ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การ์โล อูร์บานี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Applezapotis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


== การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ==
== การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ==
ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546<ref name=nyt /> อูร์บานีถูกเรียกตัวไปยังโรงพยาบาลฝรั่งเศสฮานอย (L'Hôpital Français De Hanoï) เพื่อตรวจดูอาการของจอห์นนี เฉิน นักธุรกิจชาวอเมริกันที่ล้มป่วยกระทันหันขณะเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังสิงค์โปร์<ref>[https://thematter.co/thinkers/death-of-carlo-urbani/84347 คาร์โล เออร์บานี : แพทย์ผู้ยอมตายไปพร้อมกับโรคร้ายเพื่อมนุษยชาติ], Tomorn Sookprecha, The Matter, September 6, 2019</ref> ซึ่งตอนแรกคณะแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นกรณีร้ายแรงของ[[โรคไข้หวัดใหญ่]] อย่างไรก็ตาม อูร์บานีตระหนักได้ว่าอาการป่วยของเฉินน่าจะเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดใหม่ เขาได้เตือนองค์การอนามัยโลกในทันที ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่ที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้โน้มน้าวกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามให้เริ่มดำเนินการคัดแยกผู้ป่วยและคัดกรองผู้เดินทาง ซึ่งช่วยลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคให้ช้าลง
ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546<ref name=nyt /> อูร์บานีถูกเรียกตัวไปยังโรงพยาบาลฝรั่งเศสฮานอย (L'Hôpital Français De Hanoï) เพื่อตรวจดูอาการของจอห์นนี เฉิน นักธุรกิจชาวอเมริกันที่ล้มป่วยกระทันหันขณะเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังสิงค์โปร์<ref>[https://thematter.co/thinkers/death-of-carlo-urbani/84347 คาร์โล เออร์บานี : แพทย์ผู้ยอมตายไปพร้อมกับโรคร้ายเพื่อมนุษยชาติ], Tomorn Sookprecha, The Matter, September 6, 2019</ref> ซึ่งตอนแรกคณะแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นกรณีร้ายแรงของ[[โรคไข้หวัดใหญ่]] อย่างไรก็ตาม อูร์บานีตระหนักได้ว่าอาการป่วยของเฉินน่าจะเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดใหม่ เขาได้เตือนองค์การอนามัยโลกในทันที ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่ซึ่งมีประสิทธิผลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้โน้มน้าวกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามให้เริ่มดำเนินการคัดแยกผู้ป่วยและคัดกรองผู้เดินทาง เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคให้ช้าลง


ในวันที่ 11 มีนาคม เขาเดินทางออกจาก[[ฮานอย]]ไปยัง[[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]] เพื่อเข้าร่วมการประชุมและบรรยายประเด็นปรสิตในเด็ก เขารู้สึกตัวว่ามีไข้ขณะอยู่บนเครื่องบิน เพื่อนร่วมงานของเขาที่พบกันที่สนามบินจึงเรียกรถพยาบาลมารับ ทั้งคู่นั่งห่างจากกันเป็นระยะ 8 ฟุต ขณะรอรถพยาบาลซึ่งมาถึงในอีก 90 นาถีทัดมา เนื่องจากรถพยาบาลต้องแวะรับชุดและอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อก่อน
ในวันที่ 11 มีนาคม เขาเดินทางออกจาก[[ฮานอย]]ไปยัง[[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]] เพื่อเข้าร่วมการประชุมและบรรยายประเด็นปรสิตในเด็ก เขารู้สึกตัวว่ามีไข้ขณะอยู่บนเครื่องบิน เพื่อนร่วมงานของเขาที่พบกันที่สนามบินจึงเรียกรถพยาบาลมารับ ทั้งคู่นั่งห่างจากกันเป็นระยะ 8 ฟุต ขณะรอรถพยาบาลซึ่งมาถึงในอีก 90 นาถีทัดมา เนื่องจากรถพยาบาลต้องแวะรับชุดและอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อก่อน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:29, 7 กันยายน 2562

การ์โล อูร์บานี (อิตาลี: Carlo Urbani; เสียงอ่านภาษาอิตาลี: [karlo urˈbaːni]; 19 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (ณ กัสเตลปลานีโอ อิตาลี) – 29 มีนาคม พ.ศ. 2546 (ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย)) คือแพทย์และนักจุลชีววิทยาชาวอิตาลี ผู้ระบุกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) ว่าเป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้เป็นคนแรก[1][2] คำเตือนในช่วงแรกของการระบาดที่เขาส่งไปยังองค์การอนามัยโลก ส่งผลให้ทั่วโลกตื่นตัวและรับมือได้ทันท่วงที และได้รับยกย่องว่าสามารถช่วยชีวิตคนไว้ได้นับไม่ถ้วน แม้ภายหลังตัวเขาเองจะติดเชื้อไวรัสและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

บทบาททางการแพทย์

อูร์บานีสำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต (ปริญญาตรี) จากมหาวิทยาลัยอังโกนาในปี พ.ศ. 2524 และได้รับประกาศณียบัตรแพทย์เฉพาะทางโรคติดต่อและโรคเขตร้อนจากมหาวิทยาลัยเมสซินา ซึ่งภายหลังสำเร็จการศึกษาแพทย์ศาสตร์มหาบัณฑิต (ปริญญาโท) ในด้านปรสิตวิทยาเขตร้อน อูร์บานีเอเข้าร่วมงานอาสาสมัครเกียวกับการรักษาโรคเฉพาะถิ่นแอฟริกากับองค์การนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) คาทอลิกของอิตาลีอย่างมานี เตเซ (Mani Tese) ซึ่งหลังจากทำงานในแวดวงโรคเฉพาะถิ่นแล้ว ในปี พ.ศ. 2536 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาภายนอกขององค์การอนามัยโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 เขาเข้าร่วมองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières) และได้รับมอบหมายหน้าที่ในเวียดนามและกัมพูชาสำหรับการรักษาโรคปรสิตและเวชศาสตร์เฉพาะถิ่น อูร์บานีได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหน่วยอิตาลีภายในองค์การไม่นานหลังจากนั้น และเป็นหนึ่งในคณะบุคคลผู้เข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี พ.ศ. 2542 ในนามขององค์การ[3] จากเงินรางวัลโนเบลที่ได้รับดังกล่าว เขาตัดสินใจตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการรณรงค์การเข้าถึงยารักษาจำเป็นของประชากรกลุ่มยากจนที่สุดของโลก

การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส

ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546[3] อูร์บานีถูกเรียกตัวไปยังโรงพยาบาลฝรั่งเศสฮานอย (L'Hôpital Français De Hanoï) เพื่อตรวจดูอาการของจอห์นนี เฉิน นักธุรกิจชาวอเมริกันที่ล้มป่วยกระทันหันขณะเดินทางด้วยเครื่องบินไปยังสิงค์โปร์[4] ซึ่งตอนแรกคณะแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นกรณีร้ายแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม อูร์บานีตระหนักได้ว่าอาการป่วยของเฉินน่าจะเป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดใหม่ เขาได้เตือนองค์การอนามัยโลกในทันที ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวรับมือโรคระบาดครั้งใหญ่ซึ่งมีประสิทธิผลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้โน้มน้าวกระทรวงสาธารณสุขเวียดนามให้เริ่มดำเนินการคัดแยกผู้ป่วยและคัดกรองผู้เดินทาง เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของโรคให้ช้าลง

ในวันที่ 11 มีนาคม เขาเดินทางออกจากฮานอยไปยังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมและบรรยายประเด็นปรสิตในเด็ก เขารู้สึกตัวว่ามีไข้ขณะอยู่บนเครื่องบิน เพื่อนร่วมงานของเขาที่พบกันที่สนามบินจึงเรียกรถพยาบาลมารับ ทั้งคู่นั่งห่างจากกันเป็นระยะ 8 ฟุต ขณะรอรถพยาบาลซึ่งมาถึงในอีก 90 นาถีทัดมา เนื่องจากรถพยาบาลต้องแวะรับชุดและอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อก่อน

เสียชีวิต

อูร์บานี ติดโรคซาร์สมาจากคนไข้ที่เขารักษาในฮานอย ห้องผู้ป่วยแยกที่โรงพยาบาลในกรุงเทพของเขาถูกจัดขึ้นมาเป็นการเฉพาะและต้องสื่อสารกับบุคคลภายนอกผ่านโทรศัพท์ภายในเท่านั้น แม้แต่จูเลียนา คีออร์รีนี ผู้เป็นภรรยา ก็มีโอกาสได้เข้าพบขณะมีสติเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น และได้บ่นว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่รับผิดชอบต่อลูก ๆ วัย 4 - 17 ปี ทั้งสามคนของเขา จากการเอาชีวิตไปเสี่ยงกับการรักษาคนไข้ดังกล่าว[5] แต่เขาตอบกลับว่า "ถ้าหากผมไม่ทำงานในส่วนนี้ แล้วผมจะมาอยู่ตรงนี้เพื่ออะไร? จะให้อ่านอีเมลล์ ไปงานสังสรรค์ค็อกเทล และทำงานจำเจไปวัน ๆ เช่นนั้นหรือ?"[6] ต่อมาอาการของเขาทรุดหนักจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และช่วงเวลสั้น ๆ ที่เขามีสติ เขาได้ขอบาทหลวงให้บาทหลวงประกอบพิธีศีลสุดท้าย (last rites) และเก็บเนื้อเยื่อปอดของเขาไว้เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ (อ้างอิงจากสถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย) อูร์บานีเสียชีวิตเมื่อเวลา 11 นาฬิกา 45 นาทีของวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2546 รวมระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยหนัก (intensive care) ทั้งสิ้น 18 วัน

อ้างอิง

  • Pierluigi Fiorini (2004). Carlo Urbani : inseguendo un sogno. Evergreen (ภาษาอิตาลี). Cinisello Balsamo: Edizioni San Paolo. p. 97. ISBN 9788821551338. OCLC 954723560 – โดยทาง sites.google.com, archive.is. {{cite book}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |via= (help)[7]

หมายเหตุ

  1. Coates, Sam; Asthana, Anushka. The Times. London http://www.timesonline.co.uk/tol/comment/obituaries/article1129034.ece. {{cite news}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)แม่แบบ:Pay
  2. "Dr. Carlo Urbani of the World Health Organization dies of SARS". WHO.
  3. 3.0 3.1 McNEIL, DONALD G. Jr (April 8, 2003). "Disease's Pioneer Is Mourned as a Victim". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 February 2012.
  4. คาร์โล เออร์บานี : แพทย์ผู้ยอมตายไปพร้อมกับโรคร้ายเพื่อมนุษยชาติ, Tomorn Sookprecha, The Matter, September 6, 2019
  5. "8 - Carlo Urbani - Una vita per gli altri".
  6. Disease's Pioneer Is Mourned as a Victim, Donald G. McNeil Jr., The New York Times, April 8, 2003
  7. On behalf of the Italian association named "Testimoni del tempo". Bibliographic note in Paul Ricoeur (1997). La critica e la convinzione. Intervista con François Azouvi e Marc de Launay. Di fronte e attraverso - Filosofia (ภาษาฝรั่งเศส และ อิตาลี). แปลโดย Daniella Iannotta. Jaca Book. p. 54 (of 262). ISBN 9788816404373. OCLC 841199842 – โดยทาง archive.is. {{cite book}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |via= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น