ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 112: บรรทัด 112:
| [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]
| [[สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8]]
| พระราชโอรส
| พระราชโอรส
| พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251
| พ.ศ. 2246 พ.ศ. 2251
| เป็น [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]
| เป็น [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]
|-
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:36, 4 กันยายน 2562

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
จวนพระราชวังบวรสถานมงคล
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์สยาม
วาระตลอดพระชนม์ชีพ
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระเอกสัตราชพระมหาอุปราช
สถาปนาพ.ศ. 1981
คนสุดท้ายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
ยกเลิกพ.ศ. 2428
ตำแหน่งที่มาแทนสยามมกุฎราชกุมาร

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เรียกกันเป็นสามัญว่าวังหน้า เป็นตำแหน่งที่พระมหากษัตริย์สยามทรงสถาปนาขึ้นสำหรับพระมหาอุปราช และมีฐานะเป็นองค์รัชทายาทผู้มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชสมบัติต่อไป

ตำแหน่งพระมหาอุปราชปรากฏครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมาสมเด็จพระเพทราชาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ภายหลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลิกธรรมเนียมตั้งพระมหาอุปราช แล้วทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชแทน[1]

สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นยังไม่การการแต่งตั้งตำแหน่งพระมหาอุปราช เพียงแต่มีแต่งตั้งเจ้านายเพื่อไปครองเมืองต่าง ๆ เท่านั้น เช่น สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โปรดให้สมเด็จพระราเมศวรเจ้าพระราชโอรสไปครองเมืองพิษณุโลกในปี พ.ศ. 1981[2] เมื่อสมเด็จพระราเมศวรเจ้าเสวยราชสมบัติทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงโปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเชษฐาธิราชเจ้าที่เพิ่งลาผนวชเป็นพระมหาอุปราชเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2028[3]

ตำแหน่งพระมหาอุปราชยิ่งเด่นชัดยิ่งขึ้นอีกในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงสร้าง "พระราชวังจันทรเกษม" ขึ้นที่หน้าพระราชวังหลวงเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรเวลาเสด็จมายังกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นที่มาของคำว่า "วังหน้า" ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองราชย์ โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระอนุชาธิราชเป็นที่พระมหาอุปราช รับพระราชโองการ มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน[4]

ในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาหลวงสรศักดิ์พระราชโอรสบุญธรรมเป็นพระมหาอุปราช ประทับ ณ วังหน้า พร้อมทั้งบัญญัติศัพท์นามสังกัดวังหน้าว่า "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ สถาปนานายจบคชประสิทธิ์ให้ดำรงพระยศเป็นวังหลัง พระราชทานวังหลังเป็นที่ประทับ พร้อมทั้งบัญญัติศัพท์นามวังหลังว่า "กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข" เป็นครั้งแรก[5]

สมัยกรุงธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีไม่มีความแตกต่างจากสมัยอยุธยา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ไม่มีความแตกต่างจากสมัยอยุธยาเท่าไรนัก กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจะประทับอยู่ที่พระราชวังบวรสถานมงคลมาโดยตลอด

หลังจากการเสด็จทิวงคตของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2429 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่ทรงดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร ทำให้ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถูกยกเลิกตั้งแต่นั้นมา

อนึ่ง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงพระฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าในพระบรมราชวงศ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์[1]

พระบัณฑูร

พระบัณฑูร คือ คำสั่งของพระมหาอุปราช มาจากภาษาเขมร แปลว่า "สั่ง" สำหรับคำสั่งของพระมหากษัตริย์นั้นใช้คำว่า "พระราชโองการ" ในการสถาปนาพระมหาอุปราชตั้งแต่อดีตนั้น มักเรียกว่า "วังหน้ารับพระบัณฑูร"

ส่วน "วังหน้ารับ (บวร) ราชโองการ" นั้น เป็นพระมหาอุปราชที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอกับพระองค์ มีเพียง 2 พระองค์ ได้แก่

รายพระนามพระมหาอุปราชและกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระมหาอุปราช พระมหากษัตริย์ ความสัมพันธ์ ระยะเวลา ครองราชสมบัติ หรือ สวรรคต
สมัยอยุธยา
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระเอกสัตราชพระมหาอุปราช สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระอนุชา พ.ศ. 2031 — พ.ศ. 2034 เป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พระอาทิตยวงศ์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระราชโอรส พ.ศ. 2069 — พ.ศ. 2072 เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
มหาอุปราช (จัน) ขุนวรวงศาธิราช พระอนุชา พ.ศ. 2091 (42 วัน) ถูกลอบปลงพระชนม์
ราชวงศ์สุโขทัย
สมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรส พ.ศ. 2114 — พ.ศ. 2133 เป็นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระอนุชา พ.ศ. 2133 — พ.ศ. 2148 เป็นสมเด็จพระเอกาทศรถ
เจ้าฟ้าสุทัศน์ สมเด็จพระเอกาทศรถ พระราชโอรส พ.ศ. 2148 — พ.ศ. 2153 สวรรคต
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระนารายณ์ สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระภาติยะ พ.ศ. 2199 (2 เดือน 17 วัน) เป็น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
หลวงสรศักดิ์ สมเด็จพระเพทราชา พระราชโอรส พ.ศ. 2231 — พ.ศ. 2246 เป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
เจ้าฟ้าเพชร พระบัณฑูรใหญ่ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระราชโอรส พ.ศ. 2246 — พ.ศ. 2251 เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระราชโอรส พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 ไม่ได้สืบราชสมบัติต่อ
เจ้าฟ้าพร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พระอนุชา พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 เป็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชโอรส พ.ศ. 2284 - พ.ศ. 2289 สวรรคต
เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชโอรส พ.ศ. 2300 - พ.ศ. 2301 เป็น สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
สมัยกรุงธนบุรี
เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชโอรส ไม่ทราบปี - พ.ศ. 2325 สำเร็จโทษ
สมัยรัตนโกสินทร์
ราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระอนุชา พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2346 สวรรคต
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชโอรส พ.ศ. 2349 - พ.ศ. 2352 เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระอนุชา พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2360 สวรรคต
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิตุลา พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2375 สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชา พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2408 สวรรคต
กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระภาดา [8] พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2428 ทิวงคต

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมราชชนก และ สมเด็จพระบรมราชชนนี, เล่ม ๘๗, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓, ฉบับพิเศษ หน้า ๑
  2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 395
  3. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 400
  4. พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า), หน้า 20
  5. พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า), หน้า 24
  6. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระบัณฑูร, สกุลไทย, ฉบับที่ 2435, ปีที่ 47, 19 มิถุนายน 2544
  7. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, วังหน้ารับพระบัณฑูร และ วังหน้ารับราชโองการ, สกุลไทย, ฉบับที่ 2739, ปีที่ 53, 17 เมษายน 2550
  8. http://www.gotoknow.org/posts/217707
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากรพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). นนทบุรี : รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2558. 127 หน้า. ISBN 978-616-283-232-1
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังน่า. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2462. [พิมพ์แจกในงานศพนางสุ่น ชาติโอสถ ปีมะแม พ.ศ. 2462]
  • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประชุมพระนิพนธ์ ภาค ๒. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2494. 359 หน้า.
  • พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9