ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานราชภักดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ภาพ:Statues in Hua Hin of the 7 great Thai kings.jpg|thumb|300px|อุทยานราชภักดิ์]]
[[ไฟล์:Statues in Hua Hin of the 7 great Thai kings.jpg|thumb|300px|อุทยานราชภักดิ์]]


'''อุทยานราชภักดิ์''' เป็น[[อุทยานประวัติศาสตร์]] ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแก [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ของ[[พระมหากษัตริย์ไทย]]ในอดีต 7 พระองค์ โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีและเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์แห่ง[[สยาม]] โดย[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา]] ทรงเปิดอุทยาน เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558<ref>{{cite news|work=ไอเอ็นเอ็นนิวส์|url=http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=648519|title=พระบรมฯเสด็จเปิดอุทยานราชภักดิ์ - ประวิตรนำครม.เฝ้าฯ|date=September 26, 2015|accessdate=September 8, 2016}}</ref>
'''อุทยานราชภักดิ์''' เป็น[[อุทยานประวัติศาสตร์]] ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแก [[อำเภอหัวหิน]] [[จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]] ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ของ[[พระมหากษัตริย์ไทย]]ในอดีต 7 พระองค์ โดย[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีและเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์แห่ง[[สยาม]] โดย[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา]] ทรงเปิดอุทยาน เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558<ref>{{cite news|work=ไอเอ็นเอ็นนิวส์|url=http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=648519|title=พระบรมฯเสด็จเปิดอุทยานราชภักดิ์ - ประวิตรนำครม.เฝ้าฯ|date=September 26, 2015|accessdate=September 8, 2016}}</ref>


==การจัดสรรพื้นที่==
==การจัดสรรพื้นที่==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:01, 31 ตุลาคม 2562

อุทยานราชภักดิ์

อุทยานราชภักดิ์ เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต 7 พระองค์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีและเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณพระมหากษัตริย์แห่งสยาม โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเปิดอุทยาน เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2558[1]

การจัดสรรพื้นที่

อุทยานราชภักดิ์ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  1. พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ไทย 7 พระองค์ ประกอบด้วย
    1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    4. สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
    5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
    6. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  2. ลานอเนกประสงค์ ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ สำหรับกระทำพิธีสำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ
  3. พิพิธภัณฑ์ จัดแสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 7 พระองค์

โดยพื้นที่ส่วนที่เหลือจะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชม

มูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ฯ

เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559 นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 126 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ออกประกาศเรื่องจดทะเบียนข้อบังคับมูลนิธิราชภักดิ์ว่า มูลนิธินี้ชื่อว่า "มูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" ย่อว่า "ร.ภ."[2]

มีคณะกรรมการมูลนิธิ ดังนี้

กรณีต้องสงสัยการทุจริต

การดำเนินการสร้างอุทยานราชภักดิ์ซึ่งดำเนินการโดย พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการทุจริตในหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเงินที่ไปรับบริจาคมาจากเอกชนหลายราย, ค่าสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แต่ละองค์ซึ่งตั้งงบเอาไว้องค์ละ 50 ล้านบาท แต่กลับมีการเปิดเผยจากโรงหล่อว่าต้นทุนที่แท้จริงเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น, ไปจนถึงต้นปาล์มที่ใช้ประดับในบริเวณอุทยานที่ตั้งงบเอาไว้ต้นละ 1 แสนบาท แต่ทางเอกชนผู้เพาะปลูกต้นปาล์มระบุว่าบริจาคให้กับโครงการฯ โดยไม่ได้คิดเงินแต่อย่างใด

เมื่อถูกสื่อมวลชนสอบถามถึงเรื่องนี้ ทั้ง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช. และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ปฏิเสธข่าว และยืนยันว่าไม่มีการทุจริตแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่คิดจะตรวจสอบหาข้อเท็จจริงโดยให้เหตุผลว่าไม่มีผู้มาร้องทุกข์ จนกระทั่งเมื่อสื่อมวลชนและพรรคการเมืองกดดันมากเข้าจึงยอมตั้งคณะกรรมการสอบสวน แต่ก็ถูกวิจารณ์อีกว่าคณะกรรมการผู้ตรวจสอบมีแต่ทหารด้วยกันซึ่งตรวจสอบกันเอง ภายหลังคณะกรรมการฯ ได้ยืนยันว่าไม่พบการทุจริตแต่อย่างใด แต่กระแสสังคมก็ยังไม่ปักใจเชื่อ

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัตน์ พร้อมทั้งกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา และประชาชนจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม "นั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ส่องแสงหากลโกง" โดยการขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟธนบุรี มุ่งหน้าไปยังอุทยานราชภักดิ์ ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้กักขบวนรถไฟไว้ที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะตัดโบกี้รถไฟที่ 3 ที่มีนายสิรวิชญ์ และผู้ร่วมกิจกรรมโดยสารอยู่ และได้นำตัวไปกักไว้ที่ห้องนายสถานีรถไฟเพื่อทำการพูดคุย โดยมีเจ้าหน้าคอยดูแลความเรียบร้อย รวมทั้งนักข่าวจากสื่อต่าง ๆ ที่มาคอยสังเกตการณ์และทำข่าว ซึ่งระหว่างนั้นมีเสียงตะโกนด่าทอกลุ่มนักศึกษาจากกลุ่มประชาชนชาวอำเภอบ้านโป่งและใกล้เคียงดังกล่าวตลอดเวลา[3]

ต่อมาในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติ 9 ต่อ 0 เสียง ว่าการดำเนินการสร้างอุทยานราชภักดิ์เป็นไปอย่างถูกต้องตามระเบียบราชการทุกประการ[4]

แนวคิดในการสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[5]

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) สนามเป้า พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ในฐานะประธานมูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่เดินทางไปตรวจเยี่ยมอุทยานราชภักดิ์ ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า เป็นการเดินทางไปตรวจความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานราชภักดิ์อย่างเป็นทางการ เช่น การปรับปรุงบ่อน้ำ การทำน้ำพุ การติดกล้องวงจรปิด ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างถือว่าเข้าที่เรียบร้อย ทั้งนี้ ตนได้รับงบประมาณมาจากมูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ จำนวน 80 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานใน 3 กรอบ คือ

  1. องค์บูรพกษัตริย์
  2. ลานอุทยานราชภักดิ์
  3. ห้องจัดแสดงนิทรรศการ

ตนจึงจะไปตรวจดูว่าจะปรับปรุงสิ่งใดบ้าง เช่น อาคารรับรองนักท่องเที่ยว ร้านค้า ลานจอดรถ และห้องนิทรรศการ สำหรับการสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท กล่าวว่าทีมงานก็มีการคิดไว้บ้างแล้ว แต่ทุกอย่างต้องผ่านขั้นตอนงานพระราชพิธีไปก่อนจึงจะทำการสร้างได้

อ้างอิง

  1. "พระบรมฯเสด็จเปิดอุทยานราชภักดิ์ - ประวิตรนำครม.เฝ้าฯ". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. September 26, 2015. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  2. http://www.dailynews.co.th/politics/370928
  3. ""จ่านิว"บุกอุทยานราชภักดิ์ ถูกกักตัวตัดโบกี้ที่บ้านโป่ง". เดลินิวส์. December 7, 2016. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  4. "ไม่ผิดจ้า! ป.ป.ช.มติเอกฉันท์ "อุทยานราชภักดิ์" ถูกระเบียบเป๊ะ "อุดมเดช-ศิริชัย" รอด". ผู้จัดการออนไลน์. September 7, 2016. สืบค้นเมื่อ September 8, 2016.
  5. ผบ.ทบ. เผยมีแนวคิดสร้าง 'พระบรมรูป ร.9' ที่อุทยานราชภักดิ์ ไทยรัฐ, 19 พฤษภาคม 2560.

แหล่งข้อมูลอื่น

รายชื่อรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย

พิกัดภูมิศาสตร์: 12°30′04″N 99°58′00″E / 12.501°N 99.966611°E / 12.501; 99.966611