ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมเคตอาเตน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nefernebet (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{infobox hieroglyphs|title=เมเคตอาเตน|name=<hiero>i-t:n:ra Aa16:D36:V31 t: B1</hiero>|name transcription=เมเคตอาเตน <br> ''mꜥk...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

[[หมวดหมู่:เสียชีวิตจากการคลอดบุตร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:02, 10 ตุลาคม 2562

เมเคตอาเตน ในไฮเออโรกลีฟ
it
n
ra
Aa16
D36
V31
t
B1

เมเคตอาเตน
mꜥkt itn
ผู้ถูกปกป้องโดยอาเตน
ภาพสลักของเจ้าหญิงเมเคตอาเตนบนตักของพระนางเนเฟอร์ติติ (ทางซ้าย)
รูปสลักหินของเจ้าหญิงเมเคตอาเตน

เมเคตอาเตน (พระนามมีความหมายว่า "ผู้ถูกปกป้องโดยอาเตน") เป็นพระราชธิดาลำดับที่สองในอีกหกพระองค์ในฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติ พระองค์อาจจะประสูติในปีที่ 4 ของการครองราชย์ของพระบิดา แม้ว่าจะไม่ค่อยทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์ แต่พระองค์จะปรากฏอยู่บนภาพสลักบนฝาผนังร่วมกับพระขนิษฐาและพระบิดาพระมารดาในช่วงต้นของรัชสมัยของฟาโรห์อเคนาเทน

พระราชวงศ์

พระองค์เป็นพระราชธิดาลำดับที่สองในฟาโรห์อเคนาเตนกับสมเด็จพระราชินีเนเฟอร์ติติ พระองค์มีพระภคินีหนึ่งพระองค์พระนามว่า เมริทอาเตน และพระขนิษฐาอีกสี่พระองค์พระนามว่า อังค์เอสเอนปาอาเตน, เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท, เนเฟอร์เนเฟรูเร และ เซเตเพนเร ส่วนเจ้าชายทุตอังค์อาเตนเป็นพระอนุชาต่างพระมารดา[1]

พระประวัติ

พระองค์เป็นไปได้ว่าจะประสูติในช่วงปีที่ 4 แห่งการครองราชย์ของพระบิดาหรือก่อนหน้านั้น[2] โดยพระองค์ปรากฏบนภาพสลักครั้งที่อัท-เบ็นเบ็น ร่วมกับพระมารดาของพระองค์ในธีบส์ พระองค์สลักรูปยืนหลังถัดจากพระนางเมริทอาเตน (พระภคินี) ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดในช่วงหรือหลังปีที่ 4 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา[3] โดยข้อโต้แย้งเพิ่มเติมแสดงให้เห็นว่าพระองค์ประสูติในหรือก่อนปีที่ 4 มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าภาพสลักของพระองค์ถูกเพิ่มเข้าไปในหนึ่งในจิตรกรรมสลักนูนต่ำในปีที่ 4 และแกะสลักในปี 5 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา[4]

พระองค์ทรงย้ายที่ประทับจากเมืองธีบส์ไปยังเมืองอเคนาเทน (ในปัจจุบันคือเมืองอาร์มานา) กับเหล่าเชื้อพระวงศ์ครั้งพระองค์มีพระชนมายุยังน้อย พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักภายในหลุมฝังศพของขุนนางหลายแห่งในเมืองอาร์มานา พระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักในหลุมฝังพระศพของฟาโรห์ไอย์ โดยเป็นภาพสลักที่พระองค์กำลังถือถาดของขวัญในขณะที่โอบแขนข้างหนึ่งไว้รอบพระศอพระมารดาของพระองค์ และยังปรากฏตามสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวถึงพระองค์รวมถึงบันทึกสลักหินในเมืองเฮลิโอโปลิส, รูปปั้นฐานในเมืองไฟยุม และหลุมฝังศพของปาเนเฮซิและปาเรนเนเฟอร์ พระองค์ปรากฏในภาพสลักร่วมกับพระบิดาพระมารดาและพระภคินีพระขนิษฐาของพระองค์ในงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง ซึ่งสามารถเห็นได้ในหลาย ๆ ส่วนในหลุมฝังศพของขุนนางระดับสูงนามว่า ฮูยา และมหาปุโรหิตนามว่า เมริเรที่ 2

การสิ้นพระชนม์และหลุมฝังพระศพ

พระองค์เสิ้นพระชนม์ราวในปีที่ 14 แห่งการครองราชย์ของพระบิดา มีความเป็นไปได้สูงว่าจะเกิดโรคระบาดไปทั่วอียิปต์ช่วงระหว่างปีที่ 12 และ 15 สำหรับเชื้อพระวงศ์หลายพระองค์ถูกกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง อาทิ พระนางติเย, พระนางคิยา, เจ้าหญิงเมเคตอาเตน, เจ้าหญิงเนเฟอร์เนเฟรูเร และเจ้าหญิงเซเตเพนเร การสิ้นพระชนม์ของพระองค์อาจจะเกิดจากโรคระบาดหรือจากการให้ประสูติบุตร จากการพบพระศพ (ทารก) ที่เป็นเชื้อพระวงศ์ ทำให้เชื่อว่าพระธิดาสิ้นพระชนม์ระหว่างในการให้ประสูติ (ในกรณีที่พระบิดาของพระธิดาน่าจะเป็นฟาโรห์อเคนาเทนเอง) แต่สิ่งนี้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ อีกทางเลือกหนึ่งที่ตีความโดยแวง ดจิก ภาพเด็กที่ปรากฎในภาพสลักคือกา (หนึ่งในรูปแบบของวิญญาณตามความเชื่อของอียิปต์โบราณ) ของพระองค์

ภาพวาดที่มีเจ้าหญิงเมเคตอาเตนกับเหล่าเชื้อพระวงศ์

อ้างอิง

  1. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
  2. Tyldesley, Joyce. Nefertiti: Egypt's Sun Queen. Penguin. 1998. ISBN 0-670-86998-8
  3. Redford, Donald B. Akhenaten: The Heretic King. Princeton University Press. 1987. ISBN 978-0-691-00217-0
  4. Dodson, Aidan, Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemheb, and the Egyptian Counter-Reformation. The American University in Cairo Press. 2009, ISBN 978-977-416-304-3