ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดนครราชสีมา"

พิกัด: 14°58′N 102°06′E / 14.97°N 102.1°E / 14.97; 102.1
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Hakim dorloh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 166: บรรทัด 166:
== ภูมิศาสตร์ ==
== ภูมิศาสตร์ ==
=== ภูมิประเทศ ===
=== ภูมิประเทศ ===
[[ไฟล์:Khaoyai panorama2.jpg|right|436.96x436.96px|thumb|[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]]]
[[ไฟล์:Haew Suwat Waterfall Khao-Yai02.jpg|right|250px|thumb|น้ำตกเหวสุวัตใน[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]]]
จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บน[[ที่ราบสูงโคราช]] ห่างจาก[[กรุงเทพ]] 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคือ[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]และ[[อุทยานแห่งชาติทับลาน]]ร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่<ref name="สำนักงานจังหวัด">ที่ตั้งและอาณาเขต [http://www.nakhonratchasima.go.th/nakhonrat/index.php สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา] สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555</ref> ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี
จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บน[[ที่ราบสูงโคราช]] ห่างจาก[[กรุงเทพ]] 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคือ[[อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่]]และ[[อุทยานแห่งชาติทับลาน]]ร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่<ref name="สำนักงานจังหวัด">ที่ตั้งและอาณาเขต [http://www.nakhonratchasima.go.th/nakhonrat/index.php สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา] สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555</ref> ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:38, 10 สิงหาคม 2562

จังหวัดนครราชสีมา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Ratchasima
คำขวัญ: 
เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี
หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ วิเชียร จันทรโณทัย
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
พื้นที่
 • ทั้งหมด20,493.964 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 1
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด2,646,401 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 2
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 37
รหัส ISO 3166TH-30
ชื่อไทยอื่น ๆโคราช, ราชสีมา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สาธร
 • ดอกไม้สาธร
 • สัตว์น้ำ ปลาพวง (ปลาบ้า)
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนมหาดไทย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
 • โทรศัพท์0 4424 3798
 • โทรสาร0 4425 5070
เว็บไซต์http://www.nakhonratchasima.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยและมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชื่อเมืองนครราชสีมาปรากฏครั้งแรกเป็นเมืองพระยามหานครในการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ(ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา) ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีรับสั่งให้ย้ายเมืองนครราชสีมามาตั้งบริเวณพื้นที่ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2217

ที่มาของชื่อ

มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด หรือเพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เดิมทีนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา มีการใช้ "นครราชสีมา" และ "นครราชสีห์มา" สลับกันไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2445 (พ.ศ. 2444 เดิม) ได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า

ชื่อมณฑลแลเมืองนครราชสีห์มา ซึ่งใช้ตัว ห การันต์ด้วยนั้น เปนการผิดจากความหมายของชื่อเมือง แต่นี้ต่อไปอย่าให้ใช้ตัว ห การันต์ ให้ใช้ว่า นครราชสีมา ในการที่จะออกชื่อเกี่ยวด้วยมณฑลแลเมืองนี้ในที่ทั้งปวง

— ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ หน้า ๗๙๑

[4]

ประวัติศาสตร์

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริด และยุคเหล็ก กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ ชุมชนบ้านปราสาท ชุมชนบ้านโนนวัด แหล่งภาพเขียนสีเขาจันท์งาม ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว

สมัยประวัติศาสตร์

อาณาจักรศรีจนาศะ หรือ จนาศะปุระ

มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ใน พ.ศ. 1411 ตามจารึก ข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวอาณาจักรนี้ ศึกษาได้จากศิลาจารึก ซึ่งปัจจุบันพบอยู่ 2 หลักคือ 1.  จารึกบ่ออีกา (จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. 1411)  สถานที่พบ บ้านบ่ออีกา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา  เนื้อหาโดยสังเขป  ด้านที่ 1 กล่าวถึงสัตว์และทาสที่พระราชาแห่งศรีจนาศะถวายแก่พระสงฆ์  ด้านที่ 2 เริ่มต้นด้วยการกล่าวสรรเสริญพระศิวะ แล้วกล่าวยกย่องอังศเทพซึ่งเป็นผู้สร้างศิวลึงค์นี้ 2. จารึกศรีจานาศะ (จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. 1480) สถานที่พบ บริเวณเทวสถาน ใกล้สะพานชีกุน อำเภอเมือง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา  เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระศิวะ จากนั้นสรรเสริญนางปารวตี ต่อจากนั้นจึงกล่าวถึงรายพระนามพระราชาแห่งอาณาจักรจานาศปุระ คือ พระราชาองค์แรกทรงพระนามว่าภคทัตต์ ผู้ที่สืบต่อลงมาจากพระเจ้าภคทัตต์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า สุนทรปรากรม พระเจ้าสุนทรปรากรมทรงมีโอรสทรงพระนามว่า สุนทรวรมัน พระเจ้าสุนทรวรมันทรงมีโอรส 2 องค์องค์พี่ทรงนามว่านรปติสิงหวรมัน ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แห่งอาณาจักรศรีจานาศะ องค์น้องทรงนามว่า มงคลวรมัน ได้โปรดให้สร้างจารึกหลักนี้เพื่อฉลองการสร้างพระรูปพระชนนีเป็นพระราชเทวี คือ ชายาของพระศิวะ เมื่อศักราช 859 (พ.ศ. 1480) ส่วนจารึกด้านที่ ๒ นั้น เป็นรายชื่อของทาส 

เมืองพิมาย หรือ วิมายปุระ

ชุมชนในเขตลุ่มแม่น้ำมูลเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมืองขึ้นในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7) เมื่อปรากฏเมืองที่มีคันดินล้อมรอบซี่งมีรูปร่างกลมหรือมีรูปร่างไม่แน่นอนกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เช่น บริเวณบ้านเมืองฝ้าย ตำบลบ้านฝ้าย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณบ้านโตนด ตำบลโตนด อำเภอโนนสูงบริเวณเมืองพิมาย อำเภอพิมาย บริเวณเมืองเสมา อำเภอเนินสูง บริเวณหินขอนอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยบริเวณบ้านโตนดที่อยู่ห่างจากเมืองพิมายไปทางด้านใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ได้พบลูกปัดแก้วสีน้ำเงินและลูกปัดหินทำด้วยหินอารเกทและเตอร์เนเสียน มีลายสลับเขียว เหลือง แดง ซึ่งพบมากในชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำมูล มีการรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ แสดงความเห็นว่า บริเวณบ้านโตนดน่าจะเป็นหมู่บ้านชนบทของเมืองพิมาย เป็นพื้นที่ทำการเพาะปลูกส่วนหนึ่งของเมืองพิมาย โดยมีแม่น้ำมูลเป็นทางคมนาคมขนส่งในการลำเลียงพืชพันธุ์ธัญญาหารสู่เมืองพิมายในขณะเดียวกัน เมืองพิมายได้ปรากฏชื่ออยู่ในจารึกของเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1(พ.ศ. 1159 ถึงราว พ.ศ. 1180 หรือ ค.ศ. 616 ถึงราว ค.ศ. 637) ว่า ภีมปุระ (Bhimapura) ประกอบกับการพบจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1150 ถึง พ.ศ. 1159 หรือ ราว ค.ศ. 607 ถึง ค.ศ. 616) ที่อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ และที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจำนวนหลายหลัก แสดงให้เห็นว่า อารยธรรมเขมรได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามามีบทบาทในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6) แล้ว โดยปรากฏชุมชนในวัฒนธรรมเขมรหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่น บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณบ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

 เมืองพิมายได้เจริญขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นเมืองศูนย์กลางขนาดใหญ่ของอารยธรรมเขมรในเขตลุ่มแม่น้ำมูลในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 1654 (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 11)เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์มหิธรปุระ (Mahidrapura) ขึ้นในเขตที่ราบสูงโคราช และเจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 ถึงราว พ.ศ. 1763 หรือ ค.ศ. 1181 ถึงราว ค.ศ. 1220) เพราะมีชื่อเมืองพิมายปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์56 กล่าวว่า “จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง”และมีรูปฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 และพระชายาอยู่ที่ปราสาทหินพิมายด้วย

จารึกปราสาทหินพิมาย

        จารึกที่พบที่ปราสาทหินพิมายมีทั้งหมด 6 หลัก คือ

        -     จารึกปราสาทหินพิมาย 1 อักษรขอม ภาษาสันสกฤต ศิลาทราย กว้าง 57 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร หนา 12เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท

        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 2 อักษรขอม ภาษาสันสกฤตและเขมร ศิลารูปใบเสมา กว้าง 23 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตรหนา 5.5 เซนติเมตร พบที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน

        -    จารึกปราสาหินพิมาย 3 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดด้านทิศใต้

        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 4 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่ระเบียงคดด้านใต้ซีกตะวันออก เป็นจารึกฐานประติมากรรม

        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 5 อักษรขอม ภาษาบาลี กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 32เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท

        -    จารึกปราสาทหินพิมาย 6 อักษรขอม ภาษาเขมร แตกชำรุดเป็น 5 ชิ้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบส่วนใดของปราสาท

        จารึกที่มีข้อความพอที่จะศึกษาได้ คือ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 จารึกปราสาทหินพิมาย 3 และจารึกปราสาทหินพิมาย 4

โดยเนื้อหาสาระของจารึกมีประเด็นที่สำคัญ คือ

        1.     การบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า

        2.     การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545 – 1593 / ค.ศ. 1002 –1050)

        3.     การทำนุบำรุงศาสนสถานโดยการสร้างรูปเคารพ การทำพิธีต่างๆ และการถวายที่ดิน ข้าทาส สิ่งของแก่ศาสนสถานเพื่ออุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษ

        4.     การสร้างเมืองและศาสนสถาน

        จากจารึกปราสาทหินพิมาย 2 มีการกล่าวถึง มหาศักราช 95858 เทียบได้กับ พ.ศ. 1579 (ค.ศ. 1036) และพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ซึ่งหมายถึง พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ทำให้นักวิชาการมีความเห็นว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นในรัชสมัยนี้โดยปามังติเอร์ (H.Parmentier) ให้ความเห็นว่า รูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธาน น่าจะเป็นฝีมือช่างในสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับศิลปะที่ปราสาทวัดเอกและวัดบาเสตในเมืองพระตะบองซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลนี้แต่จารึกหลักนี้มีปัญหาที่ว่าไม่ได้เป็นจารึกที่อยู่ติดกับตัวปราสาทหินพิมาย จึงไม่อาจสรุปลงไปได้อย่างชัดเจนว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1อย่างไรก็ตาม จารึกปราสาทหินพิมาย 3 ซึ่งเป็นจารึกที่ติดกับศาสนสถานได้กล่าวถึงมหาศักราช1030 หรือ พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650 – 1656 หรือ ค.ศ. 1107 – 1113) “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคต-วิมายะฯ...” ได้แสดงให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ต้องมีศาสนสถานปราสาทหิน พิมายอยู่แล้ว เพราะมีรูปเคารพกมรเตงชคตวิมายะ ซึ่งเป็นประธานของปราสาทหินพิมายแล้ว โดยนักวิชาการแสดงความเห็นว่ากมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะนั้นน่าจะหมายถึง เจ้าเมืองหรือขุนนางของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองเมืองพิมายอยู่ในขณะนั้น เพราะชื่อ ศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเป็นชื่อตามปราสาทหินพิมายที่ปรากฏในจารึก คือ ศรีวิเรนทราศรม ซึ่งหมายถึง อาศรมของศรีวิเรนทราธิบดี และไซเดนฟาเดน (E. Seidenfaden) ได้แสดงความเห็นว่า กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะ ต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656ถึงหลัง พ.ศ. 1688 หรือ ค.ศ.1113 ถึงหลัง ค.ศ. 1145)

        นอกจากนี้ ในตอนท้ายจารึกปราสาทหินพิมาย 3 ยังได้กล่าวถึงศักราช 1031 (พ.ศ. 1652 / ค.ศ. 1109) กมรเตงอัญศรีวีรวรมะได้ถวายของและข้าพระแด่กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกวิชัย เพื่อถวายผลนั้นแด่พระบาทกมรเตงอัญศรีธรณีนทรวรมเทวะฯ ซึ่งหมายถึง พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชย์อยู่ที่เมืองพระนครขณะนั้น

        จากจารึกทั้งสองหลักพอจะสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งกรอสลิเย่ (Bernard Philippe Groslier) กล่าวว่า คงเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623 – 1650 / ค.ศ. 1080 – 1107) เนื่องจากเมืองพิมายเป็นราชธานีของพระองค์มาก่อน โดยพระองค์โปรดให้สร้างปราสาทหินพิมายขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่บรรพบุรุษในราชวงศ์มหิธรปุระ

พุทธศาสนาที่ปราสาทหินพิมาย

        เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนา เพราะประธานเป็นรูปพระพุทธรูปนาคปรกศิลามีพระนาม กมรเตงชคตวิมายะ แต่การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นักวิชาการส่วนมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานหรือตันตระยาน เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงปรัชญาและจุดมุ่งหมายของวัชรยานและมหายานแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งวัชรยานและมหายานต่างก็มีปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นวัชรยานและมหายานจึงเป็นลัทธิที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏที่ปราสาทหินพิมายทั้งจากตัวศิลปะและจารึกกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน เนื่องจากด้านหน้าทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏรูปพระวัชรสัตวพุทธะ คือ พระชินพุทธะองค์ที่ 6 ของลัทธิวัชรยานแสดงรูปโดยทรงถือวัชระในพระหัตถ์ขวา และทรงถือกระดิ่งในพระหัตถ์ซ้าย และจากการศึกษาประติมากรรมเครื่องใช้สัมฤทธิ์ที่บริเวณเมืองพิมายและบริเวณใกล้เคียง พบวัชระและกระดิ่งที่ภิกษุในลัทธิวัชรยานใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้รูปเคารพที่ปรากฏอยู่บนทับหลังประดับประตูด้านในวิมานของปราสาทประธาน ยังแสดงถึงรูปเทพเจ้าในลัทธิวัชรยานด้วย คือทับหลังประดับทิศใต้ แสดงภาพกมรเตงชคตวิมายะอยู่ตรงกลาง ตอนบนของทับหลัง คือ พระชินพุทธะ 6 พระองค์ ด้านละ 3 พระองค์ ทับหลังประดับทิศตะวันตก ตอนบนแสดงภาพพระอมิตาภพุทธะ พระชินพุทธะ ประจำทิศตะวันตกส่วนตอนล่างแสดงภาพความรื่นรมย์บนสวรรค์สุขาวดี ทับหลังประดับทิศเหนือ ตรงกลางเป็นรูปเทพเจ้า 3 พักตร์ 6 กร โดยพระหัตถ์ล่างอยู่ในท่าปางสมาธิ พระหัตถ์ขวากลางถือลูกประคำ และพระหัตถ์ซ้ายกลางถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือเหวัชระ หรือพระวัชรินตามชื่อที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาทับหลังประดับทิศตะวันออก แสดงภาพเทพเจ้า 4 พักตร์ 8 กร โดยพระพักตร์ที่ 4อยู่ด้านหลังสองกรล่างอยู่ในท่าแสดงธรรม ร่ายรำอยู่ในท่าอรรธปรยังกะ บนพระไภรวะและนางกาลราตรี และทรงถือหนังช้าง เทพเจ้าองค์นี้คือ สังวร ซึ่งอยู่ในสกุลพระอักโษภยะพระชินพุทธะประจำทิศตะวันออกนอกจากนี้ ยังปรากฏทับหลังประดับประตูชิ้นหนึ่งไม่ทราบตำแหน่งเดิมจากปราสาทหินพิมาย คือ ทับหลังภาพเจ้าเมืองทำอัษฎางคประดิษฐ์ ในพระหัตถ์มีหม้อน้ำที่รองรับน้ำมนตร์จากพระกมรเตงชคตวิมายะ ที่แสดงภาพอยู่ตอนกลางด้านบนของทับหลัง  การถวายอัษฎางคประดิษฐ์เป็นการถวายความเคารพในลัทธิวัชรยาน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในประเทศธิเบตและเนปาลปัจจุบัน

ลัทธิวัชรยานเริ่มปรากฏในเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ. 1474 –1511 หรือ ค.ศ. 935 – 968) เพราะจารึกปราสาทเบ็งเวียนได้กล่าวถึงพระโลเกศวรและนางปรัชญาปารมิตา ผู้ประทานกำเนิดพระชินพุทธะและธาตุทั้ง 5 (มูลปฺรกฤติ)ในไตรโลก นอกจากนี้จารึกบ้านสับบาก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ใน พ.ศ. 1609 (ค.ศ. 1066) ได้กล่าวถึงพระปาญจสุคต ซึ่งคือ พระชินพุทธะในลัทธิวัชรยาน และยังกล่าวถึงคัมภีร์ศรีสมาจะ ซึ่งเป็นชื่อย่อของคัมภีร์ศรีคุหยสมาจตันตระ(การสนทนาที่เป็นความลับ) เป็นคัมภีร์เก่าสุดที่พระพุทธเจ้าพระนามว่า สรรว-ตถาคต-กาย-วาก-จิตต์ ประทานให้กับพุทธสมาคมและเป็นต้นตำรับของวัชรยาน ทั้งยังเป็น 1 ใน 9 คัมภีร์หลักของเนปาลจารึกทั้งสองหลักแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานได้มีการวางรากฐานในอารยธรรมเขมรมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10) และคงแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในเขตที่ราบสูงโคราชช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 11) จากนั้นก็เจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7โดยมีศูนย์กลางของลัทธิวัชรยานในประเทศไทยที่เมืองพิมาย และมีปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สำคัญของลัทธินี้

บทบาทและหน้าที่ของปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทในอารยธรรมเขมรแบบ “ที่มีระเบียงคดล้อมรอบปรางค์ประธาน” และเป็นศูนย์กลางลัทธิวัชรยานจากกัมพูชาที่สำคัญในประเทศไทย อีกทั้งในจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังกล่าวถึงเมืองพิมายในฐานะที่เป็นเมืองปลายทางของเส้นทางหลักสายหนึ่งในจำนวน 6 เส้นทางจากเมืองพระนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองพิมายในช่วงระยะเวลานี้ได้อย่างดี ประกอบกับภายนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลงเหลืออยู่ คือ อโรคยศาลที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์ เพราะทรงมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์กายอันได้แก่ความไม่มีโรค จากลักษณะดังกล่าวต่างเป็นสิ่งแสดงถึงฐานะของเมืองพิมายที่มิใช่เป็นเพียง “ดินแดนนอกกัมพุชเทศ” เท่านั้น แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นดินแดนปิตุภูมิของกษัตริย์เขมรในราชวงศ์มหิธรปุระอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมายที่จัดอยู่ในศิลปะเขมรแบบนครวัดตอนต้นนี้ ยังส่งอิทธิพลกลับคืนไปยังศูนย์กลางที่เมืองพระนครด้วยความเป็นศูนย์กลางของพิมายในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนเช่นนี้ ทำให้ปราสาทหินพิมายไม่ได้เป็นเพียงปราสาทของราชวงศ์มหิธรปุระเท่านั้น หากยังเป็นศาสนสถานที่รับใช้ชุมชนพิมายเองด้วย ดังปรากฏในจารึกปราสาทหินพิมาย 2 ที่กล่าวถึงการทำบุญในวันสำคัญต่างๆ และการไปนมัสการพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความเจริญในชีวิต อีกทั้งภายในบริเวณเมืองพิมายเองก็มีการขุดสระหรือบารายขนาดใหญ่ คือ สระแก้ว สระพรุ่ง (สระศรี) และสระขวัญ และภายนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก คือ สระเพลง นอกกำแพงด้านทิศใต้ คือ สระช่องแมว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบการชลประทานขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ชุมชนที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นปราสาทหินพิมายจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปราสาทประจำราชวงศ์มหิธรปุระ และเป็นศาสนสถานในลัทธิวัชรยานของชุมชนแม่น้ำมูลตอนบน

สมัยอยุธยา

เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ เป็นรัฐกันชน นครราชสีมาจึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่น ๆ

ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 อาณาจักรอยุธยาสามารถเอาชนะกัมพูชาได้ รวมทั้งได้ทำการรวบรวมหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำมูลเข้ามาอยู่ในอำนาจ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - 2031 ได้สืบราชสมบัติต่อมา มีการจัดระดับเมืองพระยามหานคร 8 หัวเมือง คือ พิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เริ่มปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญในขอบขัณฑสีมา และได้ดำรงความสำคัญสืบต่อมาในประวัติศาสตร์อยุธยาและรัตนโกสินทร์

ตามระบบระบบบรรดาศักดิ์ขุนนางไทย เจ้าเมืองนครราชสีมานับเป็นขุนนางระดับสูงมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียภาหะ มีศักดินา 10,000 ไร่

ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือพระยาละแวก ในที่สุด

248.991x248.991px

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย) จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีการวางผังเมืองเป็นตารางรูปสีเหลี่ยม ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า "เมืองนครราชสีมา" จุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) โปรดให้พระยายมราช (สังข์)เป็นเจ้าเมือง ในคราวเดียวกันกับที่แต่งตั้ง เจ้าพระยารามเดโช เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง

ในแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน

สมัยกรุงธนบุรี

หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เจ้าเมืองพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธได้ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดยพระเจ้าตาก หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ และ พระยาอนุชิตราชา ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าตาก เมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระสุริยอภัย กรรมการเมืองนครราชสีมา ได้นำกำลังทหารชาวนครราชสีมากลับเข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงธนบุรีไว้ได้ก่อนที่ เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ในครั้งนั้น พระยากำแหงสงคราม (บุญคง) เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่นำทัพไปกัมพูชาพร้อมกับ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ถูกประหารชีวิตไปพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ และขุนนางเดิมของพระเจ้าตาก จำนวนหนึ่ง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยานครราชสีมา (เที่ยง) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

สมัยรัตนโกสินทร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเมืองประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมร พระยานครราชสีมา (เที่ยง) เป็นผู้สำเร็จราชการ และในรัชสมัยนี้ ชาวเมืองนครราชสีมาได้น้อมเกล้าถวายช้างเผือก 2 เชือก

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดกบฏ อ้ายสาเกียดโง้ง ที่จำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) นำกองทัพไปปราบ แต่ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าประเทศราชเวียงจันทน์ส่งเจ้าราชวงศ์ไปปราบกบฏได้เสร็จสิ้นก่อน และเจ้าราชวงศ์ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ต่อมา ต่อมาทองอิน เชื้อสายของพระเจ้าตาก และบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง)

ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ฉวยโอกาสที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) นำกองทหารไปราชการต่างเมือง ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมา และส่งกองทหารไปกวาดต้อนครอบครัวลาวถึงเขตเมืองสระบุรีก่อนที่จะถอยทัพเมื่อกองทัพสยามจากพระนครเริ่มรวมพลได้ทัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 ก่อนกองทัพลาวจะถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ไปยังทางเหนือเพื่อสมทบกับกองทัพของเจ้าสุทธิสาร โดยก่อนไป ได้ถอนเสาหลักเมืองออกเพื่อให้เป็นเมืองร้าง และเจ้าอนุวงศ์ได้สั่งการให้ทหารกองหลังรื้อกำแพงเมืองออก เผาประตูเมือง และสถานที่สำคัญๆในเมืองให้หมดสิ้น ให้ตัดต้นไม้ที่ให้ผลให้เหลือแต่ตอ ด้วยที่จะได้กลับมายึดเมืองนครราชสีมาได้สะดวกในภายหลัง ทำให้ต้นไม้ผลถูกตัดหมดสิ้น กำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกหมด กำแพงเมืองทางทิศใต้ถูกรื้อมาถึงด้านหลังวัดสระแก้ว ส่วนกำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองทางทิศเหนือถูกรื้อ กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกถูกรื้อออก 1 ส่วนเหลือ 2 ส่วน ประตูเมืองถูกเผาบางส่วน 3 ประตูคือ ประตูเมืองทางทิศตะวันเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ชาวเมืองนครราชสีมาผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ได้ถูกกวาดต้อน ได้รับข่าวว่ากองทัพจากพระนครที่ส่งกำลังมาช่วยเหลือ กำลังจะเดินทัพมามาถึงทุ่งโพธิ์เตี้ยห่างจากเมืองนครราชสีมา 10 กม. ในอีกไม่นาน ทำให้กำลังทหารลาวกองหลังของเจ้าอนุวงศ์ที่กำลังทำรื้อกำแพง และเผาทำลายเมืองนครราชสีมาอยู่นั้น เกิดความหวาดกลัวและถอยทัพออกไป ทำให้เมืองนครราชสีมาถูกเผาทำลายลงไปเพียงบางส่วน ส่วนชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปนั้น ได้รวมตัวกันต่อต้านกองทัพลาวของเจ้าอนุวงศ์ โดยมีพระยาปลัดนครราชสีมา พระยายกกระบัตร และ พระณรงค์สงคราม (มี) เป็นผู้นำในการรบ ณ ทุ่งสัมฤทธิ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา และนางสาวบุญเหลือ บุตรบุญธรรมคุณหญิงโม ต่อมากองทัพชาวนครราชสีมาได้ร่วมกับกองทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ ในการรบครั้งต่อๆมาจนกระทั่งเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้ในที่สุด ภายหลัง คุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี และ พระณรงค์สงครามได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาณรงค์สงคราม

ในการสงครามเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) และพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นทัพหน้าของกองทัพที่นำโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชานำพลชาวนครราชสีมาทำการรบอย่างกล้าหาญในสงครามกับเวียดนาม และสามารถรุกไปถึงเขตแดนเมืองไซ่ง่อน ก่อนที่จะต้องถอยทัพเนื่องจากกองทัพไทยพ่ายแพ้ในแนวรบด้านอื่น ต่อมาพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นนายทัพสำคัญในกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา จนสิ้นสุดสงคราม

เมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรม พระพรหมบริรักษ์ (เกษ) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา

เมื่อว่างเว้นจากสงคราม เมืองโคราชได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย

ในรัชกาลนี้ เจ้าพระยานครราชสีมา (เกษ) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) และ เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (แก้ว) บุตรชายคนรองของเจ้าพระยาบดินทรเดชา หลังจากนั้น พระยานครราชสีมา (แก้ว) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช (แก้ว) และ เจ้าเมืองคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรชายคนโตของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)

ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เป็นแม่ทัพบกไปปราบจีนฮ่อที่เมืองหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีพระยานครราชสีมา (กาจ สิงหเสนี) บุตรเขยของพระยานครราชสีมา (เมฆ) เป็นผู้ว่าราชการคนแรก มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ - นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ได้สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7

ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้นครราชสีมาเป็นฐานบัญชาการการรบ มีการสร้างฐานบินโคราช และต่อมาไทยได้เปลี่ยนให้เป็น กองบิน 1 ซึ่งเป็นฐานกำลังรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน โดยมีมีเครื่องบิน F-16 ประจำการอยู่สองฝูงบิน

ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา

เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการรบที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นประตูสู่อิสาน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

น้ำตกเหวสุวัตในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่บนที่ราบสูงโคราช ห่างจากกรุงเทพ 259 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20,493.964 ตารางกิโลเมตร (12,808,728 ไร่) เป็นพื้นที่ป่าไม้ 2,297,735 ไร่ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลานร้อยละ 61.4 และเป็นแหล่งน้ำ 280,313 ไร่[5] ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดชัยภูมิ และขอนแก่น ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดสระบุรี ชัยภูมิ และลพบุรี

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 150-300 เมตร มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก เป็นแนวยาวทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ส่วนบริเวณตอนล่างค่อนไปทางเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม โดยมีลำตะคองและลำน้ำสาขาอื่น ๆ ไหลหล่อเลี้ยงบริเวณด้านเหนือของเมือง และ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมาจัดอยู่ในประเภททุ่งหญ้าเขตร้อน มีลมมรสุมหลักพัดผ่านคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง กับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีอากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุก โดยทั่วไปสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกชุก ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือนตุลาคม ฤดูหนาว สภาพอากาศจะเริ่มเปลี่ยนจากฤดูฝนไปสู่ฤดูหนาวตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมหนาวและแห้งพัดจากประเทศจีน และฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่ราบสูง มีป่าและทิวเขาสูงกั้นเขตแดนเป็นแนวยาว อากาศจึงค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน และในฤดูหนาวก็ค่อนข้างหนาวเย็นโดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 27.4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33 อาศาเซลเซียส มีค่าความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดทั้งปี 71 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 89% ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 49 %

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดนครราชสีมา (พ.ศ. 2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 30.6
(87.1)
33.5
(92.3)
35.8
(96.4)
36.5
(97.7)
34.9
(94.8)
34.1
(93.4)
33.6
(92.5)
33.1
(91.6)
32.1
(89.8)
30.9
(87.6)
29.7
(85.5)
29.3
(84.7)
32.84
(91.12)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.8
(62.2)
20.0
(68)
22.2
(72)
24.0
(75.2)
24.5
(76.1)
24.3
(75.7)
23.9
(75)
23.7
(74.7)
23.6
(74.5)
22.6
(72.7)
20.2
(68.4)
17.1
(62.8)
21.91
(71.44)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 5.9
(0.232)
17.8
(0.701)
37.1
(1.461)
63.5
(2.5)
140.5
(5.531)
108.3
(4.264)
113.7
(4.476)
146.2
(5.756)
221.6
(8.724)
143.4
(5.646)
27.3
(1.075)
2.8
(0.11)
1,028.1
(40.476)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 0.9 2.2 5.1 7.7 13.8 13.3 13.5 16.4 18.1 12.2 4.0 0.7 107.9
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 284.2 245.1 253.8 248.1 237.5 208.6 194.6 187.3 169.0 233.4 257.3 282.0 2,800.9
แหล่งที่มา 1: WMO
แหล่งที่มา 2: CMA

อาณาเขตติดต่อ

การเมืองการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แบ่งปกครองแบ่งออกเป็น 32 อำเภอ 289 ตำบล 3,743 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนครราชสีมา
  2. อำเภอครบุรี
  3. อำเภอเสิงสาง
  4. อำเภอคง
  5. อำเภอบ้านเหลื่อม
  6. อำเภอจักราช
  7. อำเภอโชคชัย
  8. อำเภอด่านขุนทด
  9. อำเภอโนนไทย
  10. อำเภอโนนสูง
  11. อำเภอขามสะแกแสง
  12. อำเภอบัวใหญ่
  13. อำเภอประทาย
  14. อำเภอปักธงชัย
  15. อำเภอพิมาย
  16. อำเภอห้วยแถลง
  1. อำเภอชุมพวง
  2. อำเภอสูงเนิน
  3. อำเภอขามทะเลสอ
  4. อำเภอสีคิ้ว
  5. อำเภอปากช่อง
  6. อำเภอหนองบุญมาก
  7. อำเภอแก้งสนามนาง
  8. อำเภอโนนแดง
  9. อำเภอวังน้ำเขียว
  10. อำเภอเทพารักษ์
  11. อำเภอเมืองยาง
  12. อำเภอพระทองคำ
  13. อำเภอลำทะเมนชัย
  14. อำเภอบัวลาย
  15. อำเภอสีดา
  16. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
 
แผนที่
แผนที่
ข้อมูลอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา
ชั้น ชื่ออำเภอ พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจาก
จังหวัด (กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล หมู่บ้าน ประชากร
ชาย หญิง รวม
พิเศษ
เมืองนครราชสีมา
755.596 0 2438 25 243 214,809 224,657 439,466
1
ด่านขุนทด
1,428.14 84 2451 16 220 62,900 63,881 126,781
1
บัวใหญ่
305.028 101 2440 10 121 41,776 41,984 83,760
1
ปักธงชัย
1,374.32 34 2451 16 213 56,797 59,349 116,146
1
พิมาย
896.871 60 2440 12 208 64,039 65,925 129,964
1
สีคิ้ว
1,247.07 45 2441 12 169 60,967 61,704 122,671
1
ปากช่อง
1,825.17 85 2501 12 217 92,953 94,097 187,050
2
ครบุรี
1,816.85 58 2482 12 152 46,578 47,683 94,261
2
จักราช
501.672 40 2496 8 108 34,979 35,138 70,117
2
โชคชัย
503.917 30 2448 10 126 38,581 40,364 78,945
2
โนนสูง
676.981 37 2440 16 195 61,941 64,443 126,384
2
ประทาย
600.648 97 2506 13 148 38,900 38,948 77,848
2
สูงเนิน
782.853 36 2444 11 125 39,140 41,065 80,205
2
ห้วยแถลง
495.175 65 2506 10 120 37,826 37,254 75,080
2
ชุมพวง
540.567 98 2502 9 130 41,132 41,179 82,311
3
เสิงสาง
1,200.24 88 2519 6 84 34,440 34,188 68,628
3
คง
454.737 79 2481 10 155 40,231 41,067 81,298
3
โนนไทย
541.994 28 2443 10 131 35,584 36,675 72,259
3
ขามสะแกแสง
297.769 50 2511 7 72 21,537 21,722 43,259
3
แก้งสนามนาง
107.258 130 2529 5 56 18,656 18,828 37,484
3
วังน้ำเขียว
1,130.00 70 2535 5 83 20,992 21,078 42,070
4
บ้านเหลื่อม
218.875 85 2519 4 39 10,733 10,859 21,592
4
หนองบุญมาก
590.448 52 2526 9 104 29,847 29,882 59,729
4
เทพารักษ์
357.465 90 2538 4 58 12,087 11,755 23,842
4
พระทองคำ
359.522 45 2539 5 74 20,982 21,255 42,237
4
สีดา
162.825 85 2540 5 50 12,177 12,167 24,344
4
บัวลาย
106.893 103 2540 4 45 12,296 12,473 24,769
4
โนนแดง
193.407 75 2532 5 65 12,536 12,950 25,486
4
ขามทะเลสอ
203.605 22 2509 5 46 14,404 14,418 28,822
4
เมืองยาง
255.522 110 2538 4 44 14,156 13,925 28,081
4
ลำทะเมนชัย
308.457 120 2539 4 59 16,166 16,066 32,232
4
เฉลิมพระเกียรติ
254.093 18 2539 5 61 17,191 17,777 34,968

การปกครองส่วนท้องถิ่น

มีจำนวนทั้งสิ้น 334 แห่ง แบ่งออกเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 85 แห่ง และ องค์การบริหารส่วนตำบล 243 แห่ง โดยเทศบาลสามารถจำแนกได้ตามพื้นที่ดังนี้

อำเภอเมืองนครราชสีมา

อำเภอปากช่อง

อำเภอสีคิ้ว

อำเภอบัวใหญ่

อำเภอปักธงชัย

อำเภอด่านขุนทด


อำเภอพิมาย

อำเภอโนนสูง

อำเภอโชคชัย

อำเภอครบุรี

อำเภอเทพารักษ์

  • ไม่มีเทศบาล

อำเภอสูงเนิน

อำเภอขามทะเลสอ

อำเภอขามสะแกแสง

อำเภอคง

อำเภอโนนไทย

อำเภอห้วยแถลง

อำเภอเสิงสาง

อำเภอบ้านเหลื่อม

อำเภอจักราช

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

อำเภอชุมพวง

อำเภอโนนแดง

อำเภอบัวลาย

อำเภอประทาย

อำเภอพระทองคำ

อำเภอเมืองยาง

อำเภอลำทะเมนชัย

อำเภอวังน้ำเขียว

อำเภอสีดา

อำเภอหนองบุญมาก

อำเภอแก้งสนามนาง

รายนามผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ ปลัดมณฑลทำหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระยากำแหงสงคราม (กาจ สิงห์เสนี) รศ.115 - 120 (พ.ศ. 2439 - 2444)
2. พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน ศรีเพ็ญ) รศ.120 - 123 (พ.ศ. 2444 - 2447)
3. พระยาสุริยเดช (จาบ สุวรรณทัต) รศ.123 - 124 (พ.ศ. 2447 - 2448)
4. พระยาวรชัยวุฒิกร (เลื่อง สนธิรัต) รศ.124 - 125 (พ.ศ. 2448 - 2449)
5. พระบรมราชบรรหาร (สวัสดิ์ วิเศษศิริ) รศ.125 - 129 (พ.ศ. 2449 - 2453)
6. พระไชยนฤนาท (ทองดี) รศ.129 - 131 (พ.ศ. 2453 - 2455)
7. พระเทพราชธานี (โหมด) พ.ศ. 2455 – 2456
8. พระยศสุนทร (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2456 – 2458
9. พระยาสุริยราชวราภัย (จร) พ.ศ. 2458 – 2460
10. พ.ต.พระยาบรมราชบรรหาร (เย็น ภะระมรทัต) พ.ศ. 2460 - 2465
11. พระยานครราชเสนี (สหัส สิงหเสนี) พ.ศ. 2465 – 2471
12. พระยาพิริยะพิชัย (เทียบ สุวรรณนิน) พ.ศ. 2471 – 2474
13. พระยานายกนรชร (เจริญ ปริยานนท์) พ.ศ. 2474 – 2476
14. พระยากำธรพายัพทิศ ( ดิส อินทโสฬส) 2 พ.ย.2476 – 1 มี.ค.2479
15. พ.อ.หลวงอาจศรศิลป (ประพันธ์ ธนพุทธิ) พ.ศ. 2479 – 2484
16. นายสุรินทร์ ชิโนทัย พ.ศ. 2484 – 2484
17. พระสาครบุรานุรักษ์ (ปริก สุวรรณานนท์) 19 ธ.ค.2484 – 19 พ.ย.2486
18. ขุนทยานราญรอน (วัชระ วัชรบูล) 1 ต.ค.2486 – 21 ธ.ค.2487
19. หลวงวิธสุรการ (ถวิล เจียนมานพ) 22 ธ.ค.2487 – 31 ธ.ค.2488
20. นายอุดม บุญประคอง 1 ส.ค.2488 – 31 ก.ค.2489
21. นายถนอม วิบูลมงคล 21 ต.ค.2489 – 5 ธ.ค.2490
22. ขุนบริบาลบรรพตเขตต์ (สังเวียน บริบาลบรรพตเขตต์) 6 ธ.ค.2490 – 21 มี.ค.2492
23. ขุนวรคุตต์คณรักษ์ (บุญฤทธิ์ วรนุตนานนท์ ) 23 มี.ค.2492 – 20 มี.ค.2495
24. นายยุทธ จรัณยานนท์ 21 มี.ค.2495 – 11 ต.ค.2497
25. นายสุวรรณ รื่นยศ 12 ต.ค.2497 – 22 พ.ค.2500
26. พ.ต.อ.เลื่อน กฤษณามระ 23 พ.ค.2500 – 6 มี.ค.2501
27. นายเจริญ ภมรบุตร 6 มี.ค.2501 – 4 มี.ค.2507
28. นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ 4 มี.ค.2507 – 2 ต.ค.2511
29. นายสมชาย กลิ่นแก้ว 2 ต.ค.2511 – 15 เม.ย.2513
30. ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ 13 เม.ย.2513 – 30 ก.ย.2516
31. นายประมูล ศรัทธาทิพย์ 1 ต.ค.2516 – 5 ธ.ค.2516
32. นายวิชิต ศุขะวิริยะ 6 ธ.ค.2516 – 31 ธ.ค.2519
33. นายจำรูญ ปิยัมปุตระ 1 ม.ค.2520 – 30 ก.ย.2520
34. นายเลิศ หงษ์ภักดี 1 ต.ค.2520 – 31 มี.ค.2524
35. นายสมบูรณ์ ไทยวัชรามาศ 1 เม.ย.2524 – 30 ก.ย.2531
36. นายไสว พราหมณี 1 ต.ค.2531 – 30 ก.ย.2533
37. นายดำรง รัตนพานิช 1 ต.ค.2533 – 30 ก.ย.2537
38. นายสุพร สุภสร 1 ต.ค.2537 – 30 ก.ย.2539
39. นายประวิทย์ สีห์โสภณ 1 ต.ค.2539 – 19 ต.ค.2540
40. นายโยธิน เมธชนัน 20 ต.ค.2540 – 22 เม.ย.2544
41. นายสุนทร ริ้วเหลือง 23 เม.ย.2544 – 30 ก.ย.2547
42. นายพงศ์โพยม วาศภูติ 1 ต.ค.2547 – 30 ก.ย.2548
43. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ 1 ต.ค.2548 – 30 ก.ย.2550
44. นายสุธี มากบุญ 1 ต.ค.2550 - 30 ก.ย.2551
45. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี 1 ต.ค.2551 - 30 ก.ย.2553
46. นายระพี ผ่องบุพกิจ 1 ต.ค.2553 - 27 พ.ย.2554
47. นายชวน ศิรินันท์พร 28 พ.ย.2554 - 28 ก.ย.2555
48. นายวินัย บัวประดิษฐ์ 1 ต.ค. 2555 - 27 พ.ค. 2557
49. นายธงชัย ลืออดุลย์ 2 มิ.ย. 2557 - 30 ก.ย. 2558
50. นายวิเชียร จันทรโณทัย 1 ต.ค. 2558 -ปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

ปี
(พ.ศ.)
ผลิตภัณฑ์มวล
รวมจังหวัด
(ล้านบาท)
ผลิตภัณฑ์มวล
รวมจังหวัดต่อคน
(บาท)
2538 77,295 30,390
2539 88,403 35,029
2540 91,372 35,901
2541 86,214 33,592
2542 86,506 33,426
2543 90,091 34,525
2544 93,846 36,012
2545 102,990 39,591
2546 116,034 44,703
2547 123,483 47,697
2548 134,085 51,950
2549 146,236 56,856
2550 157,857 61,616
2551 155,895 61,119
2552 169,927 66,947
2553 192,378 76,199
2554 211,033 83,804
2555 239,202 95,195
2556 244,413 97,463
2557 245,248 97,963
2558 252,099 100,853
2559 263,578 105,618
2560 274,898 110,301 [6]

โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และการค้าส่งค้าปลีก ซึ่งมีอัตราสัดส่วนโครงสร้างร้อยละ 22.46, 19.82 และ 14.91 ตามลำดับ[7] ในภาคการเกษตร จังหวัดมีพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้น 8,931,032 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกข้าว จำนวน 4,329,724 ไร่ พืชไร่จำพวกข้าวโพด มันสำปะหลัง ปอ ฝ้าย และข้าวฟ่าง จำนวน 3,793,602 ไร่ และปลูกพืชสวน 632,170 ไร่ มีครัวเรือนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 326,587 ครัวเรือน[7] โดยมีพืชเศรษฐกิจ 3 อันดับแรก คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด การเลี้ยงไหมโดยเฉพาะที่อำเภอปักธงชัยเป็นแหล่งผ้าไหมที่ขึ้นชื่อ อาชีพการทำป่าไม้ และการประมงน้ำจืดตามลุ่มน้ำ

ในภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2560 จังหวัดนครราชสีมามีโรงงานทั้งสิ้น 7,513 โรงงาน มีมูลค่าการลงทุน ประมาณ 188,074 ล้านบาท มีจำนวนคนงานรวม 129,531 คน[7] ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 18.84 อุตสาหกรรมขนส่งเฉลี่ยร้อยละ 12.27 อุตสาหกรรมอโลหะเฉลี่ยร้อยละ 11.38 และอุตสาหกรรมอาหารเฉลี่ยร้อยละ 10.02[8] สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีแร่ที่สำคัญคือ หินบะซอลต์ หินปูน และ เกลือหิน โดยเฉพาะเกลือหิน พบมากในตอนเหนือและตอนกลางของจังหวัด

ในปี พ.ศ. 2560 (year 2017) จังหวัดนครราชสีมามีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product - GPP) เท่ากับ 274,898 ล้านบาท ( 8.9 Billion US$) อยู่ในลำดับที่ 1 ของภาตตะวันออกเฉียงเหนือ ลำดับที่ 10 ของประเทศ และ ผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อคน (GPP per capita) เท่ากับ 110,301 บาท ( 3,586 US$)[9] อยู่ในลำดับที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำดับที่ 32 ของประเทศ

ภาคการเงินการธนาคาร จังหวัดนครราชสีมามีจำนวนสำนักงานของธนาคารทั้งสิ้น 152 สำนักงาน(มีนาคม พ.ศ. 2562) เงินรับฝากรวมทุกประเภท (มีนาคม พ.ศ. 2562) ทั้งสิ้น 153,649 ล้านบาท และ เงินให้สินเชื่อรวมทุกประเภท (มี.ค.2562) ทั้งสิ้น 169,203 ล้านบาท [10]


นิคมอุตสาหกรรม

เขตอุตสาหกรรมในนครราชสีมา
  • นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 2 นครรราชสีมา
  • เขตอุตสาหกรรมสุรนารี
  • นิคมอุตสาหกรรมสูงเนิน (โครงการ)


ประชากรศาสตร์

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
ปีประชากร±%
2550 2,552,894—    
2551 2,565,117+0.5%
2552 2,571,292+0.2%
2553 2,582,089+0.4%
2554 2,585,325+0.1%
2555 2,601,167+0.6%
2556 2,610,164+0.3%
2557 2,620,517+0.4%
2558 2,628,818+0.3%
2559 2,631,435+0.1%
2560 2,639,226+0.3%
อ้างอิง:กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[11]

พื้นเพของคนจังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช) และอีกกลุ่มคือชาวลาว (ตอนบนและด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตจังหวัด) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก

ไทโคราช

ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาล

กลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาคล้ายคนไทยภาคกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยภาคกลางได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่2 โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา

กลุ่มไทโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั้น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยอีสานมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน) และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต อำเภอซับใหญ่ อำเภอคอนสวรรค์ และอำเภอเมืองชัยภูมิ) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และหนองกี่)

ชาวไทอีสาน

ชาวไทอีสานเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทโคราช อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ อำเภอบัวลาย อำเภอสีดา อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอประทาย อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอคง อำเภอห้วยแถลง อำเภอชุมพวง และบางส่วนของ อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และ อำเภอสีคิ้ว เป็นต้น ชาวไทยอีสานพูดภาษาอีสานท้องถิ่นคล้ายกับจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่นตามความเจริญของเศรษฐกิจ ในบางข้อสันนิฐานให้ข้อมูลว่า เดิมชาวโคราชพูดภาษากลางแบบชาวสยาม และมีชาวไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ปะปนกัน จึงเกิดการผสมผสานเป็นภาษาไทโคราช แต่อย่างไรก็ดีชาวไทยอีสานดั้งเดิมมีถิ่นอาศัยอยู่ในภาคอีสานมานานแล้ว มิได้อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีความพัวพันกับอาณาจักรไทยในอดีต เช่น โคตรบูรณ์ ศรีจะนาศะ ซึ่งเป็นอาณาจักรของศาสนาพุทธ มิใช่พราหม-ฮินดู แบบจักรวรรดิ์เขมร กล่าวได้ว่าชาวไทยอีสานเป็นชนพื้นเมืองเดิมของภาคอีสานมาช้านานแล้ว

ชาวไทยเชื้อสายลาว

อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่3 มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นในหลายครั้ง และมีการอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง คนกลุ่มที่นี้มักเรียกกันว่า "ลาวเวียง" มีการใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ซึ่งต่างกับภาษาอีสานสำเนียงท้องถิ่นอย่างสิ้นเชิง กระจายอาศัยกันอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันสืบหาแทบไม่ได้แล้วเนื่อจากการเทครัวมีมานับ200ปีและมีการแต่งงานกับคนพื้นเมือง มีจำนวนน้อยที่สืบหาได้ว่ามีเชื้อสาวลาวเวียงจันทน์ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เช่น การเก็บรักษาผ้าซิ่นแต่เดิมไว้ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เนื่องจากชาวลาวเวียงจันทน์อพยพมาจากเมืองที่มีวัฒนธรรมสูง มักจะมีของมีค่าติดตัวมาด้วย เช่น ผ้าซิ่น ข้าวของเครื่องใช้ รวมถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบชาวเวียงจันทน์ที่ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ชาลาวเวียงจันทน์อพยพมากที่สุดในสมัยรัชกาลที่3เนื่องจากมีการทำสงครามกับเวียงจันทน์หลายครั้ง และเป็นครั้งใหญ่ที่ทำลายนครเวียงจันทน์อย่างราบคราบ จึงทำให้ชาวลาวเวียงจันทน์ถูกเกณฑ์เป็นเชลยจำนวนมาก โดยหัวเมืองใหญ่อย่างนครราชสีมารับชาวเชลยไว้เป็นจำหนึ่ง ส่วนที่เหลือกระจายไปตามหัวเมืองต่างๆในภาคกลาง

มอญ

จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่า มีชาวมอญอยู่จำนวน 2,249 คน จากจำนวนประชากรของนครราชสีมา 402,668 คน ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุล "คชเสนี" เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ เมื่อเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น

ส่วย

ส่วย หรือ ข่า เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น

ญัฮกุร

ญัฮกุร หรือ เนียะกุล เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุญมาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช

ไทยวน

ไทยวน หรือ ไทยโยนก เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยวน ใช้พูดในหมู่ไทยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเชื้อสาย ชาวจีน, ชาวเวียดนาม, และแขก(อินเดีย, บังคลาเทศ, ปากีสถาน ฯลฯ)

การศึกษา

จังหวัดนครราชสีมามีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยแบ่งเป็นระดับประถมศึกษา ทั้งหมด 7 เขต และมัธยมศึกษา 1 เขต (ไม่รวมสังกัด อปท.)

การแบ่งเขตพื้นที่มัธยมศึกษา

การแบ่งเขตพื้นที่ประถมศึกษา

แบ่งเป็นระดับประถมศึกษา ทั้งหมด 7 เขต

  • เขต 1 - อำเภอเมืองนครราชสีมาและอำเภอโนนสูง
  • เขต 2 - อำเภอจักราช อำเภอหนองบุญมาก อำเภอห้วยแถลง อำเภอเฉลิมพระเกียรติและอำเภอโชคชัย
  • เขต 3 - อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง และอำเภอวังน้ำเขียว
  • เขต 4 - อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนินและอำเภอปากช่อง
  • เขต 5 - อำเภอเทพารักษ์ อำเภอพระทองคำ อำเภอขามสะแกแสง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอโนนไทยและอำเภอด่านขุนทด
  • เขต 6 - อำเภอสีดา อำเภอบัวลาย อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอคงและอำเภอบัวใหญ่
  • เขต 7 - อำเภอประทาย อำเภอเมืองยาง อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมายและอำเภอโนนแดง

โรงเรียน

สถาบันอุดมศึกษา

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สถาบันอาชีวศึกษา

สถาบันการอาชีวศึกษาของรัฐ

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบด้วยวิทยาลัยในสังกัด 9 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา,วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา,วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ, วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี,วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ,วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์,วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง,วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ มีที่ตั้งสำนักงานสถาบัน(ชั่วคราว) อยู่ภายในวิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็น 1ในสถาบันการอาชีวศึกษา 19 สถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎกระทรวงการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2555 สำหรับวิทยาลัยในสังกัดในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่

วิทยาลัยอาชีวศึกษาอื่น ๆ
สถาบันอาชีวศึกษา (เอกชน)

วิทยาลัยเฉพาะทาง

สถาบันวิจัย

การสาธารณสุข

  • โรงพยาบาลชุมชน
  • โรงพยาบาลเอกชน

การคมนาคม

ทางอากาศ

ท่าอากาศยานนครราชสีมา

-วันที่ 2 กันยายน 2554 ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา บริษัท Thai Regional Aviation จำกัด ได้ทำการเปิดเที่ยวบิน สุวรรณภูมิ-โคราช-สุวรรณภูมิ บริษัทเลือกใช้เครื่องบินรุ่น Piper Navajo Chieftain ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ได้รับความนิยมสูง และ มีความปลอดภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้เวลาในการเดินทาง 40 นาที

-วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 สายการบิน กานต์แอร์ ได้ทำการเปิดเที่ยวบิน จาก ท่าอากาศยานเชียงใหม่ - ท่าอากาศยานนครราชสีมา โดยทำการบิน 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ( จันทร์,พุธ,พฤหัสบดี,เสาร์ ) โดยใช้เครื่องบินรุ่น ATR-72 (ปัจจุบันหยุดให้บริการในสายนี้แล้ว)

-วันที่ 3 ธันวาคม 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - เชียงใหม่ และภูเก็ต (ปัจจุบันสายนี้หยุดให้บริการแล้ว)

-วันที่ 21 ธันวาคม 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - กรุงเทพฯ(ดอนเมือง) (ปัจจุบันสายนี้หยุดให้บริการแล้ว)

รถยนต์

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางด้วยรถยนต์ มายังจังหวัดนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง คือ

รถโดยสารประจำทาง

เดินทางจากกรุงเทพฯ

มีรถโดยสารธรรมดา และ รถปรับอากาศชั้น 1 ชั้น 2 และรถตู้ปรับอากาศ สาย 21 (กรุงเทพฯ - นครราชสีมา) วิ่งให้บริการจาก สถานีขนส่งหมอชิต 2 กรุงเทพฯ มายังจังหวัดนครราชสีมา ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีบริษัทเอกชน ที่ได้รับสัมปทานเปิดบริการเดินรถโดยสารสาย 21 ดังนี้

รถปรับอากาศชั้น 1

  • บริษัท ราชสีมาทัวร์ จำกัด
  • บริษัท แอร์โคราชพัฒนา จำกัด
  • บริษัท สุรนารีแอร์ จำกัด
  • บริษัท นครชัย21 จำกัด

รถปรับอากาศชั้น 2

  • กลุ่มเดินรถ ป.2 สาย 21

รถตู้ปรับอากาศ (ไม่รับรายทาง)

  • เสรี รถตู้ลีมูซีน

ซึ่งจะให้บริการ รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่สถานีขนส่งทั้งสองแห่ง คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 (ถนนบุรินทร์) และ สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) นอกจากนั้น ยังสามารถที่จะเลือกเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ ปลายทางจังหวัดต่าง ๆ ในภาคอีสานที่ผ่านจังหวัดนครราชสีมาได้

เดินทางภายในจังหวัด

การเดินทางภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง มีขนส่งสาธารณะให้บริการดังนี้คือ

  • รถโดยสารประจำทางหมวด 1 และหมวด 4 (รถสองแถว) วิ่งบริการภายในเขตเทศบาล และ บริเวณใกล้เคียง รถโดยสารหมวด 1 แบ่งออกเป็น 21 สาย วิ่งบริการภายในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงไปตามเส้นทางต่าง ๆ
  • รถจักรยานยนต์รับจ้าง, รถสามล้อเครื่อง และรถสามล้อ วิ่งให้บริการผู้โดยสารภายในเขตตัวเมือง
  • รถแท็กซี่มิเตอร์ (Taxi Meter) เปิดให้บริการในช่วงการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 เป็นจังหวัดแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจุดจอดรถแท็กซี่อยู่ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟชุมทางจิระ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ นครราชสีมา เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา เทอร์มินอล 21 โคราช และสถานบันเทิง นอกจากนี้ยังสามารถเรียกใช้บริการโดยโทรศัพท์เลขหมายด่วนหริอเรียกผ่านแอปพลิเคชัน ปัจจุบันมีรถให้บริการทั้งสิ้นจำนวนมากกว่า 70 คัน

ถ้าต้องการเดินทางไปต่างอำเภอ จะมีรถโดยสารประจำทางหมวด 4 ให้บริการไปยังอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนครราชสีมา หลายสายด้วยกัน สามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถนนบุรินทร์ มีทั้งประเภทรถสองแถว และ รถบัสโดยสารประจำทางให้บริการ จะมีรถโดยสารไป อำเภอปักธงชัย อำเภอประทาย อำเภอด่านขุนทด อำเภอปากช่อง อำเภอสูงเนิน สำหรับสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 นั้น จะมีรถโดยสาร ไปเฉพาะ อำเภอพิมาย อำเภอห้วยแถลง และ ตำบลด่านเกวียน,อำเภอโชคชัย

เดินทางระหว่างจังหวัด

มีทั้งรถโดยสารประจำทางธรรมดา และปรับอากาศ หมวด 2 และ 3 จำนวนหลายเส้นทางในจังหวัดต่าง ๆ วิ่งให้บริการผ่านจังหวัดนครราชสีมาที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 (ถนนมิตรภาพ-หนองคาย) ทุกวัน

นอกจากนี้ มีรถโดยสารประจำทาง ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจาก ต้นทางจังหวัดนครราชสีมา ไปยังปลายทางจังหวัดอื่น ในภาคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

เดินทางระหว่างประเทศ
    • กรุงเทพฯ-นครราชสีมา - นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (กรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ 900 บาท, นครราชสีมา-เวียงจันทน์ 540 บาท)
      • เวลา 21.00 น. จากสถานีต้นทาง กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 23.50 น.
      • เวลา 18.00 น. จากสถานีต้นทาง นครหลวงเวียงจันทน์ ถึง บขส. นครราชสีมา แห่งที่ 2 ประมาณ 1 นาฬิกา หรือ 01.00 น.
      • เที่ยววิ่งนอกวันและเวลาราชการ เก็บค่าทำการล่วงเวลา ของด่านตรวจคนเข้าเมืองคนละ 5 บาท โดยจัดเก็บที่สถานีเดินรถ
      • เดินทางด้วยรถปรับอากาศ 2 ชั้น 32 ที่นั่ง มีสุขภัณฑ์ พนักงานต้อนรับ และอาหารว่าง
      • ติดต่อสถานีเดินรถนครราชสีมา โทรศัพท์ 044-254964 หรือ 1490 เรียก บขส.

ในการเดินทางข้ามแดนจากจังหวัดนครราชสีมา ไปยังนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สามารถใช้หลักฐาน คือหนังสือเดินทางคือหนังสือผ่านแดน หรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราวโดยมีแนวปฏิบัติและขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. ใช้บัตรผ่านแดน สำหรับเดินทางเข้าประเทศลาวไม่เกิน 3 วัน 2 คืน และไม่เดินทางไปแขวงอื่น การทำบัตรผ่านแดนทำที่ศาลากลางจังหวัดที่มีชายแดนติดกับลาวโดยใช้หลักฐาน ดังนี้
  • รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรจริง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • ค่าธรรมเนียม
  • หากยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องใช้สำเนาสูติบัตรด้วย
2. การขอวีซ่า
  • ผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการของไทยได้รับยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า สามารถอยู่ในประเทศลาวได้ 30 วัน
  • สำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จังหวัดขอนแก่นโดยต้องใช้รูปถ่าย 1 รูป และเสียค่าธรรมเนียม 30 ดอลลาร์สหรัฐ
สถานีขนส่งผู้โดยสาร

จังหวัดนครราชสีมา มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังอำเภอ หรือ จังหวัดต่างๆ ดังนี้

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 ตั้งอยู่เลขที่ 86 ถนนบุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 7 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 บริหารจัดการโดยเทศบาลนครนครราชสีมา ใช้เป็นสถานีขนส่งภายในจังหวัดเป็นหลัก และมีรถโดยสารปรับอากาศ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ให้บริการ ประกอบไปด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 24 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 6,194 ตารางเมตร

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 1 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 เที่ยว/วัน หรือประมาณ 430,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 30,000 คน/วัน หรือประมาณ 12,000,000 คน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองฯ มีเนื้อที่ 29 ไร่ 50 ตารางวา เป็นสถานีขนส่งฯที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่ง คือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด ใช้เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารระหว่างจังหวัดเป็นหลักเส้นทางที่สำคัญคือ สายที่ 21 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 111 ช่องจอด พื้นที่ 17,760 ตารางเมตร
  • พื้นที่อาคารผู้โดยสาร 28,416 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 250 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 1,100 คัน

ปัจจุบันสถานีขนส่งฯ แห่งที่ 2 มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการเฉลี่ยวันละ 3,000 เที่ยว /วัน หรือประมาณ 740,000 เที่ยว/ปี และมีผู้โดยสารหมุนเวียนเข้าใช้บริการเฉลี่ย 80,000 คน/วัน หรือประมาณ 19,000,000 คน/ปี

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 12 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย มีเนื้อที่ 7 ไร่ บริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 16 ช่องจอด พื้นที่ 3,280 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 40 คัน และรถจักรยานยนต์ ประมาณ 50 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอโชคชัย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 210 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน /วัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย ตั้งอยู่บริเวณตำบลในเมือง อำเภอพิมาย มีเนื้อที่ 6 ไร่ 54 ตารางวา ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง และดำเนินการสถานีขนส่งคือ บริษัท ไทยสงวนบริการ จำกัด เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2538 ประกอบด้วย

  • ชานชาลาจอดรถโดยสาร จำนวน 18 ช่องจอด พื้นที่ 3,840 ตารางเมตร
  • ที่จอดรถส่วนบุคคลประมาณ 15 คัน และ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 25 คัน

สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพิมาย มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้บริการวันละประมาณ 230 เที่ยว สถานีขนส่งฯ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณวันละ 2,000 คน / วัน

รถไฟ

สถานีรถไฟนครราชสีมา

มีรถไฟสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือกรุงเทพ - อุบลราชธานีและกรุงเทพ - หนองคายทั้งขบวนรถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็วและรถธรรมดาวิ่งให้บริการจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านจังหวัดนครราชสีมาทุกวัน นอกจากนี้ยังมีขบวนรถท้องถิ่นวิ่งให้บริการระหว่างสถานีรถไฟนครราชสีมาไปยังสถานีรถไฟจังหวัดอื่นๆ เช่น สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีอีกด้วย

สถานีรถไฟนครราชสีมาสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาและในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 264 กิโลเมตร [12]

รถไฟความเร็วสูง

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพ (บางซื่อ) - นครราชสีมา (เริ่มก่อสร้าง 21 ธันวาคม 2560) คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2564

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ

  • อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 24 กิโลเมตร
  • อำเภอขามทะเลสอ 25 กิโลเมตร
  • อำเภอโนนไทย 30 กิโลเมตร
  • อำเภอโชคชัย 33 กิโลเมตร
  • อำเภอปักธงชัย 36 กิโลเมตร
  • อำเภอสูงเนิน 36 กิโลเมตร
  • อำเภอโนนสูง 39 กิโลเมตร
  • อำเภอจักราช 44 กิโลเมตร
  • อำเภอขามสะแกแสง 52 กิโลเมตร
  • อำเภอสีคิ้ว 53 กิโลเมตร
  • อำเภอหนองบุญมาก 54 กิโลเมตร
  • อำเภอพระทองคำ 60 กิโลเมตร
  • อำเภอพิมาย 61 กิโลเมตร
  • อำเภอด่านขุนทด 62 กิโลเมตร
  • อำเภอครบุรี 64 กิโลเมตร
  • อำเภอห้วยแถลง 70 กิโลเมตร
  • อำเภอโนนแดง 75 กิโลเมตร
  • อำเภอคง 80 กิโลเมตร
  • อำเภอวังนํ้าเขียว 82 กิโลเมตร
  • อำเภอปากช่อง 89 กิโลเมตร
  • อำเภอสีดา 89 กิโลเมตร
  • อำเภอเทพารักษ์ 92 กิโลเมตร
  • อำเภอเสิงสาง 93 กิโลเมตร
  • อำเภอบัวใหญ่ 95 กิโลเมตร
  • อำเภอชุมพวง 99 กิโลเมตร
  • อำเภอประทาย 100 กิโลเมตร
  • อำเภอบัวลาย 102 กิโลเมตร
  • อำเภอบ้านเหลื่อม 105 กิโลเมตร
  • อำเภอแก้งสนามนาง 105 กิโลเมตร
  • อำเภอลำทะเมนชัย 118 กิโลเมตร
  • อำเภอเมืองยาง 129 กิโลเมตร

ทางหลวง

ทางหลวงพิเศษ
  • ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือ ถนนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา (กำลังก่อสร้าง เปิดให้บริการในปี 2563) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจาก กลางดง - ปากช่อง - คลองไผ่ - สีคิ้ว - สูงเนิน - ขามทะเลสอ - โคกกรวด - นครราชสีมา
ทางหลวงแผ่นดิน

ทางหลวงสายสำคัญของจังหวัดนครราชสีมามีดังนี้

  • ทางหลวงหมาดเลขหลักเดียว
  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจาก กลางดง - ปากช่อง - คลองไผ่ - สีคิ้ว - สูงเนิน - โคกกรวด - นครราชสีมา - จอหอ - ตลาดแค - บ้านวัด - สีดา - สิ้นสุดจังหวัดนครราชสีมาในเขตอำเภอบัวลาย
  • ทางหลวงหมายเลขสองหลัก
  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ถนนโชคชัย-เดชอุดม และถนนสถลมารค) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากทางแยกต่างระดับสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอหนองบุนนากกับอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ทางหลวงหมายเลขสามหลัก
  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสุวินทวงศ์) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากรอยต่อจังหวัดปราจีนบุรีกับอำเภอวังน้ำเขียว - อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอด่านขุนทดกับอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากรอยต่ออำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิกับอำเภอแก้งสนามนาง - รอยต่ออำเภอประทาย กับ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์
  4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 (ถนนเลี่ยงเมืองนครราชสีมา) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  5. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากรอยต่ออำเภอด่านขุนทดกับอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ - อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  6. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206 (ทางเข้าเมืองพิมาย และ เลี่ยงเมืองพิมาย) จาก ถนนมิตรภาพ อำเภอโนนสูง - อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
  7. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207(ถนนพาณิชย์เจริญ) จากอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
  8. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอเสิงสางกับจังหวัดบุรีรัมย์
  9. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 ในเขตจังหวัดนครราชสีมา เริ่มจากอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา - รอยต่ออำเภอห้วยแถลงกับจังหวัดบุรีรัมย์
  10. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 (ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

กีฬา

เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมามีศักยภาพหลายด้าน ทำให้จังหวัดนครราชสีมามีโอกาสจัดการแข่งขันกีฬาในระดับชาติ และระดับนานาชาติอยู่เสมอ

สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
5 ธันวาคม 2550
สัญลักษณ์การแข่งขันซีเกมส์ 2007
สัญลักษณ์การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012
ไฟล์:2013 Asian Women's Volleyball Championship logo.png
สัญลักษณ์การแข่งขัน
วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย
2013
สัญลักษณ์การแข่งขัน
วอลเลย์บอลยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย
2014
สัญลักษณ์การแข่งขัน
วอลเลย์บอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย
2016
สัญลักษณ์การแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2017

กีฬาระดับชาติ

  • กีฬาเยาวชนแห่งชาติ
    • พ.ศ. 2528 จัดกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ซึ่งกำหนดการให้มีการแข่งขันระหว่างวันที่ 26 เมษายน 2528 ถึง 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
  • กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ
    • พ.ศ. 2560 จัดกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ย่าโมเกมส์ ครั้งที่ 38 วันที่ 23-31 ม.ค. 2560


กีฬานานาชาติ

จังหวัดนครราชสีมา เป็นรับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติหลายครั้ง

การพัฒนากีฬา

จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นด้านกีฬาทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เนื่องจากมีการพัฒนาด้านกีฬาตลอดเวลา ในหลากหลายชนิดกีฬา เช่น

มวย

  • นักมวยโคราช ได้สร้างชื่อจนเป็นที่ยอมรับในวงการมวยไทย และมวยสากล มาเป็นระยะเวลายาวนาน

วอลเลย์บอล

ฟุตซอล

ฟุตบอล

ไฟล์:Swlogo2018.png
โลโก้สโมสรนครราชสีมา มาสด้า เอฟซี
โลโก้สโมสรวอลเลย์บอลนครราชสีมา เดอะมอลล์ วีซี

เซปัคตะกร้อ

บาสเกตบอล

สนามกีฬา

สถานที่ท่องเที่ยว

เทศกาลและงานประเพณี

กระบวนการยุติธรรม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. [http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561]
  3. ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด แบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ. 2557, [1].
  4. ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ น่า ๗๙๑
  5. ที่ตั้งและอาณาเขต สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
  6. ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด อนุกรมปัจจุบันแบบปริมาณลูกโซ่ อ้างอิงปี พ.ศ. 2545 (Chain Volume Measures; Reference Year 2002 ) พ.ศ. 2538 - 2555 (ปรับปรุง ปี 2557), สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
  7. 7.0 7.1 7.2 ภาวะเศรษฐกิจ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา สืบค้นวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555
  8. สรุปภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานคลังจังหวัดนครราชสีมา
  9. ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด อนุกรมปัจจุบันแบบปริมาณลูกโซ่ อ้างอิงปี พ.ศ. 2545 (Chain Volume Measures; Reference Year 2002 ) พ.ศ. 2538 - 2555 (ปรับปรุง ปี 2558), สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
  10. ยอดเงินรับฝากและเงินให้สินเชื่อจำแนกตามจังหวัด, สถิติการเงินและการธนาคารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย.
  11. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
  12. รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
  13. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1401620886
  14. http://volleyball.smmonline.net/news-119126-%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%8B%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99!%20%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%883-2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%885%20%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AA%20%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9E.html
  15. https://www.facebook.com/pages/Korat-Basketball-League/428454103860083
  16. http://www4.sat.or.th/StandardSports/structures.aspx

แหล่งข้อมูลอื่น

14°58′N 102°06′E / 14.97°N 102.1°E / 14.97; 102.1