ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| ภาพ = ไฟล์:Prince Prachaksinlapakhom.jpg
| ภาพ = ไฟล์:Prince Prachaksinlapakhom.jpg
| คำบรรยายภาพ = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
| คำบรรยายภาพ = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
| พระนาม = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
| พระนาม = พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
| พระนามเต็ม =
| พระนามเต็ม =
| ฐานันดร = พระองค์เจ้าชั้นเอก
| ฐานันดร = พระองค์เจ้าชั้นเอก
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
ผนวชเป็นสามเณรที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จไปประทับ ณ [[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2418 และประทับที่[[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์]] เป็นอธิบดี[[ศาลฎีกา]]
ผนวชเป็นสามเณรที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จไปประทับ ณ [[วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร]] ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2418 และประทับที่[[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์]] เป็นอธิบดี[[ศาลฎีกา]]


[[ไฟล์:Prince Prachak.jpg|thumb|200px|right|นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพฝ่ายใต้ (ฉายก่อนหน้าที่จะยกกองทัพไปปราบฮ่อวันหนึ่ง)]]
[[ไฟล์:Prince Prachak.jpg|thumb|200px|right|นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพฝ่ายใต้ (ฉายก่อนหน้าที่จะยกกองทัพไปปราบฮ่อวันหนึ่ง)]]
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้เกิด[[สุริยุปราคาเต็มดวง]] ขึ้นในประเทศไทยพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย [[จังหวัดเพชรบุรี]] นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้เกิด[[สุริยุปราคาเต็มดวง]] ขึ้นในประเทศไทยพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย [[จังหวัดเพชรบุรี]] นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong


บรรทัด 51: บรรทัด 51:


== พระโอรสและพระธิดา ==
== พระโอรสและพระธิดา ==
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่ มีหม่อม 9 ท่าน ได้แก่
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่ มีหม่อม 9 ท่าน ได้แก่
# '''หม่อมสุวรรณ''' (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)
# '''หม่อมสุวรรณ''' (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)
# '''หม่อมพริ้ง''' (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)
# '''หม่อมพริ้ง''' (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:38, 3 กันยายน 2562

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
ประสูติ5 เมษายน พ.ศ. 2399
สิ้นพระชนม์25 มกราคม พ.ศ. 2467 (67 ปี)
หม่อม
  • หม่อมสุวรรณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมพริ้ง ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมแจ่ม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมจันทร์ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมเปลี่ยน ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมทองสุก ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมเติม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
    หม่อมแก้ว ทองใหญ่ ณ อยุธยา
พระราชบุตร25 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาสังวาลย์

นายพลตรี นายพลเรือเอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

พระประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย หุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา)[1] เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 25 และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ มีพระอนุชา พระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 3 พระองค์คือ

  • พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม)
  • พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
  • พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ไฟล์:สุริยุปราคาเต็มดวง๒๔๑๘.jpg
ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418

ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2418 และประทับที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม แม่ทัพฝ่ายใต้ (ฉายก่อนหน้าที่จะยกกองทัพไปปราบฮ่อวันหนึ่ง)

เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทยพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเมื่อ พ.ศ. 2424 เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ

ในเวลาต่อมาทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2436 ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญจากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดรซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ

ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงกระทำปัพพานิยกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯ และพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่น ๆ ในกรมหลวงประจักษ์ฯ มิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชนม์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2467 จากโรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ 67 ปี

พระโอรสและพระธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่ มีหม่อม 9 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมสุวรรณ (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)
  2. หม่อมพริ้ง (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงปราณีประชาชน (แมลงทับ)
  3. หม่อมแจ่ม (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงพรหมสัสดี (แมลงภู่)
  4. หม่อมจันทร์ (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงพรหมสัสดี (แมลงภู่)
  5. หม่อมนวม (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงประจักษ์ศิลปาคม (เปลี่ยน)
  6. หม่อมเปลี่ยน
  7. หม่อมทองสุก หรือ หม่อมทองศุข (สกุลเดิม: สุริยวงศ์) ธิดาเจ้าคุณพระนครเขต
  8. หม่อมเติม (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงประจักษ์ศิลปาคม (เปลี่ยน)
  9. หม่อมแก้ว (สกุลเดิม: นาครทรรพ) ธิดาหลวงประจักษ์ศิลปาคม (เปลี่ยน)

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 25 พระองค์ เป็นชาย 11 พระองค์ และหญิง 15 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1.หม่อมเจ้าหญิงสุพรรณพิมพ์ ที่ 1 ในหม่อมสุวรรณ 11 ธันวาคม 2432
2.หม่อมเจ้าหญิงประสบสุวรรณ หรือ หม่อมเจ้าหญิงประสบสุวรรณอรรคธิการ ที่ 2 ในหม่อมสุวรรณ 7 ธันวาคม 2419[2] พ.ศ. 2422
ไฟล์:หม่อมเจ้าทองทีฆายุ.JPG 3. หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ (ท่านชายทองรอด) ที่ 1 ในหม่อมพริ้ง 4 มิถุนายน 2429 1 กรกฎาคม 2486 หม่อมลุดมิลา (เชอร์เกเยฟนา บารูคูชอฟ)
4. หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ที่ 1 ในหม่อมจันทร์ 26 พฤศจิกายน 2431 10 เมษายน 2520
5. หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ที่ 2 ในหม่อมพริ้ง 9 ธันวาคม 2431 9 เมษายน 2496 หม่อมเยื้อน (โรจนวิภาต)
หม่อมจรูญ (โรจนวิภาต)
6. หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ที่ 1 ในหม่อมนวม 18 ธันวาคม 2433 20 มกราคม 2475 หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
7. หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ที่ 2 ในหม่อมจันทร์ 16 กันยายน 2435 15 พฤศจิกายน 2515
8. หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ที่ 2 ในหม่อมนวม พ.ศ. 2435 1 ตุลาคม 2456 หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม
9. หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ที่ 1 ในหม่อมเปลี่ยน 5 มกราคม 2436 พ.ศ. 2506
10. หม่อมเจ้าไศลทอง ที่ 3 ในหม่อมนวม 9 มีนาคม 2436 30 ตุลาคม 2512 หม่อมฟ้อน (ภัณฑุกา)
11. หม่อมเจ้าหญิงก่องกาญจนา ที่ 1 ในหม่อมทองสุก 4 พฤษภาคม 2438 พ.ศ. 2506
12. หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ที่ 3 ในหม่อมจันทร์ 5 มีนาคม 2438 1 เมษายน 2483
13. หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ที่ 2 ในหม่อมเปลี่ยน มีนาคม 2438 พ.ศ. 2468
14. หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ที่ 2 ในหม่อมทองสุก 13 สิงหาคม 2439 31 กรกฎาคม 2528
15. หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 4 ในหม่อมนวม 15 กุมภาพันธ์ 2439 15 มิถุนายน 2493 ไต๋ ปาณิกบุตร
16. หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 5 ในหม่อมนวม 22 มิถุนายน 2441 7 ตุลาคม 2527 พันเอกเภตรา ณ หนองคาย
17. หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก (ท่านหญิงปิ๋ว) ที่ 3 ในหม่อมเปลี่ยน 10 สิงหาคม 2441 8 กุมภาพันธ์ 2531 หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม
18. หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์)
ที่ 6 ในหม่อมนวม 25 กรกฎาคม 2443 26 สิงหาคม 2531 เรืออากาศเอกหลวงคัคณจรเสนีย์ (หม่อมหลวงอารี คเนจร)
19.หม่อมเจ้าโหล พ.ศ. 2443 พ.ศ. 2444
20. หม่อมเจ้าลายฉลุทอง (ท่านชายเล็ก) ที่ 4 ในหม่อมจันทร์ 19 กันยายน 2444 13 มีนาคม 2534 หม่อมเจ้าหญิงนงลักษณ์ทัศนีย์ (สวัสดิวัตน์)
หม่อมพริ้ม (คำศรี)
21. หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ที 7 ในหม่อมนวม 26 กุมภาพันธ์ 2445 26 กรกฎาคม 2530 หม่อมสำเนียง (โปษยะจินดา)
22. หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ที่ 5 ในหม่อมจันทร์ 17 มิถุนายน 2448 พ.ศ. 2506
23. หม่อมเจ้าทองประทาศรี ที่ 8 ในหม่อมนวม 5 พฤษภาคม 2449 2 มกราคม 2526 หม่อมราชวงศ์หญิงวลี (รองทรง)
หม่อมคำนวณ (สุนทรศารทูล)
24. หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว หม่อมแก้ว 16 ตุลาคม 2449 15 เมษายน 2533 หม่อมประกายคำ (เจ้าประกายคำ ณ ลำพูน)
25. หม่อมเจ้าทองคำเปลว ที่ 9 ในหม่อมนวม 1 เมษายน 2455 23 กรกฎาคม 2553 หม่อมอรพิน (เทศะวิบุล)
26.หม่อมเจ้าแดง

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (5 เมษายน พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2424)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พ.ศ. 2424 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

พระอนุสรณ์

  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในพื้นที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม กรมทหารราบที่13 มณฑลทหารบกที่24 อุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ทรงยืนขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของทหารในสังกัดมณฑลทหารบกที่24
  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกกรมหลวงประจักษ์ ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของประชาชนทั่วไป แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่ สนามทุ่งศรีเมือง ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ห้าแยกกรมหลวงประจักษ์
  • พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม อำเภอประจักษ์ศิลปาคม

วันก่อตั้งเมืองอุดรธานี

วันที่18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ยกทัพมาสร้างบ้านแปลงเมือง ณ บ้านเดื่อหมากแข้ง ทางจังหวัดอุดรธานีจึงได้เลือกวันดังกล่าวเป็นวัดเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้งเมืองอุดรธานีและจะมีการรำบวงสรวงทุกปีเพื่อแสดงออกถึงความรักและความสามัคคีของคนอุดรธานี

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๔, ตอน ๓๒, ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๒๕๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔, ตอน ๑, ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า ๒๔
  6. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยยศญี่ปุ่น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 5 (ตอน 22): หน้า 179. 1 ตุลาคม 2431. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรีย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 6 (ตอน 21): หน้า 175. 25 สิงหาคม 2432. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘, ตอน ๔๖, ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๑๘๙๑, หน้า ๔๑๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙, ตอน ๔๖, ๒o กรกฎาคม พ.ศ. ๑๒๑ , หน้า ๓๑๕
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ถัดไป
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(2 กันยายน พ.ศ. 2442 - 15 มกราคม พ.ศ. 2443)
พระยาชลยุทธโยธินทร์
(อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ)


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444)
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช