ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทองใส ทับถนน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| bgcolour =
| bgcolour =
| name = ทองใส ทับถนน
| name = ทองใส ทับถนน
| image =
| image = ทองใส ทับถนน วงเพชรพิณทอง.jpg
| imagesize = 250px
| imagesize = 250px
| caption =
| caption =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:12, 8 กันยายน 2562

ทองใส ทับถนน
เกิด14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (76 ปี)
ทองใส ทับถนน
คู่สมรสประมวล ทับถนน
อาชีพศิลปินพื้นบ้าน , นักดนตรี , นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ.2513-ปัจจุบัน
ผลงานเด่นประยุกต์พิณไฟฟ้าคนแรกของประเทศไทย

ทองใส ทับถนน หรือลูกศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือมักเรียกว่า พ่อทองใส ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน (พิณ) ปี พ.ศ. 2555 ได้รับยกย่องให้เป็น ปรมาจารย์พิณอีสาน ผู้ที่วาดลีลาดีดพิณสองสายลายโบราณแห่งวง เพชรพิณทอง ผู้เป็นต้นตำหรับถ่ายทอดลายพิณปู่ป๋าหลาน , ลายกาเต้นก้อน , ลายเซิ้งบั้งไฟ , ลายรถไฟไต่ราง , ลายแห่กลองยาว และลายอื่น ๆ อีกมากมาย จนเป็นที่ยอมรับของมือพิณทั่วไป

ประวัติ

ทองใส ทับถนน เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่บ้านหนองกินเพล ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายปิ่น กับนางหนู ทับถนน ผู้เป็นบิดานั้นมีความสามารถโดดเด่นด้านหมอลำพื้นบ้าน และการแสดงหนังบักตื้อ (หนังปราโมทัย) และนายปิ่น ทับถนนยังเป็นลูกศิษย์ของหมอลำทองคำ เพ็งดี ผู้มีชื่อเสียงด้านลำกลอนในสมัยนั้น ทองใส ทับถนนเริ่มฝึกดีดพิณเมื่ออายุ 4 ปี  โดยมีครูบุญ บ้านท่างอย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ฝึกสอนการดีดพิณเป็นคนแรก จนอายุได้ 8 ปี จึงได้เล่นพิณประกอบคณะหมอลำของนายปิ่น ทับถนน ผู้เป็นพ่อ จากนั้นจึงได้เรียนรู้ลายพิณโบราณกับครูบุญชู โนนแก้ว แห่งบ้านโนนสังข์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ศิลปินมือพิณพื้นบ้านตาพิการ  เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงได้ตระเวนเล่นดนตรีกับคณะหมอลำปิ่น ทับถนนเรื่อยมา[1]

พ.ศ. 2511 เมื่ออายุได้ 21 ปี ได้เข้าประจำการเป็นทหารเกณฑ์ที่กองพันทหารปืนใหญ่ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้มีโอกาสเป็นนักดนตรีวงดนตรีสากลประจำกองพันทหารปืนใหญ่  ได้นำพิณมาประยุกต์กับดนตรีสากลสมัยใหม่ และเรียนรู้การเล่นดนตรีตามแบบสากลนับแต่นั้นเป็นต้นมา สมรสกับนางประมวล ทับถนน (สกุลเดิมจันไตร) มีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่

  1. นางพิณทอง มณีเนตร
  2. นายสีแพร ทับถนน
  3. นางบุญสวย ทับถนน

อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 163 หมู่ที่ 8 บ้านหนองกินเพล ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

คุณวุฒิ

เข้าสู่วงการ

หลังพ้นเกณฑ์ทหารในปี พ.ส. 2513 ครูทองใส ทับถนนจึงกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดและได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีคณะ ลูกทุ่งอีสาน ของนายนพดล ดวงพร  ภายใต้ฉายา ทองใส หัวนาค ทั้งนี้เพราะมีพิณแกะสลักเป็นรูปพญานาคเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 นายนพดล ดวงพร ได้รับเชิญให้นำวงดนตรีลูกทุ่งอีสานประยุกต์ไปแสดงถวายหน้าพระที่ประทับที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ครูนพดล ดวงพร ร่วมกับครูทองใส ทับถนน ได้ถวายพิณแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตรัสว่า  “เพชรนี้เป็นเพชรน้ำเอก” ของเครื่องดนตรีอีสาน ยังความปลื้มปิติแก่นพดล ดวงพร และชาวคณะเป็นอย่างมาก จึงได้เปลี่ยนชื่อวงดนตรี ลูกทุ่งอีสาน พิณประยุกต์ มาเป็นวง  เพชรพิณทอง  ซึ่งถือว่าเป็นนามมงคลอันเกิดจากการถวายพิณในครั้งนั้น

ต่อมาได้นำเอาคอนแทรกไฟฟ้ามาประกอบกับพิณ และถือว่าเป็นพิณไฟฟ้าตัวแรกของเมืองไทย และได้เล่นดนตรีกับวงดนตรีเพชรพิณทอง ตลอดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนได้ยุติวง แต่มนต์ขลังเสียงพิณของทองใส ทับถนน ยังดังก้องอยู่ในหัวใจของแฟนเพลงตลอดมา ในการทำงานนั้นครูทองใส ทับถนน ได้ยึดมั่นในคุณธรรม 4 ประการ ในการทำงานคือ

  1. ความเพียร
  2. ความอดทน
  3. มีน้ำใจ
  4. มีความซื่อสัตย์สุจริต

ตลอดทั้งมีหลักหารในการทำงานให้มีความสุขสนุกสนานกับเพื่อนร่วมงาน ผสมผสานชีวิตทำงานกับครอบครัว พัฒนางานฝีมืออยู่เสมอ และถ่ายทอดความรู้โดยไม่ปิดบัง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ บทเพลงดังของนักร้องลูกทุ่งอีสาน และเจ้าของผลงานเสียงพิณประกอบละครโทรทัศน์ / ภาพยนตร์หลายเรื่อง เป็นต้นแบบของลายเพลงพิณโบราณและลายพิณประยุกต์ในปัจจุบัน ผลงานที่ถ่ายทอด โดยการบันทึกเทปและแผ่นซีดีประมาณ 50 ชุด เผยแพร่ได้รับความนิยมจนถึงยุคปัจจุบัน และได้นำผลงานถ่ายทอดโดยการสอนให้กับลูกศิษย์ที่เป็นศิลปินอาชีพและศิลปินสมัครเล่นรวมทั้งนักเรียน นักศึกษา ทำให้มีผู้สืบสานและสร้างสรรค์งานด้านดนตรีพื้นบ้านของไทย ให้ดำรงคงอยู่คู่กับคนไทยต่อไป

รางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน (พิณ) พ.ศ. 2555 ที่สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัล และการเชิดชูเกียรติ

  • พ.ศ. 2543 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศิลปินดีเด่นสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีอีสาน) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2544 ได้รับประกาศเกียรติคุณผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมวัฒนธรรมดีเด่น จากสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10
  • พ.ศ. 2545 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านศิลปกรรม (ดนตรีพื้นบ้าน-พิณอีสาน) รุ่นที่ 2 ปี พ.ศ. 2545[2]
  • วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ชั้นเหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์
  • วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลสุดยอดศิลปินอีสาน ประเภทพิณอีสาน เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน (พิณ) พ.ศ. 2555 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น[3]
  • พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลสุกรีเจริญสุข ผู้ทำดีความดีเพื่อสังคม สาขาการส่งเสริมดนตรี
  • พ.ศ. 2558 ได้รับยกย่องเชิดชูเป็นมูนมังเมืองอุบลราชธานี สาขาศิลปะการแสดง[4]

ผลงาน

มีมากกว่า 50 ชุด อาทิ

  • ชุดปู่ป๋าหลาน
  • ชุดลำเพลินโบราณ
  • ชุดแข่งเรือยาว
  • ชุดบุญกัณฑ์หลอน
  • ชุดแห่บุญผะเหวด

แนะนำเพิ่มเติม

อ้างอิง

  1. [5]
  2. [6]
  3. [7]
  1. https://sites.google.com/site/palmubon34160/bukhkhl-thi-michux-seiyng-khxng-canghwad-xublrachthani
  2. http://lms.bks.ac.th/lms/ebook/pdf/m_enorth2/pdf.pdf
  3. https://sites.google.com/view/morradokisan-db/%E0%B8%9B-55/%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AA-%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99
  4. http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=593
  5. https://sites.google.com/site/srangphelng/Home/prawati-khn-srang-phelng-nak-taeng-phelng/x-thxng-si-thab-thnn
  6. http://esarnmusiccorner.blogspot.com/2010/05/blog-post_3178.html
  7. http://www.onsorn.com/tongsai.htmlครูทองใส ทับถนน- เซิ้งภูไท ต้นฉบับบ