ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟลูต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:flute.jpg|555px|thumb|ฟลุต]]
[[ไฟล์:flute.jpg|555px|thumb|ฟลุต]]
'''ฟลูต'''<ref>ณัชชา โสคติยานุรักษ์, ''พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์'' (พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543), หน้า 73</ref> ({{lang-en|flute}}) เป็น[[เครื่องดนตรี]]สากลประเภท[[เครื่องเป่าลมไม้]] ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน น่าฟัง
'''ฟลูต'''<ref>ณัชชา โสคติยานุรักษ์, ''พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์'' (พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543), หน้า 73</ref> ({{lang-en|flute}}) เป็น[[เครื่องดนตรี]]สากลของราชศักดิ์ อายุวัฒนะ เป็นประเภท[[เครื่องเป่าลมไม้]] ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน น่าฟัง


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:35, 13 สิงหาคม 2562

ฟลุต

ฟลูต[1] (อังกฤษ: flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลของราชศักดิ์ อายุวัฒนะ เป็นประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน น่าฟัง

ประวัติ

ฟลูต เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีแรก ๆ ของโลก ฟลูตที่เป่าตามแนวนอนพบครั้งแรกที่ประเทศจีนเมื่อ 900 ปีก่อน ค.ศ. ฟลูตได้ไปถึงยุโรปเมื่อราวปี ค.ศ. 1100 ฟลูตในช่วงปี ค.ศ. 1700 นั้นผลิตจากไม้และมีคีย์ 1-4 คีย์ ในศตวรรษที่ 19 จำนวนคีย์ได้เพิ่มเป็น 8 คีย์

ในปี ค.ศ. 1832 ผู้ผลิตเครื่องดนตรีชาวเยอรมันชื่อ Theobald Boehm ได้คิดค้นระบบการวางนิ้วของฟลูตใหม่ และเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ผลิตจากไม้เป็นโลหะ ทำให้ฟลูตสามารถเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้นและเสียงเจิดจ้าขึ้น ระบบเดียวกันนี้ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับ โอโบ คลาริเน็ต และแซกโซโฟนด้วย

ประเภทของฟลูต

ฟลูตมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา, โดยพื้นฐานแล้วฟลูตก็คือ ท่อปลายเปิดที่ถูกเป่าให้มีเสียง (เหมือนการเป่าขวด) เมื่อมีความต้องการการเครื่องดนตรีที่มีความสามารถมากขึ้น ได้ทำให้เกิดการพัฒนาจนเกิด ฟลูตตะวันตก ซึ่งมีกลุ่มของแป้นกดที่มีความซับซ้อน

ฟลูตถูกแบ่งเป็นหลายประเภท โดยส่วนใหญ่ผู้เล่นจะเป่าไปที่ขอบของฟลูตเพื่อให้เกิดเสียง อย่างไรก็ตาม ฟลูตบางประเภทอย่างเช่น ขลุ่ย, นกหวีด จะมีท่อนำลมไปยังขอบ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเล่น แต่จะทำให้ไม่สามารถควบคุมลักษณะของเสียงได้เช่นเดียวกับการผิว โดยปรกติแล้ว ขลุ่ยจะไม่ถูกเรียกว่าฟลูต ถึงแม้ว่ากายภาพ วิธีการ และเสียง จะคล้ายกับฟลูตก็ตาม

การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งก็การแบ่งระหว่าง การเป่าด้านข้าง (Transverse) และการเป่าจากส่วนบน

กลุ่มหลัก ๆ ของฟลุตประกอบไปด้วย ปิคโคโล คอนเสิร์ทฟลุต อัลโตฟลุต เบสฟลุต คอนทราเบสฟลุต ซึ่งแต่ละชนิดจะมีช่วงของเสียงแตกต่างกัน ปิคโคโลจะมีเสียงสูงกว่าฟลูต ไป 1 คู่แปด แต่การเขียนโน้ตจะเขียนเช่นเดียวกับคอนเสิร์ตฟลูต อัลโตฟลูตจะให้เสียง G (โซ) ซึ่งต่ำกว่า C (โด) กลาง เสียงสูงที่สุดที่อัลโตฟลูตจะเล่นได้คือ G (โซสูง) อยู่บนเส้นที่ 4 เหนือบรรทัด 5 เส้น เบสฟลูตจะให้เสียงต่ำกว่าคอนเสิร์ตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด เป็นฟลูตที่ไม่ค่อยถูกนำมาเล่น มีทั้ง ฟลูตเสียงสูง ที่ให้เสียง G (โซ) ที่ให้เสียงสูงกว่า อัลโตฟลูตอยู่ 1 คู่แปด, โซปราโนฟลูต, เทเนอร์ฟลูต ฯลฯ โดยฟลูตที่มีขนาดแตกต่างจาก ฟลูต และ ปิคโคโล บางครั้งจะถูกเรียกว่า ฮาร์โมนีฟลูต

วัสดุที่ใช้ทำฟลูต

  • นิเกิล ใช้ทำฟลูตระดับนักเรียน หรือสำหรับผู้หัดเล่น ฟลูตทำจากวัสดุประเภทนี้จะมีราคาถูก มีการตอบสนองต่อการสั่นสะเทือนต่ำ ให้เสียงที่ทึบ
  • นิเกิล-ซิลเวอร์ เกิดจากการนำทองแดงผสมนิเกิล และโลหะอื่นๆอีกเล็กน้อยตามที่ผู้ผลิตต้องการ โลหะชนิดนี้ไม่มีเงินผสมอยู่ แต่มีสีเหมือนเงิน จึงเรียกว่านิเกิล-ซิลเวอร์ และมักถูกเคลือบด้วยเงินอีกชั้น ฟลูตชนิดนี้ให้เสียงที่สว่าง การตอบสนองดี ราคาสูงกว่าแบบนิเกิล
  • เงิน (Silver, Stiring Silver) ให้การตอบสนองและการโปรเจกต์เสียงที่ดีกว่านิเกิ้ลซิลเวอร์ ราคาแพงกว่าแบบนิเกิล-ซิลเวอร์มาก
  • ไม้
  • แก้ว
  • ทอง

ส่วนประกอบฟลูต

  • Headjoint หรือที่เรียกว่าปากเป่า เป็นตัวกำเนิดเสียง ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
    • Reflector อยู่ด้านในสุดของรูเป็นตัวสร้างเสียง
    • Lip Plate เป็นส่วนวางปาก ซึ่งบน Lip Plate จะมีปากเป่า (Embouchure) เป็นส่วนให้ผู้เล่นผิวลมเข้าไป
    • Crown เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของฟลูต สามารถหมุนออกเพื่อปรับ Refector ได้
  • Body เป็นส่วนควบคุมเสียง โดยมีส่วนคีย์และกลไกในการเล่น อาจจะมีกลไกเพิ่มเติมเช่น
    • E Mechanism
  • Foot คือส่วนหางมี 2 ประเภทคือ C Foot และ B Foot โดยฟลุตที่เป็น C Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือ Middle C และฟลุตที่เป็น B Foot จะเล่นเสียงต่ำสุดได้คือเสียง B (ต่ำกว่า Middle C ครึ่งเสียง) ฟลูตที่เป็น B Foot จะราคาแพงกว่า ยาวกว่า และหนักกว่า C Foot

แขนงของฟลูต

อ้างอิง

  1. ณัชชา โสคติยานุรักษ์, พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์ (พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2543), หน้า 73