ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ใบไม้ที่ปลิดปลิว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PUNG191230 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PUNG191230 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
'''ใบไม้ที่ปลิดปลิว''' เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างจากเค้าโครงบทประพันธ์แนวเมโลดราม่า ([[:en:Melodrama|Melodrama]]) สะท้อนปัญหาของกลุ่ม[[LGBT|บุคคลข้ามเพศ]]<ref>[https://www.thaitradingfocus.com/ไลฟ์สไตล์/2902-ใบที่ปลิดปลิว ใบที่ปลิดปลิว : โลกของคนที่แปลกแยก]</ref> ของ[[วิมล เจียมเจริญ]] (ทมยันตี) โดย [[เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์]], เชนจ์ 2561 และเก้ง กวาง แก๊งค์ เขียนบทโทรทัศน์โดย [[วรรธนา วีรยวรรธน]] (เนปาลี) และกำกับการแสดงโดย [[เอกสิทธิ์ ตระกูลเกษมสุข]]
'''ใบไม้ที่ปลิดปลิว''' เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างจากเค้าโครงบทประพันธ์แนวเมโลดราม่า ([[:en:Melodrama|Melodrama]]) สะท้อนปัญหาของกลุ่ม[[LGBT|บุคคลข้ามเพศ]]<ref>[https://www.thaitradingfocus.com/ไลฟ์สไตล์/2902-ใบที่ปลิดปลิว ใบที่ปลิดปลิว : โลกของคนที่แปลกแยก]</ref> ของ[[วิมล เจียมเจริญ]] (ทมยันตี) โดย [[เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์]], เชนจ์ 2561 และเก้ง กวาง แก๊งค์ เขียนบทโทรทัศน์โดย [[วรรธนา วีรยวรรธน]] (เนปาลี) และกำกับการแสดงโดย [[เอกสิทธิ์ ตระกูลเกษมสุข]]


บทประพันธ์กล่าวถึงสภาพสังคมในปี พ.ศ. 2531<ref>[https://thestandard.co/one31-baimaiteeplidplew ช่องวัน 31 ส่ง ‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ละครดราม่าชำระบัญชีความขื่นขมของทรานส์เจนเดอร์]</ref> ที่สังคมที่ไม่ยอมรับการมีตัวตนของบุคคลข้ามเพศ ผู้ที่เป็น[บุคคลข้ามเพศมักจะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด เป็นโรคจิต บ้างก็ฆ่าตัวตาย<ref>[https://themomentum.co/gender-binary-in-lgbt-couple-in-thai-tv-series เดือนแห่งไพรด์ : จากเพลงสุดท้ายสู่ใบไม้ที่ปลิดปลิว]</ref> แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่มเติมมุมมองในเรื่องความต่างของ[[ชั่วรุ่น]]ระหว่างตัวละครพ่อและลูกชายที่เป็นบุคคลข้ามเพศ สิทธิในการมีตัวตนในสังคมของบุคคลข้ามเพศ และการให้อภัย ปล่อยวางอดีต<ref>[https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_2661530 กู่’ทำละคร‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ชี้ให้อภัยสำคัญสุด–หวังคนดูได้คิด]</ref><ref>[https://today.line.me/th/pc/article/“รัศมีแข”+อินตามบทละคร+“ใบไม้ที่ปลิดปลิว”+เหมือนชีวิตตนเอง-rMpZzX "รัศมีแข" อินตามบทละคร "ใบไม้ที่ปลิดปลิว" เหมือนชีวิตตนเอง]</ref>
บทประพันธ์กล่าวถึงสภาพสังคมในปี พ.ศ. 2531<ref>[https://thestandard.co/one31-baimaiteeplidplew ช่องวัน 31 ส่ง ‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ละครดราม่าชำระบัญชีความขื่นขมของทรานส์เจนเดอร์]</ref> ที่สังคมที่ไม่ยอมรับการมีตัวตนของบุคคลข้ามเพศ ผู้ที่เป็นบุคคลข้ามเพศมักจะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด เป็นโรคจิต บ้างก็ฆ่าตัวตาย<ref>[https://themomentum.co/gender-binary-in-lgbt-couple-in-thai-tv-series เดือนแห่งไพรด์ : จากเพลงสุดท้ายสู่ใบไม้ที่ปลิดปลิว]</ref> แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่มเติมมุมมองในเรื่องความต่างของ[[ชั่วรุ่น]]ระหว่างตัวละครพ่อและลูกชายที่เป็นบุคคลข้ามเพศ สิทธิในการมีตัวตนในสังคมของบุคคลข้ามเพศ และการให้อภัย ปล่อยวางอดีต<ref>[https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_2661530 กู่’ทำละคร‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ชี้ให้อภัยสำคัญสุด–หวังคนดูได้คิด]</ref><ref>[https://today.line.me/th/pc/article/“รัศมีแข”+อินตามบทละคร+“ใบไม้ที่ปลิดปลิว”+เหมือนชีวิตตนเอง-rMpZzX "รัศมีแข" อินตามบทละคร "ใบไม้ที่ปลิดปลิว" เหมือนชีวิตตนเอง]</ref>


==รายชื่อนักแสดง==
==รายชื่อนักแสดง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:05, 13 สิงหาคม 2562

ใบไม้ที่ปลิดปลิว
ประเภทละครโทรทัศน์
สร้างโดย
เค้าโครงจากใบไม้ที่ปลิดปลิว โดย ทมยันตี
เขียนโดยวรรธนา วีรยวรรธน
กำกับโดยเอกสิทธิ์ ตระกูลเกษมสุข
แสดงนำพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์
พุฒิชัย เกษตรสิน
ยุรนันท์ ภมรมนตรี
นิดา พัชรวีระพงษ์
วิทยา วสุไกรไพศาล
คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดรักที่อยากลืม - ปิยนุช เสือจงพรู
ดนตรีแก่นเรื่องปิดใบไม้ - วิชญาณี เปียกลิ่น
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน21 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างถกลเกียรติ วีรวรรณ
นิพนธ์ ผิวเณร
สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
วรฤทธิ์ ไวยเจียรนัย
ความยาวตอน75 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายช่องวัน, ไลน์ทีวี
ออกอากาศ11 มิถุนายน พ.ศ. 2562 –
20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ใบไม้ที่ปลิดปลิว เป็นละครโทรทัศน์ที่สร้างจากเค้าโครงบทประพันธ์แนวเมโลดราม่า (Melodrama) สะท้อนปัญหาของกลุ่มบุคคลข้ามเพศ[1] ของวิมล เจียมเจริญ (ทมยันตี) โดย เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์, เชนจ์ 2561 และเก้ง กวาง แก๊งค์ เขียนบทโทรทัศน์โดย วรรธนา วีรยวรรธน (เนปาลี) และกำกับการแสดงโดย เอกสิทธิ์ ตระกูลเกษมสุข

บทประพันธ์กล่าวถึงสภาพสังคมในปี พ.ศ. 2531[2] ที่สังคมที่ไม่ยอมรับการมีตัวตนของบุคคลข้ามเพศ ผู้ที่เป็นบุคคลข้ามเพศมักจะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด เป็นโรคจิต บ้างก็ฆ่าตัวตาย[3] แต่เมื่อนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเพิ่มเติมมุมมองในเรื่องความต่างของชั่วรุ่นระหว่างตัวละครพ่อและลูกชายที่เป็นบุคคลข้ามเพศ สิทธิในการมีตัวตนในสังคมของบุคคลข้ามเพศ และการให้อภัย ปล่อยวางอดีต[4][5]

รายชื่อนักแสดง

บทบาท นักแสดงหลัก
นิรา คงสวัสดิ์ (นิ) พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์
ชัชวีร์ รัตนบดินทร์ (ชัช) พุฒิชัย เกษตรสิน
ชมธวัช สิริวัฒน์ (ชม) ยุรนันท์ ภมรมนตรี
รังรอง สิริวัฒน์ (รอง) นิดา พัชรวีระพงษ์
นพ.เบญจางค์ สินธุ (หมอเบญจางค์) วิทยา วสุไกรไพศาล
มะนาว (นาว) คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์
บทบาท นักแสดงสมทบ
ลุงพล จักรกฤษณ์ อำมรัตน์
อ่อนศรี (อ่อน) นัฏฐา ลอยด์
คุณหญิงอิงอร พรหมพร ยูวะเวส
อ๊อด พงษ์นิรันดร์ กันตจินดา
ป้าจิบ ชุติมา นัยนา
แป้น (ช่างแต่งหน้าของรังรอง) ศุกรินทร์ พวงเข็มขาว
ยอดดอย อ้วน รีเทิร์น
ใบตอง รัศมีแข ฟ้าเกื้อล้น
บทบาท นักแสดงรับเชิญ
นิรมล คงสวัสดิ์ อาภาศิริ นิติพน
ชนันธวัช สิริวัฒน์ (ก่อนศัลยกรรม) ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา
ชนันธวัช สิริวัฒน์ (ตอนเด็ก) ธัณญ์กรณ์ กัลยาวุฒิพงศ์
พรชัย ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ

การตอบรับ

ก่อนละครออกอากาศ ละครได้รับกระแสด้านลบอย่างมากในพันทิป.คอม ถึงการรับบทนำของ พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ โดยมีการตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงไม่เลือกบุคคลข้ามเพศมารับบทนำ ซึ่งในเรื่องนี้ผู้กำกับคุณเอกสิทธิ์เผยว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และได้มีการปรึกษากับคุณสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา. คุณถกลเกียรติ วีรวรรณ และคุณนิพนธ์ ผิวเณร ทั้งสามท่านให้ความเห็นว่าการใช้บุคคลข้ามเพศมารับบทนำจะทำให้ผู้ชมสามารถรู้ได้ทันทีว่าตัวเอกไม่ใช้ผู้หญิงอย่างในบทประพันธ์ สุดท้ายละครเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นเพียงละครเฉพาะทางไปในที่สุด ฉะนั้นเพื่อสร้างความตื่นเต้นเหมือนตอนสร้างตัวละครไวน์ในซีรีส์สงครามนางงาม จึงเห็นควรให้ผู้หญิงจริงๆ มารับบทนำ[6]

เมื่อละครออกอากาศครั้งแรก ละครได้รับกระแสเสียงตอบรับที่ดีมาก โดยเฉพาะการถ่ายทอดความเป็นบุคคลข้ามเพศของ พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ ที่สามารถเข้าถึงตัวละครนี้ได้อย่างละเอียด มีมิติ และมีความซับซ้อนในตัวเอง รวมถึงการถ่ายทอดชีวิตและความเจ็บปวดของทรานส์เจนเดอร์ผ่านฉาก "แยงโม" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฉากที่ท้าทายฝีมือการแสดงของพิมพ์ชนก[7] ถึงแม้ว่าฉากนี้จะเป็นฉากที่คนทั่วไปไม่เข้าใจในรายละเอียดว่าตัวละครกำลังทำอะไร แต่ผู้เขียนบทโทรทัศน์ คุณวรรธนา วีรยวรรธน ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงรายละเอียดผ่านทวิตเตอร์ของตัวเองว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมากขนาดไหน ถึงได้นำมาเขียนเป็นบทละครโทรทัศน์ออกมาให้พิมพ์ชนกได้ถ่ายทอด[8]

ในส่วนของเรตติ้งละครนั้น เมื่อออกอากาศครั้งแรกได้เรตติ้งเฉลี่ยทั่วประเทศไปเพียง 1.5 แต่หลังจากตอนที่ 2 เรตติ้งเพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 2.0 ขึ้นไปตั้งแต่ตอนที่ 3 และสูงสุดที่ 2.6 ในตอนที่ 7[9] นอกจากนั้นการรับชมย้อนหลังทาง ไลน์ทีวี ก็มียอดเข้าชมสะสมกว่า 150 ล้านครั้งแล้ว[10]

อ้างอิง

  1. ใบที่ปลิดปลิว : โลกของคนที่แปลกแยก
  2. ช่องวัน 31 ส่ง ‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ละครดราม่าชำระบัญชีความขื่นขมของทรานส์เจนเดอร์
  3. เดือนแห่งไพรด์ : จากเพลงสุดท้ายสู่ใบไม้ที่ปลิดปลิว
  4. กู่’ทำละคร‘ใบไม้ที่ปลิดปลิว’ ชี้ให้อภัยสำคัญสุด–หวังคนดูได้คิด
  5. "รัศมีแข" อินตามบทละคร "ใบไม้ที่ปลิดปลิว" เหมือนชีวิตตนเอง
  6. ผกก."ใบไม้ที่ปลิดปลิว" เชื่อมือ "ใบเฟิร์น" ถ่ายทอดจริตกะเทย ตีแผ่หัวอก "สาวประเภทสอง"
  7. ไขข้อข้องใจ! “ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก” ถ่ายทอดอารมณ์เจ็บปวดขั้นสุด เมื่อต้อง “แยงโม” ในละครใบไม้ที่ปลิดปลิว
  8. กระจ่างแล้ว “แยงโม” คืออะไร? ทำไมต้องใช้แท่งแก้วสอดใส่.. ใน “ใบไม้ที่ปลิดปลิว”
  9. เปิดเรตติ้ง “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” คุณพระ! บอกเลยว่าไม่ธรรมดา
  10. “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” มาแรงเขย่าแพลตฟอร์ม LINE TV ทะยานพุ่งแตะ 150 ล้านวิว

แหล่งข้อมูลอื่น