ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร"

พิกัด: 13°44′28″N 100°29′22″E / 13.741209°N 100.489578°E / 13.741209; 100.489578
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเกริ่น อัปเดต
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10: บรรทัด 10:
| principal_buddha =
| principal_buddha =
| important_buddha =
| important_buddha =
| abbot = '''พระเทพปริยัติโมลี'' (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9 ,ดร.)
| abbot = '''พระเทพปริยัติโมลี''' (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9 ,ดร.)
| venerate =
| venerate =
| pre_road =
| pre_road =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:30, 4 พฤศจิกายน 2562

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
อาคารโมลีปริยัตยากร เฉลิมพระเกียรติฯ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
ที่ตั้งถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระเทพปริยัติโมลี (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9 ,ดร.)
กิจกรรม
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร หรือชื่อเดิมว่า วัดท้ายตลาด ที่ตั้งอยุ่ พระราชวังเดิม ซอยวังเดิม 6 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัย[อยุธยา] ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง และเหตุที่เรียกว่าวัดท้ายตลาดเนื่องจากอยู่ต่อจากตลาด[กรุงธนบุรี|เมืองธนบุรี] ปัจจุบันชาวบ้านยังนิยมเรียกชื่อนี้อยู่

ในสมัยธนบุรี วัดนี้เป็นวัดในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่ตลอดช่วงรัชกาล ในรัชกาลที่ 3 ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั่วทั้งพระอาราม และทรงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "วัดโมลีโลกยสุธาราม" ภายหลังมาเรียกกันว่า "วัดโมลีโลกยาราม" วัดโมลีโลกยารามเคยเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีที่มีผู้สอบได้เปรียญธรรมมากเป็นระดับต้นๆ ของประเทศ สิ่งก่อสร้างสำคัญประกอบด้วย[1]

อาคารต่าง ๆ

  1. พระอุโบสถ ลักษณะทรงไทยยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระประธานปางมารวิชัยทรงฉัตร 7 ชั้น (พระพรหมกวี (วรวิทย์) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒ ได้ถวายนามว่า "พระพุทธโมลีโลกนาถ") และพระอัครสาวกขวา-ซ้าย โดยหลักฐานตามพระราชพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ ยืนยันได้ว่า สร้างในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  2. พระวิหาร (พระวิหารฉางเกลือ) ลักษณะทรงไทยคล้ายผสมจีน สันนิษฐานว่าได้ใช้เป็นฉางเกลือของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้านหลังมีรูปปั้นขุนนางจีน 2 ตัว ภายในพระวิหารกั้นเป็น 2 ตอน ปัจจุบัน ตอนหน้าที่หันออกคลองบางกอกใหญ่ ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นหมู่บนฐานชุกชี ส่วนตอนหลังเป็นพื้นที่ค่อนข้างแคบ ประดิษฐาน "พระปรเมศ" พระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย แต่เดิมผนังห้องนี้เขียนลวดลายงดงาม ภายหลังทาสีทับ แต่ส่วนบนยังปรากฏอยู่
  3. หอสมเด็จ แบ่งเป็น ๒ ชั้น คือ ชั้นฐานและชั้นตัวหอ ชั้นฐานรับหอและพระเจดีย์ แบ่งเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องมีรูปทหารแบกส่วนฐานไว้ สันนิฐานว่าเป็นรูปทหารฝรั่งเศสเนื่องจากสร้างบนส่วนของป้อมทหารฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยอยุธยา (บริเวณเดียวกับป้อมวิไชยประสิทธิ์) ส่วนบนประกอบด้วยพระเจดีย์รอบด้าน ๆ ละ ๒ องค์ รวมเป็น ๔ องค์ ด้านหน้าเป็นรูปอุโมงค์ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ตัวหอสมเด็จ เป็นอาคารทรงไทย ประตูหน้าต่างเขียนภาพลายรดน้ำงดงาม ภายในประดิษฐานรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรเบื้องต้นแด่พระโอรสในรัชกาลที่ ๒ แทบทุกพระองค์ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อมรณภาพแล้ว รัชกาลที่ ๓ โปรดให้หล่อขึ้น เป็นรูปหล่อสำริดนั่งขัดสมาธิมีขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่บนแท่นซึ่งมีคำจารึกที่ฐานหล่อว่า           "ศุภมัสดุ พระพุทธศักราชล่วงแล้วสองพันสามร้อยแปดสิบหกพระวษา ณ วันจันทร์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เบญจศก พระบาทสมเด็จบรมธรรมฤกมหาราชาธิราชรามาธิบดีบรมนารถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการ ณ พระบัณฑูรสุรสีหนาท ดำรัส สั่งหลวงกัลมาวิจิตร เจ้ากรมช่างปั้นขวา และอาจารย์ฉิม กรมราชบัณฑิตย์ ให้จำลองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลย์สุนทรนายก ติปิฏกธรา มหาคณฤษร บวรสังฆาราม คามวาสีบพิตร อันสถิต ณ พุทไธยสวรรยาวาศ วรวิหาร ไว้เป็นที่สักการบูชาแก่สานุศิษย์ทั้งปวงสืบไป"
  4. หอไตร ปัจจุบันย้ายออกมาจากสระน้ำและตั้งอยู่บริเวณ กุฎีสงฆ์ ภายในคณะ ๑ เป็นอาคารไม้สักทรงไทย ใต้ถุนสูง หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบ ประตู หน้าต่าง ผนังด้านใน และเสาเขียนภาพลายรดน้ำภาพถ้วยชามเครื่องใช้จีนสวยงามยิ่ง สันนิษฐานว่า คงสร้างในรัชกาลที่ ๓ ต่อมา รัชกาลที่ ๕ โปรดให้บูรณะขึ้นอีกครั้งสมัยพระธรรมเจดีย์ (อยู่) เป็นเจ้าอาวาส ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานแห่งนี้ให้ดูสวยงามดังเดิม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′28″N 100°29′22″E / 13.741209°N 100.489578°E / 13.741209; 100.489578

  1. บันทึก เรื่อง สภาพวัดโมลีโลกยาราม.พระเทพปริยัติสุธี (๑ สิงหาคม ๒๕๔๐). https://www.watmoli.org/index.php?url=about&code=reccord_wat&cat=A