ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดปราจีนบุรี"

พิกัด: 14°03′N 101°23′E / 14.05°N 101.38°E / 14.05; 101.38
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Toppro00089 (คุย | ส่วนร่วม)
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
== ประวัติศาสตร์ ==
== ประวัติศาสตร์ ==
=== สมัยก่อนอยุธยา ===
=== สมัยก่อนอยุธยา ===
[[ไฟล์:Ton Pho Si Maha Pho (I).jpg|250px|thumb|right|[[วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์|ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์]] ที่เชื่อว่าเป็นต้นโพต้นแรกในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่สมัย[[ทวารวดี]]]]
[[ไฟล์:Sa Kaeo, Si Mahosot (I).jpg|250px|thumb|right|โบราณสถานสระแก้ว สมัยทราวรวดี ในเขตคูเมืองเก่าศรีมโหสถ]]

ปราจีนบุรีในสมัยก่อนอยุธยาเริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] จึงเชื่อว่า ในสมัยสุโขทัย บริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรียังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา
ปราจีนบุรีในสมัยก่อนอยุธยาเริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัย[[ราชวงศ์ซ้อง]] จึงเชื่อว่า ในสมัยสุโขทัย บริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรียังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 4 พฤศจิกายน 2562

จังหวัดปราจีนบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Prachin Buri
คำขวัญ: 
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง
ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปราจีนบุรีเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปราจีนบุรีเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดปราจีนบุรีเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ พิบูลย์ หัตถกิจโกศล
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2561)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,762.362 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 44
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด491,640 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 55
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 48
รหัส ISO 3166TH-25
ชื่อไทยอื่น ๆปราจีน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ศรีมหาโพธิ์
 • ดอกไม้ปีบ
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี หมู่ที่ 1 ถนนสุวินทวงศ์ ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25230
 • โทรศัพท์0 3745 4004
 • โทรสาร0 3745 4004
เว็บไซต์http://www.prachinburi.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปราจีนบุรี เดิมสะกดว่า ปราจิณบุรี[3] เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีการพบซากโบราณสถานในหลายพื้นที่ของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีอุทยานแห่งชาติอยู่ในเขตมรดกโลกถึง 3 แห่ง ทั้งยังเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ป่ามากที่สุดในภาคตะวันออกอีกด้วย

แต่เดิมจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก เนื่องจากในอดีตเคยมีการยุบรวมจังหวัดนครนายกเข้ากับจังหวัดปราจีนบุรีในปี พ.ศ. 2485 เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในสภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำระหว่างสงคราม [4] ต่อมาในปีพ.ศ. 2489 จึงมีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดนครนายกขึ้นอีกครั้ง[5] อย่างไรก็ตามพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรีก็ยังคงมีความกว้างใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาในการปกครองและให้บริการประชาชนเนื่องจากบางอำเภออยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติฯ ให้แยกบางอำเภอทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดปราจีนบุรีแล้วรวมกันจัดตั้งเป็นจังหวัดสระแก้ว ในปีพ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน จังหวัดปราจีนบุรีได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นหัวเมืองรองในด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาค มีการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้นใหม่มากมาย ทำให้ภาพรวมในจังหวัดดีขึ้น รายได้ต่อปีต่อหัวของประชากร เฉลี่ย 450,000 - 480,000 บาท อยู่ในอันดับ3ของประเทศไทย อ้างอิงจาก รายชื่อจังหวัดในประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดต่อหัว

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนอยุธยา

ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์ ที่เชื่อว่าเป็นต้นโพต้นแรกในประเทศไทย มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดี
โบราณสถานสระแก้ว สมัยทราวรวดี ในเขตคูเมืองเก่าศรีมโหสถ

ปราจีนบุรีในสมัยก่อนอยุธยาเริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย แล้วพัฒนามาเป็นกลุ่มบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ จนเข้าสู่สมัยสุโขทัย ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานทางเอกสาร แต่ได้พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุตรงกับสมัยราชวงศ์ซ้อง จึงเชื่อว่า ในสมัยสุโขทัย บริเวณพื้นที่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรียังคงมีผู้คนบางส่วนอาศัยอยู่สืบเนื่องกันมา

ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยโบราณเมื่อประมาณ 2,000-2,500 ปี มาแล้ว ซึ่งตรงกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Proto-history) ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระทุ่มแพ้ว ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอบ้านสร้าง บ้านหนองอ้อ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี และบ้านดงชัยมัน ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม

โบราณคดีที่พบ ได้แก่ ลูกปัดแก้วแบบอินโด-แปซิฟิกสีต่าง ๆ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน หินอะเกต หินควอตซ์ และเครื่องมือเหล็ก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนโบราณใกล้เคียงและอินเดีย โดยเฉพาะที่บ้านดงชัยมันได้พบชิ้นส่วนกลองมโหระทึกซึ่งเป็นโบราณวัตถุในวัฒนธรรมดองซอน เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมซึ่งพบทางตอนใต้ของจีนและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย

บริเวณที่ตั้งเมืองโบราณศรีมโหสถ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 ในชุมชนบริเวณดังกล่าวรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มหมู่บ้านเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกับวัฒนธรรมภายนอก แต่ยังไม่มีการสร้างเมืองที่มีคันดิน คูน้ำล้อมรอบชุมชน ในระยะนี้อาจมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรฟูนัน และมีการแลกเปลี่ยนค้าขายกับนักเดินเรือจากต่างประเทศ หลักฐานที่พบแสดงอิทธิพลวัฒนธรรมฟูนันและอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแบบอมราวดี หลักฐานสำคัญที่พบ ได้แก่ ภาพสลักนูนต่ำและประติมากรรมบางชิ้น ที่พบในบริเวณนี้คือภาพมกรหรือเหราบางตัวที่ขอบโบราณสถานสระแก้ว มีลักษณะคล้ายมกรในศิลปะอินเดียแบบคุปตะ ส่วนประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธรูปที่พบในบ่อน้ำหน้าอาคารรอยพระบาทคู่ และจากการค้นพบเครื่องมือหินขัด ทำให้พออนุมานได้ว่าชุมชนดังกล่าวน่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ที่พบตามแนวชายฝั่งทะเลเดิมบริเวณลุ่มน้ำบางปะกงแถบจังหวัดชลบุรี ซึ่งเริ่มมีถิ่นฐานเมื่อประมาณ 5,000-1,400 ปี มาแล้ว

สรุปได้ว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์เริ่มแรกในเขตจังหวัดปราจีนบุรีเป็นสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงในการดำรงชีวิต คือ รู้จักใช้เครื่องมือเหล็กและรู้จักใช้วิธีกักเก็บน้ำ ต่อมาสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นจนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 6-10 ได้รับวัฒนธรรมภายนอกและเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ พัฒนาเป็นชุมชนหรือเมืองที่รู้จักกันในชื่อว่า กลุ่มวัฒนธรรมทวารวดี มีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-19

การเกิดบ้านเมืองในสมัยประวัติศาสตร์ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-19 แบ่งจังหวัดปราจีนบุรีออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกมีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาการเป็นบ้านเมืองร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองทวารวดีในบริเวณภาคกลางของประเทศ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 และช่วงที่ 2 เป็นการอยู่สืบเนื่องต่อจากช่วงแรก แต่สภาพสังคม การเมือง การปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เชื่อว่าช่วงเวลาดังกล่าวนี้ได้รับวัฒนธรรมเขมรโบราณเข้ามา มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมทวารวดีที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน

สมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยาปรากฏชื่อเมืองปราจีนบุรีเป็นครั้งแรก คำว่า "ปราจีนบุรี" เป็นคำสมาส เกิดจากคำว่า "ปราจีน" กับคำว่า "บุรี" คำว่า "ปราจีน" หรือ "ปาจีน" หมายความว่า ทิศตะวันออก ส่วนคำว่า "บุรี" หมายความว่า "เมือง" รวมแล้วคำว่า "ปราจีนบุรี" หมายถึงเมืองตะวันออก การเขียนชื่อเมืองปราจีนบุรีแตกต่างกันไป เช่น ปราจินบุรี ปราจิณบุรี และปาจีนบุรี แต่ความหมายน่าจะหมายถึงเมืองทางตะวันออกของราชอาณาจักรไทย

ปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองชั้นในด้านทิศตะวันออก สันนิษฐานว่า ในสมัยอยุธยาตอนต้นก่อนการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) เมืองปราจีนมีฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้ราชธานีคือกรุงศรีอยุธยา โดยทางกรุงศรีอยุธยาจะส่งขุนนางมาปกครองโดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และหลังจากการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว การปกครองหัวเมืองก็เปลี่ยนไปจากเดิม คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช และแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้น เอก โท ตรี และจัตวา ทรงลดฐานะหัวเมืองชั้นในคือเมืองลูกหลวงและเมืองหลานหลวงลงมาเป็นเมืองจัตวาภายใต้การปกครองของราชธานี โดยทางราชธานีจะส่งขุนนางมาปกครองและขึ้นตรงต่อเมืองหลวง และขุนนางที่ปกครองหัวเมืองชั้นในเรียกว่า "ผู้รั้ง" เขตที่จัดเป็นหัวเมืองชั้นในมีอาณาบริเวณดังนี้ ทิศเหนือจดเมืองชัยนาท ทิศตะวันออกจดเมืองปราจีน ทิศตะวันตกจดสุพรรณบุรี ทิศใต้จดเมืองกุยบุรี เมืองปราจีนบุรีหลังการปฏิรูปในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นกับราชธานี ตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามที่ออกพระอุไทยธานี

จากลักษณะทำเลที่ตั้งของเมืองปราจีน เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศกัมพูชา เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดปราจีนบุรีในสมัยอยุธยาจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับสงครามระหว่างสองราชอาณาจักร โดยฝ่ายกัมพูชามักจะเป็นต้นเหตุซึ่งอาจเนื่องมาจากกัมพูชาเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นราชอาณาจักรใหม่จึงไม่ยอมรับอำนาจมากนัก ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงและขณะเดียวกันราชอาณาจักกัมพูชากลับเสื่อมโทรมภายในมากขึ้น กัมพูชาจึงยอมรับราชอาณาจักรอยุธยาในฐานเจ้าประเทศราช กษัตริย์ กัมพูชาต้องมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารหลายครั้ง

แต่อย่างไรก็ดี เมื่อกรุงศรีอยุธยามีศึกติดพันกับพม่าหรือมีความอ่อนแอภายใน กัมพูชาก็ถือโอกาสมากวาดต้อนผู้คนตามแนวชายแดนของราชอาณาจักรอยุธยาอย่างเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงยกทัพไปตีกัมพูชาโดยใช้เส้นทางบก โดยยกทัพหลวงออกจากกรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออก ผ่านพิหานแดง (วิหารแดง) บ้านนา เมืองนครนายก ด่านกบแจะ (ประจันตคาม) ด่านหนุมาน (กบินทร์บุรี) ด่านพระปรง (อำเภอแมืองสระแก้ว) ช่องตะโก ด่านพระจารึกหรือพระจฤต (อรัญประเทศ-ตาพระยา) ตำบลทำนบ อยู่ระหว่างเมืองอรัญประเทศกับเมืองพระตะบอง ตำบลเพนียด เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์ และเมืองละแวก

สมัยธนบุรี

ในสมัยธนบุรีได้กล่าวถึงเมืองปราจีนเพียงว่าเป็นเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ยกทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปยังเมืองจันทบุรี กล่าวคือเมื่อ พ.ศ. 2309 ขณะที่กองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระยากำแพงเพชรทรงเล็งเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาจะเป็นอันตราย จึงรวบรวมทหารไทย จีน ประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยอาวุธออกไปตั้ง ณ วัดพิชัย พอฝนตกพระยากำแพงเพชรจึงนำกองทัพฝ่ากองทัพพม่าออกมาจากวัดพิชัย เดินทัพต่อไป โดยมีจุดหมายอยู่ที่เมืองจันทบุรี โดยเมืองปราจีนบุรีอยู่ในเส้นทางเดินทัพ ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับจันทนุมาศ (เจิม) ได้กล่าวไว้ว่า …เมื่อวันพุธขึ้นแปดค่ำ เดือนยี่ ยกกองทัพมาประทับที่ตำบลหนองไม้ซุง ตามทางหลวงนครนายก ประทับรอนแรม 2 วันถึงบ้านนาเริ่ง ออกจากบ้านนาเริ่งวันหนึ่งถึงเมืองปราจีน ข้ามด่านกบและหยุดพักพลหุงอาหาร ณ ฟากตะวันออกแล้วยกข้ามไปจนถึงบ่าย 5 โมง…

สมัยรัตนโกสินทร์

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมืองปราจีนยังคงเป็นเมืองผ่านของเส้นทางเดินทัพระหว่างไทยกับกัมพูชา มีผู้คนอยู่อาศัยมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นหลายเมือง เช่น เมืองกบินทร์บุรี เมืองอรัญประเทศ เมืองวัฒนานคร เป็นต้น ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองบางขนากขึ้น ส่งผลให้การติดต่อระหว่างเมืองปราจีนบุรีกับพระนครสะดวกรวดเร็วขึ้น

ต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้มีพระราชดำริที่จะสร้างป้อมเมืองปราจีน แต่ได้ลงมือสร้างและแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองปราจีนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ เพราะมีการค้นพบแหล่งทองคำที่เมืองกบินทร์บุรี มีการทำเหมืองทองคำ ต่อมาเมื่อปฏิรูปการปกครองจากระบบกินเมืองเป็นระบบเทศาภิบาล ได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการมณฑลปราจีน ส่งผลให้เมืองปราจีนกลายเป็นศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคตะวันออก ครั้นเมื่อได้ย้ายที่ว่าการมณฑลปราจีนไปอยู่ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้เมืองปราจีนลดความสำคัญลง ประกอบกับเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป คือมีการตัดเส้นทางรถไฟจากรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรา มีคนจีนไปสร้างหลักแหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้น มีโรงงานน้ำตาล โรงสีข้าว อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความเจริญแทนเมืองปราจีนบุรี

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 ให้มีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแบบผู้ว่าราชการจังหวัด คณะกรมการจังหวัด และสภาจังหวัด ส่งผลให้มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไป เมืองปราจีนบุรีมีฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2485 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช 2485 ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี โดยในส่วนของจังหวัดนครนายกนั้นให้รวมท้องที่ของจังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี (ยกเว้นอำเภอบ้านนา ให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี) จึงส่งผลให้จังหวัดปราจีนบุรีมีท้องที่กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นเกินกำลังจังหวัดจะรับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างหลักการพระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489 โดยได้สอบถามหน่วยราชการประจำจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระบุรี และในที่สุดรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พ.ศ. 2489

ต่อมา พ.ศ. 2536 ได้มีการแบ่งเขตพื้นที่การปกครองจังหวัดปราจีนบุรี โดยแยกพื้นที่อำเภอบางอำเภอไปอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสระแก้ว ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2536

ภูมิศาสตร์

อาณาเขต

จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

การเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 65 ตำบล 658 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองปราจีนบุรี
2. อำเภอกบินทร์บุรี
3. อำเภอนาดี
4. อำเภอบ้านสร้าง หมายเลข 6
5. อำเภอประจันตคาม หมายเลข 7
6. อำเภอศรีมหาโพธิ หมายเลข 8
7. อำเภอศรีมโหสถ หมายเลข 9
 

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี

เศรษฐกิจ

เวโรนา ทับลาน

จังหวัดปราจีนบุรีมีความเจริญและมีการลงทุนจากต่างประเทศปีละจำนวนมาก โดยมีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวงและใกล้ท่าเรือที่ใช้ส่งออก และอยู่บนเส้นทางสำคัญสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก นอกจากนี้ จังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนมาก ทั้งพื้นที่ปลูกข้าว ทำนา ทำสวนผลไม้ ทำให้ปราจีนบุรีมีผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพดี กับผลไม้ที่เป็นที่รู้จัก เช่น ทุเรียน กระท้อน มะปราง มะยงชิด โดยเฉพาะทุเรียน ได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นทุเรียนจีไอ ทำให้ทุเรียนจากปราจีนบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นสินค้าส่งออกไปต่างประเทศทุกปี ทำรายได้สู่ประชากรในจังหวัดอย่างมาก

ในด้านการท่องเที่ยว มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัยอย่างแก่งหินเพิง และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อย่างเมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีเป็นจังหวัดที่มีน้ำตกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีพื้นที่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 3 อำเภอของจังหวัด

ประชากร

การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา

สาธารณสุข

ไฟล์:ตึกอภัยภูเบศร.jpg
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ด้านการสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบไปด้วย

  • โรงพยาบาลรัฐบาล 7 แห่ง ประกอบด้วยโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลประจำอำเภออีก 6 แห่ง
  • โรงพยาบาลเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 304 อินเตอร์ อำเภอศรีมหาโพธิ ,โรงพยาบาลเมดิแคร์ 304 และโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ปราจีนบุรี 304
  • โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ อำเภอเมืองปราจีนบุรี

วัฒนธรรม

จังหวัดปราจีนบุรีมีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และการละเล่นพื้นเมืองสำคัญที่นิยมปฏิบัติสืบทอดกันมา แต่โบราณจนถึงปัจจุบัน คือ

  • งานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน งานนี้จัดขึ้นที่วัดสระมรกต ในบริเวณโบราณสถานสระมรกต อำเภอศรีมโหสถ เป็นระยะเวลา 3 วัน ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกปี ในงานกิจกรรมหลักคือ การแสดงแสงสีเสียง การแสดงโขน ตลาดย้อนยุค รวมถึง การเข้าค่ายพุทธศาสน์และปลูกจิต สำนึกทางศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียน นักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป การประชุมพระภิกษุและพระสังฆาธิการ ในจังหวัด การปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา กิจกรรมการเวียนเทียนรอบรอยพระพุทธบาทคู่
  • งานประเพณีการแข่งเรือยาว จัดเป็นงานประจำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 โดยจัดที่แม่น้ำบางปะกงหรือแม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณสะพานณรงค์ดำริถึงหน้าวัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมืองปราจีนบุรี แต่เดิมมีการแข่งขันเรือเพียง 2 ประเภท คือ ประเภทใบพาย 2 ด้าน ซึ่งมี 15-19 ฝีพาย และแบบ 35 ฝีพาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2538 มีการแข่งขัน 4 ประเภท คือ แบบ 15-19 ฝีพาย, แบบ 30 ฝีพาย, แบบ 40 ฝีพาย, และแบบ 55 ฝีพาย ผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งการแข่งขันได้รับความสนใจจากจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ได้ส่งเรือมาร่วมแข่งขันกับทางจังหวัดปราจีนบุรี ปกติงานนี้จัดในช่วงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคม ของทุกปี แล้วแต่ความสูงของระดับน้ำ
  • งานวันเกษตรและของดีเมืองปราจีน จัดที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี นอกจากเกษตรกรจะนำผลผลิตมาจำหน่ายแล้ว ยังมีกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ เช่น การประกวดคุณภาพผลไม้ ผลไม้ที่ใหญ่ที่สุด เช่น ขนุนผลใหญ่ที่สุด ทุเรียนผลใหญ่ที่สุด กระท้อนผลใหญ่ที่สุด ผักยาวที่สุด เช่น บวบ ถั่วฝักยาว ในงานนี้ยังมีขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยผลิตผลทางการเกษตร และในบางปียังมีการประกวดธิดาเกษตรด้วย ทำให้ประชาชนทั่วทิศต่างจังหวัดเดินทางเข้ามาเที่ยวงานเป็นจำนวนมาก โดยผลไม้ขึ้นชื่อจะเป็นทุเรียน ที่มีรสชาติดีเป็นอันดับต้นๆของประเทศรองจากทุเรียนนนทบุรี
  • งานประเพณีการทำบุญบั้งไฟ งานนี้จัดขึ้นที่วัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งจัดมาได้ประมาณ 50 ปีมาแล้ว ผู้ที่ริเริ่มในการจัด คือ พระครูวิมลโพธิเขต (จำปา ธมฺมกาโม) เจ้าคณะตำบลโคกปีบ กิจกรรมของงาน ได้แก่ การประกวดจุดบั้งไฟที่ขึ้นนานที่สุด มีการรำเซิ้งบั้งไฟเพื่อขอฝน การประกวดขบวนรำเซิ้ง ซึ่งจะมีคณะกรรมการจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในจังหวัดและต่างจังหวัด เช่น สระแก้ว ยโสธร เป็นต้น
  • งานประเพณีลอยกระทง จัดกิจกรรมการลอยกระทงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีมาตั้งแต่โบราณกาล จนถือเป็นประเพณีสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน การจัดงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดปราจีนบุรี จัดที่ท่าน้ำหน้าที่ว่า การอำเภอเมืองปราจีนบุรี กิจกรรมต่าง ๆ ในงาน ได้แก่ การประกวดกระทงประเภทสวยงามและประเภทความคิด และยังมีการแสดงบนเวทีของหน่วยงานและสถานศึกษาต่าง ๆ

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_59.pdf 2561. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2562.
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  4. พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๘๕ ราชกิจจานุเบกษา
  5. พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช ๒๔๘๙ ราชกิจจานุเบกษา

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

14°03′N 101°23′E / 14.05°N 101.38°E / 14.05; 101.38