สนามบินขอนแก่น

ผลจากความแออัด จากการมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติงบประมาณในการปรับปรุงท่าอากาศยานขอนแก่น วงเงิน 2,200 ล้านบาท

แยกเป็น การก่อสร้างอาคารจอดรถหลังใหม่ 7 ชั้น และปรับปรุงอาคารจอดรถหลังเดิมให้สามารถรองรับรถยนต์ได้มากกว่า 1,200 คัน อาคารสำนักงานและพิธีการบิน ซึ่งจะเป็นอาคารกลางความสูง 3 ชั้น และอาคารผู้โดยสารต่างประเทศ รวมทั้งที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยานประจำ จ.ขอนแก่น

โดยอาคารหลักที่ใช้ปฏิบัติการการบิน เป็นอาคารเดิมแต่จะปรัปรุง และขยายขนาดตัวอาคารเก่าออกไป เป็น 45,500 ตารางเมตร โดยมีบันไดเลื่อนในปัจจุบันเป็นจุดกึ่งกลางของอาคารผู้โดยสารใหม่ การเวนคืนพื้นที่ซึ่งเป็นอาคารบ้านพักของเจ้าหน้าที่โดยรอบออกไปทั้งหมด ทั้งนี้อาคารทั้ง 3 ชั้นแยกเป็น

ชั้นที่ 1 อาคารผู้โดยสารขาเข้า

สะพานเทียบเครื่องบิน (Jet bridge) ของสนามบิน

ชั้นที่ 2 อาคารผู้โดยสารขาออก เคาน์เตอร์เช็คอิน 25 จุด รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ที่พักผู้โดยสารหลังจากตรวจบัตรโดยสารแล้ว นอกจากนี้ยังมีทำการของศุลากรและตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจท้องที่

ภาพโมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2
ภาพโมเดลท่าอากาศยานขอนแก่นเฟส2

ขั้นที่ 3 เป็นที่ตั้งของสำนักงานสายการบินและสำนักงานของกรมท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสารใหม่นี้จะสามารถรองรับให้บริการผู้โดยสารได้มากกว่า 5.5 ล้านคนต่อปี โดยจะแล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งจะเพิ่มความสามารถในการให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ Airbus A330 , Boeing 777 รวมไปถึงเครื่องบินขนาดกลาง อย่าง Airbus A320 และ Boeing 737 สำหรับการบินต่างประเทศ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะทำให้ท่าอากาศยานขอนแก่น มีสะพานเทียบเครื่องบิน (Jet bridge) ถึง 4 สะพาน กลายเป็นสนามบินขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[10]


นอกจากนี้ กรมท่าอากาศยานยังได้ขอรับงบประมาณปี 2563 ในการขยายลานจอดอากาศยาน และแท็กซี่เวย์ (TAXIWAY) เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานเพิ่มขึ้นจาก 5 ลำ เป็น 11 ลำ ในเวลาเดียวกัน[11]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. https://www.prachachat.net/property/news-38560
  2. https://minisite.aviation.go.th/about.php?site=khonkaen&SiteMenuID=1430
  3. [https://minisite.aviation.go.th/ รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน%5d
  4. %5b%5b#cite_ref-4|↑%5d%5d %5bhttp://www.khonkaenlink.info/home/news/2872.html "แอร์เอเชียดันขอนแก่นศูนย์กลางการบินภูมิภาค บินเชื่อมขอนแก่นมากสุดในอีสาน"]. ขอนแก่นลิงก์. 20 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: line feed character ใน |url= ที่ตำแหน่ง 79 (help); ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เผยโฉมสนามบินขอนแก่น ทุ่มงบสร้างกว่า 2 พันล้านบ. ยกระดับสู่สนามบินนานาชาติ". มติชนออนไลน์. 24 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. https://minisite.aviation.go.th/about.php?site=khonkaen&SiteMenuID=1429
  7. http://www.flightstats.com/go/FlightStatus/flightStatusByAirport.do
  8. "4สายการบินเพิ่มเที่ยวในประเทศไปขอนแก่น". โพสต์ทูเดย์. 30 มิถุนายน 2561. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. https://minisite.aviation.go.th/about.php?site=khonkaen&SiteMenuID=1430
  10. โชว์โมเดลสนามบินใหม่ขอนแก่น เฟส 2
  11. https://www.prachachat.net/property/news-297271