ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร"

พิกัด: 13°45′10″N 100°29′08″E / 13.752683°N 100.485485°E / 13.752683; 100.485485
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Ermine44 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Billinghurst
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
'''วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร''' หรือ '''วัดระฆัง''', '''วัดหลวงพ่อโต''' ตั้งอยู่เลขที่ 250 [[แขวงศิริราช]] [[เขตบางกอกน้อย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์[[มหานิกาย]]ภาค 1
'''วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร''' หรือ '''วัดระฆัง''', '''วัดหลวงพ่อโต''' ตั้งอยู่เลขที่ 250 [[แขวงศิริราช]] [[เขตบางกอกน้อย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็น[[พระอารามหลวง]]ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์[[มหานิกาย]]ภาค 1


วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างใน[[สมัยอยุธยา]] เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระสังฆราช]] ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา)]] พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างใน[[สมัยอยุธยา]] เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของ[[สมเด็จพระสังฆราช]] ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี|สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา)]] พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา


วัดระฆังโฆสิตารามมีหอ[[พระไตรปิฎก]]ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก
วัดระฆังโฆสิตารามมีหอ[[พระไตรปิฎก]]ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้
เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่)
ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง
และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก
ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้


ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด
วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง
คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา)
พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด


ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ ๕ ลูก
และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้
ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ ๕ ลูก


== อาณาเขตที่ตั้งวัด ==
== อาณาเขตที่ตั้งวัด ==
บรรทัด 73: บรรทัด 61:
=== หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า ===
=== หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า ===
[[ไฟล์:Phra Prathan Yim Rub Fa (II).jpg|thumb|300px|หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า]]
[[ไฟล์:Phra Prathan Yim Rub Fa (II).jpg|thumb|300px|หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า]]
พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา
พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์
นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา
วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์
ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา


== โบราณสถานสำคัญ ==
== โบราณสถานสำคัญ ==
บรรทัด 87: บรรทัด 71:


=== พระปรางค์ ===
=== พระปรางค์ ===
รัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา
รัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา


=== หอระฆัง ===
=== หอระฆัง ===
บรรทัด 114: บรรทัด 98:


== ลำดับเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ==
== ลำดับเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ==
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ มีอธิบดีสงฆ์ปกครองวัดมาแล้ว ๑๑ รูปด้วยกัน สำหรับรูปที่ ๑๑ คือ พระเทพประสิทธิคุณ นั้น ปัจจุบันนี้อาพาธด้วยโรคชราจึงเข้าพักรักษาตัว
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ มีอธิบดีสงฆ์ปกครองวัดมาแล้ว ๑๑ รูปด้วยกัน สำหรับรูปที่ ๑๑ คือ พระเทพประสิทธิคุณ นั้น ปัจจุบันนี้อาพาธด้วยโรคชราจึงเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระเทพวิสุทธิเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง, เจ้าคณะภาค ๑๑ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส สำหรับลำดับอธิบดีสงฆ์แห่งวัดระฆังฯ นั้นมีดังนี้คือ
อยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระเทพวิสุทธิเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง, เจ้าคณะภาค ๑๑ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส สำหรับลำดับอธิบดีสงฆ์แห่งวัดระฆังฯ นั้นมีดังนี้คือ
# [[สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)]] พ.ศ. ๒๓๑๒ - ๒๓๓๗
# [[สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)]] พ.ศ. ๒๓๑๒ - ๒๓๓๗
# พระพนรัตน (นาค) พ.ศ. ๒๓๓๗ - ………
# พระพนรัตน (นาค) พ.ศ. ๒๓๓๗ - ………

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:32, 7 ตุลาคม 2562

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
พระอุโบสถ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดระฆังโฆสิตาราม, วัดระฆัง
ที่ตั้งถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท
เจ้าอาวาสพระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙)
เวลาทำการทุกวัน 8.00-17.00
จุดสนใจสักการะรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) , ชมหอพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 1
กิจกรรมเทศนาธรรม ทุกวันพระ
21 มิ.ย.: งานอุทิศส่วนกุศล ให้อดีตเจ้าอาวาส
เว็บไซต์http://www.watrakhang.org
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

ประวัติ

เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด

ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ ๕ ลูก

อาณาเขตที่ตั้งวัด

เขตติจีวราวิปวาส

เขตวิสุงคามสีมา

ที่ธรณีสงฆ์

ปูชนียวัตถุสำคัญ

หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า

หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา

โบราณสถานสำคัญ

พระอุโบสถ

เป็นทรงแบบรัชกาลที่ ๑ หลังคาลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๒ ช่อง แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๕ ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น

พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า)

สร้างในสมัยอยุธยา

พระปรางค์

รัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา

หอระฆัง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สืบถามเรื่องระฆังของวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเป็นระฆังที่มีเสียงไพเราะยิ่งนัก ที่ขุดได้ในวัดนั้นว่าขุดได้ ณ ที่ใด ทรงขอระฆังเสียงดีลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสร้างหอระฆังจตุรมุขพร้อมทั้งระฆังอีก ๕ ลูก พระราชทานไว้แทน เพราะเหตุแห่งการขุดระฆังได้ จึงได้ชื่อตามที่ประชาชนเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่นั้นมา

หอพระไตรปิฎก

เป็นรูปเรือน ๓ หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอ กลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่างๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ ๒ ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ ๑ ตู้ หอด้านใต้ ๑ ตู้ หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ

ศาลาการเปรียญ

หอพระไตรปิฎก (คณะ 2)

อยู่หน้าตำหนักแดง ในคณะ ๒ เป็นเรือนไม้ฝาปะกน ปิดทอง ทาสีเขียวสด ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงามมาก

พระเจดีย์สามองค์

สร้างโดยเจ้านายวังหลัง ๓ องค์ คือ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายปาล ต้นสกุล ปาลกะวงศ์) กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระองค์เจ้าชายบัว) และกรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายแดง ต้นสกุล เสนีวงศ์) สร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในรัชกาลที่ ๓ เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ทรงจอมแห ทรวดทรงงดงามมาก แต่เป็นเจดีย์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถหลังปัจจุบัน

สถานที่น่าสนใจภายในวัด

พระวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)

พิพิธภัณฑ์วัดระฆังโฆสิตาราม (อาคารเฉลิมพระเกียรติริมแม่น้ำเจ้าพระยา)

ลำดับเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ มีอธิบดีสงฆ์ปกครองวัดมาแล้ว ๑๑ รูปด้วยกัน สำหรับรูปที่ ๑๑ คือ พระเทพประสิทธิคุณ นั้น ปัจจุบันนี้อาพาธด้วยโรคชราจึงเข้าพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระเทพวิสุทธิเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง, เจ้าคณะภาค ๑๑ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส สำหรับลำดับอธิบดีสงฆ์แห่งวัดระฆังฯ นั้นมีดังนี้คือ

  1. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พ.ศ. ๒๓๑๒ - ๒๓๓๗
  2. พระพนรัตน (นาค) พ.ศ. ๒๓๓๗ - ………
  3. พระพุฒาจารย์ (อยู่) พ.ศ. ………. - ………
  4. สมเด็จพระพนรัตน (ทองดี) พ.ศ. ………. - ………
  5. สมเด็จพระพนรัตน (ฤกษ์) พ.ศ. ………. - ………
  6. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๑๕
  7. หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๓๗
  8. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๗๐
  9. พระเทพสิทธินายก (นาค โสภโณ) พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๑๔
  10. พระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๐
  11. พระเทพประสิทธิคุณ (ผัน ติสฺสโร) พ.ศ. ๒๕๓๒ -
  12. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) ๒๐ สค. พ.ศ. ๒๕๕๐ - ปัจจุบัน

อื่น ๆ

พระเครื่องที่จัดสร้างโดยวัดระฆังโฆสิตาราม

โครงการไหว้พระ ๙ วัด

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′10″N 100°29′08″E / 13.752683°N 100.485485°E / 13.752683; 100.485485