ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังสือซามูเอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teetaweepo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Teetaweepo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:


หนังสือซามูเอลตั้งชื่อตาม[[ผู้เผยพระวจนะ]]ที่มีชื่อเสียงของอิสราเอลในยุคนั้น ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เชื่อกันในวัฒนธรรมชาวยิวว่า แต่งโดย ซามูเอล เอง (หรือโดยการริเริ่มของซามูเอล) และแต่งเพิ่มเติมโดย [[กาด (ผู้เผยพระวจนะ)|กาด]] และ [[นาธาน (ผู้เผยพระวจนะ)|นาธาน]] <ref>{{bibleverse|1|Chronicles|29:29|9}}</ref>
หนังสือซามูเอลตั้งชื่อตาม[[ผู้เผยพระวจนะ]]ที่มีชื่อเสียงของอิสราเอลในยุคนั้น ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เชื่อกันในวัฒนธรรมชาวยิวว่า แต่งโดย ซามูเอล เอง (หรือโดยการริเริ่มของซามูเอล) และแต่งเพิ่มเติมโดย [[กาด (ผู้เผยพระวจนะ)|กาด]] และ [[นาธาน (ผู้เผยพระวจนะ)|นาธาน]] <ref>{{bibleverse|1|Chronicles|29:29|9}}</ref>

นักวิชาการสมัยใหม่ลงความเห็นกันว่า ประวัติศาสตร์ในช่วงเฉลยพระธรรมบัญญัติทั้งหมด แต่งและรวบรวมขึ้นในช่วงทศวรรษ 630–540 ปีก่อนคริสตกาล จากบทความหลากหลายในหลายยุคสมัย {{sfn|Knight|1995|p=62}}{{sfn|Jones|2001|p=197}}
แต่นักวิชาการสมัยใหม่ลงความเห็นกันว่า ประวัติศาสตร์ในช่วงเฉลยพระธรรมบัญญัติทั้งหมด แต่งและรวบรวมขึ้นในช่วงทศวรรษ 630–540 ปีก่อนคริสตกาล จากบทความหลากหลายในหลายยุคสมัย {{sfn|Knight|1995|p=62}}{{sfn|Jones|2001|p=197}}


เนื้อหาของหนังสือทั้งสองฉบับกล่าวถึง พงศาวดารของอิสราเอล ในช่วงชีวิตของ ผู้เผยพระวจนะ[[ซามูเอล]]
เนื้อหาของหนังสือทั้งสองฉบับกล่าวถึง พงศาวดารของอิสราเอล ในช่วงชีวิตของ ผู้เผยพระวจนะ[[ซามูเอล]]
รวมถึง กษัตริย์[[ซาอูล]] (เป็นกษัตริย์องค์แรกของชนชาติอิสราเอล) และ กษัตริย์[[ดาวิด]] (กษัตริย์องค์ที่สองของชนชาติอิสราเอล และเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของกลุ่มศาสนายูดาห์) ในมุมมองของซามูเอลและบรรดาผู้เผยพระวจนะ {{sfn|Gordon|1986|p=18}}
รวมถึง กษัตริย์[[ซาอูล]] (เป็นกษัตริย์องค์แรกของชนชาติอิสราเอล) และ กษัตริย์[[ดาวิด]] (กษัตริย์องค์ที่สองของชนชาติอิสราเอล และเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของกลุ่มศาสนายูดาห์) ในมุมมองของซามูเอลและบรรดาผู้เผยพระวจนะ {{sfn|Gordon|1986|p=18}}

ประกอบด้วยเนื้อหาตั้งแต่ ความเป็นมา ประวัติศาสตร์สำคัญ จนถึงมรณกรรมและการสิ้นพระชนม์ ของท่านและทั้งสองพระองค์
ประกอบด้วยเนื้อหาตั้งแต่ ความเป็นมา ประวัติศาสตร์สำคัญ จนถึงมรณกรรมและการสิ้นพระชนม์ ของท่านและทั้งสองพระองค์


บรรทัด 16: บรรทัด 18:


;กำเนิดซามูเอล และการทรงเรียกของซามูเอล
;กำเนิดซามูเอล และการทรงเรียกของซามูเอล
ในยุคที่เอลีอาซาร์เป็น[[ปุโรหิต]]ของพระเจ้า บุตรชายของเอลีอาซาร์ได้กระทำผิดต่อพระเจ้าว่าด้วยเครื่องถวายบูชา เป็นเหตุให้พระเจ้าไม่อวยพระพรแก่ครอบครัวของเอลีอาซาร์
ในยุคที่เอลีอาซาร์เป็น[[ปุโรหิต]]ของพระเจ้า บุตรชายของท่านได้กระทำผิดต่อพระเจ้าว่าด้วยเครื่องถวายบูชา เป็นเหตุให้พระเจ้าไม่อวยพระพรแก่ครอบครัวของเอลีอาซาร์


ในยุคนั้นเอง มารดาของซามูเอลซึ่งเป็นหมันได้มาอธิษฐานอ้อนวอนกราบทูลพระเจ้าให้เบิกครรภ์ให้แก่นาง โดยนางได้บนบานต่อพระเจ้าว่า จะถวายบุตรชายของนางให้เป็นผู้รับใช้ในพระวิหารของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อพระเจ้าทรงเบิกครรภ์ให้แก่นาง และเมื่อนางคลอดเป็นบุตรชาย จึงตั้งชื่อบุตรชายว่า [[ซามูเอล]] และถวายซามูเอลให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้าตั้งแต่นั้นมา
ในช่วงไล่เลี่ยกัน มารดาของซามูเอลซึ่งเป็นหมัน ได้มาอธิษฐานอ้อนวอนกราบทูลพระเจ้าให้เบิกครรภ์ให้แก่นาง โดยนางได้บนบานต่อพระเจ้าว่า จะถวายบุตรชายให้เป็นผู้รับใช้ในพระวิหารของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อสมปรารถนา นางตั้งชื่อบุตรชายว่า [[ซามูเอล]] และถวายซามูเอลให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้า


ด้วยเหตุที่ครอบครัวของเอเลอาซาร์กระทำผิดต่อพระเจ้า พระองค์จึงทรงเรียก [[ซามูเอล]] ให้ทำหน้าที่เป็น[[ปุโรหิต]] และ[[ผู้เผยพระวจนะ]] แทนที่เอลีอาซาร์
และพระองค์จึงทรงเรียก [[ซามูเอล]] ให้ทำหน้าที่เป็น[[ปุโรหิต]] และ[[ผู้เผยพระวจนะ]] แทนที่เอลีอาซาร์


;การแต่งตั้งกษัตริย์ซาอูล
;การแต่งตั้งกษัตริย์ซาอูล
บรรทัด 56: บรรทัด 58:
* อัมโมนและซีเรียขนาบ
* อัมโมนและซีเรียขนาบ
* ดาวิดสำนึกบาป
* ดาวิดสำนึกบาป
* ซาโลมอนเกิด
* [[ซาโลมอน]]เกิด
* อับซาโลมฆ่าอัมโนน หนีไปจนกลับมา
* อับซาโลมฆ่าอัมโนน หนีไปจนกลับมา
* ดาวิดหนีจากอับซาโลมก่อกบฎ จนกลับเข้าเมือง เชบากบฎนำอิสราเอลออกมา
* ดาวิดหนีจากอับซาโลมก่อกบฎ จนกลับเข้าเมือง เชบากบฎนำอิสราเอลออกมา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:29, 4 พฤศจิกายน 2562

หนังสือซามูเอล [1] หรือ พระธรรมซามูเอล (อังกฤษ: Books of Samuel) เป็นคัมภีร์ลำดับที่ 9 ในพระคริสตธรรม ภาคพันธสัญญาเดิม และเป็นลำดับที่ 4 ในหมวดประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ได้แก่

  • หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 มีทั้งหมด 31 บท
  • หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 มีทั้งหมด 24 บท

หนังสือซามูเอลตั้งชื่อตามผู้เผยพระวจนะที่มีชื่อเสียงของอิสราเอลในยุคนั้น ไม่ทราบผู้แต่ง แต่เชื่อกันในวัฒนธรรมชาวยิวว่า แต่งโดย ซามูเอล เอง (หรือโดยการริเริ่มของซามูเอล) และแต่งเพิ่มเติมโดย กาด และ นาธาน [2]

แต่นักวิชาการสมัยใหม่ลงความเห็นกันว่า ประวัติศาสตร์ในช่วงเฉลยพระธรรมบัญญัติทั้งหมด แต่งและรวบรวมขึ้นในช่วงทศวรรษ 630–540 ปีก่อนคริสตกาล จากบทความหลากหลายในหลายยุคสมัย [3][4]

เนื้อหาของหนังสือทั้งสองฉบับกล่าวถึง พงศาวดารของอิสราเอล ในช่วงชีวิตของ ผู้เผยพระวจนะซามูเอล รวมถึง กษัตริย์ซาอูล (เป็นกษัตริย์องค์แรกของชนชาติอิสราเอล) และ กษัตริย์ดาวิด (กษัตริย์องค์ที่สองของชนชาติอิสราเอล และเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของกลุ่มศาสนายูดาห์) ในมุมมองของซามูเอลและบรรดาผู้เผยพระวจนะ [5]

ประกอบด้วยเนื้อหาตั้งแต่ ความเป็นมา ประวัติศาสตร์สำคัญ จนถึงมรณกรรมและการสิ้นพระชนม์ ของท่านและทั้งสองพระองค์

เนื้อหาโดยสังเขป

หนังสือซามูเอลทั้ง 2 ฉบับ สามารถแบ่งเนื้อหาเป็น 7 ช่วงสำคัญ

กำเนิดซามูเอล และการทรงเรียกของซามูเอล

ในยุคที่เอลีอาซาร์เป็นปุโรหิตของพระเจ้า บุตรชายของท่านได้กระทำผิดต่อพระเจ้าว่าด้วยเครื่องถวายบูชา เป็นเหตุให้พระเจ้าไม่อวยพระพรแก่ครอบครัวของเอลีอาซาร์

ในช่วงไล่เลี่ยกัน มารดาของซามูเอลซึ่งเป็นหมัน ได้มาอธิษฐานอ้อนวอนกราบทูลพระเจ้าให้เบิกครรภ์ให้แก่นาง โดยนางได้บนบานต่อพระเจ้าว่า จะถวายบุตรชายให้เป็นผู้รับใช้ในพระวิหารของพระเจ้า ดังนั้น เมื่อสมปรารถนา นางตั้งชื่อบุตรชายว่า ซามูเอล และถวายซามูเอลให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้า

และพระองค์จึงทรงเรียก ซามูเอล ให้ทำหน้าที่เป็นปุโรหิต และผู้เผยพระวจนะ แทนที่เอลีอาซาร์

การแต่งตั้งกษัตริย์ซาอูล

เมื่อซามูเอลเป็นปุโรหิตของพระเจ้านั้น ประเทศรอบข้างอิสราเอลต่างมีกษัตริย์ทำหน้าที่ปกครองประเทศ มีเพียงอิสราเอลที่ไม่มีกษัตริย์ แต่มีปุโรหิตเป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลประชากรตามที่พระเจ้าทรงบัญชา

อิสราเอลได้เรียกร้องให้ซามูเอลแต่งตั้งกษัตริย์ให้ตน ซึ่งถือว่าเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้า แต่พระเจ้าก็ทรงอนุญาตให้อิสราเอลแต่งตั้งกษัตริย์ได้ โดยพิจารณาจากบุตรชายหัวปีของตระกูล ตามลำดับพงศ์พันธุ์ของอิสราเอล ซาอูล ได้รับการแต่งตั้งด้วยว่ามีบุคลิกภาพดี มีความเป็นผู้นำ และเป็นนักรบ ซาอูลจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของอิสราเอล

กษัตริย์ซาอูลทรงถูกถอดจากราชสมบัติ

กษัตริย์ซาอูลทรงขึ้นครองราชย์ปกครองอิสราเอลด้วยความชอบธรรม โดยมีซามูเอลเป็นปุโรหิตผู้คอยให้คำแนะนำด้วยดีในระยะแรก ในทุกสงคราม กษัตริย์ซาอูลให้ซามูเอลอธิษฐานและร้องทูลต่อพระเจ้า และได้ชัยชนะเรื่อยมา

เมื่อชนะบ่อยครั้งเข้า กษัตริย์ซาอูลกลับทรงเหิมเกริม ไม่ปฏิบัติตามพระเจ้าตรัสผ่านซามูเอล เป็นเหตุให้พระเจ้าทอดทิ้งพระองค์ กษัตริย์ซาอูลมิได้กลับพระทัยแต่หันไปพึ่งคนทรง ซึ่งผิดอย่างร้ายแรงในสายพระเนตรพระเจ้า พระเจ้าจึงทรงถอดถอนกษัตริย์ซาอูลออก ไม่สนับสนุนพระองค์อีก และทรงให้ซามูเอลไปทำการตั้งเจิมแก่ว่าที่กษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอลแทน

การแต่งตั้งกษัตริย์ดาวิด

เพื่อให้มนุษย์ยำเกรงเชื่อฟังคำสอนของพระเจ้าผู้เป็นกษัตริย์ที่แท้จริง พระเจ้าจึงทรงให้เกิดความอัศจรรย์ว่า กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติ กลับมาจากบุตรชายคนเล็กที่สุด ของตระกูลที่เล็กน้อยที่สุด จากเผ่ายูดาห์ซึ่งเป็นเผ่าที่เล็กน้อยที่สุด แต่ยิ่งใหญ่ขึ้นด้วยการเชื่อฟังพระเจ้า

ซามูเอลจึงออกค้นหาเพื่อเจิมตั้งให้เป็นกษัตริย์แทนซาอูล ตามพระบัญชาของพระเจ้า และพบ ดาวิด เด็กหนุ่มผุ้ทำหน้าที่เลี้ยงแกะให้แก่บิดา ไม่ได้เป็นนักรบยิ่งใหญ่แต่อย่างใด แต่มีความยำเกรงและเชื่อฟังพระเจ้า

ภายหลังจากที่พระเจ้าทรงให้ซามูเอลเจิมตั้งดาวิด ก็มีเหตุให้ดาวิดได้แสดงความสามารถ และการทรงสถิตย์ของพระเจ้า โดยได้เข้าร่วมกองทัพกับอิสราเอลและรบชนะศึกสำคัญหลายครั้ง จนประชาชนอิสราเอลตระหนักว่าพระเจ้าทรงอยู่ข้างดาวิด มิใช่ซาอูล แต่กระนั้น ดาวิดก็อ่อนน้อมซื่อตรงรับใช้ต่อกษัตริย์ซาอูล มิได้มักใหญ่ตั้งตนเองขึ้น

การหนีของดาวิด

เมื่อผลงานของดาวิดมีมากขึ้น เป็นเหตุให้กษัตริย์ซาอูลไม่พอพระทัย คิดหาทางกำจัดดาวิดเสียหลายครั้ง แต่ดาวิดก็สามารถรอดมาได้เสมอโดยไม่คิดแค้น เมื่อกษัตริย์ซาอูลริษยาดาวิดจนนำกองทัพไล่ติดตาม ดาวิดจำเป็นต้องหลบหนีไปอยู่ในชนบท แต่มีประชากรอิสราเอลจำนวนมาก ที่เห็นว่าพระเจ้าทรงสถิตย์กับดาวิด จึงได้ขอติดตามพระองค์ไปด้วยและกลายเป็นกองกำลังเพื่อปกป้องตนเอง แต่มิได้เข้าไปยึดบัลลังก์จากซาอูลแต่อย่างใด

กษัตริย์ซาอูลสิ้นพระชนม์ กษัตริย์ดาวิดทรงขึ้นครองราชย์ ===

เมื่อดาวิดมีผู้ติดตามมากขึ้น กษัตริย์ซาอูลเห็นว่าเป็นการซ่องสุมกำลังไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงทรงนำกองทัพออกมาเพื่อกำจัดดาวิด แต่สุดท้ายกษัตริย์ซาอูลกลับถูกแม่ทัพของตนเองประหารชีวิต และนำศีรษะมาถวายแก่ดาวิด แต่ดาวิดกลับเสียใจอาลัยกษัตริย์ซาอูล

เมื่อสิ้นกษัตริย์ซาอูลแล้ว ประชาชนอิสราเอลได้ทูลเชิญดาวิดขึ้นครองราชย์

เหตุการณ์ในช่วงรัชกาลของกษัตริย์ดาวิด

หลังจากกษัตริย์ดาวิดสถาปนาเยรูซาเล็ม อัญเชิญหีบพันธสัญญา และสะสางในเมือง ก็มีเหตุการณ์หลายช่วงตลอดรัชกาล จนถึงการสิ้นพระชนม์ ได้แก่

  • บรรดาการกบฎและความทุกข์ของดาวิด
  • อัมโมนและซีเรียขนาบ
  • ดาวิดสำนึกบาป
  • ซาโลมอนเกิด
  • อับซาโลมฆ่าอัมโนน หนีไปจนกลับมา
  • ดาวิดหนีจากอับซาโลมก่อกบฎ จนกลับเข้าเมือง เชบากบฎนำอิสราเอลออกมา
  • ปกิณกะเหตุการณ์ไม่เรียงลำดับ ได้แก่ กันดารอาหารสามปี, บทเพลงของดาวิด, พระราโชวาทสุดท้าย, ชื่อขุนพล โรคระบาดจากความหยิ่ง และดาวิดซื้อที่สร้างแท่นบูชา

หนังสือซามูเอลในแง่มุมทางเทววิทยา

หนังสือซามูเอลแม้โดยเนื้อหาเป็นพงศาวดารของอิสราเอล แต่ได้แฝงไว้ซึ่งหลักคิดที่สำคัญในแง่มุมทางเทววิทยาหลาย ๆ ประการ เช่น

  • การทรงเลือกกษัตริย์ โดยเปรียบเทียบระหว่าง ซาอูล และ ดาวิด เป็นการแฝงความคิดให้เห็นว่า หากพระเจ้าทรงอยู่ด้วย แม้ความสามารถทางกายภาพที่ด้อยกว่า ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
  • ความยำเกรงพระเจ้า กษัตริย์ดาวิดเป็นบุคคลที่พระคัมภีร์หลาย ๆ ตอนได้ยกย่องในด้านความยำเกรงพระเจ้า และความถ่อมพระทัยของพระองค์เป็นอย่างมาก อิสราเอลในยุคของพระองค์ไม่ได้รุ่งเรืองที่สุด แต่กลับได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอล
  • การให้อภัย ในหนังสือซามูเอลจะแสดงให้เห็นถึงจิตใจของกษัตริย์ดาวิด ที่ไม่เคยถือโทษโกรธกษัตริย์ซาอูลเลย แม้จะโดยกษัตริย์ซาอูลปองร้ายครั้งแล้วครั้งเล่าตลอดเวลา

อ้างอิง

  1. หนังสือซามูเอล
  2. 1 Chronicles 29:29
  3. Knight 1995, p. 62.
  4. Jones 2001, p. 197.
  5. Gordon 1986, p. 18.

ดูเพิ่ม