ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จันทร์ธาดา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
จันทร์ธาดา (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 166: บรรทัด 166:
</gallery>
</gallery>


<gallery>
ไฟล์:สมเด็จพระราชินีในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง.jpg|File:สมเด็จพระราชินีในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง.jpg|thumb|สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]]
</gallery>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 17 สิงหาคม 2562

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี
พระอัครมเหสี
ไฟล์:สมเด็จพระราชินีสุทิดาในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง.jpg
พระบรมราชินี
ดำรงตำแหน่ง4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน (4 ปี 350 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระราชินี
ดำรงตำแหน่ง1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
พระราชสมภพ3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 (45 พรรษา)[1]
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ราชวงศ์จักรี
ลายพระอภิไธยไฟล์:Singnature Queen Suthida.png

พลเอกหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (เดิม: สุทิดา ติดใจ; 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521) เป็นสมเด็จพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]

เดิมทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ต่อมาทรงเข้ารับราชการทหารในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[3] นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[4]

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[5]พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[6] จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[7] ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[2]

สมเด็จพระบรมราชินีแห่ง
ราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา

พระราชประวัติ

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521[8][9]ณ ตำบลบ้านพรุ [10]อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543[11] ต่อมาทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2551[12]

การรับราชการ

วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557 พระองค์โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล[13] และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ได้ตามเสด็จในพิธีสังเวยพระป้ายในเทศกาลตรุษจีนพระที่นั่งอัมพรสถาน[14] และปรากฏตัวอีกครั้งในวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติในปีเดียวกัน แต่ในเนื้อข่าวมิได้ระบุชื่อ[15][16]

ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทางกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังได้เผยแพร่รายงานการเสด็จพระราชดำเนินที่พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติไปทอดพระเนตรพระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนามสกุลของท่านผู้หญิงนั้นได้มีการเพิ่มเติมเป็น วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา[17] ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีหมายกำหนดการที่ระบุว่าท่านผู้หญิงได้ใช้ชื่อสกุลดังกล่าวมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีเดียวกัน[18]

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระองค์โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ยังทรงเป็นสยามมกุฎราชกุมาร พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[19]

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระองค์ทรงนำทำการแสดงทางทหารประกอบดนตรี “ราชวัลลภ เริงระบำ” (Hop to the Bodies Slams) ในงานวันราชวัลลภ ที่มีความยาวต่อเนื่องถึง 48 นาที ได้อย่างสง่างามและเข้มแข็ง[20][21] ในฐานะผู้บังคับการกองผสม[22]

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน) ให้แก่ พลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา[23]

และยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[3] ทั้งยังทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นราชองครักษ์เวรในพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์[4][24]

สมเด็จพระราชินี

ป้ายพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ประดับพร้องธงประจำพระองค์ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 มีพระราชโองการให้สถาปนาพลเอกหญิง สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็นสมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์[7] ภายหลังที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[5] โดยในวันเดียวกันนั้น มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสและสถาปนาสมเด็จพระราชินี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[6]

ต่อมา ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสุทิดาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี[2]

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมการบังคับบัญชาหน่วยราชการในพระองค์ ข้าราชการและข้าราชบริพารในกรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์ ขึ้นตรงกับ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการปฏิบัติราชการ ดังนี้

  1. กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  2. กองราชสำนักสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
  3. กองศิลปาชีพ
  4. สถาบันสิริกิติ์
  5. มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  6. นางสนองพระโอษฐ์และคุณข้าหลวงในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[25]

การรับราชการ

  • พ.ศ. 2553 ทรงดำรงตำแหน่ง รักษาราชการนายทหารยุทธการ ฝ่ายยุทธการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองกิจการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[26]
  • พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[27]
  • พ.ศ. 2555 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับกองพันฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ โรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[28]
  • ก่อน 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๒) และผู้บังคับการหน่วยฝึกทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด[29]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[30]
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด (อัตรา พลตรี)[31]
  • 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลตรี)[32]
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2558 ทรงดำรงตำแหน่งราชองครักษ์เวร[33]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท)[34]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอก)[35]
  • 14 เมษายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง ราชองครักษ์เวร[36]
  • 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ทรงดำรงตำแหน่ง รองสมุหราชองครักษ์ กรมราชองครักษ์ (อัตราเงินเดือน น.๙)[37]
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลเอกพิเศษ)[3]

ประสบการณ์ทางทหาร

พลเอก (พิเศษ) หญิง สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
รับใช้กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2553 –ปัจจุบัน
ชั้นยศ พลเอก (พิเศษ)

ด้านการทหาร

[38]

  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรวิชาทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ของโรงเรียน และศูนย์ฝึกหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ชั้นนายร้อย-ชั้นนายพัน หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ของโรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2556 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91
  • พ.ศ. 2557 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 59
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศ ของโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ส่งทางอากาศนาวิกโยธิน ของโรงเรียนทหารนาวิกโยธิน ด้วยการกระโดดร่มลงทะเลในเวลากลางคืน ที่สัตหีบ ซึ่งโรงเรียนทหารนาวิกโยธินไม่เคยมีการฝึกมาก่อน เพราะปกติแล้วจะทำการฝึกกระโดดในเวลากลางวันเท่านั้น พระองค์จึงทรงเป็นนายทหาร และนายทหารหญิงพระองค์แรก ที่ทำการฝึกหลักสูตรนี้[39]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตร Combat Qualifying Course Jungle Warfare ของหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
  • เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ทรงจบหลักสูตรการยิงปืนพกในระบบต่อสู้ภายใต้สภาวะกดดันของกองบังคับการปราบปราม

ด้านการบิน

[40]

  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของหน่วยฝึกการบินพลเรือนกองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna T 41
  • 16 มกราคม พ.ศ. 2554 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรศิษย์การบินทหารบกอากาศยาน ปีกติดลำตัว ชั้นมัธยม ของโรงเรียนการบินทหารบก ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ Cessna T 41
  • 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ทรงสำเร็จการฝึกและศึกษาตามหลักสูตรการบินของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ ทรงทำการบินกับเครื่องบิน แบบ CT-4E และ PC-9
  • เสด็จฯ ไปทรงฝึกและศึกษาการบินเพิ่มเติม ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ทรงผ่านการทดสอบและได้รับใบอนุญาตนักบินของสหภาพยุโรป ออกใบอนุญาต โดย สำนักงานการบินพลเรือน แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดังนี้ ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล PPL(A) ทรงทำการบินกับเครื่องบินแบบ Cessna 172, Mooney M-20, Piper PA-34 Seneca ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี CPL(A) โดยมี Type Rating ของเครื่องบินแบบ Boeing 737 300-900 และใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (ATPL-Theory)
  • ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก จากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน ทรงปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนักบินผู้ช่วย ทำการบินกับเครื่องบินพระราชพาหนะ Boeing 737-400 และ Boeing 737-800

พระเกียรติยศ

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา
พัชรสุธาพิมลลักษณ
พระบรมราชินี
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
ไฟล์:Royal Flag of HM Queen Suthida.svg
ธงประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท [41]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ
ลำดับโปเจียม2

พระอิสริยยศ

  • สุทิดา ติดใจ (3 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – ไม่ทราบ)
  • สุทิดา วชิราลงกรณ์ (ก่อน 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554[42] – ก่อน 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
  • สุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (ก่อน 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559[18][43] – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • ท่านผู้หญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา (13 ตุลาคม พ.ศ. 2560[23] – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระราชินีสุทิดา (1 พฤษภาคม[7] – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  • สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[2] – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค

ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี โดยเครื่องราชอิสริยยศราชูปโภคเหล่านี้ประกอบด้วย

  • พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา
  • กาน้ำทองคำลงยา
  • ขันน้ำพระสุธารสเย็น พร้อมจอกลอยทองคำลงยา
  • หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
  • พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)ทองคำลงยา
  • ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมคลุมปัก
  • พระฉาย (กระจกส่องหน้า) ทองคำลงยา
  • พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือน พระสางเสนียด และพระกรัณฑ์ทองคำลงยา สำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
  • ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค พร้อมผ้าซับพระพักตร์จีบริ้วพาดที่ราว 2 ผืน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระยศทหาร

  • 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ร้อยตรีหญิง[49]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ร้อยโทหญิง[42]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2554 ร้อยเอกหญิง[50]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 พันตรีหญิง[51]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2555 พันโทหญิง[52]
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 พันเอกหญิง[53]
  • 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พลตรีหญิง[54]
  • 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลโทหญิง[43]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พลเอกหญิง[55]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "พระราชประวัติ สมเด็จพระราชินีสุทิดา". ไทยรัฐ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "พระบรมราชโองการ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (14 ข): 2. 4 พฤษภาคม 2562.
  3. 3.0 3.1 3.2 "พระราชโองการ ประกาศแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 309 ง): 1. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. 4.0 4.1 "โปรดเกล้า'พล.ต.หญิงสุทิดา' ราชองครักษ์เวรต่ออีกวาระ". เดลินิวส์. 26 ตุลาคม 2558.
  5. 5.0 5.1 ""ราชาภิเษกสมรส" ร. 10 และสมเด็จพระราชินีสุทิดา". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 ""ในหลวง" ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส สถาปนาสมเด็จพระราชินี". ไทยรัฐ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 "ประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระราชินี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันหยุดราชการประจำปี (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ ๓ มิถุนายน ของทุกปี)
  9. "พระราชประวัติ สมเด็จพระราชินีสุทิดา". ไทยรัฐ. 1 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี". Royal World Thailand - รอยัล เวิลด์ ประเทศไทย. 3 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. Suthida Tidjai (2000). A report on a proposed advertising research and campaign of Yakult. Assumption University
  12. "พระราชประวัติ สมเด็จพระราชินี ทรงงานแห่งกองทัพไทย". สปริงนิวส์. 2 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพล". เดลินิวส์. 7 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "สมเด็จพระบรมฯเสด็จแทนพระองค์ประกอบพิธีสังเวยพระป้าย ในเทศกาลตรุษจีน". ไทยรัฐออนไลน์. 23 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สมเด็จพระบรมฯ ทรงปล่อยพันธุ์ปลา 390,000 ตัว เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติพระองค์เจ้าทีปังกรฯ". เนชั่น. 29 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "'พระองค์ที' ทรงปล่อยปลา เนื่องในวันประสูติ". เดลินิวส์. 29 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "รายงานการเสด็จพระราชดำเนิน กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง" (PDF). สำนักพระราชวัง: 1. 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) (ลิงก์ถูกนำออก)
  18. 18.0 18.1 "วาระผู้บริหารจังหวัดปทุมธานี" (PDF). สำนักงานจังหวัดปทุมธานี: 1. 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. "กำหนดการ "พระบรมฯ" ไปในการเชิญพระบรมศพ". มติชน. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "พระคู่ขวัญคู่พระบารมี". ไทยรัฐ. 5 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "พระปรีชาสามารถด้านการทหาร ของ "สมเด็จพระราชินีสุทิดา"". mgronline. 3 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "ราชวัลลภเริงระบำ 11 พ.ย. 59". ยูทูบ. 5 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. 23.0 23.1 23.2 "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (51ข): 1. 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  24. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 117 ง): 12. 27 เมษายน พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  25. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง การบังคับบัญชาหน่วยราชการในพระองค์ข้าราชการและข้าราชบริพารในกรมกิจการในพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (153 ง): 1. 14 มิถุนายน 2562.
  26. "วันพระราชสมภพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ พระบรมราชินี". คมชัดลึก. 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. "พระราชประวัติ 'สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี' ด้านหลักสูตรการทหาร-ราชการ-การบิน". กรุงเทพธุรกิจ. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  28. "พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาฯ ด้านการทรงงานทางราชการ". สนุกดอตคอม. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  29. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (15 ข): 1. 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  30. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 155 ง): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  31. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (พิเศษ 177 ง): 1. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  32. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (พิเศษ 132 ง): 1. 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (พิเศษ 166 ง): 1. 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  34. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (พิเศษ 191 ง): 1. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (พิเศษ 287 ง): 1. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 117 ง): 12–13. 27 เมษายน พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. "พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารสัญญาบัตรรับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 156 ง): 1. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรมประชาสัมพันธ์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ด้านหลักสูตรการอบรมด้านการทหาร และอื่น ๆ
  39. โพสต์ทูเดย์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
  40. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กรมประชาสัมพันธ์,พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ด้านหลักสูตรการอบรมด้านการบิน
  41. "ประกาศ เรื่อง การถวายพระเกียรติยศ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (17ข): 1. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  42. 42.0 42.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (15ข): 32. 27 เมษายน พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  43. 43.0 43.1 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทหารยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 1. 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  44. 44.0 44.1 "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์และเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (39ข): 2. 11 พฤษภาคม 2562.
  45. "ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (15ข): 1. 11 พฤษภาคม 2562.
  46. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (22ข): 1. 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  47. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (15ข): 1. 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  48. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (39ข): 2. 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  49. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (3ข): 40. 25 มกราคม พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  50. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (15ข): 28. 27 เมษายน พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  51. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (27ข): 35. 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  52. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (3ข): 25. 25 มกราคม พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  53. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารต่ำกว่าชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (14ข): 15. 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  54. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (27ก): 1. 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  55. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทหารยศทหารชั้นนายพล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 133 (44ข): 1. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
ก่อนหน้า สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ถัดไป
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

สมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรไทย
(1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)
​ยังอยู่ในพระอิสริยยศ
ก่อตั้งครั้งแรก
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
(1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560
1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง