ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
**หม่อมราชวงศ์หญิงอุไรวรรณ นวรัตน์ มีหม่อมสุดเป็นหม่อมมารดา
**หม่อมราชวงศ์หญิงอุไรวรรณ นวรัตน์ มีหม่อมสุดเป็นหม่อมมารดา
**หม่อมราชวงศ์หญิงพิศมาศ นวรัตน์
**หม่อมราชวงศ์หญิงพิศมาศ นวรัตน์
* [[หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ นวรัตน|หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ นวรัตน์]] หรือ หม่อมเจ้าธำรงราชวรวัฒน์ ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2424 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2489) รับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็ก ทรงเสกสมรสกับหม่อมสุดใจ นวรัตน์ ณ อยุธยา ทรงมีโอรสและธิดา ดังนี้
* [[หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ นวรัตน|หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ นวรัตน์]] หรือ หม่อมเจ้าธำรงราชวรวัฒน์ ประสูติแด่[[หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา|หม่อมนุ่ม]] (ประสูติ พ.ศ. 2424 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2489) รับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็ก ทรงเสกสมรสกับหม่อมสุดใจ นวรัตน์ ณ อยุธยา ทรงมีโอรสและธิดา ดังนี้
**หม่อมราชวงศ์อนุธรรมรงค์ นวรัตน์
**หม่อมราชวงศ์อนุธรรมรงค์ นวรัตน์
**หม่อมราชวงศ์ทรงสุจริต นวรัตน์
**หม่อมราชวงศ์ทรงสุจริต นวรัตน์
บรรทัด 67: บรรทัด 67:
*'''หม่อมเจ้าบุตรารัตนานพ นวรัตน์''' บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าบุตรรัตน์มานพ ประสูติแด่หม่อมเยี่ยม (ประสูติ พ.ศ. 2424)
*'''หม่อมเจ้าบุตรารัตนานพ นวรัตน์''' บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าบุตรรัตน์มานพ ประสูติแด่หม่อมเยี่ยม (ประสูติ พ.ศ. 2424)
*'''หม่อมเจ้าประสบภูลเกษม นวรัตน์''' ประสูติแด่หม่อมเปลี่ยน (ประสูติ พ.ศ. 2427)
*'''หม่อมเจ้าประสบภูลเกษม นวรัตน์''' ประสูติแด่หม่อมเปลี่ยน (ประสูติ พ.ศ. 2427)
*'''หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์ นวรัตน์''' ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2427) ทรงเป็นพระชายาใน[[พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์]]
*'''หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์ นวรัตน์''' ประสูติแด่[[หม่อมนุ่ม นวรัตน ณ อยุธยา|หม่อมนุ่ม]] (ประสูติ พ.ศ. 2427) ทรงเป็นพระชายาใน[[พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์]]
*'''หม่อมเจ้าปรีดีขจร นวรัตน์''' ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2430)
*'''หม่อมเจ้าปรีดีขจร นวรัตน์''' ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2430)
*'''หม่อมเจ้าอัมพรเนาวรัตน์ นวรัตน์'''
*'''หม่อมเจ้าอัมพรเนาวรัตน์ นวรัตน์'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:44, 4 กันยายน 2562

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์

พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์
ไฟล์:กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์.jpg
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
ประสูติ3 มีนาคม พ.ศ. 2388
สิ้นพระชนม์14 ธันวาคม พ.ศ. 2433
หม่อม
  • หม่อมหุ่น หม่อมละมัย หม่อมวัน หม่อมนุ่ม หม่อมเยี่ยม หม่อมเปลี่ยน
พระนามเต็ม
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ (อัชนาม)
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าคุณจอมมารดาเอม

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ (3 มีนาคม พ.ศ. 2388 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 20 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นต้นราชสกุลนวรัตน

พระองค์เจ้าเนาวรัตน์ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1207 ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2388 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ในเจ้าคุณจอมมารดาเอมหรือเจ้าคุณพระชนนี ทรงมีเจ้าพี่และเจ้าน้องร่วมพระชนนีเดียวกันดังนี้

  1. พระองค์เจ้าหญิง สิ้นพระชนม์ก่อนปรากฏพระนาม
  2. พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศบวราโชรสรัตนราชกุมาร ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าในรัชกาลที่ 5
  3. พระองค์เจ้าชายปรีดา สิ้นพระชนม์โดยไม่มีสายสืบราชสกุล
  4. พระองค์ท่าน
  5. พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์

ทรงเป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีของวังหน้า ทรงเชี่ยวชาญด้านการดนตรีไทยและบทขับร้อง ในขณะที่ทรงเป็นปฏิคมของหอพระสมุดวชิรญาณ ได้นิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณโดยพิสดาร งานพิพนธ์ "เรื่องขับร้อง" ของพระองค์ถือได้ว่าเป็นบทความทางคีตศิลป์ไทยเล่มแรกของสยาม นอกจากนั้นทรงนิพนธ์บทความเกี่ยวกับพระราชพิธี และงานประเพณีชาวบ้านอื่น ๆ ไว้ด้วย อีกทั้งยังทรงเป็นจิตรกร สามารถวาดภาพสีน้ำมันได้ดี ภาพฝีพระหัตถ์เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สยามครั้งกรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์หลายภาพปัจจุบันได้รับการติดตั้งไว้ในหอศิลปแห่งชาติ ถนนจ้าฟ้า ทรงรับราชการจนถึงรัชกาลที่ 5 ได้รับการสถาปนาเป็น กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเส็ง ตรงกับ พ.ศ. 2424

กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการสงบ ณ วังริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในรัชกาลที่ 5 เมื่อ เดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล รัตนโกสินทร์ศก 109 ตรงกับวันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2433 พระชันษา 46 ปี

พระโอรสพระธิดา

  • หม่อมเจ้าหญิงประไพพิศ นวรัตน์ (ประสูติ พ.ศ. 2420 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2432 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2433)
  • หม่อมเจ้าหญิงสถิตย์สถาพร นวรัตน์ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2443 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2453)
  • หม่อมเจ้าอาภรณ์ธราไภย นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมหุ่น (ประสูติ พ.ศ. 2421)
  • หม่อมเจ้าหญิงแจ่มใสฉวี นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมหุ่น
  • หม่อมเจ้าหญิงขนิษฐนารี นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมละมัย
  • หม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมละมัย (ประสูติ พ.ศ. 2415) รับราชการเป็นเจ้าเมืองประจวบคีรีขันธ์ ทรงมีหม่อมเอก 2 คน คือ หม่อมพยอม นวรัตน์ ณ อยุธยาและหม่อมพยงค์ นวรัตน์ ณ อยุธยา โดยนอกจากนี้ยังทรงมีหม่อมคนอื่นๆอีกหลายคน เช่น หม่อมแข นวรัตน์ ณ อยุธยา,หม่อมผาด นวรัตน์ ณ อยุธยา ทรงมีโอรสและธิดาทั้งหมด 16 คน แต่ทราบชื่อแค่เพียงบางคน ดังนี้[1]
    • หม่อมราชวงศ์กมล นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์นวรัตน์ นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์ปราณีนวศรี นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิตราภา นวรัตน์ มีหม่อมผาดเป็นหม่อมมารดา
  • หม่อมเจ้าพิสุทธิ์เขียวขจี นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมละมัย (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อยังทรงพระเยาว์)
  • หม่อมเจ้าศรีศุขนพมาศ นวรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าสุขศรีนพมาศ ประสูติแด่หม่อมวัน (ประสูติ พ.ศ. 2419) ภายหลังทรงเปลี่ยนพระนามเป็นหม่อมเจ้านพมาศ รับราชการเป็นเจ้าเมืองจันทบุรี ทรงมีหม่อมและโอรสธิดาหลายคน แต่ทราบชื่อแค่เพียงบางคน ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์เชาว์ นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์นพนันท์ นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์อภินพ นวรัตน์ มีหม่อมสุดเป็นหม่อมมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอบ นวรัตน์ มีหม่อมสุดเป็นหม่อมมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอุไรวรรณ นวรัตน์ มีหม่อมสุดเป็นหม่อมมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพิศมาศ นวรัตน์
  • หม่อมเจ้าธำรงวรวัฒน์ นวรัตน์ หรือ หม่อมเจ้าธำรงราชวรวัฒน์ ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2424 สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2489) รับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็ก ทรงเสกสมรสกับหม่อมสุดใจ นวรัตน์ ณ อยุธยา ทรงมีโอรสและธิดา ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์อนุธรรมรงค์ นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์ทรงสุจริต นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงกมลพิศมัย นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพิไลเรขา นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์สง่ายรรยง นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุวลี นวรัตน์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงแน่งน้อย นวรัตน์ หรือ หม่อมราชวงศ์หญิงแน่งน้อยศรีโสภา นวรัตน์
  • หม่อมเจ้าบุตรารัตนานพ นวรัตน์ บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าบุตรรัตน์มานพ ประสูติแด่หม่อมเยี่ยม (ประสูติ พ.ศ. 2424)
  • หม่อมเจ้าประสบภูลเกษม นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมเปลี่ยน (ประสูติ พ.ศ. 2427)
  • หม่อมเจ้าหญิงกมลเปรมปรีดิ์ นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2427) ทรงเป็นพระชายาในพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรวิสุทธิ์
  • หม่อมเจ้าปรีดีขจร นวรัตน์ ประสูติแด่หม่อมนุ่ม (ประสูติ พ.ศ. 2430)
  • หม่อมเจ้าอัมพรเนาวรัตน์ นวรัตน์


ทั้งนี้เมื่อพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ผู้เป็นพระบิดาสิ้นพระชนม์แล้วนั้น บรรดาพระโอรสและพระธิดามิมีองค์ใดได้รับมรกดจากพระบิดาเลย ที่เหตุเป็นเช่นนี้เนื่องจากทรงมีพระญาติสนิทชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่ง ได้เข้าควบคุมและยึดทรัพย์สมบัติของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ไปเป็นของพระองค์เองทั้งสิ้น ตลอดจนเครื่องราชอิสริยายศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็ถูกพระญาติสนิทชั้นผู้ใหญ่พระองค์นั้นยึดไปด้วย จนในเวลาต่อมาความทรงทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสลดพระทัยยิ่งนักที่พระญาติทรงแย่งสมบัติกันเอง โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชหัตถเลขามาถึงเหล่าพระโอรสและพระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า "เสียใจด้วยที่เหตุการณ์กายเป็นเช่นนี้ แต่กาลมันล่วงเลยมาช้านานแล้วคงแก้อะไรไม่ได้ หากว่าพระองค์......(หมายถึงพระญาติสนิทชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดทรัพย์) สิ้นพระชนม์เมื่อใดจะจัดการเรียกคืนทรัพย์สมบัติของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์คืนมาและแบ่งทรัพย์นั้นให้แก่บรรดาลูกของกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์จนทั่วกัน" ซึ่งสร้างความปลื้มปิติใจให้แก่บรรดาพระโอรสและพระธิดาของกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์เป็นการมาก ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ครอบครัว แต่ทั้งนี้ถึงแม้เมื่อพระญาติสนิทชั้นผู้ใหญ่พระองค์นั้นจะสิ้นพระชนม์ไปแล้วแต่บรรดาพระโอรสและพระธิดาทั้งหลายก็มิได้เรียกร้องทรัพย์สมบัติของพระบิดาคืนเพราะเห็นว่าทรัพย์สมบัตินั้นตายไปก็เอาไปไม่ได้ มีไว้ครอบครองก็พลอยแต่จะมีปัญญา ดังนั้นขอให้เรื่องทรัพย์สมบัตินี้จงตายไปพร้อมกับพระญาติชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดทรัพย์ไว้และขอให้หมดสิ้นเวรกรรมกันแต่เพียงเท่านี้[2].... อนึ่งไม่มีการเปิดเผยว่าพระญาติชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดทรัพย์ของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ไปนั้นเป็นพระบรมวงศานุวงศ์พระพระองค์ใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระเชษฐาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งของกรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์

อ้างอิง

  1. หนังสือพุทธศาสนิกและปกิณณกธัมมคติ : อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าปราณีเนาวบุตร นวรัตน
  2. https://archive.org/details/unset0000unse_o7o3/page/n19
  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  • บันทึกของ ม.ร.ว.พิไลเลขา (นวรัตน) สุนทรพิพิธ
  • หนังสือเจ้านายชาวสยาม ของ เอนก นาวิกมูล ตอน กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ผู้รู้ จากวังหน้า