ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประยุทธ์ จันทร์โอชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pooriwat1103 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
| image = {{วิกิสนเทศ|property|raw|P18}}
| image = {{วิกิสนเทศ|property|raw|P18}}
}}
}}
'''พลเอก''' '''ประยุทธ์ จันทร์โอชา''' ({{ชื่อเล่น|ตู่}}; เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ปัจจุบันเป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 29 [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ผู้อำนวยการ[[กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร]] อดีตหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] [[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง|คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง]]ใน[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]]
'''พลเอก''' '''ประยุทธ์ จันทร์โอชา''' ({{ชื่อเล่น|ตู่,ควายตู่,เหี้ยตู่,ไอ้ประยุทธ์}}; เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ปัจจุบันเป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 29 [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ผู้อำนวยการ[[กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร]] อดีตหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] [[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง|คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง]]ใน[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]]


ประยุทธ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหาร[[บูรพาพยัคฆ์]]และ[[กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์|ทหารเสือราชินี]] เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะ[[นิยมเจ้า]]อย่างเข้มข้น และคู่แข่งของอดีตนายกรัฐมนตรี [[ทักษิณ ชินวัตร]] ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงใน[[ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552|เดือนเมษายน 2552]] และ[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|เมษายน–พฤษภาคม 2553]]<ref>{{cite news|url=http://us.mobile.reuters.com/article/topNews/idUSTRE6AI14V20101119|title=Q+A: Are Thailand's "red shirts" regrouping?|accessdate=May 2, 2014|agency=[[Reuters]]|date=November 19, 2013|archivedate=May 2, 2014|archiveurl=//web.archive.org/web/20140502231619/http://us.mobile.reuters.com/article/topNews/idUSTRE6AI14V20101119|deadurl=no}}</ref> ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์<ref>{{cite news|title=Gen Prayuth takes command|accessdate=May 2, 2014|url=http://www.bangkokpost.com/print/199149/|newspaper=Bangkok post|date=October 1, 2010}}</ref> และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์<ref>{{cite news|url=http://www.bangkokpost.com/lite/breakingnews/352027/no-military-reshuffle-yingluck-tells-army-chief|newspaper=[[Bangkok Post]]|date=May 27, 2013|title=No coup, Prayuth tells Yingluck}}</ref> ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554
ประยุทธ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหาร[[บูรพาพยัคฆ์]]และ[[กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์|ทหารเสือราชินี]] เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะ[[นิยมเจ้า]]อย่างเข้มข้น และคู่แข่งของอดีตนายกรัฐมนตรี [[ทักษิณ ชินวัตร]] ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงใน[[ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552|เดือนเมษายน 2552]] และ[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|เมษายน–พฤษภาคม 2553]]<ref>{{cite news|url=http://us.mobile.reuters.com/article/topNews/idUSTRE6AI14V20101119|title=Q+A: Are Thailand's "red shirts" regrouping?|accessdate=May 2, 2014|agency=[[Reuters]]|date=November 19, 2013|archivedate=May 2, 2014|archiveurl=//web.archive.org/web/20140502231619/http://us.mobile.reuters.com/article/topNews/idUSTRE6AI14V20101119|deadurl=no}}</ref> ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์<ref>{{cite news|title=Gen Prayuth takes command|accessdate=May 2, 2014|url=http://www.bangkokpost.com/print/199149/|newspaper=Bangkok post|date=October 1, 2010}}</ref> และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์<ref>{{cite news|url=http://www.bangkokpost.com/lite/breakingnews/352027/no-military-reshuffle-yingluck-tells-army-chief|newspaper=[[Bangkok Post]]|date=May 27, 2013|title=No coup, Prayuth tells Yingluck}}</ref> ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:40, 3 ตุลาคม 2562

ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม 2557[a]
(9 ปี 245 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
รองนายกรัฐมนตรี
ก่อนหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม 2562
(4 ปี 290 วัน)
ก่อนหน้าประวิตร วงษ์สุวรรณ
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม 2557 – 16 กรกฎาคม 2562
(5 ปี 55 วัน)
รอง
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2557
(3 ปี 364 วัน)
ก่อนหน้าอนุพงษ์ เผ่าจินดา
ถัดไปอุดมเดช สีตบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มีนาคม พ.ศ. 2497 (70 ปี 35 วัน)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ[b]
คู่สมรสนราพร จันทร์โอชา
บุพการี
  • พันเอก ประพัฒน์ จันทร์โอชา (บิดา)
  • เข็มเพชร จันทร์โอชา (มารดา)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ประจำการ2519–2557
ยศ พลเอก
บังคับบัญชา กองทัพบก

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น ตู่,ควายตู่,เหี้ยตู่,ไอ้ประยุทธ์; เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ปัจจุบันเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครองในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ประยุทธ์เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และคู่แข่งของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน–พฤษภาคม 2553[1] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[2] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[3] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554

ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[4] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น[5] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553[6] ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมแก่คณะผู้ก่อการ[7] และนิรโทษกรรมคณะฯ สำหรับรัฐประหาร วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร[8]

หลังรัฐประหาร เขาสั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9]

ประวัติ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2497 ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายของพันเอก(พิเศษ) ประพัฒน์ จันทร์โอชา และเข็มเพชร จันทร์โอชา มารดาซึ่งรับราชการครู[10][11] พลเอก ประยุทธ์มีชื่อเล่นว่า "ตู่" หรือที่สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า "บิ๊กตู่" และ "ลุงตู่"[12] เป็นบุตรชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมดสี่คน[13] ได้แก่ พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก สมรสกับ นาง ผ่องพรรณ จันทร์โอชา ,ประคัลภ์ จันทร์โอชา สมรสกับ นางสาว เกสร จักสุจันทร์ และ พลอากาศโทหญิง ประกายเพชร จันทร์โอชา ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ [14][15]

การศึกษา

  • พ.ศ. 2514 – โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 12
  • พ.ศ. 2519 – โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23
  • พ.ศ. 2519 - หลักสูตรชั้นนายร้อย รุ่นที่ 51
  • พ.ศ. 2524 – หลักสูตรชั้นนายพัน รุ่นที่ 34
  • พ.ศ. 2528 – หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 63
  • พ.ศ. 2550 – หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 20

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 จากโรงเรียนสหะกิจวิทยา จังหวัดลพบุรี ซึ่งเข็มเพชร มารดาเป็นครูสอนอยู่ ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบไปแล้ว ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี แต่เรียนได้เพียงปีเดียวก็ลาออกเนื่องด้วยบิดาเป็นนายทหารจำต้องโยกย้ายไปในหลายจังหวัด และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ กรุงเทพมหานคร จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร จนสำเร็จเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12) และเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ในคอลัมน์ "เรียนดี" นิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อปี 2512 ได้กล่าวว่า ประยุทธ์สอบได้คะแนนดีมาก มีอุปนิสัยเงียบขรึมและเป็นคนที่มีวินัยสูง[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโตจึงต้องทำตัวเป็นพี่ที่ดี ในวัยเยาว์เขาเป็นคนเรียนเก่งมีความถนัดและความชอบในวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์จากการสนับสนุนของบิดามารดา หนังสือที่อ่านเป็นประจำได้แก่ “ชัยพฤกษ์” ประวัติการเล่าเรียนตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้น ไม่เคยได้เกรดต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์[ต้องการอ้างอิง] เมื่อถูกถามว่า “ถ้าสอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว จะสอบเข้าเรียนต่อที่ไหน” ประยุทธ์ในวัยเด็กนั้นบอกกับผู้สัมภาษณ์ว่าเขาตั้งใจจะเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารและหวังว่าจะได้เป็นทหารบกในอนาคต[ต้องการอ้างอิง]

รับราชการทหาร

พลเอก ประยุทธ์รับราชการทหารอยู่ที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ "ทหารเสือราชีนี" มาโดยตลอด โดยเริ่มมาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองพัน จนถึงผู้บังคับการกรม จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ และรับตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 1 เขาเป็นสมาชิก "บูรพาพยัคฆ์" ในกองทัพ เช่นเดียวกับพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งทั้งสองยังเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

ประยุทธ์ ครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก (ซ้าย) เมื่อเดือนมิถุนายน 2555
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2530 - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็น ราชองครักษ์เวร[16]
  • พ.ศ. 2533 – ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารบกที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2541 – ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 รอ.)
  • พ.ศ. 2546 – ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ผบ.พล. ร 2 รอ.)
  • พ.ศ. 2549 – แม่ทัพภาคที่ 1 (มทภ. 1 )
  • พ.ศ. 2551 – เสนาธิการทหารบก (เสธ.ทบ.)
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[17]
  • พ.ศ. 2552 – รองผู้บัญชาการทหารบก (รอง ผบ.ทบ.)
  • พ.ศ. 2553 – ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)[18]

บทบาททางการเมือง

วันที่ 19 กันยายน 2549 เมื่อเกิดรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) พลตรีประยุทธ์เป็นผู้รับคำสั่งตรงจากพลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 พลตรีประยุทธ์ได้เลื่อนชั้นยศเป็น "พลโท" และรับตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ระหว่างวันที่ 4 กันยายน 2551 ถึง 14 กันยายน 2551 พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินและรองผู้อำนวยการกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในเหตุการณ์ นปช. ปะทะกับกลุ่มพันธมิตรฯ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหารบก[19] และต่อมาเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2553, วันที่ 13 เมษายน 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติงานในกองอำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้นจนสิ้นสุดการประกาศสถานการณ์ในวันที่ 24 เมษายน 2552

ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2553 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบกต่อจาก พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม 2553[20] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะลงนามแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 22 ธันวาคม 2553 ทำหน้าที่เป็นหนึ่งในนายทหารที่ควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553[21]ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พลเอกประยุทธ์ ได้ออกคำสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ 141/2553 เรื่อง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ ออกคำสั่งยึด หรือ อายัด สินค้าหรือวัตถุอื่นใดที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[22]คำสั่งดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจนต้องยกเลิกในที่สุด

เขายังเป็นหนึ่งในคณะดำเนินคดีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2554[23]และในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด[24]

ภายหลัง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นบุคคลที่หลายฝ่ายคาดว่าจะพ้นจากตำแหน่ง[25]ผู้บัญชาการทหารบกโดยอาจเปลี่ยนโยกย้าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแทนเนื่องจากเป็นผู้อยู่ตรงข้ามฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลในขณะนั้น[26]แต่ก็ไม่ได้มีการปรับย้ายตามที่ถูกคาดการณ์ นับได้ว่าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นผู้บัญชาการทหารบกภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรีถึง 3 ราย ได้แก่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และตัวพลเอก ประยุทธ์เองตามลำดับ

รัฐประหาร พ.ศ. 2557 และนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 พลเอก ประยุทธ์ ได้ประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรและจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อดูแลสถานการณ์ทางการเมืองขึ้นแทนศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ตั้งขึ้น โดยแต่งตั้งตัวเองเป็น ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย อีก 2 วันต่อมาเขาได้ทำการ รัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังการหารือกับตัวแทน 7 ฝ่ายไม่เป็นผล ด้วยประโยคที่ว่า"หากเป็นแบบนี้ ผมขอโทษด้วยนะที่ต้องยึดอำนาจ"[27]

ต่อมาในประกาศฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[28]

หลังรัฐประหาร เขาแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ และเป็นกรรมการโดยตำแหน่งในฐานะนายกรัฐมนตรี[c]

ไฟล์:Prayuth Chan-ocha250814.jpg
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในคราวประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ 191 เสียงจากสมาชิกในที่ประชุม 194 คน ลงมติให้พลเอก ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี[69] ในการลงมติดังกล่าว ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อไม่ต้องอยู่ในห้องประชุมและไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์[70] ต่อมามีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 25 สิงหาคม 2557[71][72] พลเอก ประยุทธ์เป็นนายทหารอาชีพคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีนับแต่พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549[73] เขายังเป็นผู้นำรัฐประหารคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514[74]

ในวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีเป็นวันที่สาม คสช. อนุมัติโครงการและงบประมาณรวมกว่า 1 แสนล้านบาท เป็นงบวงเงินสินเชื่อแนวทางพัฒนายางพารา 50,000 ล้านบาท สร้างบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยประมาณ 34,200 ล้านบาทและอื่น ๆ[75] วันที่ 26 กันยายน 2557 พลเอก ประยุทธ์ลงนามแก้ไขข้อกำหนดคุมวินัยผู้ช่วยรัฐมนตรีในข้อ 11 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พ.ศ. 2546 โดยเปิดช่องให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งกรรมการ-ที่ปรึกษา รวมถึงเป็นคู่สัญญาหรือมีผลประโยชน์ใด ๆ ขัดหรือแย้งกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรอื่นของรัฐที่อยู่ในสังกัดหรือในการกำกับดูแลของรัฐมนตรี หรือกระทรวงได้[76]

วันที่ 15 ตุลาคม 2557 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า การเลือกตั้งซึ่งมีแผนจัดในปี 2558 จะขึ้นอยู่กับว่าการปฏิรูปทั่วประเทศสำเร็จภายในหนึ่งปีหรือไม่ ซึ่งการปฏิรูปนั้นมีเป้าหมายบางส่วนเพื่อยุติอิทธิพลทางการเมืองของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[77] วันที่ 25 ตุลาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่มีพลเอกประยุทธ์เป็นประธาน เห็นชอบโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557/2558 จากเดิมธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะจ่ายเป็น 80% ของราคาตลาด เพิ่มเป็น 90% ของราคาตลาด นโยบายดังกล่าวถูกเรียกว่า "จำนำยุ้งฉาง" และไทยรัฐ ยังว่าเป็น "ประยุทธ์นิยม"[78]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เขาประกาศว่าเขามีอำนาจปิดสื่อ[79] ในเดือนมีนาคม เขาขู่ประหารชีวิตนักหนังสือพิมพ์ที่ "ไม่รายงานความจริง"[80] ความเห็นของเขาพลันถูกสหพันธ์นักหนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศประณาม[81] เขาอธิบายว่า หากต้องการทำสำรวจความคิดเห็นก็ทำได้ แต่ถ้าการสำรวจนั้นค้าน คสช. จะห้าม[82]

วันที่ 1 เมษายน 2558 เขาทูลเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึก[83] หลังประกาศใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการให้ยกเลิกในวันนั้น[84] จากนั้นเขาใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ในการดูแลความสงบเรียบร้อยแทน[85] วันที่ 5 กันยายน 2558 เขาใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ในการแต่งตั้ง เลื่อน ย้าย พักงาน และไล่ออกหรือถอดถอนตำแหน่งข้าราชการ โดยถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[86] วันที่ 31 ตุลาคม 2558 มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของพลเอก ประยุทธ์ พบว่า เขามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 128 ล้านบาท มีนาฬิกา 12 เรือน บางเรือนราคา 900,000 บาท ปืน 9 กระบอก นอกจากนี้ยังแจ้งรายจ่าย คืนเงินกองกลางให้พ่อและน้อง 268 ล้านบาท และมอบให้ลูก 198 ล้านบาท รวม 466 ล้านบาท[87]

วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เขากล่าวว่า หากบ้านเมืองไม่สงบ อาจต้องปิดประเทศ[88] วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เขาออกคำสั่งคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่บริหารจัดการข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ไม่ต้องรับผิด ซึ่งรวมถึงดำเนินการเพื่อให้ทราบผู้รับผิดและให้ผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหาย[89]

นายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 [90]มีพิธีรับสนองพระบรมราชโองการวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ข้อวิจารณ์

ข้อสังเกตระหว่างวิกฤตการณ์การเมือง

สำนักข่าวบีบีซีอ้างอิงกลุ่มผลประโยชน์ฮิวแมนไรทส์วอตช์กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ขัดขวางการสืบสวนวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งมีผู้เสียชีวิตในปี 2553[91]และต่อมาเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 เขาขอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงให้ "คนดี" ในการเลือกตั้งปีนั้น[92][93][94] ซึ่งถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โจมตียิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยโดยตรง[91]และในระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาก็ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง[91]

คำพูดต่อสาธารณะ

รองศาสตราจารย์ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ กล่าวถึงพลเอกประยุทธ์ว่า เขามักปรากฏทางโทรทัศน์แห่งชาติและแลกเปลี่ยนปัญหาและวิธีแก้ไข เขาต้องการพิสูจน์กับประชาชนว่าเขาเป็น "นายรู้ไปหมด" ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเพราะเขาต้องการส่งสารว่าเขาฉลาดกว่ายิ่งลักษณ์ ปวินยกตัวอย่างภูมิปัญญาของพลเอกประยุทธ์ดังนี้ เขาว่าชาวใต้ควรลดการปลูกยางเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ, เขาว่าถ้าคนไทยทุกคนช่วยกันเก็บผักตบชวาจากแม่น้ำแล้วมันจะสูญพันธุ์, เขาว่าอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติ และว่าคนไทยสมัยก่อนปลูกบ้านบนที่สูง บ้างยกพื้นสูง บ้างอาจซื้อเรือ, เขาว่าการบ้านยากเกินไปสำหรับนักเรียน และว่าตนยังทำการบ้านนักเรียน ป. 1 ไม่ได้, เขาให้ชาวนาลดการปลูกข้าวหรือปลูกพืชชนิดอื่นหรือเปลี่ยนงานเกษตรเพื่อแก้ปัญหาราคาข้าว, เขากล่าวถึงปัญหาความยากจนโดยว่า โทษตัวเอง ขยันแล้วหรือยัง, เขาแนะนำคนไทยไม่ให้ช็อปปิงเพราะคนไทยเป็นหนี้จากสถาบันการเงิน เป็นต้น[95]

วันที่ 16 กันยายน 2557 พลเอกประยุทธ์แถลงเรื่องนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ 2 คนซึ่งถูกฆ่าที่เกาะเต่าเมื่อวันที่ 15 กันยายน ว่า "ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวมีอยู่เสมอ พวกเขาคิดว่าประเทศของเราสวยงามและปลอดภัย ก็เลยทำอะไรที่อยากทำ พวกเขาใส่บิกินี่และเดินไปไหนก็ได้ พวกเขาคิดว่าใส่บิกินี่แล้วปลอดภัยเหรอ...เว้นแต่ว่าไม่สวย" ฝ่ายแอนดรูว์ โรซินเดล (Andrew Rosindell) คณะกรรมาธิการวิสามัญการต่างประเทศของสภาสามัญชน กล่าวว่า "เมื่อผู้ที่รักของผู้เสียหายกำลังอาลัยอาวรณ์ความสูญเสีย เป็นสิ่งไม่เหมาะสมและไม่ละเอียดอ่อนที่มีผู้กล่าวหาผู้ที่ถูกพรากชีวิตไป ยิ่งไม่ต้องเอ่ยถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศซึ่งเกิดการฆ่านั้น"[96] อีกสองวันถัดมาพลเอกประยุทธ์ได้กล่าวขอโทษต่อกรณีนี้[97]

วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เว็บไซต์ประชาไทรายงานว่า พลเอกประยุทธ์กล่าวตอนหนึ่งว่า จะส่งเสริมให้คนทั้งโลกกินข้าว ขนมจีน กินขนมปังแล้วจะอ้วน[98] วันเดียวกัน เว็บไซต์รัฐบาลไทยรายงานว่า พลเอกประยุทธ์ว่า อุทกภัยในภาคใต้เป็นเรื่องปกติ ปีหนึ่งเกิดสี่ครั้ง เกิดจากน้ำเหนือไหลผ่านภาคกลางลงสู่ภาคใต้[99] ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ วันที่ 10 ตุลาคม 2557 เขากล่าวตอนหนึ่งว่า ถ้าอยากมีรถไฟทางคู่ มีรถใหม่ มีรถความเร็วสูงเหมือนต่างประเทศ ให้หาเงินมา[100]

วันที่ 16 ธันวาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "ผมทำมากกว่าไอ้รัฐบาลบ้านั่น [รัฐบาลยิ่งลักษณ์] อีก จะบอกให้ และรู้มากกว่าที่เขารู้อีก ผมไม่โง่ขนาดนั้นหรอก"[101]

วันที่ 9 กรกฎาคม 2558 พลเอกประยุทธ์ใช้คำว่า "ครอก" กับชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับประเทศจีน[102]

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เมื่อถูกถามว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไรต่อกรณีอุทยานราชภักดิ์ เขาตอบว่า ทำไมต้องรับผิดชอบ รัฐบาลขณะนั้น (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) ทำไมไม่รับผิดชอบสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศชาติ[103] วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 ประยุทธ์กล่าวถึงกรณีนักวิชาการยื่นหนังสือขอให้หยุดริดรอนเสรีภาพทางวิชาการและห้ามนักศึกษาทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยว่า ตอนรัฐบาลที่แล้วไปอยู่ไหนกัน และ "เดี๋ยวถ้าใครหาปืนมายิง โยนระเบิดใส่ก็ตายไปแล้วกัน"[104]

วันที่ 29 มีนาคม 2559 พลเอกประยุทธ์กล่าวว่า "จะมาบอกว่าเป็นนายกฯแล้วต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าพวกคุณเลือกผมมา คุณจะสั่งผมอย่างไรผมจะทำให้ แต่นี่ไม่ได้เลือกผมสักคน"[105]

วันที่ 12 เมษายน 2559 เขากล่าวเรื่องการแต่งกายของหญิง โดยเปรียบว่าหญิงเหมือนขนมหวานที่ต้องอยู่ในห่อจึงน่าสนใจ พอน่ากินแล้วค่อยเปิดดู ถ้าเปิดหมดแล้วจะไม่น่ากิน[106]

วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เขากล่าวถึงไฟป่าที่ดอยสุเทพและป่าพรุโต๊ะแดง โดยว่าเกิดจากประชาชนที่มีรายได้น้อยเข้าไปในป่าและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใช้ความคิดแบบโบราณ[107]

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เขากล่าวถึงปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนตอนหนึ่งว่า แล้วออกกันหมดหรือยัง [คนที่ทำผิดตามประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ] มีกักอยู่หรือเปล่า ก็ไม่มี แล้วอยู่ไหน ที่เหลือมีความผิด ก็เข้าศาลกระบวนการยุติธรรม แล้วก็ประกันออกมา มีที่ไหนเหลืออยู่ ถามสิ แล้วตอนไปก็ออกมาไม่ได้ซ้อมไม่ได้อะไร ก็ถ่ายรูปไว้หมด เข้าไปก็มีหมอมาตรวจร่างกายออกมาก็มีหมอมาตรวจอีก ผมทำขนาดนี้แล้วท่านยังมาหาว่าผมทำนี่ทำโน้นได้อย่างไร ไปเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนชอบทำความผิดได้อย่างไร[108]

การขายที่ดิน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2556 พลเอก ประยุทธ์ขายที่ดิน 9 แปลงให้บริษัท 69 พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นเงิน 600 ล้านบาท ซึ่งสำนักข่าวอิศรารายงานว่า บริษัทดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 หนึ่งสัปดาห์ก่อนการขาย มีบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม วินเทค โปรฟิท คอมปะนี ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ ทรัส ลิมิเต็ด ไทรเด้นท์ แซมเบอร์ได้รับโอนหุ้นจากบริษัท ทรงวุฒิ บิสซิเนส จำกัด ซึ่งที่ตั้งของบริษัทนั้นเป็นตู้ไปรษณีย์แห่งหนึ่งในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ต่อมามีการเพิ่มทุนและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง มีกรรมการเป็นกรรมการบริษัทในเครือทีซีซีแลนด์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี[109]

ผลงานเพลง

  • พ.ศ. 2557 ได้แต่งเพลง คืนความสุขให้ประเทศไทย เพื่อสื่อความหมายจากใจที่ต้องการคืนความสุขให้ประชาชน โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้องประกอบทำนอง และขับร้องโดยกองดุริยางค์ทหารบก ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกในรายการใต้ร่มธงไทย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก เมื่อ 6 มิถุนายน 2557 ความยาว 4 นาที[110]
  • พ.ศ. 2558 ได้แต่งเพลง เพราะเธอคือ...ประเทศไทย เป็นของขวัญในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2559[111]โดยมอบให้วิเชียร ตันติพิมลพันธุ์ นักแต่งเพลงประกอบละครชื่อดัง เป็นผู้เรียบเรียงเนื้อร้อง ทำนองและเรียบเรียงมี พันตรี สุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต ซึ่งเป็นผู้ขับร้องเพลงคืนความสุขให้ประเทศไทย มาขับร้องเพลงนี้ ได้เผยแพร่เป็นครั้งแรกให้สื่อมวลชนฟังระหว่างรอการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ความยาว 4 นาที[112][113]
  • พ.ศ. 2559 ได้แต่งเพลง ความหวังความศรัทธา โดยมีจุดมุ่งหมายถึง ความหวังความศรัทธาที่จะสามารถสร้างพลังยิ่งใหญ่ได้ แต่คนไทยทั้งชาติจะต้องร่วมมือร่วมใจ และรวมพลังของความเป็นไทยอย่างไม่ท้อแท้เพื่อไปสู่เป้าหมาย โดยมอบให้พันตรี สุระชัย ถวิลไพร เป็นผู้เรียบเรียงและทำนอง และมี จ่าสิบเอก พงศธร พอจิต เป็นผู้ขับร้อง[114][115]
  • พ.ศ. 2560 ได้แต่งเพลง สะพาน โดยมีจุดมุ่งหมายถึง คณะรัฐมนตรี ข้าราชการทหาร ตำรวจและประชาชนที่จะต้องเป็นสะพานก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวข้ามสิ่งเก่า ๆ ที่ไม่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่พัฒนาเพื่อปฏิรูปประเทศ ฉะนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมกัน สะพานจะไม่สามารถก้าวข้ามผ่านไปได้ ถ้าทุกคนยังวนเวียนอยู่กับเรื่องความขัดแย้งเดิม และความคิดเดิม[116][117]
  • พ.ศ. 2561
  1. ได้แต่งเพลง ใจเพชร โดยมีจุดมุ่งหมายถึง เป็นการบ่งบอกถึงความพยายามในการแก้ปัญหาโดยไม่หวาดหวั่นอุปสรรคข้างหน้า พร้อมจะสู้ไปด้วยกันอย่างไม่ท้อถอย เมื่อมีศรัทธา และจับมือเดินหน้าไปด้วยกัน ก็ไม่ต้องกลัวปัญหาที่รออยู่ข้างหน้า[118]
  2. ได้แต่งเพลง สู้เพื่อแผ่นดิน โดยมีจุดมุ่งหมายถึง เป็นเพลงช้า เนื้อหาบ่งบอกถึงความพยายามทำเพื่อประเทศชาติ แม้จะมีคำติฉินนินทาหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ไม่เป็นอุปสรรค เพราะทำทุกอย่างด้วยหัวใจซื่อตรง เพื่อให้พรุ่งนี้ดีกว่าเดิม[119]
  • พ.ศ. 2562
  1. ได้แต่งเพลง ในความทรงจำ โดยมีเนื้อหาในทำนองว่า ที่ผ่านมาเราเคยเดินผ่านเรื่องที่ปวดร้าว การทำลาย และวันนี้เดินมาจนจะหลุดพ้นและเริ่มสร้างความมั่นคง ดังนั้นขอให้ไม่ลืมง่ายๆอย่าให้ใครมาทำลายอย่างที่เคยมา จะต้องทำอย่างไรไม่ให้ซ้ำเดิม ขอให้คิดให้ดี และขอให้คิดใหม่[120]
  2. ได้แต่งเพลง วันใหม่[121]
  3. ได้แต่งเพลง มิตรภาพ ในโอกาสฉลองความสำเร็จการก่อสร้างและเปิดสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชาที่บ้านหนองเอี่ยน-สตึงบท อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว[122][123]
  4. ได้แต่งเพลง มาร์ชไทยคือไทย แต่งขึ้นในช่วงหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ได้เห็นถึงความสามัคคีและความจงรักภักดีของชาวไทยที่ร่วมใจถวายต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนระลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่ทำให้ประเทศไทยสามารถสืบสาน ดำรงความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่มาถึงทุกวันนี้ [124]

รางวัล

  • พ.ศ. 2548 – ได้รับรางวัลคนดีสังคมไทย สาขาส่งเสริมและพัฒนาความมั่นคงของชาติ
  • พ.ศ. 2549 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาการทหาร
  • พ.ศ. 2553 – รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2554 – ได้รับการลงคะแนนให้เป็นอันดับ 1 สุดยอดซีอีโอของภาคราชการและเจ้าหน้าที่รัฐแห่งปี 2554 จากผลการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์[125]

ครอบครัว

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาสมรสกับรองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา รองประธานมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มีบุตรฝาแฝด 2 คน คือ ธัญญา และ นิฏฐา จันทร์โอชา ซึ่งทั้งสองสำเร็จการศึกษาจาก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โดยใช้เวลาเรียน 3 ปีครึ่ง) และทั้งคู่เคยออกอัลบั้มเพลงร่วมกับ นิค นิติญา อ่ำสกุล เป็นวงดนตรีทริโอหญิงในนามวง BADZ วงดนตรีแนวพังก์ในสังกัดย่อย จีโนม เรคคอร์ด สังกัดอาร์เอส[126][127]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

เชิงอรรถ

  1. รักษาการนายกรัฐมนตรี 22 พฤษภาคม–24 สิงหาคม 2557 ต่อจากนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
  2. พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เขาไม่ได้มีชื่อเป็นสมาชิกพรรค
    1. ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
    2. ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
    3. ประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
    4. ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557
    5. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2557
    6. ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2557
    7. ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2557
    8. ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2557
    9. ประธานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2557
    10. ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2557 ถึง 3 ตุลาคม 2557
    11. ประธานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2557[29]ถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
    12. ประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2557
    13. ประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และ ประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2557
    14. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม ตั้งแต่ 30 กรกฎาคม 2557
    15. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2557[30]
    16. ประธานคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ตั้งแต่ 25 กันยายน 2557[31]
    17. ประธานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2557[32]ถึงปัจจุบัน เนื่องจาก (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
    18. ประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทำประมงผิดกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558[33]
    19. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน[34]ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558
    20. ประธานกรรมการ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558[35]
    21. ประธานกรรมการ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[36]ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน โดย (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
    22. ประธานกรรมการ คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (พกค.) ตั้งแต่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558[37]
    23. ประธานกรรมการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ตั้งแต่ 30 ธันวาคม 2558[38]
    24. ประธานกรรมการ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่ วันที่ 7 มีนาคม 2558 [39] [40]
    25. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559[41]
    26. ประธานคณะกรรมการโครงการสานพลังประชารัฐ ตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน 2559
    27. ประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ตั้งแต่ 22 เมษายน 2559[42]
    28. ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย thailand 4.0 ตั้งแต่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560[43]
    29. ประธานคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 27 มิถุนายน 2559[44]
    30. ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
    31. ประธานคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
    32. ประธานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ปัจจุบัน (ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการตามพระราชบัญญัติ)
    33. ประธานคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560[45]
    34. ประธานคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ตั้งแต่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[46]
    35. ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ตั้งแต่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561[47]
    36. ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนในช่วงที่ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนใน ปี 2562 ตั้งแต่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561[48]
    37. ประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561[49]
    38. ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งแต่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562[50]
    39. ประธานสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ วันที่ 6 ตุลาคม 2559[51]สิ้นสุด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการเปลี่ยนชื่อสภา
    40. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการ คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ตั้งแต่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558[52]
    41. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[53]ตั้งแต่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558
    42. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ตั้งแต่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558[54]
    43. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตั้งแต่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558[55]
    44. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการกำลังพลสำรอง ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558[56]
    45. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น[57]ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
    46. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560[58]
    47. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[59]
    48. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560[60]
    49. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ตั้งแต่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561[61]
    50. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตั้งแต่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561[62]
    51. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[63]
    52. ประธานคณะกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน[64]ตั้งแต่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562
    53. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[65]
    54. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ตั้งแต่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[66]
    55. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
    56. ประธานสภานโยบายการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[67]
    57. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ตั้งแต่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562[68]
    58. ประธานกรรมการ ใน คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อ้างอิง

  1. "Q+A: Are Thailand's "red shirts" regrouping?". Reuters. November 19, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2014. สืบค้นเมื่อ May 2, 2014. {{cite news}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. "Gen Prayuth takes command". Bangkok post. October 1, 2010. สืบค้นเมื่อ May 2, 2014.
  3. "No coup, Prayuth tells Yingluck". Bangkok Post. May 27, 2013.
  4. "Prayuth says army neutral". Bangkok Post. November 30, 2013.
  5. "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ'" (ภาษาThai). Komchadluek. May 22, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 22, 2014. สืบค้นเมื่อ May 22, 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |trans_title= ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-title=) (help)CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Suthep
  7. "Military dominates new Thailand legislature". BBC. 2014-08-01. สืบค้นเมื่อ 2014-08-03.
  8. "Thailand's Junta Chief Chosen as Prime Minister". Thailand News.Net. 21 August 2014. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  9. "นายกฯ"ยัน"ห้ามพูดเรื่องปชต [PM: discussion prohibited]. Post Today (ภาษาThai). 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/087/19.PDF
  11. "ประวัติการเรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 29". เอ็มไทย. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ปรัชญา นงนุช (10 ธันวาคม 2560). "ใครเริ่มเรียก 'ลุงตู่' คนแรก ? ดังข้ามปี ชื่อนี้ที่มา ไม่ธรรมดา !!". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. มนตรี (2512). "เรียนดี". ชัยพฤกษ์, หน้า 37[ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
  14. "ชื่นมื่น! "บิ๊กตู่" ร่วมงานแต่งน้องชายแห่งครอบครัว "จันทร์โอชา"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "นายกฯบิ๊กตู่ ร่วมงานแต่งน้องชายคนเล็ก ต้อนรับสะใภ้เชียงราย". สนุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. (ลำดับที่ 57 พันตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) เป็นราชองครักษ์เวร ตั้งแต่ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 เป็นต้นไป)
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์ [จำนวน ๒๑๗ ราย (ลำดับที่ 28 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป)]
  18. เกี่ยวกับรัฐบาล, นายกรัฐมนตรี http://www.thaigov.go.th/aboutus/current
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องให้นายทหารรับราชการ
  20. โปรดเกล้าฯ พล.อ. ประยุทธ์ เป็น ผบ.ทบ.
  21. ป๊อกแป๊กเปรยคนสนิทไม่เต็มใจคุม ศอฉ. จำใจเรียก ผบ.หน่วย ถกเครียด
  22. ศอฉ.เฮี๊ยบ!ห้ามม็อบขายของยั่วยุ
  23. ไทยเตรียมทีม15คนสู้ศาลโลก : ข่าวสดออนไลน์ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01EVXdNVEV6TURVMU5BPT0=
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/041/8.PDF
  25. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/150/15.PDF
  26. ถอดรหัสย้าย"ประยุทธ์"เกมเขย่า"รัฐบาล" http://www.thairath.co.th/content/344543
  27. 10ข่าวเด่น'บิ๊กตู่'ทุบโต๊ะรัฐประหาร
  28. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  29. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/197/1.PDF
  30. "'บิ๊กตู่ Big Ass' สำรวจเก้าอี้ที่ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งอยู่". Prachatai. 2014-08-23. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
  31. ประธานกรรมการ
  32. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/206/2.PDF
  33. http://ilab.dopa.go.th/sid/downloaddetail.html?t=2&id=541
  34. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/131/1.PDF
  35. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/128/1.PDF
  36. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 185/2558
  37. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/221/1.PDF
  38. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/347/1.PDF
  39. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/053/1.PDF
  40. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/043/1.PDF
  41. [1][ลิงก์เสีย]
  42. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/092/1.PDF
  43. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 194/2560
  44. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/145/1.PDF
  45. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ พ.ศ. 2560
  46. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/281/4.PDF
  47. คณะกรรมการโครงการไทยนิยม
  48. นายกประธานกรรมการ
  49. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/197/T26.PDF
  50. http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/documents.pdf
  51. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/225/8.PDF
  52. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/018/17.PDF
  53. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/021/30.PDF
  54. http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law34-280458-1.pdf
  55. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/034/27.PDF
  56. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/127/5.PDF
  57. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/030/1.PDF
  58. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/010/1.PDF
  59. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/019/1.PDF
  60. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/079/1.PDF
  61. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/027/1.PDF
  62. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/027/24.PDF
  63. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/097/T_0050.PDF
  64. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/029/T_0001.PDF
  65. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0057.PDF
  66. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0160.PDF
  67. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/057/T_0008.PDF
  68. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0017.PDF
  69. ตามคาดสนช.โหวต 'ประยุทธ์' นั่งนายกฯ คนที่ 29จาก ไทยรัฐ สืบค้นวันที่ 21 สิงหาคม 2557
  70. วิปสนช.แจงเกณฑ์เลือกนายกฯ ต้องได้เสียงโหวต 99 คะแนน ขึ้นไป
  71. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว
  72. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ใน ราชกิจจานุเบกษา
  73. Prayuth receives royal command at army HQ
  74. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/A/124/3.PDF
  75. “ประยุทธ์” ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี วันแรก อนุมัติงบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาท แก้ปัญหายางพารา สร้างบ้านคนจน จ่ายเงินอุดหนุนท้องถิ่น ฟื้นฟูมาบตาพุด แก้ปัญหาขยะ ปลดหนี้นอกระบบ
  76. ""นายกฯประยุทธ์"ไฟเขียวตัดทิ้งกฎเหล็กคุมผลประโยชน์ทับซ้อน"ผู้ช่วยรมต."". สำนักข่าวอิศรา. 2014-09-26. สืบค้นเมื่อ 2014-09-27. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |trans_title= (help)
  77. "Leader of Thai junta hints at delay in return to elections". Reuters. 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  78. "เคาะราคาจำนำยุ้งฉาง 90%". ไทยรัฐ. 2014-10-25. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  79. "In latest outburst, Thailand's Prayuth reminds reporters of his powers". The Straits Times. 2015-02-19. สืบค้นเมื่อ 25 Mar 2015.
  80. "Thai PM Prayuth warns media, says has power to execute reporters". Reuters. 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 25 Mar 2015.
  81. "Thai military leader threatens to execute journalists". International Federation of Journalists (IFJ). 2015-03-26. สืบค้นเมื่อ 29 Mar 2015.
  82. Haworth, Abigail (2015-03-22). "Bangkok's Big Brother is watching you". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 Mar 2015.
  83. เลิกกฎอัยการศึก ทูลแล้ว เดินหน้ามาตรา44 เผยอียูเป็นห่วง บิ๊กตู่สปีกอิงลิช ชี้แจงสื่อออสซี่, ข่าวสด, 1 เมษายน 2558, สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2558
  84. ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 1 เมษายน 2558, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2558
  85. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2558, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2558
  86. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/207/1.PDF
  87. "เปิดทรัพย์สิน'ประยุทธ์'มี128ล้าน". กรุงเทพธุรกิจ. 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 2014-11-01.
  88. "'บิ๊กตู่' ลั่นกลางเวทีแม่น้ำ5สาย ถ้าบ้านเมืองไม่สงบก็ต้องปิดประเทศ". ไทยรัฐ. 28 ต.ค. 2558. สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  89. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓๙/๒๕๕๘ เรื่อง การคุ้มครองการบริหารจัดการข้าวคงเหลือในการดูแลรักษาของรัฐและการดำเนินการต่อผู้ต้องรับผิด
  90. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี(พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) สมัยที่ 2
  91. 91.0 91.1 91.2 Profile: Thai General Prayuth Chan-ocha
  92. ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ ททบ.5 วันที่ 14 มิถุนายน 2554
  93. ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ ททบ.5 วันที่ 11 มิถุนายน 2554 (1)
  94. ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ ททบ.5 วันที่ 11 มิถุนายน 2554 (2)
  95. Pavin Chachavalpongpun (2014-09-08). "Wisdom of General Prayuth". New Mandala. สืบค้นเมื่อ 2014-09-10.
  96. DNA samples taken from murdered Britons on Thai beach 'don't match ANY of the arrested suspects, including British brothers who had been questioned', claims local media
  97. “พล.อ.ประยุทธ์” ขอโทษพูดแรงฝรั่งใส่บิกินี่, mthai news, 18 กันยายน 2557
  98. พล.อ.ประยุทธ์ อยากให้คนทั้งโลกกินข้าว-เพื่อให้ชาวนาขายข้าวได้
  99. นรม. เตรียมลงพื้นที่พบปะประชาชนในเร็ว ๆ นี้
  100. เตรียมจัดตั้งค่ายเยาวชน 354 อำเภอ ผลักดัน 12 ค่านิยม-ปฏิรูปประเทศ
  101. นายกฯปัดข่าวยกเลิกพันธบัตรรัฐบาล
  102. จะเลี้ยงให้มีลูก3ครอกหรือไง! "บิ๊กตู่"ชี้"อุยกูร์"ไม่เกี่ยวไทย ถ้าแรงขึ้นอาจปิดสถานทูต
  103. ""บิ๊กตู่"กร้าว ทำไมรบ.นี้ต้องรับผิดชอบปม"อุทยานราชภักดิ์" รบ.ก่อนไม่เห็นรับปัญหาปท". มติชน. 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2015-11-18.
  104. ""บิ๊กตู่" ยัวะ 323 นักวิชาการ หลุด ระวังคนมายิง โยนระเบิดใส่ตาย". มติชน. 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24.
  105. "'บิ๊กตู่'พอใจร่างรธน.บางส่วน ยันให้เกียรติกรธ". เดลินิวส์. 2016-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-03-30.
  106. "'บิ๊กตู่' แนะผู้หญิงแต่งตัวเหมือนทอฟฟี่ เปิดห่อจะไม่น่ากิน ต้องอยู่ในห่อมิดชิด". มติชน. 2016-04-12. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  107. ""บิ๊กตู่" ชี้ไฟป่าต้องแก้ต้นเหตุคนจนหยุดเผาป่า "กอบกาญจน์" ยันไม่กระทบท่องเที่ยว". ผู้จัดการ. 2016-05-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-09.
  108. http://www.prachatai.com/journal/2016/05/65818
  109. "บริษัทรับซื้อที่ดินพ่อ"ประยุทธ์"600 ล."หุ้นใหญ่"ตั้งบนเกาะบริติชเวอร์จิน". สำนักข่าวอิศรา. 2014-11-02. สืบค้นเมื่อ 2014-11-07.
  110. 'ประยุทธ์'ใช้เวลา 1 ชม.แต่งเพลง'คืนความสุข'สื่อให้คนรักกัน : ไทยรัฐออนไลน์ เมื่อ 7 มิ.ย.57 สืบค้นเมื่อ 26 เม.ย.62
  111. บิ๊กตู่ ตวัดปากกา แต่งเพลง 'เพราะเธอคือประเทศไทย' เป็นของขวัญปีใหม่ : ไทยรัฐออนไลน์
  112. ‘บิ๊กตู่’ปล่อยเพลง‘เพราะเธอคือประเทศไทย’ : คมชัดลึก
  113. MV เพราะเธอคือประเทศไทย | คำร้อง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ยูทูบ
  114. “ความหวังความศรัทธา”เพลงล่าสุดที่”บิ๊กตู่”แต่งให้คนไทยทุกคน : ข่าวสดออนไลน์
  115. เพลงความหวังความศรัทธา : ยูทูบ
  116. “ประยุทธ์” แจงเพลง “สะพาน” หมายถึงทุกคนต้องก้าวข้ามความขัดแย้งเพื่อปฏิรูปประเทศ : เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์
  117. MV เพลงสะพาน โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ยูทูบ
  118. ‘ทำใจให้เป็นเพชรแท้ ไม่แพ้อะไรสักอย่าง’ ‘บิ๊กตู่’ออกซิงเกิ้ลใหม่เพลง ‘ใจเพชร’ : มติชน
  119. ‘บิ๊กตู่ ปล่อยซิงเกิ้ลใหม่ ลำดับที่6 “สู้เพื่อแผ่นดิน” ปลุกใจสู้แม้ถูกติฉินนินทา’ ‘บิ๊กตู่’ออกซิงเกิ้ลใหม่เพลง ‘สู้เพื่อแผ่นดิน’ : มติชน
  120. “บิ๊กตู่” ปล่อยซิงเกิ้ลที่ 7 “ในความทรงจำ” ตอกย้ำอย่าลืมความเจ็บช้ำที่ผ่านมา : พีพีทีวี
  121. "วันใหม่" เพลงล่าสุดจาก "บิ๊กตู่" ประกาศสู่เส้นทางประชาธิปไตย
  122. เปิดเนื้อเพลง "มิตรภาพ" ที่ลุงตู่แต่งในโอกาสฉลองเปิดสะพานเชื่อมไทย-กัมพูชา
  123. แต่งเพลงใหม่ “มิตรภาพ” ฉลองความสำเร็จ สะพานฯ ไทย – กัมพูชา
  124. [2]
  125. เกี่ยวกับรัฐบาล, นายกรัฐมนตรี http://www.thaigov.go.th/aboutus/current
  126. ยลลีลานักดนตรีสาวพังก์สุดเท่ “พลอย-เพลิน” ลูกสาวแฝดของ “บิ๊กตู่” เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
  127. ฝีมือเยี่ยม-พลอย-เพลิน-ลูกสาวฝาแฝด-พล-อ-ประยุทธ์-เคยเป็น-นักดนตรี-วง-badz-ในเครือ-rs-เลยทีเดียว เว็บไซต์ ข่าวไทย อัปเดต[ลิงก์เสีย]
  128. ราชกิจจานุเบกษาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553
  129. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/B/017-1/1.PDF
  130. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2542 เล่ม 116 ตอนที่ 8 ข, 4 พฤษภาคม 2542, หน้า 3.
  131. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเล่ม ๑๐๗ ตอน ๕๕ ง ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ หน้า ๒๖๕๙
  132. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓, ตอน ๑๒๘, ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙, หน้า ๓
  133. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗, ตอน ๘๘, ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓, หน้า ๑๖
  134. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับมอบจากรัฐบาลสาธารณรัฐสิงคโปร์)
  135. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับมอบจากรัฐบาลสาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
  136. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๔ ข ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๖

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถัดไป
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 29
(คณะรัฐมนตรีคณะที่ 61
62)
(24 สิงหาคม 2557 – 9 มิถุนายน 2562
9 มิถุนายน 2562 – ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
รักษาการนายกรัฐมนตรี
(ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)

(22 พฤษภาคม 2557 – 24 สิงหาคม 2557)
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(นายกรัฐมนตรี)
ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.62)
(10 กรกฎาคม 2562 - ปัจจุบัน)
อยู่ในวาระ
สถาปนาตำแหน่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(22 พฤษภาคม 2557 – 16 กรกฎาคม 2562)
ยุบตำแหน่ง
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม 2553 – 30 กันยายน 2557)
พลเอก อุดมเดช สีตบุตร
พลโท อนุพงษ์ เผ่าจินดา
แม่ทัพภาคที่ 1
(1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2551)
พลโท คณิต สาพิทักษ์