ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| สี = red
| สี = red
| ภาพ = ไฟล์:กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์.jpg
| ภาพ = ไฟล์:กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์.jpg
| พระนาม = พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
| พระนาม = พระองค์เจ้าทินกร
| พระนามเต็ม =
| พระนามเต็ม =
| ฐานันดร =พระองค์เจ้า
| ฐานันดร =พระองค์เจ้า
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
}}
}}


'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์''' มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทินกร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และพระองค์ที่ 4 ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] กับเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชินิกุล [[ณ บางช้าง]]) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม ปีระกา ตรีศก จ.ศ.1213 พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา รวม 5 องค์ คือ
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์''' มีพระนามเดิมว่า '''พระองค์เจ้าชายทินกร''' เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และพระองค์ที่ 4 ใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] กับเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชินิกุล [[ณ บางช้าง]]) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม ปีระกา ตรีศก จ.ศ.1213 พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา รวม 5 องค์ คือ


* พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ (ที่ 10 ใน รัชกาลที่ 2) ประสูติ ณ วันอังคาร เดือน 8 ปีกุน พ.ศ. 2334 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
* พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ (ที่ 10 ใน รัชกาลที่ 2) ประสูติ ณ วันอังคาร เดือน 8 ปีกุน พ.ศ. 2334 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:16, 3 กันยายน 2562

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์

พระองค์เจ้าทินกร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
ประสูติ24 พฤษภาคม พ.ศ. 2344
สิ้นพระชนม์28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 (55 ปี)
พระบุตร23 พระองค์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาเจ้าจอมมารดาศิลา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทินกร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และพระองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชินิกุล ณ บางช้าง) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม ปีระกา ตรีศก จ.ศ.1213 พ.ศ. 2344 ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา รวม 5 องค์ คือ

  • พระองค์เจ้าหญิงวงศ์ (ที่ 10 ใน รัชกาลที่ 2) ประสูติ ณ วันอังคาร เดือน 8 ปีกุน พ.ศ. 2334 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4
  • พระองค์เจ้าชายพนมวัน (ที่ 17 ในรัชกาลที่ 2) ประสูติ ณ วันพุธ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2337 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ในรัชกาลที่ 2 ในรัชกาลที่ 3 ทรงเลื่อนเป็นกรมขุนพิพิธภูเบนทร์ เมื่อเดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2375 ในรัชกาลที่ 4 ทรงเลื่อนเป็น กรมพระพิพิธโภคภูเบนทรฯ เจ้ากรมเป็นพระยา เมื่อปีกุน พ.ศ. 2394 ทรงกำกับกรมพระนครบาลมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ในรัชกาลที่ 3 ได้ว่ากรมพระคชบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ เดือน 5 แรม 8 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 ทรงเป็นต้นราชสกุลพนมวัน
  • พระองค์เจ้าชายกุญชร (ที่ 22 ในรัชกาลที่ 2) ประสูติ วันพุธ เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2341 ในรัชกาลที่ 3 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิทักษ์เทเวศร์ ในรัชกาลที่ 4 เลื่อนเป็น กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2394 ในรัชกาลที่ 3 ได้ว่ากรมม้า ถึงรัชกาลที่ 4 ได้ว่ากรมพระคชบาลอีก 1 กรม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 แรม 13 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2406 ทรงเป็นต้นราชสกุลกุญชร
  • พระองค์เจ้าชายทินกร (ที่ 35 ในรัชกาลที่ 2) ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 12 ค่ำ ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม ปีระกา ตรีศก 1213 พ.ศ 2344 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลทินกร
  • พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล (ที่ 42 ในรัชกาลที่ 2) ประสูติ วันพุธ เดือน 11 ขึ้น 6 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2347 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีวอก พ.ศ. 2419 พระชันษา 65 ปี

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าชายทินกรขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ เมื่อปีกุน ตรีศก จ.ส. 1213 โดยมีเจ้ากรมเป็นหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ปลัดกรมเป็นขุนพินิจบริบาล สมุหบาญชีเป็น หมื่นชำนาญลิขิต บังคับบัญชากรมพระนครบาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงมีผลงานในการเขียนบทละครไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องแก้วหน้าม้า สุวรรณหงษ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักเพลงยาว และสักวาชั้นเยี่ยม ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นสักวากันมากในหมู่กวี ถือว่าเป็นศิลปชั้นสูงซึ่งเจ้านายสูงศักดิ์และผู้ดีมักนัดชุมนุมลอยเรือ เล่นสักวากันในงานนักขัตฤกษ์หรือในโอกาสพิเศษ สำหรับโคลงสี่สุภาพ ก็ทรงนิพนธ์ไว้ไพเราะมาก เช่น เรื่อง นิราศฉะเชิงเทรา ฯลฯ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมกลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงพระประชวรด้วยพระโรคทุลาวะสะ สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะโรง อัฐศก จ.ส. 1218 ตรงกับวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 ศิริพระชันษา รวม 56 ปี ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ (วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2400) เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระศพกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ และกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ 2 พระศพ มาลงเรือเอกไชยที่หน้าวัดพระเชตุพน เวลา 2 ยามเศษ แห่ห้ามไปเข้าเมรุผ้าขาวที่หลังวัดอรุณราชวราราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการมหรสพ 2 วัน 2 คืน ครั้น ณ เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ (วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2400) เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์

พระโอรส พระธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ ทรงมีหม่อมเจ้าหญิงเลียบ (ราชสกุลเดิม : พนมวัน) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโรคภูเบนทร์ เป็นพระชายา และทรงมีหม่อมห้ามอีกหลายคน โดยทรงมีพระโอรสและพระธิดา 23 พระองค์ ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าชายรังษี ทินกร
  2. หม่อมเจ้าหญิงประทิน ทินกร
  3. หม่อมเจ้าหญิงประจง ทินกร
  4. หม่อมเจ้าหญิงนงนุช ทินกร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2379 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 ชนมายุ 59 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2440)
  5. หม่อมเจ้าหญิงประภาณ ทินกร
  6. หม่อมเจ้าหญิงเล็กประภัสสร ทินกร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อ พ.ศ. 2405)
  7. หม่อมเจ้าชายเพ็ญบูรณ์ ทินกร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2381 สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2432 ชนมายุ 52 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรคิราชาวาส เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2433) หสช.จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 จ.ศ.1212 เลขที่ 168 สมุดไทยดำระบุว่าเป็นหม่อมเจ้าหญิง
  8. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  9. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  10. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  11. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  12. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  13. หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม
  14. หม่อมเจ้าชายปาน ทินกร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456 ชนมายุ 56 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  15. หม่อมเจ้าหญิงเป้า ทินกร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2421 ชนมายุ 21 ปี)
  16. หม่อมเจ้าชายไพบูลย์ ทินกร
  17. หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์ ทินกร บางแห่งเขียนว่าหม่อมเจ้าพูลสวัสดิ์ (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2441) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงงาม สนิทวงศ์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท มีโอรสธิดา 4 คน หนึ่งในนั้น คือ หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร
  18. หม่อมเจ้าหญิงรัชนี ทินกร (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ชนมายุกว่า 57 ปี)
  19. หม่อมเจ้าชายเป๋า ทินกร มีพระมารดาคือหม่อมเจ้าหญิงเลียบ พนมวัน
  20. หม่อมเจ้าชายเจียก ทินกร มีมารดาคือหม่อมเอี่ยม ทินกร ณ อยุธยา (สกุลเดิม : ณ บางช้าง ) (สิ้นพระชนษ์เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ชนมายุกว่า 55 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2451 โดยเหตุที่ใช้คำว่าสิ้นพระชนม์นั้นเป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานการพระศพเสมอด้วยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า) เสกสมรสกับหม่อมเถาวัลย์ ทินกร ณ อยุธยา มีธิดา 3 คน คือ 1.หม่อมราชวงศ์หญิงเปล่ง ทินกร 2.หม่อมราชวงศ์หญิงไปล่ ทินกร 3.หม่อมราชวงศ์หญิงปรุง ทินกร
  21. หม่อมเจ้าชายปั๋ง ทินกร (พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดสระเกศ เดือนมีนาคม พ.ศ. 244 6)
  22. หม่อมเจ้าชายติ่ง ทินกร
  23. หม่อมเจ้าหญิงบุษบง ทินกร (พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2440)

พระโอรสและพระธิดาทั้ง 23 พระองค์นี้ มีสืบราชสกุลเพียง 5 พระองค์เท่านั้นคือ

  1. หม่อมเจ้าชายปาน ทินกร
  2. หม่อมเจ้าชายไพบูลย์ ทินกร
  3. หม่อมเจ้าชายภูลสวัสดิ์ ทินกร
  4. หม่อมเจ้าชายเป๋า ทินกร
  5. หม่อมเจ้าชายเจียก ทินกร