ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
| name = อดุลกิติ์ กิติยากร
| image = Spd 20100529235819 b.jpg
| image = Spd 20100529235819 b.jpg
| order = [[องคมนตรีไทย|องคมนตรี]]
| order = [[องคมนตรีไทย|องคมนตรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:21, 1 พฤศจิกายน 2562

อดุลกิติ์ กิติยากร
ไฟล์:Spd 20100529235819 b.jpg
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (74 ปี)
โรงพยาบาลกรุงเทพ
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร

หม่อมราชวงศ์ อดุลกิติ์ กิติยากร (2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) เป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา และหนึ่งในสมาชิกคณะองคมนตรีไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากรเป็นพระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระบิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และเป็นพระอัยกาฝ่ายพระมารดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ครอบครัว

หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร เป็นพระโอรสในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ กับหม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 มีชื่อเล่นว่า คุณชายอ้วน[1] มีพี่น้อง 4 คน คือ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง, และท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ และเป็นพระมาตุลาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ สมรสกับ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล[2] (พระธิดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล) เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2499[3] มีธิดา 2 คน[4] คือ

  1. หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร (ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ[5] และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ[6] อภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชธิดา 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
  2. หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2509) สมรสกับธีรเดช จิราธิวัฒน์ มีบุตร 2 คน[7]

การศึกษา

การทำงาน

  • ผู้ช่วยผู้พิพากษา รับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่
  • ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลาง
  • ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
  • อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
  • รองประธานศาลฎีกา
  • องคมนตรี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ลำดับสาแหรก

อ้างอิง

  1. หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ปกมนตรี. เขียนถึงสมเด็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:เลมอนที. 2547, หน้า 74
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i75.html
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓ ก, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๖๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  7. เปิดธุรกิจส่วนตัวสะใภ้จิราธิวัฒน์
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร)
  9. [1] เล่ม ๑๐๘ ตอน ๗๘ ฉบับพิเศษ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ หน้า ๑
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๑๒ ฉบับพิเศษ, ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๒๑๖, ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๑
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ (หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร, ท่านผู้หญิงบุษบา กิติยากร สธนพงศ์, คุณกัญดา ธรรมมงคล), เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒ ง, ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ๔, หน้า

{{โครงชีวประวัติ} ผู้ที่ทำการแอบอ้างสถาบันมีความผิดให้ได้รับโทษสูงสุดคือประหารชีวิต และยังหมายรวมถึงผู้ที่ให้การสนับสนุนสร้างเรื่องราวและหลักฐานเท็จต่างๆทำให้เสื่อมเสียมายังราชวงษ์จักรกรี เช่น หญิงที่แอบอ้างเป็นพระเจ้าวรวงษ์เธอโสมสวลีฯ ล้วนเป็นเรื่องราวที่แอบอ้างและแต่งตั้งเองจากคนที่เคยมีอำนาจในวังซึ่งบุคคลเหล่านี้ก็ถูกปลดจากหน้าที่ในวังแต่ก็ยังมีการแอบอ้างมิรู้จักจบสิ้นก่อให้เกิดเรื่องราวบานปลายมาจนถึงทุกวันนี้