ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกวิท วัฒนกุล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yamanosi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jungide (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8546989 สร้างโดย Yamanosi (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 222: บรรทัด 222:
* [[เชลยศึก (ละครโทรทัศน์ไทย)]] (2560) ... [[ช่อง 8]]
* [[เชลยศึก (ละครโทรทัศน์ไทย)]] (2560) ... [[ช่อง 8]]
* [[อังกอร์ (ละครโทรทัศน์)|อังกอร์]] (2561) ... กำนันหิน [[ช่อง 3]]
* [[อังกอร์ (ละครโทรทัศน์)|อังกอร์]] (2561) ... กำนันหิน [[ช่อง 3]]
* [[ดาวคนละดวง]] (256..) [[ช่อง 3]]
* [[ดาวคนละดวง]] (2563) [[ช่อง 3]]
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:22, 17 ตุลาคม 2562

โกวิทย์ วัฒนกุล
ไฟล์:โกวิท วัฒนกุล.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
โกวิท วัฒนกุล
คู่สมรสวาสนา วัฒนกุล
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2522 - ปัจจุบัน
พระสุรัสวดีพ.ศ. 2531 ดาวร้ายฝ่ายชายยอดเยี่ยม จาก ตลาดพรหมจารี
ชมรมวิจารณ์บันเทิงพ.ศ. 2544 นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จาก เกมล้มโต๊ะ
โทรทัศน์ทองคำพ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง
เมขลาพ.ศ. 2529 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก แม่เอิบ
พ.ศ. 2534 นักแสดงนำชายดีเด่น จาก ไผ่แดง
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

โกวิท วัฒนกุล มีชื่อเล่นว่า แอ๊ด เกิดวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2497 เป็นนักแสดงชาวไทย และ นักการเมืองชาวไทย ที่มีผลงานการแสดงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522

ประวัติ

ก่อนเข้าสู่วงการบันเทิงโกวิทฯ เคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทยตำแหน่งพนักงานขบวนรถ(พนักงานห้ามล้อ) และเคยเป็นนักมวยในค่าย แต่ด้วยรูปร่างที่กำยำเพราะต่อยมวยจึงลาออกและเข้าสู่วงการบันเทิงโดยการชักชวนของเกชา เปลี่ยนวิถี เริ่มแจ้งเกิดจากการเป็นพระเอกภาพยนตร์โทรทัศน์ทางช่อง 3 เรื่อง ขุนศึก ในปี พ.ศ. 2522 ในบท "เสมา" ต่อมาได้แสดงภาพยนตร์ไทยในบทพระเอกจากเรื่องชายสามโบสถ์ คู่กับ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ ในปี พ.ศ. 2524 จนเริ่มมีชื่อเสียงในจอเงิน โดยผ่านการแสดงภาพยนตร์กว่า 200 เรื่อง เช่น สิงโตคำราม, ไอ้ผาง รฟท., นางแมวป่า, กตัญญูประกาศิต, 7 พระกาฬ, เกียรติศักดิ์ทหารเสือ, เพชรตัดเพชร, เรือนแพ รวมทั้งละครโทรทัศน์ เช่น แม่เอิบ, โผน กิ่งเพชร, ทองเนื้อเก้า, หนุ่มทิพย์, ไผ่แดง เป็นต้น ต่อมาได้ผันตัวไปเป็นพ่อค้าน้ำอ้อยเนื่องจากงานแสดงน้อยลง ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่ได้ปิดบังแต่อย่างใด และแสดงในหนังผีสำหรับผู้ใหญ่จับคู่กับดาราสาวอย่างเช่นพรายตะเคียน (2530) ตะเคียนคู่ (2533) และหนังเฉพาะทางของญี่ปุ่นที่มีโอกาสมาถ่ายทำในเมืองไทยหลายเรื่อง โกวิทได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2531 ในฐานะดาวร้ายชายยอดเยี่ยมจากเรื่อง ตลาดพรหมจารี รางวัลเมขลา และ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2534 ในฐานะดารานำชายดีเด่นจากเรื่อง ไผ่แดง [1]

อนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยชื่นชมบทบาทการแสดงของโกวิทมาตั้งแต่เรื่องขุนศึก และเขียนชื่นชมการแสดงในละครเรื่อง แม่เอิบ ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ทั้งสองจึงได้พบกันและรู้จักกันเสมือนครูกับศิษย์ ทำให้โกวิทได้รับเล่นละครเรื่อง ไผ่แดง และเข้าสู่ถนนสายการเมืองแต่ไม่สำเร็จ[2]

ปัจจุบัน โกวิทยังคงมีผลงานการแสดงอยู่ โดยไม่จำกัดสังกัด ด้านชีวิตส่วนตัว โกวิทสมรสกับ วาสนา วัฒนกุล มีบุตรสาว 3 คน (บุตรสาวคนเล็กชื่อ มายด์ - มาธวี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2555)[3] หนึ่งในนั้น คือ มิณฑิตา วัฒนกุล สมาชิกเอเอฟ 3 และนักแสดง

ผลงานภาพยนตร์

  • ชายสามโบสถ์ (2524)
  • วันสังหาร (2524) .... เข้ม
  • สิงโตคำราม (2524)
  • ตามรักตามฆ่า (2525)
  • เพชฌฆาตหน้าเป็น (2525)
  • จ้าวนรก (2525)
  • ไอ้ผาง รฟท. (2525)
  • กระท่อมนกบินหลา (2525)
  • นางแมวป่า (2525)
  • ลูบคมพยัคฆ์ (2526)
  • นักเลงข้าวนึ่ง (2526) .... เลี่ยม
  • 7 พระกาฬ (2526)
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526) .... พ.ต.นิเวศน์
  • เห่าดง (2526) .... ร.ต.อ.เชาว์
  • ทุ่งปืนแตก (2526)
  • ไฟรักอสูร (2526) .... ใจ
  • สิงห์ด่านเกวียน (2526) .... โหนก บางมะกอก
  • ตีแสกหน้า (2527)
  • เสือไบ (2527)
  • ลวดหนาม (2527) .... แจ้ง
  • ไอ้โหด .357 (2527)
  • อาจารย์เด๋อเจอพุ่มพวง (2527)
  • เพชรตัดเพชร (2527)
  • ขอโทษที ที่รัก (2527)
  • แตนป่าแตก (2527)
  • อีเสือเทียน (2527)
  • พรหมสี่หน้า (2527)
  • ครูเสือ (2527)
  • ป่าเดือด (2527)
  • มือเหนือเมฆ (2527)
  • น้ำผึ้งป่า (2528)
  • นางเสือดาว (2528)
  • มือปืนคาราบาว (2528)
  • นักล่าสลาตัน (2528)
  • ขุมทองนรก (2529)
  • คำสิงห์ (2529) .... ขุนศึก
  • สิงห์ต้องสู้ (2529)
  • ปืนเถื่อน (2529)
  • พรายตะเคียน (2530)
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530)
  • คาวน้ำผึ้ง (2530)
  • นักรบพบรัก (2530)
  • ภูผาทอง (2531)
  • ตลาดพรหมจารี (2531)
  • วัยหวาน วัยคะนอง (2531)
  • เพชฌฆาตเดนสงคราม (2531)
  • นักรบดำ (2531)
  • เรือนแพ (2532)
  • มูเซอดำ (2533)
  • นางพญางูผี 2 (2533)
  • ตี๋ใหญ่ 2 (2533)
  • ตะบันเพลิง (2533)
  • ตะเคียนคู่ (2533)
  • Bullet in the Head (2533)
  • เจาะนรกเผด็จศึก (2533)
  • กองพันทหารเกณฑ์+12 ตอน แนวรักริมฟุตบาท (2539)
  • เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ (2540)
  • โกลคลับ เกมล้มโต๊ะ (2544)
  • ผีสามบาท (2544)
  • พรางชมพู กะเทยประจัญบาน (2545)
  • คืนไร้เงา (2546) .... เฮียง
  • คนบอผีบ้าป่าช้าแตก (2546)
  • ขุนศึก (2546) .... ขุนรณฤทธิ์
  • สนิมสร้อย (2546)
  • 102 ปิดกรุงเทพปล้น (2547) .... ดาบจักร
  • เจ้าสาวผัดไทย (2547) .... พิเชษฐ์
  • ซีอุย (2547)
  • ตุ๊กแกผี (2547)
  • นาค รักแท้ วิญญาณ ความตาย (2548)
  • กระสือวาเลนไทน์ (2549) .... หมอใหญ่
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 2 ประกาศอิสรภาพ (2550) .... ขุนรัตนแพทย์
  • ผีเลี้ยงลูกคน (2550)
  • เวิ้งปีศาจ (2550)
  • หนุมานคลุกฝุ่น (2551)
  • ปาฏิหาริย์รักต่างพันธุ์ (2551)
  • ท้าชน (2552)
  • สายเลือดมังกร สายน้ำ แห่งความศรัทธา (2552)
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ (2553)
  • สมาน-ฉัน (2553)
  • ชิงหมาเถิด (2553)
  • A Better Tomorrow (2553) (ภาพยนตร์เกาหลี)
  • หมาแก่ อันตราย (2554)
  • ปัญญา เรณู (2554)
  • 2015 อุบัติรักลิขิตชีวิต (2555)
  • bankok revenge (2555)
  • The Impossible 2004 สึนามิ ภูเก็ต (2555)
  • เร็วทะลุเร็ว (2557)

ละครโทรทัศน์

โกวิท วัฒนกุล และ นิภาพร นงนุช ในละครขุนศึก ปี พ.ศ. 2523

การเมือง

โกวิทย์ วัฒนกุล เข้ามาทำงานการเมืองครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 โดยลงสมัคร ส.ส.เขต 2 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรครักษ์สันติ ในระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[6][7] ในพ.ศ. 2562 โกวิทย์ วัฒนกุลได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อชาติ[8]

รางวัล

เชิงอรรถ


อ้างอิง