ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมโม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
}}
}}


'''โมโม''' ({{lang-en|Momo}}) เป็น[[นวนิยายแฟนตาซี]]และ[[วรรณกรรมเยาวชน]] [[ภาษาเยอรมัน]] ของ[[มิชาเอล เอ็นเด]] ตีพิมพ์เมื่อ [[ค.ศ. 1973]] เนื้อหาเป็นแนวคิดเกี่ยวกับ[[เวลา]] และการใช้เวลาของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ มีตัวละครเอกคือ "โมโม"
'''โมโม''' ({{lang-en|Momo}}) (โมรูโน่ โมบาน่า)เป็น[[นวนิยายแฟนตาซี]]และ[[วรรณกรรมเยาวชน]] [[ภาษาเยอรมัน]] ของ[[มิชาเอล เอ็นเด]] ตีพิมพ์เมื่อ [[ค.ศ. 1973]] เนื้อหาเป็นแนวคิดเกี่ยวกับ[[เวลา]] และการใช้เวลาของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ มีตัวละครเอกคือ "โมโม"


== เนื้อเรื่อง ==
== เนื้อเรื่อง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:11, 29 กันยายน 2562

โมโม  
ผู้ประพันธ์มิชาเอล เอนเด้
ชื่อเรื่องต้นฉบับMomo
ผู้แปลชินนรงค์ เนียวกุล
ประเทศเยอรมัน
ภาษาเยอรมัน
ประเภทนวนิยายแฟนตาซี
สำนักพิมพ์ Thienemann Verlag
วันที่พิมพ์ 1 มกราคม ค.ศ. 1973

โมโม (อังกฤษ: Momo) (โมรูโน่ โมบาน่า)เป็นนวนิยายแฟนตาซีและวรรณกรรมเยาวชน ภาษาเยอรมัน ของมิชาเอล เอ็นเด ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1973 เนื้อหาเป็นแนวคิดเกี่ยวกับเวลา และการใช้เวลาของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่ มีตัวละครเอกคือ "โมโม"

เนื้อเรื่อง

ในซากปรักหักพังของอัฒจันทร์นอกเมืองเป็นที่อาศัยของโมโม สาวน้อยที่มีความเป็นมาลึกลับ เธอเหมือนเด็กเร่ร่อนที่สวมเสื้อใหญ่กว่าตัว เธอไม่รู้หนังสือและไม่สามารถนับเลขได้ เธอไม่รู้วิธีการนับอายุของเธอว่านับอย่างไร อายุของเธอคือเท่าไร เมื่อถูกถาม เธอจะตอบว่า “ฉันจำได้ว่า ฉันอยู่ที่นั่นตลอด” เธอเป็นคนโดดเด่นในหมู่เพื่อนบ้านใกล้เคียง เพราะเธอมีความสามารถพิเศษที่จะรับฟัง – ฟังอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้เธอสามารถชี้แนะคำตอบสำหรับปัญหาของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง จึงได้มีการแนะนำหรือบอกต่อว่า “ไปหาโมโมสิ” ซึ่งกลายเป็นวลีที่ใช้ในครัวเรือน ทำให้โมโมได้รับคำชื่นชมจากเพื่อนๆที่มารับคำปรึกษาอยู่เสมอ

แต่บรรยากาศอันน่ารื่นรมย์นี้ได้ถูกทำลายโดยการมาถึงของชายชุดเทา ผู้ชอบเกาะกินผู้คนเหมือนปรสิตและมีชีวิตอยู่เหนือกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของธนาคารประหยัดเวลา ซึ่งส่งเสริมแนวคิดของ การประหยัดเวลา โดยมองว่าเวลาเป็นเงินเป็นทอง ใครปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์นั้นจะหาความสุขไม่ได้ เพราะฉะนั้นจงหาเงินให้มากขึ้นเพื่อหาซื้อความสุข หลังจากชายชุดเทาจากไปผู้คนต่างหลงลืมถึงตัวตนของพวกเขา แต่ยังคงยึดถือแนวคิดในการประหยัดเวลาของพวกเขา

แนวคิดนี้ค่อยๆแผ่ขยายอิทธิพลจนส่งผลกระทบต่อคนทั้งเมือง ผู้คนเริ่มแล้งน้ำใจเพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ กิจกรรมทางสังคม นันทนาการ การพักผ่อนหย่อนใจ และงานศิลปะได้ถูกยกเลิก อาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆถูกปรับให้เหมือนกันหมดเพื่อประหยัดเวลาในการผลิต แต่ยิ่งประหยัดเวลาไปเท่าไรพวกเขาจะยิ่งสูญเสียเวลาเหล่านั้นไป เวลาที่เราสูญเสียนั้นได้กลายมาเป็นซิการ์ ซึ่งหากปราศจากซิการ์เหล่าชายชุดเทาก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

แต่ด้วยบุคคลิกพิเศษของโมโมทำให้ชายชุดเทาเห็นถึงอันตรายจากการกระทำของเธอ จึงได้พยายามที่จะเปลี่ยนเธอเป็นพวกแต่พวกเขาก็ล้มเหลวทั้งหมด ถึงแม้ว่าเพื่อนสนิทของเธอจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของชายชุดเทา โมโมได้เข้าพบศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” (“Secundus Minutus Hora” หมายถึง ชั่วโมง, นาที, วินาที) ซึ่งเป็นตัวแทนของเวลา และได้รับรู้ถึงวิกฤตการที่โลกทั้งหมดจะหยุดนิ่งหากปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินอยู่ต่อไป ศาสตราจารย์ “เซ็คคุนดุส มินูทุส ฮอร่า” ได้มอบพลังในการมองเห็นอนาคตล่วงหน้า 30 นาทีให้แก่เธอ เพื่อให้เธอลักลอบเข้าไปยังที่หลบซ่อนของชายชุดเทาเพื่อช่วยปลดปล่อยเวลาออกมาจากเซฟ

ประเด็นหลัก

ตามที่รู้จักกันดีในงานของเขา จินตนาการไม่รู้จบ (อังกฤษ: The Neverending Story; เยอรมัน: Die unendliche Geschichte) มิชาเอล เอนเด้ ใช้จินตนาการและสัญลักษณ์ในการอธิบายปัญหาของโลกแห่งความเป็นจริง เช่น ความสำคัญของเวลา ความสัมพันธ์ของคน การขาดจินตนาการ การมองข้ามคุณค่าของสิ่งเล็กๆน้อยๆ โดยอาศัยโลกในจินตนาการของเด็กเพื่อแสดงถึงสิ่งที่เราหลงลืมไป

หัวใจหลักของโมโม คือการตั้งคำถามกับการใช้เวลาโดยมองถึงมูลค่าเหมือนเป็นสินค้านั้นถูกต้องแล้วหรือ การทำงานที่เสร็จไวแต่ขาดความใส่ใจต่อคนรอบข้างนั้นคุ้มค่าแน่หรือ เราจะประหยัดเวลาเพื่อไปหาความสุขหรือจะหาความสุขได้ในทุกช่วงเวลา เราต่างใช้เวลาไปเพื่อสร้างความเจริญทางวัตถุ แต่ขณะเดียวกันเราได้หลงลืมอะไรไปบ้าง การที่เราอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน เราควรจะทำตัวเช่นไรเพื่อไม่ให้ถูกกลืนหายไปกับกระแสสังคม

มิซาเอล เอนเด้ ได้เสนอโลกในมุมมองของโมโม โดยแบ่งประเด็นของเรื่องออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นเรื่องของความสามารถในการรับฟังอย่างแท้จริงของโมโม ส่วนที่สองเป็นเรื่องกระแสวัตถุนิยมและค่านิยมของคนเมือง ส่วนที่สามจะเป็นเรื่องการเข้าใจถึงธรรมชาติของเวลาและผลที่เกิดขึ้นเมื่อเราใช้เวลาเป็นเหมือนสิ่งของ


คำติชม

เมื่อหนังสือได้ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1985 นักข่าว นาตาลี บั๊บบิท จากหนังสือพิมพ์วอชิงตัน ให้ความเห็นว่า “มันเป็นหนังสือสำหรับเด็กใช่ไหม? ไม่ใช่ในอเมริกา”

ฉบับแปล

  • ภาษาไทย : โมโม่. มิชาเอล เอ็นเด้. ชินนรงค์ เนียวกุล. แปลจากภาษาเยอรมัน. แพรวเยาวชน. ISBN 9748368572

แหล่งข้อมูลอื่น