ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาตินันทบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
สุทธิศักดิ์15132 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 24: บรรทัด 24:
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
== ลักษณะภูมิอากาศ ==
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
*[[ฤดูร้อน]] ตั้งแต่เดือนมีนาคม - พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีสูงสุดประมาณ 41 องศาเซสเซียล
*[[ฤดูร้อน]] ตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีสูงสุดประมาณ 41 องศาเซสเซียล
*[[ฤดูฝน]] ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ตุลาคม ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,198 มิลลิเมตร
*[[ฤดูฝน]] ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,198 มิลลิเมตร
*[[ฤดูหนาว]] ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซสเซียล
*[[ฤดูหนาว]] ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซสเซียล


==พืชพรรณและสัตว์ป่า==
==พืชพรรณและสัตว์ป่า==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:47, 8 พฤศจิกายน 2562

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
ที่ตั้งจังหวัดน่าน
พื้นที่548,125 ไร่ (877 ตารางกิโลเมตร)
จัดตั้งอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
ผู้เยี่ยมชม13,858 [1] (2554)
หน่วยราชการสำนักอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาตินันทบุรี มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอท่าวังผา, อำเภอเมืองน่าน และอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งต้นน้ำลำธาร พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในอดีต ภายใต้อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือใต้ อยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดน่าน ระดับความสูงของพื้นที่ประมาณ 300-1,674 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยมี “ยอดดอยวาว” ความสูง 1,674 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นจุดสูงสุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย ได้แก่ ลำน้ำสมุน ลำน้ำสะเนียน ลำน้ำวาว ลำน้ำยาว ลำน้ำพี้ ลำน้ำตึม ลำน้ำสีพัน ลำน้ำไสล ลำน้ำระพี และลำน้ำคาง เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีสูงสุดประมาณ 41 องศาเซสเซียล
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,198 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซสเซียล

พืชพรรณและสัตว์ป่า

ลักษณะทั่วไปของพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าเบญจพรรณทางด้านตะวันตก และป่าดิบแล้งทางด้านตะวันตกและเหนือ มีป่าดิบเขาอยู่บ้างตามยอดเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 900 เมตร นอกจากนั้นยังมีป่าเต็งรัง ป่าเขาหินปูน และทุ่งหญ้า ชนิดพันธุ์ไม้และพืชพื้นล่างที่พบในแต่ละชนิดป่าได้แก่

ชนิดของสัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ได้แก่ เก้ง หมาไม้ ลิงกัง ลิงวอก อีเห็นข้างลาย อ้นเล็ก ลิ่น บ่าง กระต่ายป่า กระรอกปลายหางดำ ค้างคาวลูกหนูถ้ำ หนูผีนา เหยี่ยวนกเขาหงอน นกเปล้าหน้าเหลือง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกปรอดเหลืองหัวจุก นกแซงแซวหงอนขน นกขุนทอง เต่าเหลือง เต่าปูลู ตะกวด แย้ งูหลาม งูสิง จิ้งเหลนหางยาว กิ้งก่าบินคอแดง ปาดแคระขาเขียว อึ่งปากขวด กบทูด เขียดจะนา คางคกหัวราบ ผีเสื้อสะพายฟ้า ผีเสื้อถุงทองป่าสูง และผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู เป็นต้น สำหรับในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำพบสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาซิวหนวดยาว ปลาตะเพียนขาว ปลาไหลนา ปลาดุกอุย ปลาหมอตาล หอยกาบน้ำจืด หอยขม หอยโข่ง และกุ้งฝอยใน เป็นต้น

การเดินทาง

จากตัวอำเภอเมืองน่าน ใช้ทางหลวงหมายเลข 1080 ไปยังอำเภอท่าวังผาแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1148 (ท่าวังผา-สองแคว) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1082 (นาหนุน-สบขุ่น) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 27 แยกขวามือเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ

สถานที่ติดต่อ

ที่ทำการอุทยานแห่งชาตินันทบุรี ตำบลผาทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 55140

โทรศัพท์: 08-9999-2420, 08-0131-1395

แหล่งท่องเที่ยว

อ้างอิง