ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
Supphachoke Sukjamlong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
'''[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] พุทธศักราช 2562''' เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเฉลิมพระปรมาภิไธย '''[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''' พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี
'''[[พระราชพิธีบรมราชาภิเษก]] พุทธศักราช 2562''' เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเฉลิมพระปรมาภิไธย '''[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''' พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี


พระราชพิธีบรมราชาภิเษก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย พระราชพิธีเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 6-23 เมษายน พ.ศ. 2562 ต่อจากนั้นเป็นพระราชพิธีเบื้องกลางและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งประกอบด้วย การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนการพระราชพิธี และการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีขั้นตอนคือ พิธีสรงพระมุรธาภิเษก, พิธีถวายน้ำอภิเษก ต่อด้วยพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์, การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้ว[[กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค]] และการเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ [[พระบรมมหาราชวัง]] [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] และสุดท้ายคือพระราชพิธีเบื้องปลาย ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้ว[[กระบวนพยุหยาตราชลมารค]] ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย พระราชพิธีเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 6-23 เมษายน พ.ศ. 2562 ต่อจากนั้นเป็นพระราชพิธีเบื้องกลางและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งประกอบด้วย การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนการพระราชพิธี และการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีขั้นตอนคือ พิธีสรงพระมุรธาภิเษก, พิธีถวายน้ำอภิเษก ต่อด้วยพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์, การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้ว[[กระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค]] และการเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ [[พระบรมมหาราชวัง]] [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] และสุดท้ายคือพระราชพิธีเบื้องปลาย ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้ว[[กระบวนพยุหยาตราชลมารค]] ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562


ทั้งนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทาง[[สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|สถานีโทรทัศน์]] โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจาก[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/thairoyalfamily/posts/2226985354007090?comment_id=2227014277337531&reply_comment_id=2227024390669853&comment_tracking=%7B%22tn%22%3A%22R%22%7D|title=คอมเมนต์จากโพสต์ใน Facebook|website=www.facebook.com|date=12 เมษายน 2562|accessdate=15 เมษายน 2562}}</ref>
ทั้งนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทาง[[สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย|สถานีโทรทัศน์]] โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจาก[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]<ref>{{Cite web|url=https://www.facebook.com/thairoyalfamily/posts/2226985354007090?comment_id=2227014277337531&reply_comment_id=2227024390669853&comment_tracking=%7B%22tn%22%3A%22R%22%7D|title=คอมเมนต์จากโพสต์ใน Facebook|website=www.facebook.com|date=12 เมษายน 2562|accessdate=15 เมษายน 2562}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 11 ตุลาคม 2562

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พุทธศักราช 2562
วันที่4 - 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562
ที่ตั้งพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พิกัด13°45′01″N 100°29′32″E / 13.750146°N 100.492090°E / 13.750146; 100.492090
ผู้รายงานคนแรกสำนักพระราชวัง
ผู้เข้าร่วมพระบรมวงศานุวงศ์, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, รัฐบาลไทย และประชาชนทั่วไป

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อมทั้งเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย พระราชพิธีเบื้องต้น ระหว่างวันที่ 6-23 เมษายน พ.ศ. 2562 ต่อจากนั้นเป็นพระราชพิธีเบื้องกลางและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งประกอบด้วย การสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนการพระราชพิธี และการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งมีขั้นตอนคือ พิธีสรงพระมุรธาภิเษก, พิธีถวายน้ำอภิเษก ต่อด้วยพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์, การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค และการเสด็จออกมหาสมาคมรับการถวายพระพรชัยมงคล ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และสุดท้ายคือพระราชพิธีเบื้องปลาย ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ทั้งนี้ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[1]

การเตรียมการ

การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุมและดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา[2][3], พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน ชีพ จุลมนต์ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย และ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ

คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ

คณะกรรมการฝ่ายต่างๆมีดังนี้[4]

ริ้วขบวน

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธี ประกอบด้วย 3 ริ้วขบวน ดังนี้

โดยการฝึกซ้อมริ้วขบวนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยกรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกพื้นฐานลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในริ้วขบวนทั้ง 3 ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน[7] และบวงสรวงกลองมโหระทึกที่จะใช้ในงานพระราชพิธี[8] ในเดือนมีนาคมเป็นการฝึกซ้อมเสมือนจริงรวมทุกเหล่า ในพื้นที่กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11[9][10][11] โดยพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมลงฝึกซ้อมรวมครั้งแรกในวันที่ 28 มีนาคม[12] และในเดือนเมษายนเป็นการฝึกซ้อมในพื้นที่จริง[13] โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าร่วมการฝึกซ้อมเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 เมษายน[14] และซ้อมใหญ่ครั้งสุดท้ายในวันที่ 28 และ 29 เมษายน[15]

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธี

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานในครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำเข็มที่ระลึกขึ้นเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยต่อไป[16]

การเตรียมสถานที่และปรับปรุงภูมิทัศน์

  • วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนนบำรุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า 400 คน ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไปตัดแต่งกิ่งก้าน และฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพื่อให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี[17]

หมายกำหนดการ

ก่อนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนนทบุรี

ขั้นตอนแรกของการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คือพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกและน้ำอภิเษกใน 76 จังหวัด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562[18] ในเวลาฤกษ์ 11:52 - 12:38 น. โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ใส่ขันสาคร และเคลื่อนขบวนรถไปยังสถานที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัด ส่วนจังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากกว่า 1 แหล่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดเป็นผู้ตักน้ำในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัด สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสระบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับสรงมุรธาภิเษก ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการปกครอง จะเป็นผู้ตักน้ำในส่วนของน้ำสรงมุรธาภิเษก [19]

จากนั้นในวันที่ 8-9 เมษายน เป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สวดภาณวาร และเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 มีพิธีเชิญน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดมาเก็บรักษาไว้ที่ห้องประชุมดอกแก้ว ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นอีกสองวันจึงเป็นพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานครหอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้อธิษฐานจิตพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบาตรน้ำมนต์ภายในหอศาสตราคม บรรจุในคนโท จากนั้นเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปยังกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับคนโทน้ำอภิเษกจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ และน้ำสรงพระมุรธาภิเษกอีก 9 ใบ รวมเป็น 86 ใบ

ริ้วขบวนอันเชิญคนโทน้ำอภิเษกไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

ในวันที่ 18 เมษายน มีขบวนเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อทำพิธีเสกน้ำอภิเษกรวม ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส[20] วันต่อมามีการเชิญคนโทน้ำอภิเษกออกจากวัดสุทัศนเทพวราราม ไปเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และมีพิธีเสกทำน้ำพระพุทธมนต์ในวันที่ 22 เมษายน

วันที่ 23 เมษายน มีพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล เลขาธิการพระราชวัง เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกรจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในช่วงเช้าของวันที่ 3 พฤษภาคม

วันที่ 2 พฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสุทิดา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า พระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และเสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ 3 พฤษภาคม ช่วงบ่าย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีสุทิดา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร นมัสการพระรัตนตรัย ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงจุดเทียนชัย พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) ประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ

4 พฤษภาคม

เวลาเช้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย แล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีล จบแล้วเสด็จเข้าในหอพระสุราลัยพิมาน ทรงเศวตพัสตร์ ทรงสะพักขาวขลิบทอง พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ กราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปสู่มณฑปพระกระยาสนาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ และเสด็จจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณไปยังชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทรงจุดธูปเงินเทียนทอง สังเวยเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนานประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์ แปรพระพักตร์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก

จากนั้น เลขาธิการพระราชวัง เปิดพระครอบพระมุรธาภิเษก รัชกาลที่ 1 ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวักน้ำขึ้นมาสรงพระนลาฏ เลขาธิการพระราชวัง ไขสหัสธารา เมื่อสรงสหัสธาราแล้ว สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอนุวงศ์ และพราหมณ์ ถวายน้ำพระพุทธมนต์ และน้ำเทพมนตร์ ตามลำดับ เสร็จแล้ว มหาดเล็กสอดฉลองพระบาทถวาย และถวายฉลองพระองค์คลุม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นหอพระสุราลัยพิมาน จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้าพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ภายใต้พระบวรเศวตฉัตร แปรพระพักตร์สู่บูรพาทิศเป็นทิศแรก พันโท สมชาย กาญจนมณี ปฏิบัติหน้าที่สมุหพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ ถวายพระเต้าเบญจคัพย์ รัชกาลที่ 1 สำหรับทรงรับน้ำอภิเษกประจำทิศโดยเวียนไปทางขวามือ และมีข้าราชการประจำทิศกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษก แล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระครอบเฟือง (สัมฤทธิ์) เสร็จแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำเทพมนตร์ด้วยพระมหาสังข์ประจำทิศที่พระหัตถ์ทุกทิศ หลังถวายน้ำอภิเษก แล้วเมื่อประทับทิศบูรพาแทนทิศกลาง พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล และทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษก แล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณน้อมเกล้าฯ ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงรับและพระราชทานผู้เชิญรับเชิญไว้

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณกล่าวเวทสรรเสริญเปิดศิวาลัยไกรลาส จบแล้ว ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ มีพระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว" ตามด้วยเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมขัตติยราชวราภรณ์ และพระแสงราชศัตราวุธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับแล้วทรงสวมและทรงวางบางองค์ไว้บนโต๊ะ 2 ข้างพระที่นั่งภัทรบิฐ เมื่อถวายพระธำมรงค์วิเชียรจินดาแล้ว พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณสอดฉลองพระบาทเชิงงอนถวาย เจ้าพนักงานเชิญเครื่องขัตติยราชูปโภคมาทอดถวาย เสร็จแล้วพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายอนุษฏุภศิวมนตร์ และถวายพระพรชัยมงคล จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปฐมบรมราชโองการและทรงหลั่งทักษิโณทกตั้งพระราชสัตยาธิษฐานในอันที่จะปฏิบัติตามพระปฐมบรมราชโองการ ต่อจากนั้นมีพระบรมราชโองการสถาปนาสมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี จากนั้นทรงเลี้ยงพระ และสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ดับเทียนชัย

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ยิงสลุตเฉลิมพระเกียรติ ขณะประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย โดยทรงฉลองพระองค์บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ มีมหาดเล็กเชิญราชกกุธภัณฑ์อยู่ด้านหลัง โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี กราบบังคมทูลในนามพระบรมวงศานุวงศ์, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กราบบังคมทูลในนามของประชาชน ทหาร และข้าราชการฝ่ายบริหาร, ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กราบบังคมทูลในนามของรัฐสภา และชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา กราบบังคมทูลในนามของข้าราชการตุลาการ จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสตอบ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ โดยริ้วขบวนราบใหญ่ไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ณ ปราสาทพระเทพบิดร ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ สดับปกรณ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

ในเวลาค่ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเฉลิมพระราชมณเฑียร เถลิงพระแท่นบรรจถรณ์ และประทับแรม ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นเวลาหนึ่งคืน

5 พฤษภาคม

กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร

เวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รวมทั้งเฉลิมพระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ เลี้ยงพระ เทศน์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย

เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค จากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ โดยเสด็จในริ้วกระบวนด้วย ในฐานะรองผู้บัญชาการและนายทหารพิเศษประจำหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ตามลำดับ[21]

6 พฤษภาคม

พสกนิกรขณะรอเฝ้ารับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จออก ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท

เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จออกพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ ณ สีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท รับการถวายพระพรชัยมงคลจากพสกนิกรชาวไทย นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในนามประธานกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 จากนั้นเสด็จออก ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อให้คณะทูตานุต ผู้แทนฝ่ายกงสุล และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล โดยมีฉั่ว ซิ่ว ซาน เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ คณบดีคณะทูตกราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคลในนามของผู้เฝ้าฯ ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงคณะผู้มาเข้าเฝ้าฯ ดังกล่าว ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

พระราชพิธีเบื้องปลาย

วันที่ 24 ตุลาคม เวลาบ่าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค จากท่าวาสุกรี พระราชวังดุสิต ไปยังท่าราชวรดิฐ ในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะทางประมาณ 3.4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 45 นาที มีการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[22] โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรัชกาล[23]

การประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กรมประชาสัมพันธ์ ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการวิทยุโทรทัศน์เกี่ยวกับแนวทางการออกอากาศในช่วงงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยแบ่งแนวปฏิบัติการออกอากาศเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  1. ช่วงการเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  2. ช่วงการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 2 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  3. ช่วงเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 7 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

โดยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และสื่อมวลชนทุกสำนัก จะถ่ายทอดสดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ โดยให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และให้งดเว้นการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดในช่วงการพระราชพิธี โดยให้ขึ้นข้อความหรือคำถวายพระพรและแสดงความจงรักภักดีแทน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำข่าวยาวเป็นกรณีพิเศษเพื่อนำเสนอพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ออกอากาศในช่วงเวลาข่าวในพระราชสำนัก พร้อมทั้งจัดทำสารคดีเฉลิมพระเกียรติหรือรายการพิเศษเฉลิมพระเกียรติเพื่อเผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย[24]

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 สถานีโทรทัศน์ทุกช่องทยอยนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ขื้นแสดงตรงมุมซ้ายบนของหน้าจอ ทั้งนี้ ตราสัญลักษณ์ฯ จะแสดงในทุกช่วงข่าวและรายการไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ยกเว้นในรายการถ่ายทอดสด การแข่งขันกีฬาบางประเภท เช่น มวย (สำหรับบางกรณี เช่น รายการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ หรือ รายการจากต่างประเทศที่มีการขึ้นกราฟิกหน้าจอที่ด้านซ้ายบนของจอ มีการนำตราสัญลักษณ์พระราชพิธีไว้ที่บริเวณมุมบนขวามือ) การถ่ายทอดสดงานสำคัญ และรายการแนะนำสินค้า (รวมถึงช่องโทรทัศน์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่รายการแนะนำสินค้าโดยเฉพาะ)[25] รวมทั้งงดแสดงตราสัญลักษณ์ฯ ในรายการข่าวและรายการถ่ายทอดสด ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (ยกเว้นวันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562) ซึ่งเป็นช่วงเวลาไว้ทุกข์ในพระราชสำนักเนื่องในการถึงแก่อสัญกรรมของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

กิจกรรมในช่วงพระราชพิธี

ก่อนและระหว่างพระราชพิธี

  • การรับสมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในระหว่างวันที่ 8 - 9 เมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ประชาชนที่ยังไม่เคยลงทะเบียนจิตอาสาได้มีส่วนร่วมในพระราชพิธีฯ โดยกลุ่มงานจิตอาสาเฉพาะกิจ ที่เข้าร่วมปฏิบัติในพิธีการต่างๆ ทั้งก่อนระหว่างและหลังการจัดกิจกรรมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของจังหวัดแบ่งเป็น 7 กลุ่มงาน ประกอบด้วยกลุ่มงานรักษาความปลอดภัยและการจราจรกลุ่มงานแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มงานการขนส่งกลุ่มงานบริการและส่งกำลังบำรุงกลุ่มงานนิทรรศการ และพิธีการกลุ่มงานโยธาและกลุ่มงานโครงการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ที่มีกลุ่มย่อยอีก 7 กลุ่ม[26] [27][28]
  • โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด จัดปฏิบัติธรรม ระหว่างวันที่ 1 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 7 วัน หรือตามความเหมาะสม
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 6,810 รูป ระหว่างวันที่ 2 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ระยะเวลา 15 วัน โดยนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โดยไม่ถือเป็นวันลา[29]
  • พิธีทำบุญตักบาตร วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 07.00 น.
  • ให้วัดทุกวัดทั่วประเทศ เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง ในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ในเวลาเดียวกันกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยดูการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  • ตั้งโต๊ะหมู่พระฉายาลักษณ์ พร้อมประดับธงชาติ ธงธรรมจักร ธงพระปรมาภิไธย ตามความเหมาะสม
  • ห้ามขายสุราในระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
  • การแสดงโดรนแปรอักษรเฉลิมพระเกียรติจำนวน 300 ลำ ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง[30]

หลังพระราชพิธี

  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ฯ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ ตามบทสวดมนต์ที่กำหนด ส่วนกลาง จัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ส่วนภูมิภาค จัดพิธี ณ วัดที่จังหวัดกำหนด[31]
  • การแสดงมหรสพสมโภชเฉลิมฉลองการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยส่วนกลางจัดที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง[32]

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติภาคเอกชน

  • เครือซิเมนต์ไทยจัดทำโครงการ “เฉลิมราชย์ราชา” เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562[33]

ของที่ระลึก

เข็มที่ระลึก

เข็มที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จัดทำด้วยวัสดุดีบุกผสมทองแดง ขึ้นรูปตามตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขนาดความสูง 3.8 เซนติเมตร ชุบทองด้านหน้าและหลัง พื้นสีน้ำเงินลงยาขอบสีทอง พระปรมาภิไธย วปร. ลงยาสีขาว และคชสีห์ ลงยาสีม่วงอมชมพู ข้อความพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ลงยาสีเขียวสนิม ตัวหนังสือสีทอง ด้านหลังจารึกตัวอักษรพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เข็มกลัดด้านหลังพร้อมหัวล็อกใช้วัสดุทองเหลืองชุบทอง เข็มที่ระลึกนั้น บรรจุในกล่อง จัดทำด้วยวัสดุกระดาษอาร์ตอัดลายความหนา 120 แกรม เคลือบสีเหลืองทอง หุ้มพลาสติก ขึ้นรูปทรงกล่อง ขนาด 6.4 x 6.8 x 2.8 เซนติเมตร ฝากล่องด้านบนประดับด้วยตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิพม์ด้วยสีทอง ด้านข้างในกล่องเป็นสีขาวงาช้าง

เสื้อเหลืองพร้อมตราสัญลักษณ์พระราชพิธี

เป็นลักษณะเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งตอนนี้มีร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้จัดทำเสื้อประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ประชาชนสามารถหาซื้อได้ตามสะดวก

เหรียญที่ระลึก

  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
    • เหรียญทองคำ 99 เปอร์เซ็นต์ ประเภทขัดเงา เส้นผ่าศูนย์กลาง 26 มิลลิเมตร น้ำหนัก 20 กรัม
    • เหรียญเงิน 92.5 เปอร์เซ็นต์ ประเภทขัดเงา เส้นผ่าศุนย์กลาง 35 มิลลิเมตร น้ำหนัก 22 กรัม
    • เหรียญโลหะสีขาว หรือ ทองแดงผสมนิกเกิล เส้นผ่าศุนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก 15 กรัม
  • เหรียญที่ระลึก
    • เหรียญแพลทินัม เส้นผ่าศูนย์กลาง 60 มิลลิเมตร น้ำหนัก 240 กรัม
    • เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ 95 เปอร์เซ็นต์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร น้ำหนัก 70 กรัม
    • เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายพิเศษ 95 เปอร์เซ็นต์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 มิลลิเมตร น้ำหนัก 60 กรัม

สแตมป์พระราชพิธี

จัดพิมพ์และจำหน่ายโดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ใช้เทคนิคเพิ่ม 5 สีบนฟอยล์กระจก (อลูมินเนียมซิลเวอร์ฟอยด์) เป็นครั้งแรกของโลก เพื่อเพิ่มความสวยงามแวววาวให้แก่ภาพบนดวงแสตมป์ พร้อมปั๊มดุนนูนอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. ข้อความชื่อประเทศ ชนิดราคา และองค์พระฉายาลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีความพิเศษที่ฉลองพระองค์ ซึ่งได้ใช้สีขาวชนิดพิเศษ เพื่อให้ฉลองพระองค์เป็นสีที่สมจริง โดยแสตมป์เป็นชนิดราคา 10 บาท จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 3 ล้านดวง หรือ 3 แสนแผ่น (1 แผ่นมี 10 ดวง)

ของที่ระลึกอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีเข็มกลัดที่ระลึกตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พิมพ์ข้อความ “เสด็จออกสีหบัญชร ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๒” จัดทำโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 100,000 เข็ม และการประปานครหลวงผลิตกระบอกน้ำพลาสติกชนิดพกพาประดับตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จำนวน 300,000 ใบ มอบให้แก่ประชาชนที่มาร่วมเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล[34]

มหรสพสมโภช

มหรสพสมโภช เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดขึ้นช่วงระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ภายใต้การควบคุมโดยคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม จัดขึ้นโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และภาคเอกชน[35]

เวทีแบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย เวทีกลาง ณ ท้องสนามหลวงฝั่งทิศใต้ ติดกับพระบรมมหาราชวัง แสดงตั้งแต่เวลา 18:30 - 21:30 น. ตลอด 7 วัน มีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงโขน ชุด พระบารมีมิ่งฟ้ารามาวตาร, การละเล่นของหลวง, มหาดุริยางค์สากลรวมใจภักดิ์ ชุด ทศมราชันขวัญหล้า (ดนตรีสากล), มหาดุริยางค์ไทยแห่งรัตนโกสินทร์ (ดนตรีไทย), มหกรรมลูกทุ่งไทยเทิดไท้องค์ราชา, การแสดงละครเพลงในสวนฝัน ผสานใจภักดิ์ ถวายองค์ราชัน นำแสดงโดย นก - สินจัย เปล่งพานิช, โป๊ป - ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ, เบลล่า - ราณี แคมเปน และเบิร์ด - ธงไชย แมคอินไตย์ กำกับการแสดงโดย อี๊ด - สุประวัติ ปัทมสูต ศิลปินแห่งชาติ, การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยรวมใจภักดิ์ มหกรรมการแสดงนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ โดยมี 10 ประเทศเข้าร่วมการแสดง ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศอินเดีย และประเทศจีน และขบวนอัญเชิญเครื่องราชสักการะจาก 4 ภูมิภาค มหกรรมกลองมิ่งมงคลและการแสดงพื้นบ้าน 4 ภาค เฉลิมพระเกียรติ

ส่วนเวทีย่อยมีจัดไว้ 2 ฝั่ง คือเวทีย่อยฝั่งศาลฎีกา และเวทีย่อยฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีจัดแสดงการแสดงของไทย เริ่มแสดงเวลา 17:30 - 18:30 น. มีการแสดง เช่น นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก, โขนสด, กระตั้วแทงเสือ, มหกรรมเพลงพื้นบ้าน ประกอบด้วย ลำตัด เพลงฉ่อย อีแซว เพลงทรงเครื่อง, ละครชาตรี, การแสดงโขนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, สถาบันคึกฤทธิ์, โรงเรียนอำนวยวิทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงหนังใหญ่จากวัดขนอน, หนังตะลุง (ภาคใต้) และหุ่นสายเสมา เป็นต้น

นอกจากนี้ ตลอด 7 วัน ช่วงเวลา 21:30 - 23:00 น. มีการจัดแสดงแสง สี เสียง ม่านน้ำ ไฟประดับ ชุด "แสงแห่งพระมหากรุณาธิคุณปกหล้า" นำเสนอเรื่องราวความงดงามของแม่น้ำเจ้าพระยา สายน้ำแห่งชีวิต และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่แผ่ไพศาลไปยังพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศให้มีความสงบสุข ร่มเย็น เป็นฉัตรแก้วของปวงประชา ผ่านเทคนิคม่านน้ำและน้ำพุความยาวกว่า 40 เมตร อีกทั้งมีกิจกรรมตลาดวัฒนธรรม สาธิตการทำอาหารและขนมไทย งานมหรสพสมโภชในครั้งนี้มีผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และชาวต่างประเทศได้ให้ความสนใจกับเวทีย่อยเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการแสดงพื้นบ้านที่หาชมได้ยาก โดยเฉพาะความงดงามของหุ่นกระบอก, หุ่นละครเล็ก, หนังใหญ่ เป็นต้น

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 รวมระยะเวลา 19 วัน ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวงฝั่งติดกับพระบรมมหาราชวัง โดยได้มีการเตรียมงานอย่างสมพระเกียรติและยิ่งใหญ่ โดยนำเสนอเนื้อหาของริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและกระบวนพยุหยาตราชลมารค หนึ่งเดียวในโลก มีการจัดทำนิทรรศการในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย นำเสนอแบบจำลองเรือพระราชพิธี ทั้ง 52 ลำ แต่ละลำมีขนาดความยาว 3 เมตร ประกอบภาพและเนื้อหาโดยละเอียด และยังได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำเรือพระที่นั่งจำลองเสมือนจริงจำนวน 4 ลำ ที่เคยจัดแสดงในงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์ ได้แก่ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ และ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 มาจัดแสดงร่วมด้วย และยังมีการจัดริ้วขบวนบวงสรวงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนเรือพระที่นั่งโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ซึ่งจะอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานภายในงานนิทรรศการ เพื่อให้ประชาชนสักการะ นอกจากนี้ ในช่วงค่ำของทุกวัน จะมีการแสดงม่านน้ำ เฉลิมพระเกียรติ วันละ 3 รอบ และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติอีกด้วย[36]

อ้างอิง

  1. "คอมเมนต์จากโพสต์ใน Facebook". www.facebook.com. 12 เมษายน 2562. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการ
  3. กรมประชาสัมพันธ์ (26 มกราคม 2562). "สมเด็จพระเทพฯ ทรงเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรมประชาสัมพันธ์,โครงสร้างคณะกรรมการ
  5. รัฐบาลไทย (8 ตุลาคม 2562). "จุรินทร์ ประชุม กก.ประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค". www.thaigov.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. รัฐบาลไทย. "รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นประธานการประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.thaigov.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 คมชัดลึก (20 กุมภาพันธ์ 2562). "กรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกกำลังพลในริ้วขบวน"บรมราชาภิเษก"". www.komchadluek.net. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. บวงสรวงกลองมโหระทึก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  9. ไทยรัฐ (13 มีนาคม 2562). "ซ้อมเสมือนจริงขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. มติชน (19 มีนาคม 2562). "ซ้อมรวมครั้งแรก ริ้วขบวนที่ 3 พยุหยาตราสถลมารค". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "กำลังพลฝึกซ้อมริ้วขบวนพิธีแห่พระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ และพระราชลัญจกร".
  12. ทีเอ็นเอ็น24 (28 มีนาคม 2562). "ผบ.ทบ.ร่วมซ้อมริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ". tnnthailand.com. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. สปริงนิวส์ (17 เมษายน 2562). "ประมวลภาพ "ซ้อมเสมือนจริง ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (คลิป)". www.springnews.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. มติชน (21 เมษายน 2562). "นายกฯ ซ้อมริ้วขบวนพยุหยาตราสถลมารค คนไทย-ชาวต่างชาติร่วมชม (ภาพชุด)". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. ไทยรัฐ (29 เมษายน 2562). "ซ้อมริ้วขบวน เสมือนจริง งดงามสง่ายิ่ง มีทั้งชาวบ้าน นักท่องเที่ยว แห่ไปเฝ้าชม". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. กรมประชาสัมพันธ์ (11 มีนาคม 2562). "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ช่อง 7 สี (13 มีนาคม 2562). "รุกขกร-หน่วยพระราชทานจิตอาสา ปรับภูมิทัศน์รับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". ch7.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. กรมประชาสัมพันธ์. "หมายกำหนดการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒". phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. มติชน (6 เมษายน 2562). "ทั่วปท.-นนทบุรีร่วมพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์จัดทำน้ำอภิเษกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก(ชมคลิป)". www.matichon.co.th. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. กระทรวงมหาดไทย (19 เมษายน 2562). "การจัดทำ "น้ำอภิเษก" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. HELLO! Thailand (6 พฤษภาคม 2562). "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี – เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ สองหญิงกล้าแห่งรัชกาลที่ 10". th.hellomagazine.com. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. ไทยโพสต์ (12 กันยายน 2562). "สวมเสื้อเหลือง รับเสด็จ'ร.10' ทางชลมารค". thaipost.net. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. ผู้จัดการออนไลน์ (5 กรกฎาคม 2562). "ร.10 จะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 24 ต.ค." mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. กสทช. (4 มีนาคม 2562). "กสทช. กำหนดแนวทางออกอากาศวิทยุ-ทีวี ช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. ยามเฝ้าจอ (31 มีนาคม 2562). "ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (1 เมษายน 2562) เป็นต้นไป สถานีโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องขึ้นตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกฯ ไว้ที่มุมบนซ้ายของหน้าจอ และขึ้นยาวไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. สยามรัฐ (9 เมษายน 2562). "จัดพิธีพลีกรรมสมพระเกียรติ ทรงชื่นชมทุกจังหวัด". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. กระทรวงมหาดไทย (7 เมษายน 2562). "สมัครจิตอาสาเฉพาะกิจ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.dopa.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. กรมประชาสัมพันธ์ (7 เมษายน 2562). "ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร. กำหนดให้มีการลงทะเบียนรับจิตอาสาใหม่ สมัครด้วยตนเอง ณ วัดที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษก (๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ) ในวันที่ ๘ - ๙ เมษายน ๒๕๖๒". www.phralan.in.th. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. รัฐบาลไทย (26 มีนาคม 2562). "นายกรัฐมนตรี เห็นชอบให้ข้าราชการลาบรรพชาอุปสมบท โครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยไม่ถือเป็นวันลา". www.thaigov.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. โพสต์ทูเดย์ (30 เมษายน 2562). "อลังการ! ชวนชมโดรนแปรอักษรเฉลิมพระเกียรติที่สนามหลวง วันที่ 5 และ6 พ.ค.นี้". www.posttoday.com. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (10 มกราคม 2562). "มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 1/2562 เรื่องโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" (PDF). mahathera.onab.go.th. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ (30 เมษายน 2562). "จัดยิ่งใหญ่ มหรสพสมโภช เฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ (4 เมษายน 2562). "เอสซีจีจัดโครงการ "เฉลิมราชย์ราชา" ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. กรุงเทพธุรกิจ. "ของที่ระลึกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก". www.bangkokbiznews.com. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. ประชาชาติธุรกิจ (20 พฤษภาคม 2562). "มหรสพสมโภชพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ 7 คืน ทั่วประเทศ". www.prachachat.net.
  36. ผู้จัดการออนไลน์ (25 กันยายน 2562). "ยิ่งใหญ่...รัฐบาลจัดนิทรรศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 24 ต.ค.ถึง 11 พ.ย.ท้องสนามหลวง". mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น