ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คำนูณ สิทธิสมาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Teamkamnoon (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Catherine Laurence (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการสรุป}}
{{ต้องการสรุป}}
[[ไฟล์:คำนุณ สิทธิสมาน.jpg|link=link=Special:FilePath/Kamnoon_Sidhisamarn.Senator.62.jpg|alt=|thumb|คำนูณ สิทธิสมาน]]
[[ไฟล์:คำนูณ สิทธิสมาน.jpg|link=link=Special:FilePath/Kamnoon_Sidhisamarn.Senator.62.jpg|alt=|thumb|คำนูณ สิทธิสมาน]]
'''คำนูณ สิทธิสมาน''' (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2498<ref>[http://politicalbase.in.th/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%93_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99 คำนูณ สิทธิสมาน ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย]</ref>) สมาชิก[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12]] อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ปริญญาตรีจาก[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] โดยในระหว่างที่เรียนมีบทบาทเป็นเลขาธิการ[[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]] (ศนท.) ในปี พ.ศ. 2518
'''คำนูณ สิทธิสมาน''' (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2498<ref>[http://politicalbase.in.th/index.php/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%93_%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99 คำนูณ สิทธิสมาน ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย]</ref>) สมาชิก[[วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12]] อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ปริญญาตรีจาก[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] โดยในระหว่างที่เรียนมีบทบาทเป็นเลขาธิการ[[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]] (ศนท.) ในปี พ.ศ. 2518



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:22, 30 กันยายน 2562

คำนูณ สิทธิสมาน

คำนูณ สิทธิสมาน (เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2498[1]) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยในระหว่างที่เรียนมีบทบาทเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในปี พ.ศ. 2518

คำนูณมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลา และเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้ทำงานหนังสือพิมพ์แนวการเมืองหลายฉบับในช่วงเวลานี้ เช่น สู่อนาคต, ไทยนิกร, จัตุรัส เป็นต้น เป็นผู้สัมภาษณ์พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติวุฑโฒ ภิกขุ) ในหนังสือพิมพ์จัตุรัส "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" ก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ไม่นาน[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ในปี พ.ศ. 2533 เข้าทำงานในเครือผู้จัดการมาจนปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นบรรณาธิการอาวุโสของเครือผู้จัดการ มีผลงานประจำทั้งคอลัมนิสต์ จัดรายการวิทยุ และพิธีกรรายการโทรทัศน์ เช่น เมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นต้น

หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 คำนูณได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในสัดส่วนของสื่อมวลชน ในต้นปี พ.ศ. 2551 คำนูณได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสรรหา จากที่ประชุมของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งบทบาทของคำนูณถูกมองว่าอยู่ในกลุ่ม 40 ส.ว.

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 คำนูณได้รับเลือกให้กลับมาเป็นสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับกลุ่ม 40 ส.ว. ส่วนใหญ่[3]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[4] และกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย[5] ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[6]

ครอบครัว

คำนูณ สิทธิสมาน สมรสกับ ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน มีบุตรชาย 2 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. คำนูณ สิทธิสมาน ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย
  2. คุณคำนูณ - คุณแอ๊ด คาราบาว เคยเป็นส่วนหนึ่งของพคท.แน่หรือครับ
  3. เพื่อไทยจวกคัดเลือกส.ว.ได้ชุดทายาทอสูร จากกรุงเทพธุรกิจ
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เล่ม 132 ตอน 239 ง พิเศษ หน้า 3 5 ตุลาคม 2558
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2553