ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 116: บรรทัด 116:
|31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
|31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
|[[สมุทรปราการ]]
|[[สมุทรปราการ]]
|เซ็นทรัล วิลเลจ
|[[เซ็นทรัล วิลเลจ]]
|-
|-
| [[ลาดกระบัง]] || ไตรมาส 4 พ.ศ. 2562 || [[กรุงเทพมหานคร]] || โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
| [[ลาดกระบัง]] || ไตรมาส 4 พ.ศ. 2562 || [[กรุงเทพมหานคร]] || โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:12, 3 กันยายน 2562

บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน)
ประเภทพาณิชย์
อุตสาหกรรมบริการ (ค้าปลีก)
รูปแบบบริษัทมหาชน SET:ROBINS
ก่อตั้งพ.ศ. 2522 (45 ปี)
สำนักงานใหญ่9/9 ชั้น 14-17 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310 [1]
บุคลากรหลัก
สุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ
วุฒิเกียรติ เตชะมงคลาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่
เว็บไซต์https://www.robinson.co.th
http://robins.listedcompany.com

บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Robinson Public Company Limited, ชื่อย่อ : ROBINS) เดิมชื่อว่า บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน)[2] ก่อตั้งโดย มานิต อุดมคุณธรรม[3] และ กมลพันธ์ ศิริพรรณพร เริ่มดำเนินธุรกิจในปี พ.ศ. 2522 โดยเปิดสาขาแรกคือสาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2535[4] ถือว่าเป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของไทยที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต่อมาได้ประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ จึงได้เปิดทางให้ กลุ่มเซ็นทรัล เข้ามาถือหุ้นใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2538 จนกระทั่งใน พ.ศ. 2562 กลุ่มเซ็นทรัลได้ตัดสินใจยื่นคำร้องขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของโรบินสัน เพื่อเปิดทางให้ เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชัน เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แทน

ปัจจุบันบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจทั้งในส่วนห้างสรรพสินค้า ภายใต้ชื่อ โรบินสัน และศูนย์การค้า ภายใต้ชื่อ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 48 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑล 11 สาขา และต่างจังหวัด 37 สาขา อีกทั้งบริษัทฯ มีสาขาที่เปิดให้บริการในเวียดนามจำนวน 2 แห่ง

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาบางรัก
ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาสุขุมวิท

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  • ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 [5]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด 308,162,660 27.75%
2 บริษัท ซี.อาร์.จี. บริการ จำกัด 289,645,488 26.08%
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 68,252,262 6.15%
4 สำนักงานประกันสังคม 48,377,100 4.36%
5 นาย สุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ 26,615,996 2.40%

สาขาโรบินสัน

เรียงตามวันที่เริ่มเปิดดำเนินการ

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดดำเนินการ[6] จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
สุขุมวิท 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร โรงแรมเดอะเวสทินแกรนด์ สุขุมวิท
บางรัก 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร โรงแรมเซ็นเตอร์พอยท์ สีลม
บางแค 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 กรุงเทพมหานคร ซีคอนบางแค (เดิมคือ ฟิวเจอร์พาร์ค บางแค)
ศรีนครินทร์ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2537 กรุงเทพมหานคร ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
รังสิต 18 มีนาคม พ.ศ. 2538 ปทุมธานี ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
รามอินทรา 1 มิถุนายน พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร แฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา
รัตนาธิเบศร์ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2548 นนทบุรี เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์
พระราม 9 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9
บางนา 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 สมุทรปราการ เมกาซิตี้ บางนา
สมุทรปราการ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 สมุทรปราการ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สมุทรปราการ
ศรีสมาน 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 นนทบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน
มหาชัย 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 สมุทรสาคร เซ็นทรัลพลาซา มหาชัย
เอาท์เลท สุวรรณภูมิ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สมุทรปราการ เซ็นทรัล วิลเลจ
ลาดกระบัง ไตรมาส 4 พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
สีลม พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานคร สีลมคอมเพล็กซ์
นครปฐม นครปฐม เซ็นทรัลพลาซา นครปฐม

ภูมิภาค

ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ[6] จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
อุดรธานี 30 สิงหาคม พ.ศ. 2538 อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี
(เดิมคือ เจริญศรีคอมเพล็กซ์)
ภูเก็ต 12 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ภูเก็ต โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ภูเก็ต
(เดิมคือ โรบินสัน โอเชี่ยน)
นครศรีธรรมราช 27 ตุลาคม พ.ศ. 2538 นครศรีธรรมราช โรบินสัน โอเชี่ยน ไลฟ์สไตล์ นครศรีธรรมราช
(เดิมคือ โรบินสัน โอเชี่ยน)
หาดใหญ่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สงขลา สถานที่ของตัวเอง
(เดิมคือห้างสรรพสินค้าหาดใหญ่ซิตี้)
เชียงใหม่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539 เชียงใหม่ เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต
(เดิมคือ ตันตราภัณฑ์ แอร์พอร์ต พลาซา และ เซ็นทรัล แอร์พอร์ต พลาซา ตามลำดับ)
ราชบุรี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ราชบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชบุรี (เดิมคือ โรบินสัน เมธาวลัย)
ศรีราชา 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ชลบุรี แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา
จันทบุรี 16 มกราคม พ.ศ. 2541 จันทบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จันทบุรี
พระนครศรีอยุธยา 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระนครศรีอยุธยา อยุธยาซิตี้พาร์ค
หาดป่าตอง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ภูเก็ต จังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต
ชลบุรี 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ชลบุรี เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี
ขอนแก่น 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ขอนแก่น เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น
ตรัง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตรัง โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ตรัง
เชียงราย 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 เชียงราย เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย
พิษณุโลก 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พิษณุโลก เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก
สุพรรณบุรี 2 มีนาคม พ.ศ. 2555 สุพรรณบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุพรรณบุรี
สุราษฎร์ธานี 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555 สุราษฎร์ธานี เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี
ลำปาง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ลำปาง เซ็นทรัลพลาซา ลำปาง
กาญจนบุรี 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 กาญจนบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ กาญจนบุรี
อุบลราชธานี 5 เมษายน พ.ศ. 2556 อุบลราชธานี เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี
สกลนคร 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556 สกลนคร โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สกลนคร
สระบุรี 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 สระบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สระบุรี
สุรินทร์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 สุรินทร์ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุรินทร์
ฉะเชิงเทรา 12 กันยายน พ.ศ. 2557 ฉะเชิงเทรา โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา
ร้อยเอ็ด 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ร้อยเอ็ด โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ร้อยเอ็ด
ปราจีนบุรี 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ปราจีนบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี
มุกดาหาร 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มุกดาหาร โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ มุกดาหาร
ระยอง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ระยอง เซ็นทรัลพลาซา ระยอง
บุรีรัมย์ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 บุรีรัมย์ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บุรีรัมย์
แม่สอด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตาก โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ แม่สอด
นครศรีธรรมราช 2 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 นครศรีธรรมราช เซ็นทรัลพลาซา นครศรีธรรมราช
ลพบุรี 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ลพบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลพบุรี
เพชรบุรี 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เพชรบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี
กำแพงเพชร 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กำแพงเพชร โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ กำแพงเพชร
อมตะนคร 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ชลบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ชลบุรี (อมตะนคร)
ชัยภูมิ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ชัยภูมิ โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ชัยภูมิ
พะเยา 25 มกราคม พ.ศ. 2562 พะเยา ท็อปส์ พลาซา พะเยา
พระนครศรีอยุธยา 2 เปิดไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2563 พระนครศรีอยุธยา เซ็นทรัลพลาซา พระนครศรีอยุธยา
บ่อวิน เปิดไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2563 ชลบุรี โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ่อวิน (อ.ศรีราชา)
ถลาง เปิด พ.ศ. 2563 ภูเก็ต โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ถลาง (อ.ถลาง)

ต่างประเทศ

หมายเหตุ: โรบินสันใช้ชื่อ "โรบินส์" ในการเปิดสาขาต่างประเทศ

ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดการ ประเทศที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน
รอยัลซิตี้ เมกามอลล์ เมษายน พ.ศ. 2557 ฮานอย ประเทศเวียดนาม รอยัลซิตี้ เมกามอลล์
เครสเซ็นท์ มอลล์ ธันวาคม พ.ศ. 2557 นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม เครสเซ็นท์ มอลล์

สาขาที่ปิดกิจการ

ชื่อสาขา วันที่เปิดบริการ วันที่ปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง สถานะในปัจจุบัน
สยามสแควร์ รอข้อมูลเพิ่มเติม รอข้อมูลเพิ่มเติม กรุงเทพมหานคร อาคาร 4 ชั้นในสยามสแควร์ โดยเปิดทำการ 2 ปี จึงปิดกิจการ (จากคำให้สัมภาษณ์ของ มานิต อุดมคุณธรรม ผู้ก่อตั้งโรบินสัน)[3] ต่อมาโครงสร้างอาคารได้ปรับปรุงและเปิดเป็นห้างโบนันซ่ามอลล์ และปัจจุบันโครงสร้างอาคารได้ถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างเป็นอาคารสยามสเคป
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2522 พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าแฟชันมอลล์ จนถึง 31 ตุลาคม 2560 ปัจจุบันยังไม่มีเจ้าของรายใหม่
ราชดำริ พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก
สีลม พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร สีลมเซ็นเตอร์
ดอนเมือง พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2543 กรุงเทพมหานคร บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาดอนเมือง
รัชดาภิเษก 11 มีนาคม พ.ศ. 2532 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 กรุงเทพมหานคร ปิดกิจการ ย้ายสาขาและสำนักงานใหญ่ของโรบินสัน ไปเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ส่วนโครงสร้างอาคารเดิมได้รับการปรับปรุงเป็น ศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา
ลาดหญ้า 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร ปิดกิจการ ย้ายสาขาไปยัง โรบินสัน สาขาบางรัก (มีการขยายเวลาปิดสาขาจากแผนเดิมปิดกิจการ 7 เมษายน พ.ศ. 2558)[7] โครงสร้างปัจจุบันปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่ บริหารงานโดย กลุ่มเซ็นทรัล
ยิ่งยง อุบลราชธานี 1 มิถุนายน พ.ศ. 2539 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[8] อุบลราชธานี รื้อในส่วนของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน และย้ายสาขาไปยังเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี โดยโครงสร้างอาคารเดิม ไพบูลย์ จงสุวัฒน์ เปิดให้บริการเป็น "ห้างยิ่งยงสรรพสินค้า"
สุขุมวิท 1 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานคร สุขุมวิทเซ็นเตอร์ อโศก (กำหนดปิด พ.ศ. 2564 แต่อยู่ในระหว่างการเจรจาต่อสัญญา)

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง