ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โปเกมอน มาสเตอส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jajijacja (คุย | ส่วนร่วม)
Jajijacja (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
==ระบบการเล่น==
==ระบบการเล่น==
===ซิงค์แพส์===
===ซิงค์แพส์===
''ซิงค์แพส์'' หรือ ''คู่หู่'' ({{nihongo|バディーズ|Badīzu}}; {{ภาษาอังกฤษ|Sync pair}}) เป็นการจับคู่ระหว่างโปเกมอนเทรนเนอร์หนึ่งคนกับโปเกมอนหนึ่งตัว โดยในแต่ละซิงค์แพส์จะมีบทบาท (Role) อยู่สามบทบาทได้แก่ "สไตรก์" (Strike) เป็นบทบาทที่จะมุ่งเน้นไปยังการสร้างความเสียหายเป็นหลัก "ซัพพอร์ต" (Support) เป็นบทบาทที่จะมุงเน้นไปยังการป้องกัน, รักษาเลือด (HP), และเพิ่มค่าสเตตัส (Status) ของทั้งทีม "เทค" (Tech) เป็นบทบาทที่มุงเน้นไปยังการทำให้โปเกมอนฝ่ายตรงข้ามติดสภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่นติดสภาวะพิษ (Poison), สภาวะหลับ (Sleep), สภาวะไหม้ (Burn), สภาวะชา (Paralysis), สภาวะสับสน (Confusion), สภาวะแข็ง (Freeze), เป็นต้น
''ซิงค์แพส์'' หรือ ''คู่หู'' ({{nihongo|バディーズ|Badīzu}}; {{ภาษาอังกฤษ|Sync pair}}) เป็นการจับคู่ระหว่างโปเกมอนเทรนเนอร์หนึ่งคนกับโปเกมอนหนึ่งตัว โดยในแต่ละซิงค์แพส์จะมีบทบาท (Role) อยู่สามบทบาทได้แก่ "สไตรก์" (Strike) เป็นบทบาทที่จะมุ่งเน้นไปยังการสร้างความเสียหายเป็นหลัก "ซัพพอร์ต" (Support) เป็นบทบาทที่จะมุงเน้นไปยังการป้องกัน, รักษาเลือด (HP), และเพิ่มค่าสเตตัส (Status) ของทั้งทีม "เทค" (Tech) เป็นบทบาทที่มุงเน้นไปยังการทำให้โปเกมอนฝ่ายตรงข้ามติดสภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่นติดสภาวะพิษ (Poison), สภาวะหลับ (Sleep), สภาวะไหม้ (Burn), สภาวะชา (Paralysis), สภาวะสับสน (Confusion), สภาวะแข็ง (Freeze), เป็นต้น


===แบตเทิลแบบเวลาจริง===
===แบตเทิลแบบเวลาจริง===
บรรทัด 40: บรรทัด 40:


==โครงเรื่อง==
==โครงเรื่อง==
{{nihongo foot|''เวิลด์โปเกมอนมาสเตอส์'' หรือ ''โปเกมอนมาสเตอส์ลีก''|ワールドポケモンマスターズ|World Pokémon Masters|{{ภาษาอังกฤษ|Pokémon Masters League}}|lead=yes|group=lower-alpha}} เป็นทัวร์นาเมนต์ที่จัดขึ้นบนเกาะเทียม{{nihongo foot|ปาชิโอ|パシオ|Pashio|{{ภาษาอังกฤษ|Pasio}}|lead=yes|group=lower-alpha}}โดยจะมีเหล่ายิมลีดเดอร์, สี่จตุรเทพ, แชมเปียน, และเทรนเนอร์ที่มีชื่อเสียงจากทุกภูมิภาคมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งทีมและมีส่วนร่วมในโปเกมอนแบตเทิลแบบ 3 ต่อ 3 การที่จะเข้าร่วมได้นั้นผู้เล่นและคู่หู่[[พิคาชู]]จะต้องเอาชนะวีพีเอ็มลีดเดอร์เพื่อรวบรวมเหรียญตราให้ครบ 5 อัน
{{nihongo foot|''เวิลด์โปเกมอนมาสเตอส์'' หรือ ''โปเกมอนมาสเตอส์ลีก''|ワールドポケモンマスターズ|World Pokémon Masters|{{ภาษาอังกฤษ|Pokémon Masters League}}|lead=yes|group=lower-alpha}} เป็นทัวร์นาเมนต์ที่จัดขึ้นบนเกาะเทียม{{nihongo foot|ปาชิโอ|パシオ|Pashio|{{ภาษาอังกฤษ|Pasio}}|lead=yes|group=lower-alpha}}โดยจะมีเหล่ายิมลีดเดอร์, สี่จตุรเทพ, แชมเปียน, และเทรนเนอร์ที่มีชื่อเสียงจากทุกภูมิภาคมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งทีมและมีส่วนร่วมในโปเกมอนแบตเทิลแบบ 3 ต่อ 3 การที่จะเข้าร่วมได้นั้นผู้เล่นและคู่หู[[พิคาชู]]จะต้องเอาชนะวีพีเอ็มลีดเดอร์เพื่อรวบรวมเหรียญตราให้ครบ 5 อัน


==การพัฒนาและการเปิดตัว==
==การพัฒนาและการเปิดตัว==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:26, 17 กันยายน 2562

โปเกมอน มาสเตอส์
ผู้พัฒนาดีนา
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
อำนวยการผลิตยู ซาซากิ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
แต่งเพลง
  • โชตะ คาเกยามะ
  • ฮิรูกิ ยามาดะ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นไอโอเอส, แอนดรอยด์
วางจำหน่าย29 สิงหาคม 2562
แนวผจญภัย, สวมบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, เล่นแบบรวมมือกัน

โปเกมอน มาสเตอส์ (ญี่ปุ่น: ポケモンマスターズโรมาจิPokemon Masutāzu; อังกฤษ: Pokémon Masters) เป็นเกมมือถือเล่นฟรีประเภทผจญภัยสวมบทบาทที่เปิดให้ดาวน์โหลดทั่วโลกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562[1] ภายใต้การพัฒนาโดยบริษัทดีนา และจัดจำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด สำหรับมือถือพกพาในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส[2][3] ตัวเกมจะอนุญาตให้ผู้เล่นสะสมโปเกมอนเทรนเนอร์ที่มาจากเกมชุดหลักผ่านการเปิดกาชาหรือผ่านโหมดเนื้อเรื่องหลักที่มีอยู่ทั้งหมดในขณะนี้ 18 บท

ระบบการเล่น

ซิงค์แพส์

ซิงค์แพส์ หรือ คู่หู (ญี่ปุ่น: バディーズโรมาจิBadīzu; อังกฤษ: Sync pair) เป็นการจับคู่ระหว่างโปเกมอนเทรนเนอร์หนึ่งคนกับโปเกมอนหนึ่งตัว โดยในแต่ละซิงค์แพส์จะมีบทบาท (Role) อยู่สามบทบาทได้แก่ "สไตรก์" (Strike) เป็นบทบาทที่จะมุ่งเน้นไปยังการสร้างความเสียหายเป็นหลัก "ซัพพอร์ต" (Support) เป็นบทบาทที่จะมุงเน้นไปยังการป้องกัน, รักษาเลือด (HP), และเพิ่มค่าสเตตัส (Status) ของทั้งทีม "เทค" (Tech) เป็นบทบาทที่มุงเน้นไปยังการทำให้โปเกมอนฝ่ายตรงข้ามติดสภาวะผิดปกติต่าง ๆ เช่นติดสภาวะพิษ (Poison), สภาวะหลับ (Sleep), สภาวะไหม้ (Burn), สภาวะชา (Paralysis), สภาวะสับสน (Confusion), สภาวะแข็ง (Freeze), เป็นต้น

แบตเทิลแบบเวลาจริง

จุดเด่นของ โปเกมอน มาสเตอส์ ที่ทำให้แตกต่างจากเกมโปเกมอนอื่น ๆ นั้นก็คือระบบการเล่นแบบ 3 ต่อ 3 ในแบบเวลาจริง (Real-time) ซึ่งเกมโปเกมอนส่วนใหญ่จะเป็นแบบทีละรอบ (Turn-based) โดยในแบบเวลาจริงนั้นผู้เล่นสามารถควบคุมโปเกมอนทั้งสามตัวได้อย่างอิสระ และใช้ท่าได้อย่างอิสระขึ้นอยู่กับเวลาคูลดาวน์และเกจ (Gauge) ที่เป็นแถบสีอยู่ด้านล่างสุดของหน้าจอ

ท่าต่าง ๆ

แวเรียสมูฟ (いろいろなわざ, Iroirona Waza, Various Move) เป็นท่าที่ใช้ได้โดยไม่ต้องเสียเกจซึ่งจะเป็นไอเทมที่อยู่ในเกมโปเกมอนชุดหลักเช่น เอกซ์แอตแทก (X-Attack), เอกซ์สปีด (X-Speed), โพชัน (Potion), และอื่น ๆ อีกมากมาย
ชิงค์มูฟ (バディーズわざ, Badīzu Waza, Sync Move) เป็นท่าที่ทรงพลังซึ่งจะอยู่ตรงกลางของท่าทั้งสี่ หลังจากที่กดใช้จะมีฉากคัตซีนแอนิเมชันโผล่ขึ้นมา โดยสามารถใช้งานได้เมื่อมีการใช้ท่าต่าง ๆ ครบจำนวนที่กำหนดให้ไว้
ยูนิตีแอตแทก (イッセイコウゲキ, Issei Kougeki, Unity Attack) เป็นท่าผสานพลังระหว่างเพื่อนร่วมทีมที่จะมีอยู่ในโหมดเล่นแบบร่วมมือกันเท่านั้น สามารถใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเติมยูนิตีเกจ (Unity Gauge) ให้เต็มโดยการใช้ท่าต่าง ๆ

เล่นแบบรวมมือกัน

ผู้เล่นสามารถปลดล็อกโหมดเล่นแบบร่วมมือกัน (Co-op) ได้หลังจากผ่านเนื้อเรื่องหลักในบทที่ 11 เท่านั้น โดยหลังจากที่ปลดล็อกแล้วจะมีให้เลือกที่จะเล่นกับคนอื่นหรือกับเพื่อนในการผ่านด่านต่าง ๆ สูงสุด 3 คนเท่านั้น

โครงเรื่อง

เวิลด์โปเกมอนมาสเตอส์ หรือ โปเกมอนมาสเตอส์ลีก[a] เป็นทัวร์นาเมนต์ที่จัดขึ้นบนเกาะเทียมปาชิโอ[b]โดยจะมีเหล่ายิมลีดเดอร์, สี่จตุรเทพ, แชมเปียน, และเทรนเนอร์ที่มีชื่อเสียงจากทุกภูมิภาคมารวมตัวกันเพื่อจัดตั้งทีมและมีส่วนร่วมในโปเกมอนแบตเทิลแบบ 3 ต่อ 3 การที่จะเข้าร่วมได้นั้นผู้เล่นและคู่หูพิคาชูจะต้องเอาชนะวีพีเอ็มลีดเดอร์เพื่อรวบรวมเหรียญตราให้ครบ 5 อัน

การพัฒนาและการเปิดตัว

โปเกมอน มาสเตอส์ ได้ประกาศครั้งแรกโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด ในวันที่ 29 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2562 พร้อมกันกับโปเกมอน สลีปและโปเกมอน โฮม[4] ซึ่งเป็นการร่วมมือครั้งแรกระหว่างบริษัทและผู้พัฒนาเกมมือถือดีนา[5] แนวคิดของเกมมาจากนักวาดและนักออกแบบเกมของเกมฟรีก เค็น ซุงิโมริ เป็นผู้เสนอความคิดที่ว่าให้มีตัวละครในอดีตทั้งหมดจากเกมชุดหลักรวมอยู่ในเกมเดียวกัน[3] เปิดให้ลงทะเบียนล่วงหน้าทั่วโลกในวันที่ 24 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2562[6] โดยได้เปิดให้บริการล่วงหน้าที่ประเทศสิงค์โปร์, และแคนาดาเท่านั้น[7][8] ซึ่งจะรองรับภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สเปน, และจีน[9] เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการทั่วโลกเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562[10] ยกเว้นประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียมเนื่องจากมีการแบนลูตบอกซ์ในประเทศดังกล่าว

การตอบรับ

โปเกมอน มาสเตอส์ ได้รับการตอบรับที่ดีโดยภายใน 4 วันแรกตัวเกมมียอดดาวน์โหลดถึง 10 ล้านครั้ง และทำรายได้มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[11][12] ภายในสัปดาห์แรกตัวเกมทำรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[13]

หมายเหตุ

  1. ワールドポケモンマスターズ World Pokémon Masters, อังกฤษ: Pokémon Masters League
  2. パシオ Pashio, อังกฤษ: Pasio

อ้างอิง

  1. Pokémon Masters เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน Android และ iOS วันนี้, 29 สิงหาคม 2562, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 สิงหาคม 2562, สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  2. Romano, Sal (June 27, 2019). "Pokemon Masters launches this summer, presentation and fact sheet". Gematsu. สืบค้นเมื่อ June 27, 2019.
  3. 3.0 3.1 Makuch, Eddie (May 29, 2019). "New Pokemon Game, Pokemon Masters, Coming To Smartphones". GameSpot. สืบค้นเมื่อ June 8, 2019.
  4. Moon, Mariella (May 29, 2019). "'Pokémon Masters' brings old trainers together in one mobile game". Engadget. สืบค้นเมื่อ June 7, 2019.
  5. Lee, Julia (May 28, 2019). "Pokémon Masters will bring back favorite trainers". Polygon. สืบค้นเมื่อ June 7, 2019.
  6. "Pokemon Masters launches August 29, pre-registration now available". Gematsu (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-24. สืบค้นเมื่อ 2019-08-01.
  7. "Pokemon Masters เปิดให้เล่นแล้วที่ Singapore". sanook. 2019-07-25. สืบค้นเมื่อ 2019-07-25.
  8. ซุ่มเงียบ! Pokémon Masters เปิด Soft Launch แบบไม่รีเซ็ตข้อมูลที่สิงคโปร์และแคนาดา, 25 กรกฎาคม 2562, สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 10 จุดเด่นสำคัญของเกม Pokemon Masters ที่แฟนๆ โปเกมอนต้องรู้ก่อนเล่น !!, 13 สิงหาคม 2562, สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. Pokémon Masters เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน Android และ iOS วันนี้, 29 สิงหาคม 2562, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 สิงหาคม 2562, สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  11. Pokemon Masters ไปถึง 10 ล้านดาวน์โหลดภายใน 4 วัน, 3 กันยายน 2562, สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2562 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Pokémon Masters hits 10 million downloads in four days". VentureBeat. 3 September 2019. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.
  13. Dedmon, Tanner (7 September 2019). "Pokemon Masters Made $26 Million in First Week". Comicbook. สืบค้นเมื่อ 8 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น