ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎สิ่งอันเนื่องมาด้วยพระบรมนามาภิไธย: แก้ไขไวยากรณ์, ตำแหน่งที่ตั้งไม่ถูกต้อง
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับแอนดรอยด์
Chanatip10 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
}}
}}
{{ราชวงศ์ไทย}}
{{ราชวงศ์ไทย}}
'''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว'''<ref name="เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่"></ref> (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 10 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวใน[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
'''พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว'''<ref name="เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่"></ref> (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็น[[พระมหากษัตริย์ไทย]]รัชกาลที่ 10 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวใน[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐภคินีร่วมพระราชชนนีถึง 3 พระองค์


== ปฐมวัย ==
== ปฐมวัย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:07, 28 ตุลาคม 2562

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์ไทย
ครองราชย์13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน (7 ปี 168 วัน)
ราชาภิเษก4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ผู้สำเร็จราชการเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
สยามมกุฎราชกุมาร
ดำรงพระยศ28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 - 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (43 ปี 289 วัน)
สถาปนา28 ธันวาคม พ.ศ. 2515[1]
ก่อนหน้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
พระราชสมภพ28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 (71 พรรษา)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
มเหสีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
มเหสี-พระสนม
พระราชบุตร
วัดประจำรัชกาล
วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร[2]
ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชมารดาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ลายพระอภิไธย

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] (พระราชสมภพ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐภคินีร่วมพระราชชนนีถึง 3 พระองค์

ปฐมวัย

พระราชสมภพ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[4] เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.[5] มีพระเชษฐภคินีคือทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐภคินีสองพระองค์คือสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี[6]

ขณะพระชนมายุได้หนึ่งพรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระราชทานพระนาม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นผู้ตั้งพระนามถวายตามดวงพระชะตาว่า[7]

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล
อภิคุณูปการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร

พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิระ" พระนามฉายาทั้งในพระองค์เองและในขณะผนวชของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[8][9] มีความหมายว่า "ทรงเครื่องเพชรหรืออสนีบาต"[10]

พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน พ.ศ. 2495[11] โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495[12]

เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทองลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ[11][13][14]

การศึกษา

ไฟล์:Vajiralongkorn 1962.jpg
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ (ยืนซ้าย) ทรงพากย์-เจรจาโขน ที่โรงเรียนจิตรลดา พ.ศ. 2505

เมื่อทรงพระเจริญมีพระชนมายุได้ 4 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มการถวายพระอักษร ได้ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนจิตรลดา เมื่อเดือนกันยายน 2499 ในขณะนั้นโรงเรียนนี้ยังตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต ต่อมาจึงได้ย้ายไปตั้งในบริเวณพระราชฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อที่จะได้ทรงดูแลการศึกษาของทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ได้อย่างใกล้ชิด [15] สำหรับกิจวัตรนั้น มีบันทึกว่าพระองค์ตื่นบรรทมเวลาประมาณ 7.00 น. เสด็จออกกำลังกายวิ่งเล่น ทรงจักรยาน ทรงเล่นหมากฮอส จนเวลาประมาณ 8.00 น. จึงสรงน้ำ เสวย และเสด็จไปโรงเรียนซึ่งตรงเวลาตลอด[16]

ในส่วนของผลการเรียน พระองค์ทรงทำคะแนนวิชาคำนวณได้คะแนนเต็มเสมอ รองลงมาคือ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาที่โปรดมากอีกอย่างคือวาดเขียนและปั้นรูป นอกจากนี้ ทูลกระหม่อมฟ้าชายยังทรงเรียนหัดโขน โดยทรงเล่นเป็นตัวลิง ยักษ์ วิรุฬจำบังแปลง และทศกัณฑ์ ทั้งนี้ พระบรมราชชนกไม่มีพระราชประสงค์ให้เสด็จฯ ต่างประเทศก่อนพระชนม์ 14–15 ปี เนื่องจากทรงมีพระราชประสงค์จะรอให้ทูลกระหม่อมฟ้าชายเรียนรู้ภาษาไทยได้ดี รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และซาบซึ้งในศาสนาพุทธเสียก่อน[17]

ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ โรงเรียนคิงส์ มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ เมื่อเดือนมกราคม 2509 ต่อจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซท เมื่อเดือนกันยายน 2509 จนถึงปี 2513 โดยในระหว่างที่ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ พระองค์ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า “ทรงทำทุกอย่างด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าจะเป็นการซักฉลองพระองค์ หรือขัดรองพระบาท โดยไม่มีบุคคลอื่นให้ความช่วยเหลือ เฉกเช่นสามัญชนทั่วไป”[18] พระองค์ทรงมีพระลักษณะพิเศษด้วยทรงสนพระทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพอยู่เสมอตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระบรมราชชนกทรงมีพระราชดำริเห็นว่า การศึกษาวิชาทหารในประเทศออสเตรเลียมีหลักสูตรสอนกว้างขวางและเข้มงวด ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงศึกษาวิชาการทหาร ณ ประเทศออสเตรเลีย[19] ทรงเข้ารับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ทรงศึกษาอยู่จนถึงเดือนพฤษภาคม 2514 โดยในระหว่างการศึกษาพระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าบ้านแมคอาเธอร์เฮาส์[20] หลังจากนั้นในปี 2515 ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน กรุงเคนเบอร์รา ในหลักสูตรสามัญทรงเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาอักษรศาสตร์จนสำเร็จการศึกษาเมื่อปี 2519[21]

เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ. 2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และ พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร[ต้องการอ้างอิง]

สยามมกุฎราชกุมาร

ไฟล์:สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช.jpg
พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์
วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช
จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร

นับเป็นสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ที่ 3 ของไทย[22][23]

ผนวช

ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา[ต้องการอ้างอิง] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงโปรดเกล้าฯ ให้ผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.37 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[24] โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปทำทัฬหีกรรม ณ พระอุโบสถพระพุทธรัตนสถาน เมื่อเวลา 16.59 น. โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์[25] เสร็จแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[26] พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล[27] ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช ณ พระตำหนักปั้นหย่า ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 10.15 น.[28]

การทหาร

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงปฏิบัติการฝึกเครื่องบินรบแบบเอฟ-5

ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยในกิจการกองทัพ และขณะประทับอยู่ในประเทศไทยได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมที่ตั้งทหารหลายแห่ง[29] หลังทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารจากประเทศออสเตรเลีย รวมถึงทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรอื่น ๆ แล้ว ทรงเคยเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทั้งยังเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมให้กำลังใจแก่ตำรวจ ทหาร และเจ้าหน้าที่ อส. บริเวณพื้นที่อันตราย[30]

ทรงดำรงตำแหน่งทางทหารตั้งแต่ระดับรองผู้บังคับกองพัน ,ผู้บังคับกองพัน, ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และองค์ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างและพระราชทานคำสั่งสอนแก่ข้าราชบริพารทุกหมู่เหล่าด้วยพระองค์เอง และมีการเทิดทูนยกย่องพระองค์เป็น “บรมครูทางการทหาร”[31]

พระนิพนธ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมาร ทรงใช้เวลาส่วนพระองค์ที่เหลือจากงานราชการและการศึกษาซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก ด้วยการทรงงานอดิเรก เช่น ทรงแต่งบทกลอนและทรงบริหารพระวรกาย เช่น ทรงวิ่ง ทรงฟุตบอล โดยเฉพาะงานพระนิพนธ์บทกลอนนั้น ทรงมีความสามารถเป็นพิเศษ ดังบทพระนิพนธ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งได้ทรงไว้ เช่น บทพระนิพนธ์ถวายบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยดันทรูน ออสเตรเลีย ความตอนหนึ่งว่า “เมื่อสิบสองมกรา หนึ่งห้า ลูกคลาคลาด ต้องนิราศ จากไป ไกลนักหนา จำใจจาก แม่พ่อ คลอน้ำตา นึกขึ้นมา คราใด ใจอาวรณ์ ลูกจากไป ครานี้ มีจิตมั่น จะขยัน และทำตาม คำพร่ำสอน ถึงลำบาก อย่างไร ไม่อุทธรณ์ สู้ทุกตอน ตามประสงค์ จำนงใจ”[32]

กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงปั่นนำขบวน Bike for Mom ปั่นเพื่อแม่

ในปี พ.ศ. 2558 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารมีพระราชปณิธานที่จัดกิจกรรมจักรยานถวายพระเกียรติและถวายความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยได้ทรงจักรยานพระที่นั่งนำประชาชนทั่วประเทศปั่นจักรยานในกิจกรรม Bike for Mom - ปั่นเพื่อแม่ จัดกิจกรรมวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558 และกิจกรรม Bike for Dad - ปั่นเพื่อพ่อ จัดกิจกรรมวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ในกิจกรรมประชาชนได้ร่วมใจกันแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดเส้นทางมีพสกนิกรเฝ้ารับเสด็จอย่างเนืองแน่น [33]

พระมหากษัตริย์

พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4–6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 พระองค์จะสืบราชสมบัติต่อ ทั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ยืนยันว่าพระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่[34] แต่ทรงขอผ่อนผันเนื่องจากทรงต้องการร่วมทุกข์โศกกับปวงชนชาวไทย จนกว่าจะผ่านพระราชพิธีพระบรมศพไประยะหนึ่ง [35] พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โดยตำแหน่งไปพลางก่อน[36]

จนกระทั่งวันที่ 29 พฤศจิกายน สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้จัดประชุมวาระพิเศษ เพื่อรับทราบเรื่องการอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 2 วรรค 2 ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 23 วรรค 1[37] และพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พระองค์มีพระราชดำรัสตอบรับการขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ[38] ทั้งนี้ในทางนิตินัยถือว่าพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559[39] และโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร"[40] [วะชิราลงกอน บอดินทฺระเทบพะยะวะรางกูน]

ในปี พ.ศ. 2560 พระองค์ทรงตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจตั้งผู้อำนวยการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย[41] ในปี พ.ศ. 2561 มีการเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ด้านสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ชี้แจงว่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจึงต้องมีการถวายทรัพย์สินในความดูแลคืนให้พระมหากษัตริย์มีพระบรมราชวินิจฉัย และว่าทรัพย์สินที่พระองค์เป็นเจ้าของจะมีการเสียภาษีอากรเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป[42]

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระองค์ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา และมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินี[43][44]

บรมราชาภิเษก

พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 4–6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" และมีพระปฐมบรมราชโองการความว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"[45]

พระราชกรณียกิจ

ทางราชการ

ด้านการขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

  • เพื่อสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี และนายอำพน กิตติอำพน องคมนตรี พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลงพื้นที่ ติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เพื่อติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านพัฒนาแหล่งน้ำ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [48]
  • โดยได้ติดตามการขับเคลื่อนใน 2 โครงการ ได้แก่
  • 1. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้าลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
  • 2. โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำสะพุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งช่วยเหลือประชาชนให้มีน้ำทำการเพาะปลูกและเพื่อการอุปโภคบริโภครวมถึงบรรเทาปัญหาอุทกภัย


ด้านการบิน

  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พระองค์ทรงเริ่มฝึกบินเฮลิคอปเตอร์แบบUH-1H และเฮลิคอปเตอร์แบบUH-1Nและหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบก[49]
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 อี/เอฟ[22]
  • พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบินโบอิ้ง 737–400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรับโรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870 (กรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่) และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871 (จังหวัดเชียงใหม่ถึงกรุงเทพมหานคร)[ต้องการอ้างอิง]

ด้านการต่างประเทศ

เมื่อครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในด้านกิจการเกี่ยวกับสัมพันธไมตรีเป็นอย่างมาก โดยได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงอยู่เสมอในพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับคณะทูตานุทูตต่างประเทศ ครั้งหนึ่ง ทรงได้รับความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศญี่ปุ่น ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระราชวงศ์ญี่ปุ่น เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 เพราะการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นมีผลในทางกระชับสัมพันธไมตรี ระหว่าง พระราชวงศ์ และ ประชาชน ของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น [50]

ด้านการศึกษา

ไฟล์:ทรงปลูกปาริชาต.jpg
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปลูกต้นปาริชาต ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พระองค์พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้อาคารของกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลชื่อว่า โรงเรียนอนุบาลทหารมหาดเล็กราชวัลลภ โดยในระยะแรกได้จัดการเรียนการสอนเฉพาะชั้นอนุบาล ต่อมา โรงเรียนได้ย้ายไปที่จังหวัดนนทบุรี และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์[51]

นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบเป็นค่าก่อสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกล กระทรวงศึกษาธิการน้อมเกล้าฯ ถวายโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 15 โรงเรียน เป็นโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ ได้แก่ 1. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 จ.นครพนม 2. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2 จ.กำแพงเพชร 3. โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 จ.สุราษฏร์ธานี 4. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1 จ.อุดรธานี 5. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 จ.สงขลา 6. โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 จ.ฉะเชิงเทรา 7. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 8. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 9. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดประดู่) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.สมุทรสงคราม 10. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ 11. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ปทุมธานี 12. โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.สมุทรสาคร 13. โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย จ.ระยอง 14. โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ จ.นนทบุรี และ 15. โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์ จ.น่าน [52]

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยาวชนในตำบลต่าง ๆ ทรงสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เยาวชนตำบล รวมทั้งทรงเป็นประธานงานวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายนของทุกปี[53]

ทั้งนี้พระองค์ได้ทรงอุปการะเด็กกำพร้า เช่น จักรกฤษณ์ และอนุเดช ชูศรี ที่ครอบครัวเสียชีวิตจากภูเขาถล่มเมื่อ พ.ศ. 2554[54] รวมทั้งครอบครัวของบูรฮาน และบุศรินทร์ หร่ายมณี ซึ่งบิดาถูกลอบสังหารจากเหตุความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[55][56] เป็นต้น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2552 โดยเป็นทุนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับปริญญาตรี ต่อมาใน พ.ศ. 2553 มีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)[57] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 โดยพระองค์ทรงให้นำโครงการทุนการศึกษาฯ มาดำเนินการภายใต้ ม.ท.ศ. โดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จนถึงปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ทั้งนี้ เป็นทุนให้เปล่าและเมื่อจบการศึกษาจะได้รับโอกาสให้สมัครเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ฯ[58][59][60][61]

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[62]

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินจำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายสมุดไดอารี่ภาพการ์ตูนฝีพระหัตถ์ เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล[63]

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงินจำนวน 2,407 ล้านบาท สำหรับจัดซื้อเครื่องมือครุภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แก่โรงพยาบาล วิทยาลัยแพทย์และพยาบาล และสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเป็นเงินที่ประชาชนได้ทูลเกล้าฯ ถวายในการร่วมบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 และเงินรายได้จากการจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว “สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์”[64]

การแอบอ้างพระนาม

ในปี พ.ศ. 2557 มีพระราชบัณฑูรให้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับพลตำรวจเอก พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติของท่านผู้หญิง ศรีรัศมิ์ สุวะดี อดีตพระวรชายาในพระองค์ ฐานแอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์[65] รวมไปถึงกฎหมายฟอกเงิน

ด้านสังคม

วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ โปรดให้ พลอากาศโท ภักดี แสงชูโต นำผ้าห่มกันหนาว 20,000 ผืน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้รับมอบ[66] และเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ได้พระราชทานสิ่งของ ประกอบด้วย น้ำดื่มพระราชทาน 10,000 ขวด ผ้าเช็ดตัวพระราชทาน 2,000 ผืน เครื่องกรองน้ำพระราชทาน 49 เครื่อง อาหารและยาพระราชทานอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งถุงยังชีพในนามรัฐบาลไทย 5,000 ชุดไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากเหตุเขื่อนทรุดตัวที่ สปป.ลาว[67]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ [68]

ประสบการณ์ทางทหาร

[69]

  • เดือนมกราคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 ทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และศึกษางานด้านการทหาร ณ เครือรัฐออสเตรเลีย
  • ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวน และต้นหนชั้นสูง รวมทั้งหลักสูตรส่งทางอากาศ
  • พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัท เบลล์ รวมชั่วโมงบิน 54.36 ชั่วโมง
  • เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร กองทัพบกสหรัฐอเมริกา รวม 6 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องยิงลูกระเบิด หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ และหลักสูตรส่งทางอากาศ (ทางบกและทางทะเล)
  • เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอซ กับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป แบบ ยู เอซ–1 เอ็น ของบริษัทเบลล์ รวมชั่วโมงบิน 259.560 ชั่วโมง
  • เดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2523 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตี ติดอาวุธ แบบ ยู เอซ–1 เอซ ของบริษัทเบลล์ จากกองทัพไทย รวมชั่วโมงบิน 54.50 ชั่วโมง
  • เดือนธันวาคม พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Sial–Marchetti SF 120 MT รวมชั่วโมงบิน 172.20 ชั่วโมง
  • เดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2524 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัว แบบ Cessna T–37 รวมชั่วโมงบิน 240 ชั่วโมง
  • เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2524 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหารและตำรวจ ณ สหราชอาณาจักร ราชอาราจักรเบลเยียม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเครือรัฐออสเตรเลีย
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ถึง พ.ศ. 2526 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการฝึกบินเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ–5 (พิเศษ) รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ ที ดับเบิลยู และหลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ 83 (พุทธศักราช 2526) เอ วี ดับเบิลยู ณ ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐอริโซนา สหรัฐอเมริกา รวนชั่วโมงบิน 2,000 ชั่วโมง
  • พ.ศ. 2532 ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบิน ด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที 33 และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบิน ขับไล่ แบบ เอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 โดยทรงทำชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ในเบื้องต้น และทรงทำชั่วโมงบินสูงสุด 1,000 ชั่วโมง และทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศประจำปี ซึ่งทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว ในศกเดียวกัน[70]
  • เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการในฐานะนักบินโบอิ้ง 737–400 จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ กับทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก
  • เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ 1 ใน พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน 3,000 ชั่วโมง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่งครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิง 737–400[71]

พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ
ลำดับโปเจียม1

พระราชอิสริยยศ

  • สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 — 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒฯ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร (28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559)
  • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร[40] (1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณ์อดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 — ปัจจุบัน)

พระราชลัญจกรประจำรัชกาล

ไฟล์:พระราชลัญจกรประจำพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ.png
พระราชลัญจกรประจำพระองค์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[72]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พระองค์ทรงเป็นประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

 มาเลเซีย พ.ศ. 2543 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ผู้ป้องกันราชอาณาจักร ชั้นประถมาภรณ์
 เยอรมนี พ.ศ. 2527 เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นตติยาภรณ์
เนปาล พ.ศ. 2529 เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชัสวี ราชันย์เนปาล ชั้นเบญจมาภรณ์
 สเปน พ.ศ. 2530 เครื่องราชอิสริยาภรณ์พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ชั้นประถมาภรณ์
 บรูไน พ.ศ. 2533 Family Order of Brunei 2nd Class - Darjah Kerabat Seri Utama Yang Amat Dihormati - D.K. (Seri Utama)
 ญี่ปุ่น พ.ศ. 2534 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ
 บริเตนใหญ่ พ.ศ. 2539 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน ชั้นอัศวินสูงสุด
 เดนมาร์ก พ.ศ. 2544 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง ชั้น อัศวิน
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2547 เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎ ชั้นประถมาภรณ์
 รัฐตรังกานู Most Distinguished Family Order of Terengganu ชั้นที่สอง

พระยศทหาร[83]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รับใช้กองทัพบกไทย, กองทัพเรือไทย, กองทัพอากาศไทย
ประจำการ
  • พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน
ชั้นยศ
  • พลเอก
  • พลเรือเอก
  • พลอากาศเอก

สิ่งอันเนื่องมาด้วยพระบรมนามาภิไธย

"เขื่อนวชิราลงกรณ์"หรือ"เขื่อนแม่กลอง"ในปัจจุบัน ที่ตั้งตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

พระราชสันตติวงศ์

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสรวมสี่ครั้งกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (พระนามเดิม: หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร),[105][106] สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม: ยุวธิดา ผลประเสริฐ),[ต้องการอ้างอิง] ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี,[107] และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[43][44]

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชโอรส/ธิดา 8 พระองค์ ซึ่งในจำนวนนี้ได้ตกพระโลหิต (แท้ง) ไปหนึ่งพระองค์ ดังนี้

  1. ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (พระนามเดิม: หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500), ธิดาของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร[108]
  2. ประสูติแต่สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (นามเดิม: ยุวธิดา ผลประเสริฐ; 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505), ธิดาของธนิต กับเยาวลักษณ์ ผลประเสริฐ
  3. ประสูติแต่ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี (9 ธันวาคม พ.ศ. 2514), ธิดาของอภิรุจ กับวันทนีย์ สุวะดี
  4. สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (3 มิถุนายน พ.ศ. 2521)
    • ไม่มีพระราชโอรส/ธิดา

ส่วนในเอกสารเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะให้ข้อมูลว่าพระองค์มีพระราชธิดาสองพระองค์ และพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ สิริวิบูลยราชกุมารเท่านั้น[110][111]

เหรียญที่ระลึก และเหรียญเฉลิมพระเกียรติ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

แพรแถบย่อ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีลักษณะ ดังนี้[112]

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.1 เซนติเมตร ด้านหน้ามีพระรูปของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ทรงหันพระพักตร์ทางเบื้องขวา ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร" ด้านหลังมีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "ว ก" เหนือพระนามาภิไธยย่อมีรูปจุลมงกุฎมีรัศมี ที่ริมขอบมีอักษรจารึกว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบสีขาวริมเหลือง สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555

แพรแถบย่อ

เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 มีลักษณะ ดังนี้

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงิน รูปกลมแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร
  • ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสายสร้อยจุลจอมเกล้า ริมขอบเหรียญโดยรอบประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์
  • ด้านหลัง กลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555"
  • การประดับ ใช้ห้อยแพรแถบพื้นสีเหลือง ริ้วสีขาวจำนวน 5 ริ้ว สำหรับบุรุษให้แพรแถบมีความกว้าง 3.1 เซนติเมตร สำหรับสตรีห้อยแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สามารถห้อยคอหรือประดับด้วยวิธีอื่น ๆ ตามสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562

แพรแถบย่อ
ไฟล์:แพรแถบที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562.JPG
แพรแถบที่ระลึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562

เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4 พฤษภาคม 2562 มีลักษณะ ดังนี้[113]

  • ลักษณะ เป็นเหรียญเงินกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร
  • ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว"
  • ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" เบื้องล่างมีข้อความว่า "๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒"
  • ริมขอบเหรียญโดยรอบ ประดับด้วยลายไทยประดิษฐ์ ด้านหน้าขอบนอกเหรียญเบื้องบน มีเลข "๑๐" ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านหลังขอบนอกเหรียญมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบกว้าง 32 มิลลิเมตร มีริ้วสีขาวนวลกับริ้วสีเหลืองสลับกัน
  • การประดับเหรียญนี้ ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หากไม่ประดับอย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยใช้เป็นเข็มกลัดเสื้อโดยไม่มีแพรแถบก็ได้

รถยนต์พระที่นั่ง

ไฟล์:DSC00559.jpg
รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทะเบียน ร.ย.ล.4

สังกัดกองพระราชพาหนะ พระราชวังดุสิต

พงศาวลี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๘๙, ตอน ๒๐๐, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕, ฉบับพิเศษ หน้า ๑
  2. [1]
  3. 3.0 3.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (14 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2562.
  4. ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์, 2554. หน้า 234
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้หยุดราชการและชักธงชาติเนื่องในการที่พระราชกุมารประสูติ, เล่ม 69, ตอนที่ 49, 12 สิงหาคม พ.ศ. 2495, หน้า 2434
  6. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 10
  7. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 21
  8. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 20
  9. "'องค์รัชทายาท-เจ้าฟ้านักบิน' เผยพระราชกรณียกิจ ตามเบื้องพระยุคลบาท". มติชน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ บีบีซีไทย
  11. 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ 15/2495 พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ 2495, เล่ม 69, ตอน 54 ง, 9 กันยายน พ.ศ. 2495, หน้า 3031
  12. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (2016-05-22). "พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  13. . ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชประวัติ.
  14. ลาวัณย์ โซตามระ. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กัตนา ดิสทริบิวชั่น จำกัด
  15. ลาวัณย์ โชตามระ,ประสุตา. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพฯ : บริษัทกันตนา พับลิชชิ่ง จำกัด, 2547. หน้า 65 - 70.
  16. ลาวัณย์ โชตามระ,ประสุตา. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพฯ : บริษัทกันตนา พับลิชชิ่ง จำกัด, 2547. หน้า 65-70.
  17. ลาวัณย์ โชตามระ,ประสุตา. สี่เจ้าฟ้า. กรุงเทพฯ : บริษัทกันตนา พับลิชชิ่ง จำกัด, 2547. หน้า 65 - 70.
  18. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. สยามมกุฎราชกุมาร. กรุงเทพฯ : บำรุงนุกูลกิจ, 2517. หน้า 15.
  19. {กรมศิลปากร, "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร", กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2515. หน้า 155}
  20. {มปท, "พระราชประวัติของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ สยามกุฎราชกุมาร", กรุงเทพฯ : มปพ. หน้า 47}
  21. กรมศิลปากร. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรวงกรณ สยามกุฎราชกุมารเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ ก.ค. ๒๕๕๕. กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2558. หน้า 28.
  22. 22.0 22.1 22.2 พระราชประวัติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร. พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ตอนว่าด้วยพระสูตร. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม (ประเทศไทย)
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม 89, ตอน 200 ก ฉบับพิเศษ, 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515, หน้า 1
  24. หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
  25. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. รวมบทความชุด สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถร) และวัดประจำรัชกาลที่ 5 และ 7 : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560. 27 หน้า. หน้า 1.
  26. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม 95, ตอนที่ 122 ง, 1 พฤศจิกายน 2521, หน้า 37-42
  27. "พระเถระอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร: พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก ป.ธ.๕)". วัดบวรนิเวศวิหาร. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. การพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พุทธศักราช 2521, หน้า 281
  29. พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, “สยามมกุฎราชกุมาร”, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2517. หน้า 15
  30. |สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กับพระปรีชาสามารถด้านการทหารและการบิน|https://sudsapda.com/pr-news/153700.html
  31. คู่มือการฝึกว่าด้วยแบบฝึกบุคคลท่ามือเปล่า โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  32. [กรมศิลปากร, "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร", กรุงเทพฯ, 2515 หน้า 162-165]
  33. หนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทยรัฐ https://www.thairath.co.th/content/799976
  34. "Thailand's King Bhumibol Adulyadej dead at 88". BBC News. 13 October 2016. สืบค้นเมื่อ 13 October 2016.
  35. กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2017-01-01). "เหตุการณ์แห่งปี ร.10 ขึ้นทรงราชย์ 1 ธ.ค. 59". สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
  36. "Thai king death: Thousands throng streets for procession". BBC. 2016-10-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  37. "ขอทรงพระเจริญ ก้องสภาฯ สนช.ถวายพระพร". ไทยรัฐ. 30 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่(สิบ) เสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว". โพสต์ทูเดย์. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "ประกาศสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง อัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 1. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. 40.0 40.1 "ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (102 ก): 2. 1 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. แม่แบบ:Ref news
  42. แม่แบบ:Ref news
  43. 43.0 43.1 "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (11): 1. 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. 44.0 44.1 ""ราชาภิเษกสมรส" ร. 10 และสมเด็จพระราชินีสุทิดา". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. ประกาศพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒, 4 พฤษภาคม 2562
  46. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร
  47. ราชอาณาจักรสยาม, พระราชภาระหน้าที่ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  48. องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ, [2]
  49. กษัตริย์นักบิน, [3]
  50. [ม.ร.ว.ชนม์สวัสดิ์ ชมพูนุท, “รัชกาลที่ ๙ กับ สยามมกุฎราชกุมาร”, กรุงเทพฯ, หน้า 198.]
  51. โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์
  52. › stories › 120170702-The-Education-Act "พระบรมราโชบายด้านการศึกษา". สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จแทนพระองค์ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน "วันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖"". 2013-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-31. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archive-date= (help)
  54. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงห่วง 2 หนูน้อยเหยื่อโคลนถล่มเขาเบญจา ทำกำพร้า ทรงรับพระอุปภัมภ์". TLC News. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงรับบุตรอิหม่ามยะโก๊บไว้ในพระอุปถัมภ์". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. "ครอบครัว "หร่ายมณี" ซาบซึ้งพระเมตตาอุปถัมภ์การศึกษาทายาท". สำนักข่าวไทย. 29 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. กศภ.7 เผยความคืบหน้าทุนพระราชทาน ม.ท.ศ. ปี 2562
  58. โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน (พ.ศ. 2552)
  59. ทุนพระราชทาน ม.ท.ศ.
  60. ไฟเขียว 100 ทุนให้นร.ทุน ม.ท.ศ.เรียนต่อ ป.โท
  61. ข้อมูลทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
  62. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
  63. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเงิน100ล้านแก่โรงพยาบาลศิริราช". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  64. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 2,400 ล้านบาท ช่วย 27 โรงพยาบาลทั่วไทย". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  65. จากฟ้าสู่เหว ย้อนชีวิต “คนทำผิด” ใกล้ชิดเบื้องสูง บีบีซีไทย. 6 มีนาคม 2017
  66. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีที่ 61 ฉบับที่ 21143 วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2554 หน้า 1, 12
  67. |พระราชทานของ 'ช่วยลาว' ขนขึ้นเครื่องบินซี-130 พบ 26 ศพหายอีก 131 คน|https://www.thairath.co.th/news/local/1341951
  68. ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ จังหวัดกาญจนบุรี (2562, 28 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่มที่ 136, ตอนพิเศษ 125 ง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/215/T_0004.PDF
  69. ราชอาณาจักรสยาม, ราชการทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  70. สกุลไทย: 7 สิงหาคม 2533
  71. ราชอาณาจักรสยาม, การศึกษาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  72. ราชอาณาจักรสยาม, เครื่องราชอิสริยาภรณ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  73. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยากรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์, เล่ม ๘๒, ตอน ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ, ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘, หน้า ๑๒
  74. 74.0 74.1 74.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๐, ตอน ๑๐ ง ฉบับพิเศษ, ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖, หน้า ๑๘
  75. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓, ตอน ๘๐ ง, ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙, หน้า ๑๓๕๑
  76. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์), เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
  77. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ), เล่ม ๑๐๕, ตอน ๙๕ ง ฉบับพิเศษ, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๑
  78. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ (พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) , เล่ม ๑๐๔, ตอน ๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๑
  79. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ ๑ แด่ พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม ๑๐๔, ตอน ๕๒ ง ฉบับพิเศษ, ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐, หน้า ๑
  80. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 84, ตอน 87 ง ฉบับพิเศษ, 15 กันยายน พ.ศ. 2510, หน้า 22
  81. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลา แด่ พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามาหวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร , เล่ม ๑๐๕, ตอน ๒๑๐ ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๑
  82. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๙, ตอน ๖๙ ง ฉบับพิเศษ, ๑๘ พฤษศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕, หน้า ๑
  83. ราชอาณาจักรสยาม, พระยศทหารของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าชายมหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, http://www.kingdom-siam.org
  84. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  85. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  86. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  87. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  88. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  89. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ
  90. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร), เล่ม ๙๘, ตอน ๑๒๗ ง ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔, หน้า ๒
  91. [ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/135/1.PDF]
  92. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 99 (ตอน 4 ง ฉบับพิเศษ): หน้า 1. 14 มกราคม 2525. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  93. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  94. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บังคับการพิเศษ [พันเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร]
  95. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  96. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
  97. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น พลโท พลเรือโท พลอากาศโท, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๑๗๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๑
  98. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร)
  99. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการและพระราชทานพระยศทหาร พลโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๑๘ ง ฉบับพิเศษ, ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  100. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศกองอาสารักษาดินแดน ๑ นายกองเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร ๒ นายกองเอก สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปียชาติ สยามบรมราชกุมารี ๓ นายกองโท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, เล่ม ๑๐๙, ตอน ๕๕ ง ฉบับพิเศษ, ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕, หน้า ๑
  101. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ [พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]
  102. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ (พลเอก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)
  103. ประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อวัด (วัดเขื่อนเขาแหลม เป็น วัดเขื่อนวชิราลงกรณ)
  104. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน "โรงเรียนมัธยมวชิราลงกรณวราราม"
  105. หมายกำหนดการ ที่ ๒๓/๒๕๑๙ พระราชพิธีอภิเษกสมรส (ระหว่างสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร และหม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร)
  106. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13ก): 62. 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  107. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 2. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  108. "ความเป็นมาของมูลนิธิ". มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  109. "พระองค์โสม ทรงภูมิใจใน องค์ภา เป็นลูกที่ดี ทำงานเพื่อประเทศชาติ". ไทยรัฐ. 2012-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-19. สืบค้นเมื่อ 2017-05-17.
  110. จดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555, หน้า 71
  111. บันทึกประวัติศาสตร์ "ปั่นเพื่อพ่อ" เฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษา ทวยราษฎร์จงรักล้ำปิตุรงค์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2559, หน้า 42
  112. พระราชบัญญัติ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. 2539
  113. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา เรื่อง เหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอากสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ พ.ศ. ๒๕๖๒, เล่ม 136, ตอนที่ 54, 23 เมษายน พ.ศ. 2562, หน้า 1
บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ถัดไป
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระมหากษัตริย์ไทย
(13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร
สยามมกุฎราชกุมาร
(28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
ว่าง
ก่อตั้งครั้งแรก
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
(9 มกราคม พ.ศ. 2535 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง