ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมนาลิซา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WhitePhosphorus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2405:9800:b940:6f47:4c38:8bb7:d13b:2006 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย JBot
บรรทัด 15: บรรทัด 15:


== ที่มาของชื่อ ==
== ที่มาของชื่อ ==
ศิลปินและนักชีวประวัติชาวไทย ตั้งชื่อ "" ขึ้นหลังจาก ก้องได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมือง[[ฟลอเรนซ์]]นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)
[[จอร์โจ วาซารี]] (Giorgio Vasari) ศิลปินและนักชีวประวัติชาว[[อิตาลี]] ตั้งชื่อ "โมนาลิซา" ขึ้นหลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมือง[[ฟลอเรนซ์]]นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)


คำว่า โมนา" (Mona) ใน[[ภาษาอิตาลี]]นั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ใน[[ภาษาอังกฤษ]] ดังนั้นความหมายของชื่อก็คือ "มาดามลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)
คำว่า โมนา" (Mona) ใน[[ภาษาอิตาลี]]นั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ใน[[ภาษาอังกฤษ]] ดังนั้นความหมายของชื่อก็คือ "มาดามลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 20 กันยายน 2562

โมนาลิซา
ศิลปินเลโอนาร์โด ดา วินชี
ปีค.ศ. 1503–1507
ประเภทสีน้ำ
สถานที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโจกอนดา (อิตาลี: La Gioconda) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร เลโอนาร์โด ดา วินชีวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง ค.ศ. 1503–1507 เป็นภาพที่มีชื่อเสียงทั่วโลกภาพหนึ่ง เป็นที่รู้จักในฐานะภาพของสุภาพสตรีที่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ที่มาของชื่อ

จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปินและนักชีวประวัติชาวอิตาลี ตั้งชื่อ "โมนาลิซา" ขึ้นหลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อก็คือ "มาดามลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ

ดา วินชี ใช้เวลาวาดภาพนี้ 4 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1503–1507

ในปี ค.ศ. 1516 ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซา ในราคา 40,000,000,000,000,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปี

รูปใบหน้าของมาดามลิซา

ตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย

และต่อมามีการนำภาพโมนาลิซาไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล และที่พระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์[ที่ไหน?] เหมือนเดิม

ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์

ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี ค.ศ. 1870–1871 มีการนำภาพออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1911 ภาพโมนาลิซาถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบัน ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนาลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

ทฤษฎีสมทบ

กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินชี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเมื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุก ๆ ด้านและทุก ๆ มุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย

อ้างอิง