ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miiinmp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Onepeach (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 123: บรรทัด 123:
* มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์
* มูลนิธิอารยศิลป์ สิริวัณณวรีนารีรัตน์
* โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริฯ
* โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริฯ
*โครงการบ้านพักม้าชรา ในพระดำริฯ
* [[วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ|มูลนิธิวงดุริยางค์รอยัลแบงค็อกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในพระอุปถัมภ์ฯ]]<ref>[https://www.matichonweekly.com/column/article_191606 Royal Bangkok Symphony Orchestra ในรัชกาลที่ 10 แสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ “Romantic Variations”]</ref>
* [[วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ|มูลนิธิวงดุริยางค์รอยัลแบงค็อกซิมโฟนีออร์เคสตร้า ในพระอุปถัมภ์ฯ]]<ref>[https://www.matichonweekly.com/column/article_191606 Royal Bangkok Symphony Orchestra ในรัชกาลที่ 10 แสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ “Romantic Variations”]</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:26, 29 ตุลาคม 2562

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เจ้าฟ้า
ไฟล์:Sirivannavari Nariratana.jpg
ประสูติ8 มกราคม พ.ศ. 2530 (37 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสุจาริณี วิวัชรวงศ์
ศาสนาพุทธ

พันเอกหญิง[1] สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา (ประสูติ 8 มกราคม พ.ศ. 2530) เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (ยุวธิดา ผลประเสริฐ) อดีตนักแสดง

พระองค์ทรงเป็นนักกีฬาขี่ม้า, นักออกแบบเสื้อ, อาจารย์หัวหน้าแผนกโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า และอดีตนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติชาวไทย

พระประวัติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นพระราชธิดาพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ อดีตนักแสดง[2] เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2530 เมื่อแรกประสูติมีพระยศที่ “หม่อมเจ้า” พระนามว่า หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล มีพระโสทรเชษฐาสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชรเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาต่างพระมารดาสองพระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

ในปี พ.ศ. 2539 หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร (พระยศในขณะนั้น) ทรงหย่ากับหม่อมสุจาริณี หม่อมสุจาริณีพร้อมพระโอรสทั้งสี่องค์ ได้ย้ายไปพำนักยังต่างประเทศ ส่วนหม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดา อยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[3] ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล[4] ขณะมีพระชันษา 10 ปี ประทับอยู่กับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงราวสองปี[5] ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระนามใหม่ว่า หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548[6]

พระองค์สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนจิตรลดา[7] ต่อมาได้สำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.93[8][9] และทรงได้รับรางวัลนิสิตดีเด่นประจำปีการศึกษา 2551 ด้วยมีผลการการเรียนอันน่าพึงใจ[10] หลังจากนี้พระองค์ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ วิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส ([École de la chambre syndicale de la couture parisienne] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ))[11] ประเทศฝรั่งเศส[12][13]

ชีวิตส่วนพระองค์

พระองค์เรียกแทนพระองค์เองว่า "ท่านหญิง" ด้วยมีพระยศเดิมเป็นหม่อมเจ้ามาก่อน พระองค์มีพระสหายน้อยคน ทรงประทานสัมภาษณ์ว่า "...ท่านหญิงมีเพื่อนน้อย แต่ทุกคนดีมีคุณภาพ"[14] ระหว่างที่ทรงศึกษา ณ โรงเรียนจิตรลดา พระสหายจะเรียกพระองค์ว่า "ตึก" เพราะทรงสวมรองเท้าส้นตึกซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น[15]

พระองค์หญิง กล่าวว่าพระองค์เป็นคนที่โกรธง่ายหายเร็ว[15] และทรงกล่าวว่าครั้งหนึ่งเคยมีสุภาพบุรุษเคยมาจีบพระองค์ถึงสามคนโดยที่ไม่ทราบว่าพระองค์เป็นใคร[16] ทั้งนี้ทรงมี "สเป็ก" ส่วนพระองค์ ทรงกล่าวว่า "เรามี Type ของผู้ชายที่เราชอบ คือ ชอบคนที่คิดบวก แล้วเป็นคนที่ชอบเรา รักเราที่เป็นตัวเรา ไม่ใช่เป็นเจ้าหญิง แล้วต้องดูแลตัวเรา ไม่ใช่หมายถึง เรื่องเงินทอง แต่ดูแลเรื่องจิตใจ แล้วไม่ทำร้ายกัน...และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน"[17] และ "เราไม่จำเป็นต้องเลือกคนที่รวยที่สุดในจักรวาล หรือเลือกคนที่เป็นเจ้าหรือมีฐานันดรอะไร..."[18]

พระองค์ได้รับการจัดอยู่ในลำดับที่ 16 โดยนิตยสารฟอบส์ในเยาวราชนิกุลที่ทรงได้รับความนิยมมากสุดในโลก 20 อันดับ[19] ในปี พ.ศ. 2556 เว็บไซต์ askmen ได้จัดอันดับพระองค์ว่าเป็นเจ้าหญิงที่โดดเด่นที่สุด อันดับที่ 7[20] และพระองค์ได้รับรางวัล "แฟชั่นไอคอน" จากนิตยสาร นูเมโร ไทยแลนด์ ในปีเดียวกัน[21] และเมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 นิตยสาร Garzia ของอังกฤษได้จัดอันดับให้พระองค์เป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีสไตล์ที่สุดจากทั่วโลก [22][23]

วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระองค์หญิงได้ทรงโพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊กส่วนพระองค์ว่าทรงคบหากับชายชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว ด้วยทรงต้องการสยบข่าวลือที่ว่าพระองค์เสกสมรสแล้ว[24][25]

ความสนพระทัย

ด้านกีฬา

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
เหรียญรางวัล
แบดมินตันหญิง
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มะนิลา 2005 ทีมหญิง
ขี่ม้า
ตัวแทนของ  ไทย
ซีเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กัวลาลัมเปอร์ 2017 ทีม

พระองค์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมแข่งขันในการแข่งขันกีฬาแบดมินตันซีเกมส์ 2005 ประเภททีมหญิง ที่ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง[26] และอีกหลายรายการ[27][28]

นอกจากกีฬาแบดมินตัน พระองค์ยังสนพระทัยกีฬาขี่ม้าตั้งแต่พระชันษา 9 ปี ด้วยทรงขี่ม้าตามพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา[29] ต่อมาพระองค์ได้กลับมาสนพระทัยจนเป็นนักกีฬาขี่ม้าดังกล่าว ซึ่งชนะเลิศในรายการไทยแลนด์แชมเปียนชิพคิงส์คัพ 2012[30][31] และทรงตั้งพระทัยที่จะคัดเลือกเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยในซีเกมส์ 2013 [32] ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงลงแข่งขันขี่ม้าประเภทศิลปะบังคับม้าประเภททีม[33] วันที่ 14 ธันวาคม พระองค์ลงแข่งรอบชิงชนะเลิศทรงทำคะแนนรวม 53.810 คะแนน จบอันดับที่ 10 ในการแข่งขัน[34]

ทรงเข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014[35][36] โดยเข้าแข่งขันกีฬาศิลปะการบังคับม้าประเภททีม ลงแข่งขันเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557 ร่วมกับ เฉลิมฉาน ยศวิริยะพาณิชย์, รวิสรา เวชากร และภคินี พันธาภา ส่วนพระองค์ได้คะแนน ร้อยละ 58.079 รวมคะแนนเฉลี่ยทีมไทยอยู่อันดับที่ 7 ด้วยคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 62.711[37]

ด้านศิลปกรรม

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ได้รับเชิญจากห้องเสื้อปีแยร์ บาลแม็ง ให้จัดแสดงผลงานการออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 39 ชุด ในงานสัปดาห์แฟชั่นปารีส (Paris Fashion Week : Spring/Summer 2008) ที่โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย กรุงปารีส เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550[38] โดยเสื้อผ้าที่จัดแสดงทรงผสมผสานระหว่างเครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตก กับรูปแบบผ้านุ่งไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ตัดเย็บโดยช่างจากวิทยาลัยในวังหญิง[39]

ทั้งนี้ทรงมียี่ห้อเสื้อผ้าส่วนพระองค์คือ "สิริวัณณวรี" (Sirivannavari)[40] และมียี่ห้อของแต่งบ้านส่วนพระองค์ชื่อ "สิริวัณณวรีเมซอง" (Sirivannavari Maison)[41][42] ทั้งนี้สินค้าบางส่วนของพระองค์ได้รับการจดลิขสิทธิ์โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศเพื่อมิให้เกิดการละเมิดหรือลอกเลียน[43]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
ลำดับโปเจียม9
  • หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร มหิดล (8 มกราคม พ.ศ. 2530 – ราว พ.ศ. 2540)
  • หม่อมเจ้าจักรกฤษณ์ยาภา มหิดล (ราว พ.ศ. 2540)
  • หม่อมเจ้าสิริวัณวรี มหิดล (ราวพ.ศ. 2540 – 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548)
  • พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[44] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระยศทางทหาร

พันเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
รับใช้กองทัพบกไทย
ประจำการ2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
ชั้นยศ พันเอกหญิง
  • ร้อยโทหญิง และทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้า ที่ 29 รักษาพระองค์ฯ (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555)[50][51]

และนายทหารพิเศษประจำกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ฯ (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)[52]

  • ร้อยเอกหญิง (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555)[53]
  • พันตรีหญิง (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555)[54][55]
  • พันโทหญิง (2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)[56]
  • พันเอกหญิง (21 มิถุนายน พ.ศ. 2561)[57] พระอาจารย์หัวหน้าแผนก โรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า

สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม

สถาบันการศึกษา

มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร
  2. Yahoo! Movies - Yuwathida Pornprasert
  3. "Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia". L'Uomo Vogue Italia. 20 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อิตาลี)
  4. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  5. "เพจพระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ เผยภาพความทรงจำ "ทูลกระหม่อมปู่ทรงลูบหัว"". มติชนออนไลน์. 16 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 1. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". โรงเรียนจิตรลดา. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ สำเร็จการศึกษา วิชาแฟชั่นจุฬาฯ". มติชน. 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "ชมภาพ ′เจ้าหญิงแฟชั่น′ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ รับพระราชทานปริญญาบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 10 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "จุฬาฯทูลเชิญ "องค์สิริวัณฯ" เป็นอาจารย์พิเศษหลังรับปริญญาบุตรสาว "มาร์ค" ร่วมถวาย "บูม"". มติชน. 9 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระราชนัดดา อุทิศองค์เพื่อแผ่นดินไทย". ไทยรัฐออนไลน์. 9 มกราคม 2554. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "องค์สิริวัณณวรีทรงต่อโทฝรั่งเศส คณบดียกย่อง "ศิลปินบัณฑิต"". มติชน. 28 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระองค์หญิงสิริวัณณวรี เปิดพระทัย เรียนดีไซน์ปารีส เหนื่อยสุด กดดันแต่คุ้ม". ไทยรัฐ. 6 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Exclusive Interview : พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". Thai Cat Walk. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. 15.0 15.1 "องค์หญิงสิริวัณณวรีฯ กับ 3 พระสหายสนิท ร่วมถ่ายทอดความรัก ผูกพัน ที่มีให้แก่กัน". Global Fashion Report. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ""นิยามความรัก" พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ "ไม่ต้องรวยที่สุดในจักรวาลหรือมีฐานันดร"". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 15 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ""ในวันที่เราโตขึ้น" บทประทานสัมภาษณ์พิเศษพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ในนิตยสาร HELLO!". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 15 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. ""นิยามความรัก" พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ "ไม่ต้องรวยที่สุดในจักรวาลหรือมีฐานันดร"". ข่าวสด. 16 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. In Pictures: The 20 Hottest Young Royals: 16. Princess Sirivannavari
  20. "พระองค์เจ้าหญิงสิริวัณณวรี ติดอันดับ 7 เจ้าหญิงโดดเด่นที่สุดในโลก". ประชาไท. 28 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "'พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ' ทรงรับรางวัลแฟชั่นไอคอน". เดลินิวส์. 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  22. "สื่อนอกยกย่องพระองค์หญิงฯ เปี่ยมสไตล์ที่สุด ล่าสุด Grazia อังกฤษ ยกเป็นอันดับ 1 ของโลก". Vogue. 29 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "A Definitive Ranking Of The Most Stylish Princesses In The World" (ภาษาEnglish). Grazia. 17 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  24. "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโพสต์ FB สยบข่าวลือแต่งงาน". กระปุกดอตคอม. 9 ตุลาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงโพสต์ FB สยบข่าวลือแต่งงาน". tlcthai.com. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. ไทยรัฐ. ปีที่ 64 ฉบับที่ 20352. วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556. ISSN 1686-4921. หน้า 26
  27. http://www.siamrath.co.th/sport.asp?ReviewID=124939
  28. "'พระองค์หญิง' ทรงยอมรับความพ่ายแพ้". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 1 ธันวาคม 2548. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "พระองค์สิริวัณณวรีฯ เจ้าหญิงนักกีฬาแห่งทีมชาติไทย". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 20 ตุลาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "พระองค์หญิงสิริวัณณวรีฯ ทรงคว้าแชมป์ขี่ม้า". เดลินิวส์. 14 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "พระองค์หญิงทรงมุ่งมั่น "ถึงเวลาเริ่มล่าแชมป์กีฬาขี่ม้า"". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 14 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. ""องค์หญิง" ทรงคว้าเหรียญ ขี่ม้า "คิงส์คัพ" ประเภททีม". มติชน. 8 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. ""องค์หญิงฯ" ทรงรับสั่งม้า "มึงต้องชนะ"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 13 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. ""พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์" ทรงพอพระทัยแข่งขี่ม้า กีฬาซีเกมส์". มติชน. 14 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "องค์หญิงยืนยันทรงเสด็จร่วมพิธีเปิดเอเชียนเกมส์". สยามกีฬา. 18 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "องค์หญิงนำทัพไทยเข้าสู่สนามเปิดเอเชียนเกมส์เป็นทางการ". สยามกีฬา. 19 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "พระองค์หญิงทรงพอใจผลงานปลื้มทูลกระหม่อมพ่อทรงให้กำลังใจ". สยามกีฬา. 20 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. Sirivannavari Spring 2008: Forbidden Dreams Paris (Paris Fashion Week) Spring 2008
  39. ณัฐจรัส เองมหัสสกุล, ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ, Present of the Past, นิตยสารอะเดย์, ปีที่ 8 ฉบับที่ 88 ธันวาคม 2550
  40. "'พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ'รับสั่งถึงแฟชั่น". คมชัดลึก. 13 ธันวาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. "Sirivannavari Maison คอลเลกชั่นของแต่งบ้าน พระองค์หญิงสิริวัณรวรีฯ". WhO?. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "SIRIVANNAVARI MAISON บ้านของพระองค์หญิง บ้านของอาร์ตติส". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 5 สิงหาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. "เร่งจดลิขสิทธิ์พระบรมวงศานุวงศ์". ไทยรัฐออนไลน์. 9 กันยายน 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. 44.0 44.1 44.2 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 9. 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  45. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (9ข): 1. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  46. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 125 (16ข): 1. 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  47. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (20ข): 2. 2 ธันวาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  48. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (9ข): 2. 3 เมษายน พ.ศ. 2549. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  49. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (16ข): 1. 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  50. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารและแต่งตั้งนายทหารพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (17ข): 2. 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  51. "ร้อยโทหญิง "พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีฯ" ราชองครักษ์พิเศษ". มติชน. 4 มิถุนายน 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (110ง): 2. 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  53. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (27ข): 2. 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  54. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหารเป็นกรณีพิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (32ข): 2. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  55. "โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระยศพันตรีหญิง พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์". มติชน. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  56. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (30ข): 1. 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  57. "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 135 (25ข): 1. 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  58. Royal Bangkok Symphony Orchestra ในรัชกาลที่ 10 แสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ “Romantic Variations”

แหล่งข้อมูลอื่น