ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
A Lee noy (คุย | ส่วนร่วม)
ว่าด้วยเหตุที่นางมหาประชาบดีถูกใส่ร้าย และ คดี มาตุฆาต
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
A Lee noy (คุย | ส่วนร่วม)
→‎อ้างอิง: ภิกษุณี ไม่ใช่พุทธมามกะ แต่เป็นหินยาน
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 42: บรรทัด 42:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
เต้าจี้ฉานซือ (จีนตัวย่อ: 道济禅师; จีนตัวเต็ม: 道濟禪師; พินอิน: dào jì chán shī) (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (จีนตัวย่อ: 济公; จีนตัวเต็ม: 濟公; พินอิน: Jìgōng, อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ (จีนตัวย่อ: 济公活佛; จีนตัวเต็ม: 濟公活佛; พินอิน: Jìgōng huófó "จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘)

ประวัติ แก้ไข
หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นภิกษุที่วัดหลิงอิ่น เมืองหางโจว มีพระอาจารย์ฮุ่ยหย่วนเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าเต้าจี้

แม้เป็นภิกษุ แต่พระเต้าจี้มักมีพฤติกรรมแปลกจากจารีต คือชอบฉันเนื้อสุนัข ดื่มสุรา ครองจีวรที่เป็นผ้าขี้ริ้วสกปรก จึงถูกคณะสงฆ์ขับออกจากวัด และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ข้างถนน แต่พระเต้าจี้มีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือถูกรังแก จึงเป็นที่นับถือของประชาชน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ และเชื่อว่าท่านเป็นพระนนทิมิตร หนึ่งในพระอรหันต์สิบแปดองค์กลับชาติมาเกิด

หลังจากพระเต้าจี้ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1207 ลัทธิเต๋าได้ยกย่องท่านเป็นเทพเจ้า จากนั้นไม่นานคณะสงฆ์จึงรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:45, 21 กันยายน 2562

มหาปชาบดีโคตมีเถรี
พระมหาปชาบดีโคตมีประทับอยู่บนอาสนะ
พระมหาปชาบดีโคตมีประทับอยู่บนอาสนะ
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิมมหาปชาบดีโคตมี
สถานที่ประสูติเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
สถานที่บรรลุธรรมกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน[1]
เอตทัคคะรัตตัญญู (ผู้รู้ราตรีนาน)[2][3]
อาจารย์พระโคตมพุทธเจ้า
สถานที่นิพพานภิกขุณูปัสสยาราม[1]
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเทวทหะ
พระบิดาพระเจ้าอัญชนะ
พระมารดาพระนางยโสธรา[4]
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์โกลิยะ[5]
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี หรือพระนามเดิม พระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยะ เป็นพระมาตุจฉาของ มหาโพธิสัตว์ มยุรี พระสมณโคดมพุทธเจ้า เพราะเป็นพระขนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายา พุทธมารดา และเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา ทรงได้เรียนกรรมฐานและทรงปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธจ้าทรงยกย่องท่านว่าเป็นเอตทัคคะ คือเลิศกว่าผู้อื่นในทางรัตตัญญู (คือผู้มีรู้ราตรีนาน)

พระประวัติ

พระนางปชาบดีโคตมี (ซ้าย) ในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระเจ้าสุทโธทนะ
ภาพขณะพระนางปชาบดีโคตมีทูลขอบวชเป็นพระภิกษุณี วาดโดยเหม เวชกร

พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้า และเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตแล้ว หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน ในกาลต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงตั้งพระนางมหาปชาบดีโคตมีไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ซึ่งพระนางได้ทรงถวายการอภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ เสมือนเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง พระนางมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าชายนันทะ และมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า เจ้าหญิงรูปนันทา

พระนางได้ทรงแสดงความประสงค์จะบวชต่อพระพุทธเจ้าในคราวที่พระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ แต่พระพุทธเจ้ามิได้ทรงอนุญาตให้พระนางผนวช เนื่องจากยังไม่เคยทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองเวสาลีและประทับอยู่ที่ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยเหล่านางสากิยานีจำนวนมาก จึงได้ปลงพระเกศา ห่มผ้ากาสายะ เป็นการแสดงเจตนาที่จะบวชอย่างแรงกล้า โดยเสด็จไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เมืองเวสาลี เพื่อทรงทูลขออุปสมบท โดยพระนางได้ทรงแจ้งพระประสงค์ต่อพระอานนท์ให้นำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า ขอให้พระนางพร้อมทั้งเหล่านางสากิยานีได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอานนท์ใช้ความพยายามอยู่หลายหน พระพุทธเจ้าจึงทรงออกหลัก ปฏิบัติเป็นพิเศษสำหรับสตรีผู้ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา คือครุธรรม 8 ซึ่งพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงยินดีปฏิบัติตามครุธรรม ทั้ง 8 ประการ จึงได้รับการอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเหล่านางสากิยานี

หลังจากการอุปสมบท พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีได้ทรงเรียนกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานและปฏิบัติอย่างจริงจัง จนได้บรรลุพระอรหันต์ แม้ภิกษุณีเหล่าสากิยานีที่อุปสมบทพร้อมกับท่านก็ได้บรรลุพระอรหันต์เหมือนกัน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะมหาเถรีผู้รู้ราตรีนาน (ต่อ)". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระมหาปชาบดีโคตรมีเถรี". ภิกษุณี เอตทัคคะ 84000. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "พระปชาบดีโคตมีเถรี เอตทัคคะมหาเถรีผู้รู้ราตรีนาน". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา". พุทธะ. 2553. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. "ศากยวงศ์". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

เต้าจี้ฉานซือ (จีนตัวย่อ: 道济禅师; จีนตัวเต็ม: 道濟禪師; พินอิน: dào jì chán shī) (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (จีนตัวย่อ: 济公; จีนตัวเต็ม: 濟公; พินอิน: Jìgōng, อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ (จีนตัวย่อ: 济公活佛; จีนตัวเต็ม: 濟公活佛; พินอิน: Jìgōng huófó "จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘)

ประวัติ แก้ไข หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นภิกษุที่วัดหลิงอิ่น เมืองหางโจว มีพระอาจารย์ฮุ่ยหย่วนเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าเต้าจี้

แม้เป็นภิกษุ แต่พระเต้าจี้มักมีพฤติกรรมแปลกจากจารีต คือชอบฉันเนื้อสุนัข ดื่มสุรา ครองจีวรที่เป็นผ้าขี้ริ้วสกปรก จึงถูกคณะสงฆ์ขับออกจากวัด และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ข้างถนน แต่พระเต้าจี้มีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือถูกรังแก จึงเป็นที่นับถือของประชาชน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ และเชื่อว่าท่านเป็นพระนนทิมิตร หนึ่งในพระอรหันต์สิบแปดองค์กลับชาติมาเกิด

หลังจากพระเต้าจี้ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1207 ลัทธิเต๋าได้ยกย่องท่านเป็นเทพเจ้า จากนั้นไม่นานคณะสงฆ์จึงรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน

แหล่งข้อมูลอื่น