ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงศ์พังพอน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Bajita (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29: บรรทัด 29:


==ลักษณะและพฤติกรรม==
==ลักษณะและพฤติกรรม==
พังพอนมีรูปร่างโดยรวม เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมี[[ฟัน]]แหลมคมประมาณ 33-34 ซี่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ 43 [[เซนติเมตร]] น้ำหนัก 320 [[กรัม]] จนถึง 1 [[เมตร]] น้ำหนักกว่า 5 [[กิโลกรัม]]
พังพอนมีรูปร่างโดยรวม เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมี[[ฟัน]]แหลมคมประมาณ 33-34 ซี่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ 43 [[เซนติเมตร]] จนถึง 1 [[เมตร]] น้ำหนัก 320 [[กรัม]] จนถึง มากกว่า 5 [[กิโลกรัม]]


พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบ[[สีน้ำตาล]]หรือ[[สีเทา]] ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว
พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบ[[สีน้ำตาล]]หรือ[[สีเทา]] ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:01, 21 กันยายน 2562

วงศ์พังพอน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Feliformia
วงศ์: Herpestidae
Bonaparte, 1845
สกุล
14 สกุล (ดูในเนื้อ)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์สัตว์ในวงศ์พังพอน
ชื่อพ้อง
  • Cynictidae Cope, 1882
  • Herpestoidei Winge, 1895
  • Mongotidae Pocock, 1920
  • Rhinogalidae Gray, 1869
  • Suricatidae Cope, 1882
  • Suricatinae Thomas, 1882


วงศ์พังพอน (อังกฤษ: mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae

เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น[1]

ลักษณะและพฤติกรรม

พังพอนมีรูปร่างโดยรวม เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมีฟันแหลมคมประมาณ 33-34 ซี่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ 43 เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร น้ำหนัก 320 กรัม จนถึง มากกว่า 5 กิโลกรัม

พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบสีน้ำตาลหรือสีเทา ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว

พังพอนโดยมากจะมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หรืออยู่ลำพังเพียงตัวเดียว หรืออยู่กันเป็นครอบครัว ในหลากหลายสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่ป่าดิบทึบ, ทุ่งหญ้า, ป่าละเมาะ, ทะเลทราย จนถึงนาข้าว หรือพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนของมนุษย์

พังพอนมักหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ผลไม้, ลูกไม้, แมลง, สัตว์ทั้งมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึง แมงมุม, แมงป่อง และงูหรือกิ้งก่าอีกด้วย อีกทั้งพังพอนเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถพองขนให้ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อขู่ศัตรู และมีภูมิคุ้มกันพิษงูอยู่ในตัว จึงสามารถสู้กับงูพิษได้เป็นอย่างดี ด้วยการหลอกล่อให้งูเหนื่อย และฉวยโอกาสเข้ากัดที่ลำคอจนตาย แต่ถ้าหากถูกกัดเข้าอย่างจัง ก็ทำให้ถึงตายได้เช่นกัน

พังพอนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี ยกเว้นในบางชนิดที่สามารถตั้งท้องเมื่ออายุได้เพียง 9 เดือน มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 45-105 วัน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว มีอายุขัยประมาณ 10 ปี มีรายงานว่าพังพอนในสถานที่เลี้ยงบางตัวมีอายุยืนถึง 17 ปี

การอนุกรมวิธาน

ปัจจุบัน พังพอนถูกอนุกรมวิธานไว้ทั้งสิ้น 33 ชนิด ใน 14 สกุล (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ พังพอนเล็ก หรือพังพอนธรรมดา (Herpestes javanicus) กับพังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์ (H. urva)

สกุลและชนิด

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

ด้วยความที่พังพอนเป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวว่องไว สามารถกำจัดสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ พังพอนในบางพื้นที่จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อให้กำจัดหนู ขณะที่อินเดีย นิยมมีการละเล่นให้พังพอนสู้กับงูเห่าหรืองูจงอาง[3] [4]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Herpestidae ที่วิกิสปีชีส์