ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ.ว.]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากกรุงเทพมหานคร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:31, 29 ตุลาคม 2562

พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
ไฟล์:ปิติ วาทยากร.jpg
เกิด13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426
เสียชีวิต25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 (85 ปี 165 วัน)
บุตร10 คน
บุพการี
  • นายจาคอบ ไฟท์ (บิดา)
  • นางทองอยู่ (มารดา)

พระเจนดุริยางค์ (ปีติ วาทยะกร) (มักเขียนเป็น "ปิติ") ชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 - 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511) บุคคลสำคัญในวงการดนตรีของประเทศไทย ผู้ริเริ่มการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตสากลโดยเทียบเสียงให้ตรงกับเครื่องดนตรีไทยทุกชิ้น เรียกว่า เพลงไทยประสานเสียง (Thai Music Harmony) ของ กรมศิลปากร

เป็นอาจารย์วิชาดนตรีผู้ทุ่มเทสนับสนุนศิษย์เอก ครูเอื้อ สุนทรสนาน และครูชลหมู่ ชลานุเคราะห์ (นักเชลโล่ ,ผู้เรียบเรียงและอำนวยเพลงวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร ) ครูประสาน สุทัศน์ ณ อยุธยา (นัก Cello, Double Bass และผู้เรียบเรียงเสียงประสานแห่งวงดุริยางค์สากลกรมศิลปากร) รวมทั้งเป็นผู้วางรากฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศ และ วงดุริยางค์ตำรวจ

ประวัติ

วัยต้น

เกิดที่ ตำบลบ้านทะวาย อำเภอบ้านทะวาย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายจาคอบ ไฟท์ (Jakob Feit) ชาวเยอรมันกับนางทองอยู่ ชาวไทยเชื้อสายมอญ มีภรรยาสามคนคือ นางเบอร์ธา, นางบัวคำและ นางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 10 คน

เริ่มเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อ พ.ศ. 2433 จบการศึกษาหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2433

เริ่มเรียนดนตรีกับบิดาเมื่ออายุ 10 ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้และความชำนาญอย่างแตกฉาน และได้เดินทางไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยดนตรีเฟรเดริก ชอแป็ง ที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์

วัยหนุ่ม

สมัครเข้าเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญขณะอายุได้ 18 ปี เมื่อ พ.ศ. 2444 หลังจากนั้นอีกสองปีจึงเข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง

ปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้โอนมาเป็นครูในกรมมหรสพซึ่งต่อได้โอนมาอยู่กรมศิลปากร ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่ผู้สอนวิชาดนตรีสากลให้สามัคยาจารยสมาคมและผลักดันให้วิชาขับร้อง (ด้วยโน้ต) เป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม

วัยปลาย

โอนสังกัดไปสอนในวงดุริยางค์ทหารอากาศเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่ออายุได้ 57 ปี จนเกษียณอายุราชการ หลังเกษียณแล้วได้รับเชิญเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยศิลปากร

ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนมีบรรดาศักดิ์ดังเดิม[1]

ปี พ.ศ. 2493 กรมตำรวจได้ขอยืมตัวให้ไปช่วยก่อตั้งวงดุริยางค์สากลกรมตำรวจและทำงานด้านดนตรี จนถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 85 ปี 5 เดือน

ผลงาน

เกียรติยศ

อ้างอิง

  • พระเจนดุริยางค์ ประมวลประวัติครู คุรุสภาจัดพิมพ์ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2535. หน้า 95
  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับคืนมีบรรดาศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 62 (11 ง): 127. 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. เพลงชาติไทย เนื้อร้อง ประวัติที่มาจากอดีตสู่ปัจจุบัน